อุทกวิทยา

Hydrology

1.1. เพื่อให้ทราบและเข้าใจถึงวงจรอุทกวิทยาและลักษณะของภูมิอากาศ 1.2 เพื่อให้ทราบถึงวิธีการวัดปริมาณน้ำจากอากาศและการวิเคราะห์ข้อมูลน้ำจากอากาศ 1.3 เพื่อให้สามารถคำนวณการดักน้ำ การระเหย การคายน้ำ และการคายระเหย 1.4 เพื่อให้เข้าใจคุณลักษณะของน้ำท่าและสามารถสร้างกราฟน้ำท่า 1.5 เพื่อให้เข้าใจลักษระการเกิดของน้ำในดิน และชลศาสตร์ของบ่อบาดาล 1.6 เพื่อให้เข้าใจกระบวนการเคลื่อนตัวของน้ำหลาก และสามารถคำนวณการไหลหลากในอ่างเก็บน้ำและในลำน้ำ 1.7 เพื่อให้เข้าใจและสามารถประยุกต์ใช้หลักความน่าจะเป็นกับงานด้านอุทกวิทยา  
มีการปรับปรุงเนื้อหาให้เหมาะสมกับสถานการณ์และเทคโนโลยีปัจจุบัน
ศึกษาเกี่ยวกับวงจรอุทกวิทยา ภูมิอากาศ น้ำจากอากาศ การคายน้ำ การระเหย และการดักน้ำ น้ำท่า น้ำใต้ดิน การระบายน้ำไหลหลาก การวิเคราะห์ทางสถิติ
1 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.1.1    มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎ ระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม 1.1.2    มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับ ความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 1.1.3    สามารถวิเคราะห์และประเมิน ผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม 1.1.4    มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ 1.1.5    มีความรับผิดชอบ ในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรม ในแต่ละสาขา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน   
1.2.1    อาจารย์ปฏิบัติตนเป็นตัวอย่าง ให้ความสำคัญต่อการมีวินัย ตรงต่อเวลา และอธิบายระเบียบการเข้าชั้นเรียน 1.2.2    จัดกิจกรรมโดยแบบนักศึกษาออกเป็นกลุ่ม 3- 5 คน และให้นักศึกษาเปลี่ยนกันเป็นหัวหน้า 1.2.3    แนะนำให้นักศึกษาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและการเคารพสิทธิผู้อื่นและยอมรับฟังความคิดของผู้ร่วมกลุ่ม 1.2.4    ยกตัวอย่างกรณีศึกษา ตัวอย่างที่ขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่และการประพฤติที่ผิดจรรยาบรรณในวิชาชีพ และเปิดโอกาศให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น 1.2.5    อธิบายจรรยาบรรณในวิชาชีพและความรับผิดชอบต่อหน้าที่  
1.3.1    การตรวจสอบการมีวินัยต่อการเรียน การตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียนและการส่งรายงาน 1.3.2    สังเกตพฤติกรรมนักศึกษา 1.3.3    นักศึกษานำเสนอหน้าชั้นเรียน  
2.1.1  มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสต์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี 2.1.2  มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งเชิงทฤษฏีและปฏิบัติ ในเนื้องหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม 2.1.3  สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 2.1.4  สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น 2.1.5  สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้  
2.2.1  บรรยาย ยกตัวอย่างร่วกับการสอนแบบสื่อสาร สองทาง โดยเน้นให้นักศึกษาหาทางค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งเรียนรู้ต่าง  ๆ รวมถึงการค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต 2.2.2  เพื่มการสอนนอกห้องเรียน โดยศึกษาจากประสบการณ์จริงในเรื่องที่ต้องสร้างความเข้าใจ  
2.3.1   สอบข้อเขียน 2.3.2  รายงานการดูงานนอกสถานที่สถานีอุตุนิยมวิทยา 2.3.3  งานที่มอบหมาย 2.3.4  ผลงานที่นำเสนอ 2.3.5  สอบข้อเขียน 2.3.6  ข้อเสนอความคิดของนักศึกษา  
3.1.1  มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี 3.1.2  สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ 3.1.3  สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินในใจการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3.1.4  มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์ 3.1.5  สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทนต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์กรความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ
3.2.1   ค้นคว้า งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานทางอุทกวิทยา 3.2.2  ส่งเสริมการเรียนรู้จากปัญหา 3.2.3  ตั้งประเด็นคำถามเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาฝึกการบูรณาการความรู้ 3.2.4  อธิบาย แนะแนวทางการวิเคราะห์ปัญหาทางวิศวกรรม รวมทั้งยกตัวอย่างประกอบพร้อมทั้งมอบหมายโครงงาน 3.2.5  มอบหมายงานเพื่อพัฒนาหรือต่อยอดองค์ความรู้ 3.2.6  แนะนำวิธีการสืบค้นข้อมูล แหล่งข้อมูล กระตุ้นให้นักศึกษาเกิดจิตสำนึกในการเรียนรู้ด้วยตนเอง  
3.3.1   นำเสนอหน้าชั้นเรียน 3.3.2  สังเกตการณ์แสดงความคิดเห็น 3.3.3  ทดสอย 3.3.4  ผลการดำเนินโครงการ 3.3.5  ผลงานที่มอบหมาย 3.3.6  ผลการสืบค้น  
4.1.1   สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม 4.1.2  สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของงตนเองและของกลุ่มรวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ  4.1.3  สามารถวางแผนและรับผิดชอบ ในการพัมนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง 4.1.4  รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมายทั้งงาน บุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งฐานะผู้นำ และผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ 4.1.5  มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม  
4.2.1   แนะนำทักษะ มารยาท วิธีการในการทำงาน และยกตัวอย่างสื่อสารกับหัวหน้างาน เพื่อร่วมงาน และผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำไปประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม 4.2.2  มอบหมายงานรายกลุ่มโดยให้หัวหน้ากลุ่มกำหนดความรับผิดชอบของสมาชิกแต่ละคนอย่างชัดเจนและร่วมกันแสดงความคิดเห็น จากนั้นให้สรุปเป็นมติของกลุ่ม 4.2.3  มอบหมายงานกลุ่มและกำหนดการดำเนินการอย่างมีขั้นตอน ติดตามการดำเนินการและให้มีการเปลี่ยนกลุ่มทำงานตามกิจกรรมที่มอบหมายเพื่อให้นักศึกษาทำงานได้กับผู้อื่น โดยไม่ยึดติดกับเฉพาะเพื่อนที่ใกล้ชิด 4.2.4  และยกตัวอย่างสถานการณืที่มีการใช้ความรู้ในการช่วยเหลือสังคมอย่างเหมาะสมมอบหมายงาน 4.2.5  อธิบายพื้นฐานความปลอดภัยและกระตุ้นให้นักศึกษาตระหนักถึงหน้าที่ความรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อม  
4.3.1   สังเกตและประเมินพฤติกรรมนักศึกษา 4.3.2  ให้นักศึกษาประเมินสมาชิกในกลุ่ม ทั้งด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและด้านความรับผิดชอบ 4.3.3  ผลจากากรติดตามการดำเนินการ และการประเมินความรับผิดขอบจากรายงานกลุ่มของนักศึกษา 4.3.4  ผลการทำงาน 4.3.5  ทดสอบย่อย 4.3.6  สังเกตและสอบถามถึงจิตสำนึกของนักศึกษา  
5.1.1   มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี 5.1.2   มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์ 5.1.3  สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารทีทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ 5.1.4  มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์ 5.1.5  สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้  
5.2.1   แนะนำและมอบหมายงานที่นักศึกษาต้องค้นคว้าและฝึกฝนการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ 5.2.2  แนะนำการสืบค้น มอบหมายงานเพื่อการวิเคราะห์ 5.2.3  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหา 5.2.4  แนะนำวิธีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมและที่มีประสิทธิภาพกับงานทางด้านวิศวกรรมโยธา 5.2.5  มอบหมายงาน 5.2.6  ส่งเสริมการค้นคว้า และเรียบเรียงข้อมูล และนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจอย่างถูกต้อง 5.2.7  ตั้งประเด็นปัญหาทางด้านอุทกวิทยาที่ต้องอาศัยใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรมในการช่วยแก้โจทย์ประเด็นปัญหาดังกล่าว 5.2.8  ศึกษาดูงานนอกสถานที่  
