จิตวิทยาการจัดการองค์การในโลกยุคใหม่

Psychology of organizational Management in Modern world

1. เข้าใจกระบวนการบริหารในองค์การ
2. เข้าใจพฤติกรรมของบุคคลในองค์กร
3. เข้าใจหลักการและเทคนิคในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร
4. นำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการพัฒนาองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพ
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับจิตวิทยาการบริหารงานและทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรที่มีความทันสมัย เข้าใจพฤติกรรมและความแตกต่างระหว่างบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการติดต่อสื่อสาร การให้ความร่วมมือ และ ประสิทธิภาพในการทำงาน การจัดสภาพแวดล้อมและสุขภาพที่ดีในการทำงาน รวมทั้งวิธีการจูงใจในการทำงาน อันทำให้เกิดทัศนคติที่ดีและความพึงพอใจในการทำงานในองค์กร
ศึกษาความหมาย ขอบเขต หลักการของจิตวิทยาองค์การ ระบบองค์การ การบริหารจัดการใน
องค์การ ทั้งในระดับบุคคล กลุ่ม และองค์การ การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างบุคคลเชิงพฤติกรรมในการทำงาน ปัจจัยทางด้านจิตวิทยาที่มีผลต่อความสำเร็จในการบริหารงาน การบริหารจัดการความขัดแย้งและการเปลี่ยนแปลงในองค์การ การเพิ่มพูนประสิทธิภาพการทำงานและคุณค่าของบุคคลในองค์การ รวมทั้งเรียนรู้เกี่ยวกับกลยุทธ์และเทคนิคในการบริหารจัดการองค์การอย่างมีประสิทธิภาพในโลกยุคใหม่
- อาจารย์ประจำรายวิชาให้นักศึกษาติดต่อโดยตรง ติดต่อผ่านทาง e-mail เพื่อให้คำปรึกษาและแนะนำ ทางวิชาการแก่นักศึกษานอกชั้นเรียน และสื่อสาร-นัดหมายงานต่าง ๆ โดยเฉลี่ย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของบุคคลอื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีวินัย ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ตระหนักในคุณค่า คุณธรรม จริยธรรม และความมีเหตุผล มีความเสียสละ ซื่อสัตย์ สุจริต เคารพกฎระเบียบ ข้อบังคับต่างของสถาบัน องค์กร และสังคม มีความเป็นผู้นำ มีภาวะความเป็นผู้นำ ผู้ตาม ทำงานเป็นทีมได้

มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
กำหนดนโยบายการเรียนการสอน บรรยายพร้อมยกตัวอย่าง พร้อมเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง มอบหมายงาน กำหนด ติดตามควบคุม ให้นักศึกษาปฏิบัติงานได้ถูกต้อง ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำงาน นำเสนองาน ซักถาม ความคิดเห็น และข้อปรับปรุงข้อเสนอแนะเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขให้งานมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
1.3.1 การเข้าชั้นเรียน
1.3.2 ส่งงานตามที่กำหนด
1.3.3 มีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน
1.3.4 ประเมินจากการนำเสนอและอภิปรายหน้าชั้นเรียน โดยโปรแกรมPower point วีดิทัศน์
และอื่น ๆ
1.3.5 ประเมินจากรูปเล่มรายงานที่ถูกต้องตามระบบการเขียนรายงานและต้องมีเอกสาร อ้างอิงอย่างน้อย 5 เล่ม
นักศึกษาต้องได้รับความรู้เกี่ยวกับความหมายของจิตวิทยา บทบาทของจิตวิทยาองค์การต่อการพัฒนาองค์การ เข้าใจพฤติกรรมของของพนักงานในองค์การเพื่อตอบสนองความต้องการให้กับพนักงานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เข้าใจหลักการสรรหา การคัดเลือก ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรให้เป็นผู้ที่รู้จักเพิ่มพูนความรู้ความสามารถตลอดเวลา มีความสุขในการทำงาน งานที่ทำมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทำให้องค์บรรลุวัตถุประสงค์ตรงตามเป้าหมาย
แบบบรรยาย กิจกรรมกลุ่ม การนำเสนอหน้าชั้น การอภิปราย กรณีศึกษา การแสดงบทบาทสมมติ การวิเคราะห์กรณีศึกษาและค้นคว้าบทความที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานขององค์กรที่ประสบความสำเร็จ โดยนำมาสรุปและอธิปรายร่วมกัน มีการเรียนการสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student Center) และการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ( Problem base Learning) จากสถานการณ์จำลอง
2.3.1 กิจกรรมชั้นเรียน
2.3.2 รูปเล่มรายงาน
2.3.3 การนำเสนองานในชั้นเรียน
2.3.4 การนำเสนอผลงานของนักศึกษา
3.1.1 มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ
3.1.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
การสอนวิชาจิตวิทยาองค์การในโลกยุคใหม่ ช่วยให้นักศึกษาคิดและวิเคราะห์การจัดการองค์กร และการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ทั้งในด้านการวางแผน การจัดองค์การ การจัดบุคลากรเข้าทำงาน การสั่งงาน การควบคุม การรายงานผลการปฏิบัติงาน การประเมินผลการปฏิบัติงาน การจ่ายค่าตอบแทน การติดต่อสื่อสารในองค์การ การทำงานเป็นทีม การสร้างแรงจูงใจและสิ่งล่อใจ การสร้างทัศคติที่ดีและความพึงพอใจในการทำงาน การเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี รวมทั้งการปรับปรุงสภาพแวดล้อมและพัฒนาสุขภาพที่ดีในการทำงาน
3.2.1 การบรรยายประกอบการใช้สื่อการสอน 3.2.2 การอภิปรายกลุ่มย่อย โดยใช้กรณีศึกษาจากข่าว เหตุการณ์ปัจจุบัน โฆษณา และการบริหารงานขององค์กรต่างๆ 3.2.3 กิจกรรมการแสดงบทบาทสมมติในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา เช่น การสัมภาษณ์งาน การทำงานเป็นทีม เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน 3.2.4 กิจกรรมการจำลองการจัดตั้งองค์กรในรูปแบบต่างๆ 3.2.5 การศึกษาประสบการณ์การบริหารงานของผู้นำองค์กรที่ประสบความสำเร็จ
3.3.1 การสังเกต
3.3.2 การสัมภาษณ์
3.3.3 การแสดงความคิดเห็น
3.3.4 การนำเสนอและรูปเล่มรายงาน
3.3.5 การอภิปรายกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่
3.3.6 การจำลองการจัดตั้งและการบริหารองค์กรธุรกิจและอุตสาหกรรม
3.3.7 สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์
3.3.8 การซักถาม
4.1.1 มีน้ำใจต่อผู้อื่นในสังคม ไม่เห็นแก่ตัว
4.1.2 มีการวางแผนในการทำงานอย่างเป็นระบบ
4.1.3 แลกเปลี่ยน รวมถึงแบ่งปันองค์ความรู้ต่อเพื่อนร่วมงาน
4.1.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาพัฒนาตนเองและช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
- พัฒนาทักษะการมีมนุษย์สัมพันธ์ การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
- พัฒนาทักษะความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อสังคม
- พัฒนาทักษะคุณธรรม จริยธรรม จรรยาวิชาชีพ ระเบียบวินัยในชีวิตและสังคม
4.2.1 การสอนแบบกิจกรรมกลุ่ม ทั้งในและนอกชั้นเรียน 4.2.2 การศึกษาสถานการณ์จำลองในการสัมภาษณ์งาน และการทำงานเป็นทีม โดยให้นักศึกษาแสดงบทบาทสมมติใน เพื่ออภิปรายและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน 4.2.3 กิจกรรมการจำลองการบริหารงานและทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรรูปแบบต่างๆ 4.2.4 การวิเคราะห์การสัมภาษณ์ประสบการณ์การบริหารงานของผู้นำองค์กรที่ประสบความสำเร็จ
4.3.1 สังเกตความสนใจ ความตั้งใจ และการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน 4.3.2 ความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายและส่งตรงเวลาที่กำหนด 4.3.3 การแสดงความคิดเห็นและอภิปรายประสบการณ์จากการจัดตั้งองค์กรและการสัมภาษณ์ผู้นำองค์กรต่างๆ ที่ประสบความสำเร็จ 4.3.4 การแก้ไขปัญหาจากสถานการณ์จำลองในการแสดงบทบาทสมมติ
5.1.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
5.1.2 สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- พัฒนาทักษะการใช้ Internet โดยการสืบค้นข้อมูลการบริหารงานและทรัพยากรมนุษย์จากผู้นำที่ประสบความสำเร็จ
- พัฒนาทักษะการเลือกรับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งสืบค้นต่างๆ
- มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการทำงานและการนำเสนอได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม รวมทั้งสามารถหา เว็บไซด์ที่ให้ข้อมูลที่ต้องการศึกษาได้
- พัฒนาทักษะในการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ ทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน
- พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
5.2.1 มอบหมายให้นักศึกษาสืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานและทรัพยากรมนุษย์จากผู้นำที่ประสบความสำเร็จ และที่มีชื่อเสียงทางอินเตอร์เน็ตด้วยตนเอง จากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.2 การนำเสนอรายงาน โดยใช้สื่อ รูปแบบ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยและเหมาะสม
5.3.1 การนำเสนอผลงานและการรายงานผล โดยพิจารณาเนื้อหาและความถูกต้องของภาษาที่ใช้
5.3.2 การมีส่วนร่วมในการอภิปรายในชั้นเรียน
5.3.3 สื่อ รูปแบบ และเทคโนโลยีที่เลือกใช้ในการนำเสนอข้อมูล
 
