งานฝึกพื้นฐานทางวิศวกรรม

Basic Engineering Skills

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับเครื่องมือวัด เช่น เครื่องมือวัดทั่วไป เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ ไมโครมิเตอร์ เป็นต้น เครื่องมือกลพื้นฐาน เช่น เครื่องเจาะตั้งโต๊ะ เป็นต้น การเชื่อมประสาน เครื่องมือทั่วไป เช่น งานร่างแบบ งานเลื่อยมือ งานตะไบ เป็นต้น  และหลักการปฏิบัติงานพื้นฐานทางด้านวิศวกรรมอย่างปลอดภัย เพื่อให้สามารถปฏิบัติการทำงานโดยใช้เครื่องมือให้ถูกต้อง เพื่อจะได้นำความรู้ ความสามารถไปใช้ในการประกอบอาชีพทางด้านวิศวกรรม และเป็นพื้นฐานในการใช้เครื่องมือเครื่องจักรในขั้นสูงต่อไป และได้ทำการปลุกผังจิตสำนึกให้นักศึกษาเอาใจใส่ ให้ความสำคัญของ การตรงต่อเวลา มีระเบียบวินัย ด้วย
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการปฏิบัติงานพื้นฐานทางด้านวิศวกรรม เมื่อถึงเวลาได้ไปปฏิบัติงานจะสามารถนำความรู้นี้ไปประยุกต์ใช้ในการปรับปรุง แก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานได้ ซึ่งเป็นความรู้พื้นฐานอย่างหนึ่งของอาชีพวิศวกรด้านงานอุตสาหกรรม ผู้สอนได้ดำเนินการจัดทำแผนการสอนเพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ทุกหัวข้อของรายวิชา  และเป็นแนวทางให้นักศึกษาได้มีการเตรียมความพร้อมในการศึกษาล่วงหน้า และทางผู้สอนเองก็ต้องมี การปรับเปลี่ยนเนื้อหาให้ทันต่อเทคโนโลยีของการทำงานซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
ปฏิบัติงานพื้นฐานทางด้านวิศวกรรม ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือวัด เครื่องมือกลพื้นฐาน การเชื่อมประสาน เครื่องมือทั่วไป และหลักการปฏิบัติงานพื้นฐานทางด้านวิศวกรรมอย่างปลอดภัย
Practice of the basics of engineering, related instrumentation, mechanical basis, the interface general tools, the basic principles and practices of engineering safety.
 -   อาจารย์ประจำรายวิชา  แจ้งเวลาให้คำปรึกษา หรือช่องทางในการติดต่อหน้าชั้นเรียน และให้ช่องทางการติดต่อด้าน IT เช่น Application Line, MS Team, email และโทรศัพท์มือถือ
 -   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
     (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.1 แสดงออกซึ่งความรักและศรัทธาและภูมิใจในวิชาชีพครูและจิตวิญญาณความเป็นครูและ ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู
      1.1.2 มีจิตอาสา จิตสาธารณะ อดทนอดกลั้น มีความเสียสละ รับผิดชอบและซื่อสัตย์ต่องานที่ได้รับมอบหมายทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ และสามารถพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี แก่ศิษย์ครอบครัว สังคมและประเทศชาติและเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน
      1.1.3 มีค่านิยมและคุณลักษณะเป็นประชาธิปไตย คือ การเคารพสิทธิและให้เกียรติคนอื่น มีความสามัคคีและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และใช้เหตุผลและปัญญาในการดำเนินชีวิตและการตัดสินใจ
      1.1.4 มีความกล้าหาญและแสดงออกทางคุณธรรมจริยธรรม สามารถวินิจฉัย จัดการและคิดแก้ปัญหาทางคุณธรรมจริยธรรมด้วยความถูกต้องเหมาะสมกับสังคม การทำงานและสภาพแวดล้อม โดยอาศัยหลักการ เหตุผลและใช้ดุลยพินิจทางค่านิยม บรรทัดฐานทางสังคม ความรู้สึกของผู้อื่นและประโยชน์ของสังคมส่วนรวม มีจิตสำนึกในการธำรงความโปร่งใสของสังคมและประเทศชาติต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่นและความไม่ถูกต้อง ไม่ใช้ข้อมูลบิดเบือน หรือการลอกเลียนผลงาน
1.2.1 การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีของครูต้นแบบ (Role model)
