คณิตศาสตร์วิศวกรรม 2

Engineering Mathematics 2

1. เข้าใจระบบสมการเชิงเส้น ตัวดำเนินการเชิงเส้นและลำดับชั้น 2. เข้าใจความหมายของพีชคณิตเมทริกซ์ 3. คำนวนหาเมทริกซ์ผกผันโดยใช้ตัวกำหนดและแอดจอยท์ 4. เข้าใจความหมายของพีชคณิตเวกเตอร์ 2มิติ และ 3มิติ 5. คำนวนหาค่าไอเกนและเวกเตอร์ไอเกนได้ 6. เข้าใจความหมายของอนุพันธ์ย่อย 7. เข้าใจความหมายของแคลคูลัสของเวกเตอร์สามมิติ 8. คำนวนหาเกรเดียนต์ ไดเวอร์เจนซ์ และ เคิร์ลได้ 9.. เข้าใจการอินทิเกรตหลายชั้น
เพื่อจัดทำรายวิชาให้เป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ  พัฒนาการเรียนรู้ ส่งเสริมประสบการณ์ในด้านการฝึกสมองอันเป็นแนวทางทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และแก้ปัญหาต่างๆ ได้ด้วยตนเอง เพื่อเป็นพื้นฐานการศึกษาวิชาชีพทางด้านวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์
ศึกษาเกี่ยวกับ บทนิยามและคุณสมบัติของเมทริกซ์ เมทริกซ์มูลฐาน ตัวดำเนินการแบบแถวเชิงมูลฐาน วิธีการหาเมทริกซ์ผกผัน ฟังก์ชันตัวกำหนด คุณสมบัติของตัวกำหนด การหาเมทริกซ์ผกผันโดยใช้ตัวกำหนดและแอดจอยท์ กฎของเครเมอร์ บทนำเกี่ยวกับเวกเตอร์เชิงเรขาคณิต นอร์มของเวกเตอร์และคณิตศาสตร์ของเวกเตอร์ ผลคูณของสองเวกเตอร์ ผลคูณสเกลาร์ ผลคูณเวกเตอร์ เส้นตรงและระนาบในสามมิติ ผลคูณของสามเวกเตอร์ ค่าไอเกนและเวกเตอร์ไอเกน นิยามฟังก์ชันหลายตัวแปร นิยามของอนุพันธ์ย่อย อนุพันธ์ย่อยของฟังก์ชันปริยาย กฎลูกโซ่ของอนุพันธ์ย่อย เกรเดียนต์ ไดเวอร์เจนซ์ และ เคิร์ล แคลคูลัสของเวกเตอร์สามมิติ เส้นปกติ เส้นสัมผัส ระนาบปกติ ระนาบสัมผัส อนุพันธ์รวม ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด จุดอานม้าของฟังก์ชันหลายตัวแปร ตัวคูณของลากรานซ์ จาโคเบียนของการแปลง การอินทิเกรตหลายชั้น การเปลี่ยนตัวแปรในการอินทิเกรตหลายชั้น
-   อาจารย์ประจำรายวิชาประกาศเวลาให้คำปรึกษาหน้าห้องพักอาจารย์  -   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
-มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม -สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม  
-บอกข้อปฏิบัติในการเรียน การเข้าห้องเรียนและเช็คชื่อเข้าเรียน การส่งงานที่มอบหมาย -ยกตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับทางวิศวกรรม 
-ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม -ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ 
-มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน เศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี -มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ ในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม -สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
-บรรยาย -มอบหมายงานตามเนื้อหา
-การสอบ -งานตรวจงานที่มอบหมาย -ซักถามและรายงานผลงานที่ได้รับมอบหมาย
-สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ -มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์ -สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง  เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต  และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ
-อธิบาย นิยาม ความหมาย กฎและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง -การยกตัวอย่างในเนื้อหารายวิชาให้แสดงการคิด แก้ปัญหาอย่างมีระบบ -มอบหมายงานให้นักศึกษาตามหัวข้อ
-สอบกลางภาคและปลายภาคโดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์ -วัดผลจากการประเมินการแก้ไขโจทย์  การนำเสนอผลงาน
-สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง -รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
มอบหมายงานตามหัวข้อ โดยสามารถช่วยกันทำและแลกเปลี่ยนความรู้ได้
นำเสนองานที่มอบหมายให้และตอบคำถาม
-มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์ -สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
-บรรยาย และยกตัวอย่างการคำนวณ -สาธิตการใช้อุปกรณ์ในการคำนวณ และการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางคณิตศาสตร์
นำเสนองานที่มอบหมายให้และตอบคำถาม
-
-
-
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2
1 ENGCC511 คณิตศาสตร์วิศวกรรม 2
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆขององค์กรและสังคม เช็คชื่อนักศึกษา การมีส่วนร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน ความสนใจ ความรับผิดชอบ ทุกสัปดาห์ 10
2 -สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาทางด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ -สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง -สามารถนำเสนอผลงานโดยใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสารทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการในวิชาชีพได้อย่างเหมาะสม สามารถใช้เครื่องมือการคำนวนและเครื่องมือทางวิศวกรรมได้ - การศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมและงานที่มอบหมาย - การทำงานกลุ่ม - การส่งงานครบถ้วน ทุกสัปดาห์ 30
3 -มีความรู้ความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐานและเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางการผลิตและนวัตกรรมอาหาร และทางเทคโนโลยี -สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาทางด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอบกลางภาค 8 30
4 -มีความรู้ความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐานและเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางการผลิตและนวัตกรรมอาหาร และทางเทคโนโลยี -สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาทางด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอบปลายภาค 17 30
นิตยา แจ่มยวง. แคลคูลัส 1 . พิมพ์ครั้งที่ 1 สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น, 2552 โครงการตำรา. แคลคุลัส 1. พิมพ์ครั้งที่ 2 ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , 2553 Thomas’ CALCULUS 11th edition
-
-
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ 1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนได้มีกลยุทธ์  ดังนี้ 2.1   การสังเกตความสนใจของผู้เรียน 2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้ 3.1   สัมมนาแลกเปลี่ยนการจัดการเรียนการสอนระหว่างผู้เรียนและผู้สอน 3.2   การปรับปรุงวิธีการสอน และเอกสารการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจาก      การเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากงานที่ได้มอบหมาย และผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยมีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชาตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชาได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น   โดยปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 รวมถึงนำผลการเรียนของนักศึกษามาปรับปรุงประสิทธิภาพของรายวิชา