5.3.1   สังเกตและประเมินจากผลงาน 5.3.2  ทดสอบย่อย 5.3.3  ผลงานที่มอบหมาย 5.3.4  รายงานศึกษาดูงานนอสถานที่  
6.1.1   มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์ และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 6.1.2   มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่มมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี  
6.2.1   ส่งเสริมและกระตุ้นให้นักศึกษาใช้เวลาว่างในการฝึกฝนการใช้คอมพิวเตอร์ในการแก้ปัญหาทางด้านอุทกวิทยาอย่างเหมาะสม 6.2.2  ฝึกนักศึกษาให้มีกิจนิสัยที่ดีในการปฏิบัติงาน  
6.3.1   พิจารณาผลการปฏิบัติการ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1-2.5 การทดสอบย่อย (Quiz) 2 ครั้ง 1-15 20%
2 2.4-2.5,3.1-3.5 มอบหมายงานและประเมินจากผลการนำเสนอ 4,12 15%
3 2.1-2.5 การสอบกลางภาค 7 25%
4 2.1-2.5 การสอบปลายภาค 16 25%
5 1.2-1.5 สังเกตและประเมินพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรม 1-15 2%
6 1.2-1.5,4.1-4.5 การประเมินตนเองของนักศึกษา พฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดขอบ 4,5,15 2%
7 4.1-4.3 การประเมินด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมในชั้นเรียนโดยนักศึกษา อื่น ๆ ในรายวิขา 15 2%
8 4.2-4.3 การประเมินด้านทักษะพิสัย 1-15 5%
กีรติ  ลีวัจนกุล (2543) อุทกวิทยา. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรังสิต: ปทุมธานี, 515 หน้า
Subrahmanys, K. (2009) Engineering Hydrology. 3ed. Singapore: MeGraw-Hill. 434 pp.
วีระพล  แต้สมบัติ (2533) หลักอุทกวิทยา. สำนักพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นเตอร์: กรุงเทพ, 255 หน้า
Linsley, R. K. and et al. (1988) Hydrology for Engineers. 3ed. Singapore: MeGraw-Hill. 492 pp.
Chow, V. T. Maidment, D. R. and Mays, L.W., (1988) Applied Hydrology. MeGraw-Hill. Singapore, 572 pp.
Viessman, W. and et al. (1989) Introduction to Hydrology, Harper & Row, New York.
http://www.mhhe.com/subrahmanya/eh3e
http://www.rid.go.th
ให้นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ซึ่งรวมถึงวิธีการสอน การจัดกิจกรรมในและนอกห้องเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับ และเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงรายวิชา ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย
การประเมินการสอน โดยคณะกรรมการประเมินการสอนที่แต่งตั้งโดยสาขา จากการสังเกตขณะสอน และการสัมภาษณ์ตัวแทนนักศึกษา
สาขากำหนดให้อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิผลของรายวิชา แล้วจัดทำรายงานรายวิชาตามรายละเอียดที่ สกอ.กำหนดทุกภาคการศึกษาภาควิชากำหนดให้อาจารย์ผู้สอนเข้ารับฝึกอบรมกลยุทธ์การสอน/การวิจัยในชั้นเรียน และมอบหมายให้อาจารย์ผู้สอนรายวิชาที่มีปัญหา ทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างน้อยภาคการศึกษาละ 1 รายวิชา มีการประชุมอาจารย์ทั้งสาขา เพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
สาขามีคณะกรรมการประเมินการสอนทำหน้าที่ทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชาโดยการสุ่มประเมินข้อสอบและความเหมาะสมของการให้คะแนน ทั้งคะแนนดิบและระดับคะแนน ของรายวิชา 60% ของรายวิชาทั้งหมดในความรับผิดชอบของภาควิชา ภายในรอบเวลาหลักสูตร
สาขามีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดยพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา ผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินการสอนของสาขา การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน หลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา เสนอต่อหัวหน้าสาขา เพื่อนำเข้าที่ประชุมอาจารย์ประจำสาขาวิชาพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงสำหรับใช้ในปีการศึกษาถัดไป