1.2.2 กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กรเพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม สิ่งแวดล้อม และเป็นแบบอย่างที่ดี เช่นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา การแต่งกายตามกฎระเบียบของมหาวิทยาลัย
1.2.3 กำหนดให้นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่ม โดยฝึกให้รู้บทบาทและหน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่ม การเป็นสมาชิกกลุ่ม การเคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งการเห็นคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.2.4 สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนแต่ละรายวิชา ในด้านความซื่อสัตย์สุจริตในการสอบ รวมทั้งการมีมารยาททางวิชาการ การไม่คัดลอกผลงานทางวิชาการของผู้อื่น
1.2.5 จัดกิจกรรมส่งเสริมและคิดแก้ปัญหาทางคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพครู และการมีจิตสำนึกสาธารณะ เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำความดี
การทำประโยชน์และเสียสละแก่ส่วนรวม
1.2.6 ให้นักศึกษาได้เรียนรู้และฝึกฝนการปฏิบัติตนที่ดี และกระตุ้นให้เกิดจิตสำนึกของการเป็นครู ผ่านการสะท้อนคิดทบทวนประสบการณ์ (Reflection) หรือการใช้กรณีศึกษาครูต้นแบบที่ได้รับการยกย่องในสังคม
1.2.7 การเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
1.3.1 การมีระเบียบวินัยในชั้นเรียน การตรงเวลาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษา
1.3.2 ความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
1.3.3 ความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย และการสอบ
1.3.4 พฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการอภิปราย การแสดงความคิดเห็น และการสะท้อนคิดทบทวนประสบการณ์กิจกรรมในชั้นเรียน
1.3.5 ความมีวินัยและความใส่ใจของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
1.3.6 พฤติกรรมการเรียน การปฏิบัติงานตามสภาพจริงหรือในห้องปฏิบัติการ การปฏิบัติงานในสถานประกอบการ การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา การเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
1.3.7 การใช้แบบวัดทางจิตวิทยา เช่น แบบวัดคุณธรรมจริยธรรม  ค่านิยม อุดมการณ์ จิตวิญญาณความเป็นครู ทักษะการเรียนรู้ ความรอบรู้ด้านต่าง ๆ
1.3.8 การประเมินโดยเพื่อน ผู้ร่วมงาน หรือผู้เกี่ยวข้อง
2.1.1 มีความรอบรู้ในหลักการ แนวคิด ทฤษฎีเนื้อหาสาระด้านวิชาชีพของครูอาทิค่านิยมของครู คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ จิตวิญญาณครู ปรัชญาความเป็นครูจิตวิทยาสำหรับครู จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาการเรียนรู้เพื่อจัดการเรียนรู้และช่วยเหลือ แก้ไขปัญหา ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน หลักสูตรและวิทยาการ การจัดการเรียนรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารการศึกษาและการเรียนรู้การวัดประเมิน การศึกษาและการเรียนรู้การวิจัยและการพัฒนานวัตกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียน และภาษาเพื่อการสื่อสารสำหรับครู ทักษะการนิเทศและการสอนงาน ทักษะเทคโนโลยีและดิจิทัล ทักษะการทำงานวิจัยและวัดประเมินทักษะการร่วมมือสร้างสรรค์ และทักษะศตวรรษที่ ๒๑ มีความรู้ความเข้าใจในการบูรณาการความรู้กับการปฏิบัติจริงและ การบูรณาการข้ามศาสตร์อาทิ การบูรณาการการสอน (Technological Pedagogical Content Knowledge: TPCK) การสอนแบบบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี กระบวนการทางวิศวกรรม และคณิตศาสตร์ (Science Technology Engineering and Mathematics Education: STEM Education) ชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Professional Learning Community: PLC) และมีความรู้ในการประยุกต์ใช้