 
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา 2. ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 มีจรรยาบรรณ 1.4 มีภาวะผู้นำ 1.8 สามารถคิดวิเคราะหืได้อย่างเป็นระบบ 1.10 มีทักษะทางการสื่อสาร 1.5 ความรู้ด้านการเงิน เศรษฐกิจ ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ 1.6 ด้านความรู้การเป้นผลเมืองที่ดี 2.1 ความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัว 2.3 ทักษะด้านสังคมและทักษะการข้ามวัฒนธรรม 2.5 ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ 3.3 การสื่อสารและความร่วมมือ 4.3 ทักษะทางด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร
1 GEBSO508 จิตวิทยาการจัดการองค์การในโลกยุคใหม่
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1,1.2 1.8,1.1.5 การทดสอบย่อยครั้งที่ 1 7 5%
2 1.1,1.4 2.5, การทดสอบย่อยครั้งที่ 2 16 5%
3 1.1,1.2,1.6 สอบกลางภาค 8 20%
4 1.1,1.2,1.5 สอบปลายภาค 17 30%
5 1.10 , 2.2.3,3.3.3 วิเคราะห์กรณีศึกษา/ค้นคว้า/การนำเสนอแบ่งกลุ่มอภิปราย โดยใช้ Power point ตลอดภาคการศึกษา 10%
6 1.4,2.1.6 2.2.1,2.3.3 2.4.3,2.2.5 2.1.5,2.1.6 -การแสดงบทบาทสมมติการสัมภาษณ์งาน -การอภิปราย -การนำเสนอรายงาน -การโต้วาที -การวิเคราะห์กรณีศึกษา -การสัมภาษณ์ผู้นำทีประสบความสำเร็จ ตลอดภาคการศึกษา 20%
7 1.1 - 1.2 2.3.3 การเข้าชั้นเรียน, จิตพิสัย การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
คุณากร สุปน. จิตวิทยาองค์การในโลกยุกต์ใหม่ . มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก. ครั้งที่ 1 : 2565
กันยา สุวรรณแสง จิตวิทยาทั่วไป กรุงเทพฯ : รวมสาสน์ พิมพ์ครั้งที่ 5, 2544.
จิราภา เต็งไตรรัตน์ และคณะ จิตวิทยาทั่วไป กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พิมพ์ครั้งที่ 2 , 2543.
ดวงกมล เวชบรรยงรัตน์ และคณะ จิตวิทยาทั่วไป กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2539.
ทิพยวรรณ กิตติพร จิตวิทยาทั่วไป พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร 2543.
นพมาศ ธีรเวคิน จิตวิทยาสังคมกับชีวิต กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พิมพ์ครั้งที่3, 2542.
นพมาศ ธีรเวคิน ทฤษฎีบุคลิกภาพและการปรับตัว กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2540.
ประมวล ดิคคินสัน จิตวัฒนา:จิตวิทยาเบื้องต้น กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช พิมพ์ครั้งที่ 2 , 2524.
พิสมัย วิบูลย์สวัสดิ์ และคณะ จิตวิทยาทั่วไป เชียงใหม่ : โรงพิมพ์ช้างเผือก 2527.
ไพบูลย์ เทวรักษ์ จิตวิทยา กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ เอส ดี เพรส 2537.
สุชา จันทร์เอม และสุรางค์ จันทร์เอม สุขภาพจิต กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แพร่พิทยา 2521.
สุชา จันทร์เอม จิตวิทยาทั่วไป กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิชจำกัด 2542.
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความคิดเห็นจากนักศึกษาดังนี้

การสนทนาระหว่างผู้สอนและผู้เรียน นักศึกษาเป็นผู้ทำแบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา

นักศึกษาเป็นผู้เสนอแนะกิจกรรมในการเรียนการสอน
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน มีกลยุทธ์ดังนี้
2.1 สังเกตจากการมีส่วนร่วมในการเรียนในการอภิปรายรายกลุ่มใหญ่
2.2 สังเกตจากการทำกิจกรรมในชั้นเรียน
2.3 ประเมินจากผลการนำเสนอ
2.4 ผลการสอบกลางภาคและปลายภาค
หลังจากการประเมินผลในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอนวิชานี้ คือ
3.1 แก้ไขเนื้อหาให้มีความทันสมัย ทันเหตุการณ์เสมอ ยกตัวอย่างกรณีศึกษาให้ทันสมัย
3.2 ให้นักศึกษาเพิ่มเติมในสิ่งที่ต้องการเรียนรู้
3.3 ทำวิจัยในและนอกชั้นเรียน
3.4 การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
ในระหว่างกระบวนการเรียนการสอน มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จากการสอบถามนักศึกษา การตรวจแบบฝึกหัดและงานกลุ่ม ผู้สอนตรวจสอบคะแนน
ของนักศึกษาแต่ละคน และแจ้งผลการได้รับคะแนนเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนภายหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชา ได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
 
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 จิตวิทยาองค์การในโลกยุกต์ใหม่ต้องปรับปรุงเนื้อหาทุก 3 ปี
5.2 เชิญวิทยากรผู้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาให้ความรู้
5.3 จัดดำเนินโครงการในชั้นเรียนที่มีความหลากหลาย และต่อเนื่อง
5.4 จัดทัศนศึกษานอกพื้นที่ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้นอกห้องเรียนและได้ประสบการณ์จริง
5.5 ให้นักศึกษาเข้าไปมีส่วนในการพัฒนามหาวิทยาลัย พัฒนาชุมชนและสังคม