   2.1.2 มีความรู้และเนื้อหาในวิชาชีพ ด้านหลักการ แนวคิด ทฤษฎีและทักษะการปฏิบัติอย่างลึกซึ้ง ถ่องแท้รวมทั้งบริบทของอุตสาหกรรม มาตรฐานอุตสาหกรรมและ/หรือมาตรฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในสาขาวิชา เฉพาะต่างๆ มีความสามารถในการใช้เครื่องมือ การซ่อมแซม การบำรุงรักษา การสร้าง การพัฒนากระบวนการ ขั้นตอนในการทำงาน โดยคำนึงถึงผลดีและผลเสีย ความปลอดภัยของอุปกรณ์ผลิตภัณฑ์และชีวิตและทรัพย์สิน ของผู้ปฏิบัติงานและผู้บริโภค สามารถติดตามความก้าวหน้าด้านวิทยาการที่เกี่ยวข้องและนำไปประยุกต์ใช้ ในการพัฒนาผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม โดยมีผลลัพธ์การเรียนรู้และเนื้อหาสาระด้านมาตรฐานผลการเรียนรู้ ด้านความรู้ของแต่ละสาขาวิชา
   2.1.3 เข้าใจชุมชน เข้าใจชีวิต มีความรู้บริบทอุตสาหกรรม สถานประกอบการ เข้าใจโลก และการอยู่ร่วมกันบนพื้นฐานความแตกต่างทางวัฒธรรม สามารถเผชิญและเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม และสามารถนำแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตและพัฒนาตน พัฒนางาน และพัฒนาผู้เรียน
   2.1.4 มีความรู้และความสามารถในการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ตามมาตรฐาน
                        2.1.5 ตระหนักรู้ เห็นคุณค่าและความสำคัญของศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตน พัฒนาผู้เรียน พัฒนางานและพัฒนาชุมชน
จัดการเรียนรู้ การถ่ายทอดความรู้ การสร้างแรงบันดาลใจและส่งเสริมให้ผู้เรียน
มีความสุขในการเรียนรู้ โดยใช้ศาสตร์การสอน รวมถึงการใช้เทคนิค วิธีการจัดการเรียนรู้ และสื่อเทคโนโลยี และรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสาระวิชาและผู้เรียนที่มีความแตกต่างกันโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ นำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการศาสตร์การสอน ความรู้ เนื้อหาสาระ และเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิด้านความรู้ ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย อาทิ
2.2.1 การบรรยายเชิงปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน
2.2.2 การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning)
2.2.3 การเรียนรู้แบบรวมพลัง (Collaborative Learning)
2.2.4  การเรียนรู้โดยบูรณาการการปฏิบัติงานจริงในสถานศึกษา หรือสถานประกอบการ
2.2.5 การเรียนรู้จากกรณีศึกษา
2.2.6 การเรียนรู้โดยใช้การสืบสอบ
2.2.7 การการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีสรรสร้างนิยม (Constructivism)
2.2.8 การเรียนรู้แบบผสมผสาน โดยบูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัล
2.2.9 การเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน
2.2.10 การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์/ปรากฏการณ์/ฉากทัศน์เป็นพื้นฐาน
2.2.11 การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน
2.2.12 การเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน
2.2.13 การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
2.2.14 การเรียนรู้เชิงผลิตภาพ
2.2.15 การเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง
2.2.16 การเรียนรู้โดยวิธีโสเครติส
2.2.17 การเรียนรู้จากกระบวนการกระจ่างค่านิยม
2.2.18 การเรียนรู้จากกระบวนการทำงานเป็นทีม (Team-based Learning)
2.2.19 การเรียนรู้จากการปฏิบัติงานในสถานประกอบการ การปฏิบัติการ
ใช้แนวคิดการวัดและประเมินตามสภาพจริง สอดคล้องกับเนื้อหา กิจกรรม และบริบทรายวิชา มีเป้าหมายของการวัดและประเมินเพื่อใช้ในการปรับปรุงพัฒนาผู้เรียน การเรียน การสอน และการตัดสินผลการเรียน โดยมีกลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิด้านความรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย อาทิ
2.3.1 การทดสอบความรู้ เช่น การทดสอบความรู้ในเนื้อหารายวิชาที่เน้นทฤษฎี
2.3.2 การวัดผลภาคปฏิบัติ/ทักษะการปฏิบัติ เช่น การนำเสนองาน โครงงาน รายงานการศึกษาค้นคว้า การวิจัยในชั้นเรียน การปฏิบัติงานในสถานประกอบการ การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา
2.3.3 การประเมินผลการปฏิบัติงาน เช่น การปฏิบัติตามสภาพจริงหรือในห้องปฏิบัติการ การปฏิบัติงานในสถานประกอบการ การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา
2.3.4 การประเมินผลพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและการสะท้อนคิดกิจกรรมในชั้นเรียน
3.1.1 สามารถคิด ค้นหา วิเคราะห์ข้อเท็จจริง และประเมินข้อมูล สื่อ สารสนเทศ จากแหล่งข้อมูล ที่หลากหลายอย่างรู้เท่าทัน เป็นพลเมืองตื่นรู้มีสำนึกสากล สามารถเผชิญและก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลงในโลก ยุคดิจิทัล เทคโนโลยีข้ามแพลทฟอร์มและโลกอนาคต นำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน และวินิจฉัยแก้ปัญหาและ พัฒนางานได้อย่างสร้างสรรค์โดยคำนึงถึงความรู้หลักการทางทฤษฎีประสบการณ์ภาคปฏิบัติค่านิยม แนวคิด นโยบายและยุทธศาสตร์ชาติบรรทัดฐานทางสังคมและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
3.1.2 สามารถคิดริเริ่มและพัฒนางานอย่างสร้างสรรค์
3.1.3 สร้างและประยุกต์ใช้ความรู้จากการทำวิจัยและสร้างหรือร่วมสร้าง ผลิตภาพ หรือผลิตภัณฑ์ หรือนวัตกรรม เพื่อพัฒนาตนเอง พัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนและพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้สร้างหรือร่วมสร้าง นวัตกรรม รวมทั้งการถ่ายทอดความรู้แก่ชุมชน สถานประกอบการและสังคม
3.2.1 การเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง
3.2.2 การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
3.2.3 การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์/ปรากฏการณ์/ฉากทัศน์เป็นพื้นฐาน
3.2.4 การเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน
3.2.5 ใช้กระบวนการเรียนการสอนที่หลากหลายซึ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยฝึกทักษะด้านปฏิบัติการ 
3.2.6 ให้ผู้เรียนสืบค้นข้อมูล วิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ แล้ววินิจฉัย และสรุปประเด็นของสารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณ และเป็นระบบ
3.2.7 การเรียนรู้จากการปฏิบัติงานในสถานประกอบการ การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา
3.3.1 สังเกตพฤติกรรมและพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ของการมีส่วนร่วมใน การอภิปรายและการสะท้อนคิดกิจกรรมในชั้นเรียน
3.3.2 ประเมินจากการนำเสนอรายงานหรือผลการปฏิบัติงาน การอ้างอิงแหล่งข้อมูลอย่างถูกต้องตามหลักและจรรยาบรรณทางวิชาการ
3.3.3 ประเมินจากคุณภาพของรายงาน ที่แสดงถึงการค้นคว้าความรู้เพิ่มเติม การเลือกรับข้อมูลข่าวสารที่เหมาะสม และการคิดอย่างมีเหตุผลและเป็นระบบ
3.3.4 ประเมินจากผลการวิเคราะห์แบบวิภาษวิธีเกี่ยวกับประเด็นวิกฤตทางวิชาการ วิชาชีพและทางสังคม
3.3.5 ประเมินจากผลการทำวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่
3.3.6 ประเมินจากผลการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมสร้างสรรค์ ที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม
3.3.7 ประเมินจากผลการปฏิบัติงานในสถานประกอบการ การปฏิบัติ      การสอน ในสถานศึกษา และพฤติกรรมการเรียน
3.3.8 ประเมินจากผลการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
4.1.1 รับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น เข้าใจผู้อื่น มีความคิดเชิงบวก มีวุฒิภาวะทางอารมณ์และทางสังคม
4.1.2 ทำงานร่วมกับผู้อื่น ทำงานเป็นทีม เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี มีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้เรียน ผู้ร่วมงาน ผู้ปกครอง คนในชุมชน และผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการ มีสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวมทั้งด้าน เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สามารถพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความภาคภูมิใจและเห็นคุณค่าในตนเอง ในวิชาชีพ เคารพในเกียรติและศักดิ์ศรีของผู้อื่น และความเป็นมนุษย์
4.1.3 มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ต่อตนเอง ต่อผู้เรียน ต่อผู้ร่วมงาน และต่อส่วนรวม สามารถ ช่วยเหลือและแก้ปัญหาตนเอง กลุ่มและระหว่างกลุ่มได้อย่างสร้างสรรค์
4.1.4 มีภาวะผู้นำทางวิชาการและวิชาชีพ มีความเข้มแข็งและกล้าหาญทางจริยธรรม สามารถชี้นำ และถ่ายทอดความรู้แก่ผู้เรียน สถานศึกษา ชุมชนและสังคมอย่างสร้างสรรค์
4.2.1 การเรียนรู้แบบรวมพลัง
4.2.2 การเรียนรู้แบบร่วมมือ
4.2.3 ใช้กระบวนการเรียนการสอนที่หลากหลายซึ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยฝึกทักษะด้านปฏิบัติการ เช่น การเรียนแบบมีส่วนร่วมปฏิบัติการ
4.2.4 การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
4.2.5 การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน
4.2.6 การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์/ปรากฏการณ์/ฉากทัศน์เป็นพื้นฐาน
4.2.7 ให้ผู้เรียนสืบค้นข้อมูล วิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ แล้ววินิจฉัย และสรุปประเด็นของสารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณ และเป็นระบบ
4.2.8 การเรียนรู้จากการปฏิบัติงานในสถานประกอบการ การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา
4.2.9 การเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
4.3.1 วัดและประเมินจากพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการอภิปราย การแสดงความคิดเห็น และการสะท้อนคิดทบทวนประสบการณ์กิจกรรมในชั้นเรียน
4.3.2 วัดและประเมินจากผลการเรียนแบบมีส่วนร่วมปฏิบัติการ
4.3.3 วัดและประเมินจากผลการนำเสนองานเป็นกลุ่ม การเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีในการปฏิบัติงานร่วมกัน
4.3.4 วัดและประเมินจากการปฏิบัติงาน เช่น การปฏิบัติตามสภาพจริงหรือในห้องปฏิบัติการ การปฏิบัติงานในสถานประกอบการ การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา
4.3.5 การประเมินโดยเพื่อน ผู้ร่วมงาน หรือผู้เกี่ยวข้อง
5.1.1 วิเคราะห์เชิงตัวเลข สำหรับข้อมูลและสารสนเทศ ทั้งที่เป็นตัวเลขเชิงสถิติ หรือคณิตศาสตร์ เพื่อเข้าใจองค์ความรู้ หรือประเด็นปัญหาได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง
5.1.2 สื่อสารกับผู้เรียน บุคคลและกลุ่มต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพด้วยวิธีการหลากหลาย ทั้งการพูด การเขียน และการนำเสนอด้วยรูปแบบต่างๆ โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสม
5.1.3 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมสำเร็จรูปหรือแอปพลิเคชันหรือแพลตฟอร์ม รวมทั้งอุปกรณ์สนับสนุนที่ทันสมัย จำเป็นสำหรับการจัดการเรียนรู้ การวิจัย การทำงาน และการประชุม รวมทั้ง สามารถติดตามความก้าวหน้า การจัดการและสืบค้นข้อมูลและสารสนเทศ รับและส่งข้อมูลและสารสนเทศ โดยใช้ดุลยพินิจที่ดีในการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลและสารสนเทศ อีกทั้งตระหนักถึงการละเมิดลิขสิทธิ์ และการลอกเลียนผลงาน
5.2.1 การติดตาม วิเคราะห์ และนำเสนอรายงานประเด็นสำคัญด้านการศึกษาจากข่าวสารบนสื่อสังคมออนไลน์
5.2.2 การสืบค้นและนำเสนอรายงานประเด็นสำคัญด้านการศึกษาโดยบูรณาการการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัล
5.2.3 การจัดทำอินโฟกราฟิกเพื่อสรุปประเด็นสาระสำคัญของงานที่นำเสนอ
5.2.4 การเรียนรู้จากการปฏิบัติงานในสถานประกอบการ การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา
5.2.5 การจำลองการทำงานโดยใช้ ซอฟต์แวร์หรือเพล็ตฟอร์ม
5.2.6 การเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
5.3.1 วัดและประเมินจากการติดตาม วิเคราะห์ และนำเสนอรายงานที่แสดงถึงการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงตัวเลข
5.3.2 วัดและประเมินจากผลการสืบค้นและนำเสนอรายงานประเด็นสำคัญการศึกษาที่มีการบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัล
5.3.3 ประเมินจากการอ้างอิงแหล่ง ข้อมูล อย่างถูกต้องตามหลักและจรรยาบรรณทางวิชาการ
5.3.4 วัดและประเมินจากการปฏิบัติงาน เช่น การปฏิบัติตามสภาพจริงหรือในห้องปฏิบัติการ การปฏิบัติงานในสถานประกอบการ การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา
5.3.5 ประเมินจากการสอบภาคทฤษฎี หรือภาคปฏิบัติ
6.1.1 มีความเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนรู้และสอนงาน ด้วยรูปแบบ วิธีการที่หลากหลาย โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง สามารถออกแบบและสร้างหลักสูตรรายวิชาในชั้นเรียน หรือหลักสูตรฝึกอบรม วางแผนและออกแบบเนื้อหาสาระและกิจกรรมการจัดการเรียนรู้บริหารจัดการชั้นเรียน และ/หรือ สถานประกอบการ ใช้สื่อและเทคโนโลยีวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนาผู้เรียนอย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์
6.1.2 มีความรู้ความเข้าใจ สามารถวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคลและจัดการเรียนรู้หรือสอนงาน ได้อย่างหลากหลายเพื่อพัฒนาผู้เรียนตามความแตกต่างระหว่างบุคคล ทั้งผู้เรียนปกติหรือที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษหรือต่างวัฒนธรรม
6.1.3 จัดกิจกรรมและออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ เรียนรู้ ผ่านการลงมือปฏิบัติและการทำงานในสถานการณ์จริงที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาการคิด การทำงาน การจัดการการเผชิญสถานการณ์ ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น โดยบูรณาการการทำงานกับการเรียนรู้และคุณธรรม จริยธรรม สามารถประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกัน แก้ไขปัญหา และพัฒนา
6.1.4 สร้างบรรยากาศ และจัดสภาพแวดล้อม สื่อการเรียน แหล่งวิทยาการ เทคโนโลยีวัฒนธรรม และภูมิปัญญาทั้งในและนอกสถานศึกษาเพื่อการเรียนรู้มีความสามารถในการประสานงานและสร้างความร่วมมือ กับบิดามารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่ออำนวยความสะดวกและร่วมมือกันพัฒนาผู้เรียน ให้มีความรอบรู้มีปัญญารู้คิดและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่องให้เต็มตามศักยภาพ
6.1.5 สามารถจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนมีทักษะศตวรรษที่ ๒๑ และเทคโนโลยีมาใช้ในการ จัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนและพัฒนาตนเอง เช่น ทักษะการเรียนรู้(Learning Skills) ทักษะการรู้เรื่อง (Literacy Skills) และทักษะชีวิต (Life Skills) ทักษะการทำงานแบบร่วมมือ และดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยใช้ความรู้จากวิชาต่างๆ ที่เรียนมา การวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย ดังข้อต่อไปนี้
6.2.1  การเรียนรู้โดยบูรณาการการปฏิบัติงานจริงในสถานศึกษา (Work-integrated learning: WIL)
6.2.2 การออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการความรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางด้วยวิธีที่หลากหลาย
6.2.3 จัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง ได้แก่ การจัดทำแผน    การเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การผลิตสื่อ และการใช้สื่อ การวัดประเมินผล การปฏิบัติ   การสอนแบบจุลภาค (Micro teaching) การวิจัยในชั้นเรียน
6.2.4 จัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงในด้านการปฏิบัติงานครูจากการปฏิบัติการสอนระหว่างเรียนและในสถานศึกษา
6.2.5 จัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์ หรือผู้เชี่ยวชาญทางด้าน  การสอนผ่านการสังเกตการสอน การสัมภาษณ์
6.2.6 จัดให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากเพื่อนที่ได้ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาต่าง ๆ
6.2.7 จัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากต้นแบบ เช่น ครูผู้สอน ครูประจำชั้น ครู      พี่เลี้ยง
6.2.8 การทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน
6.2.9 การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีของครูต้นแบบ
6.3.1 เน้นการประเมินตามสภาพจริง ในเรื่องความสามารถในการจัด       การเรียนรู้ที่หลากหลายและความเป็นครู
6.3.2 ประเมินผลงานของนักศึกษาจากบันทึกการสอนประจำวัน บันทึก   การนิเทศ บันทึกการสังเกตการสอนของครูพี่เลี้ยง แผนการจัดการเรียนรู้ กระบวนการทำงานวิจัยในชั้นเรียน การทำแฟ้มสะสมงาน สรุปผลการปฏิบัติการสอนหรือการฝึกประสบการณ์ รายงานผลการจัด      การเรียนรู้และการปฏิบัติงาน
6.3.3 สังเกตการสอนในชั้นเรียน และประเมินแบบบันทึกหลังการสอน โดยครูพี่เลี้ยง อาจารย์นิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา
6.3.4 ประเมินงานวิจัยในชั้นเรียนโดยครูพี่เลี้ยง และอาจารย์นิเทศก์
6.3.5 ประเมินการจัดโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์วิชาชีพครู
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะการจัดการเรียนรู้
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 4 5 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 1 2 3 4 5
1 TEDEE301 งานฝึกพื้นฐานทางวิศวกรรม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1.1, 1.1.2, 1.1.3, 2.1.2, 2.2.4, 2.2.5, 3.1.1, 3.1.3, 3.3.5, 4.1.1, 4.1.3, 5.1.1, 5.1.3 การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 60%
2 6.1.2, 6.1.4, 6.1.5 สอบปฏิบัติ 17 30%
3 1.1.1, 1.1.2, 1.1.3 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
- เอกสารใบงานประกอบการสอน
 - หนังสือเกี่ยวกับการฝึกฝีมืองานช่างอุตสาหกรรม
- หนังสือตารางงานโลหะ
- หนังสือตารางเหล็ก
- นักศึกษาประเมินผลการสอนอาจารย์ผ่านระบบการประเมินของมหาวิทยาลัยฯ
- สังเกตการณ์สอนของอาจารย์ท่านอื่นในรายวิชาเดียวกัน
- สังเกตุพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษา
- หาข้อมูลที่ใช้สอนที่ทันสมัย และเทคนิคการสอนโดยให้นักศึกษามีส่วนร่วม
- เปรียบเทียบผลการสอนกับนักศึกษากลุ่มอื่น
- สอบถามปัญหาการสอนจากอาจารย์ผู้สอนท่านอื่นๆพร้อมนำมาปรับปรุง
- ปรับปรุงกิจกรรมและแผนการสอนให้มีความเหมาะสม