วิศวกรรมการบริหารงานก่อสร้าง

Construction Engineering and Management

ให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ ในระบบการบริการก่อสร้าง องค์ความรู้และเครื่องมือทางวิศวกรรมที่ใช้ในการบริหารการก่อสร้าง และ เกิดทักษะในการบริหารการก่อสร้าง ระบบบริหารและจัดองค์กรงานก่อสร้าง การวางผังโครงการ การวางแผนงานก่อสร้าง การประยุกต์เทคโนโลยีในการบริหารการก่อสร้าง การประเมินและทบทวนโครงการ ระบบเอกสาร ระบบเลขรหัสสำหรับการควบคุมงานงบประมาณการก่อสร้าง การบริหารทรัพยากร การติดตามความก้าวหน้าของโครงการ ความปลอดภัยในงานก่อสร้าง ระบบควบคุมคุณภาพ การนำศึกษาทัศนศึกษานอกสถานที่
มีการปรับปรุงเนื้อหาเกี่ยวกับการวางแผนงานก่อสร้างที่มีลักษณะซ้ำกัน การประยุกต์เทคโนโลยีในการบริหารการก่อสร้าง การวิเคราะห์ผลผลิตงานก่อสร้าง รวมถึงวิเคราะห์แนวโน้มและคาดการณ์ค่าใช้จ่าย การศึกษาความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์การก่อสร้าง 
ศึกษาเกี่ยวกับระบบการบริการก่อสร้าง องค์ความรู้และเครื่องมือทางวิศวกรรมที่ใช้ในการบริหารการก่อสร้าง และ เกิดทักษะในการบริหารการก่อสร้าง ระบบบริหารและจัดองค์กรงานก่อสร้าง การวางผังโครงการ การวางแผนงานก่อสร้าง การประยุกต์เทคโนโลยีในการบริหารการก่อสร้าง การประเมินและทบทวนโครงการ ระบบเอกสาร ระบบเลขรหัสสำหรับการควบคุมงานงบประมาณการก่อสร้าง การบริหารทรัพยากร การติดตามความก้าวหน้าของโครงการ ความปลอดภัยในงานก่อสร้าง ระบบควบคุมคุณภาพ การนำศึกษาทัศนศึกษานอกสถานที่
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความซื่อสัตย์ในการประมาณและวิเคราะห์ราคางานก่อสร้าง อย่างมีคุณภาพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้

ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญและเคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการประมาณและวิเคราะห์ราคางานก่อสร้างต่อบุคคลองค์กรและสังคม มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1. พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
2.  มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
3. ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา
4. ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2   มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3   ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา
1.3.4   ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
ระบบการบริการก่อสร้าง องค์ความรู้และเครื่องมือทางวิศวกรรมที่ใช้ในการบริหารการก่อสร้าง และ เกิดทักษะในการบริหารการก่อสร้าง ระบบบริหารและจัดองค์กรงานก่อสร้าง การวางผังโครงการ การวางแผนงานก่อสร้าง การประยุกต์เทคโนโลยีในการบริหารการก่อสร้าง การประเมินและทบทวนโครงการ ระบบเอกสาร ระบบเลขรหัสสำหรับการควบคุมงานงบประมาณการก่อสร้าง การบริหารทรัพยากร การติดตามความก้าวหน้าของโครงการ ความปลอดภัยในงานก่อสร้าง ระบบควบคุมคุณภาพ
บรรยาย อภิปราย การทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน  การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นคว้าหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ การศึกษาโดยใช้ปัญหา และโครงงาน Problem base learning และ Student Center เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
2.3.1     การสังเกต สอบกลางภาค และสอบปลายภาค
2.3.2     การทำแบบฝึกหัด
2.3.3     การเข้าห้องเรียน
3.1.1     สามารถนำความรู้หลักการ/ทฤษฎีมาประยุกต์ในการวิเคราะห์โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา
แนวทางในการวิจัยและการปฏิบัติงานของตน และพัฒนาการปฏิบัติงานในอนาคตได้
3.1.2     นำข้อมูลที่ประเมินสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ตั้งสมมติฐานเหตุที่ทำให้เกิดปัญหา เพื่อหา
ประเด็นที่จะสร้างแนวทางแก้ไขปัญหาหรือป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้
3.2  วิธีการสอน
3.2.1     บรรยายหลักวิชา ทฤษฎี ยกตัวอย่าง แก้โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา มอบหมายแบบฝึกหัด เพื่อจัดทำหลังเวลาเรียนให้สามารถนำหลักวิชาประยุทธ์ใช้กับโจทย์ปัญหา และมอบหมายงาน เก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานโครงการก่อสร้าง เพื่อสามารถวิเคราะห์ปัญหา เสนอแนวแนวทางแก้ปัญหา การวางแผน ควบคุม และประเมินการปฏิบัติงานขององค์กร
3.2.2     เปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น ซักถาม แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการปฏิบัติงานในองค์กรต่างๆ และจากบทความที่เคยศึกษา
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1-1.5 , 2.1-2.5 , 3.1 -3.5 , 4.1-4.10 สอบกลางภาค 8 25
2 4.11, 5.1-5.7 , 6.1-6.5 ,7.1-7.4 , 8.1 – 8.7 สอบปลายภาค 17 30
3 2.1-2.5 , 3.1 -3.5 , 4.1-4.11 , 5.1-5.7 , 6.1-6.5 ,7.1-7.4 , 8.1 – 8.7 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ 16 15
4 2.1-2.5 , 3.1 -3.5 , 4.1-4.11 , 5.1-5.7 , 6.1-6.5 ,7.1-7.4 , 8.1 – 8.7 การส่งงานตามที่ได้รับมอบหมาย 1-7 , 9-15 20
5 1.1-1.5 , 2.1-2.5 , 3.1 -3.5 , 4.1-4.11, 5.1-5.7 , 6.1-6.6 ,7.1-7.4 , 8.1 – 8.7 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10
รศ.วิสูตร จิระดำเกิง , การบริหารงานก่อสร้าง , ภาควิชาวิศวกรรมโยธา , มหาวิทยาลัยรังสิต , พิมพ์ครั้งที่ 5, 2549. รศ.วิสูตร จิระดำเกิง , การปรับปรุงผลผลิตงานก่อสร้าง, ภาควิชาวิศวกรรมโยธา, มหาวิทยาลัยรังสิต, พิมพ์ครั้งที่ 1, 2546. รศ.วิสูตร จิระดำเกิง, การวางแผนงานและแผนกำหนดเวลางานก่อสร้าง,ภาควิชาวิศวกรรมโยธา, มหาวิทยาลัยรังสิต, พิมพ์ครั้งที่ 4 , 2549. รศ.ดร.สันติ ชินานุวัติวงศ์ , วิศวกรรมก่อสร้างและการจัดการ ,ภาควิชาวิศวกรรมโยธา, คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, พิมพ์ครั้งที่ 3, 2551. ผศ.ดร.สุนีรัตน์ กุศลาศัย, การวางแผนงานก่อสร้างที่มีลักษณะซ้ำกัน ,ภาควิชาวิศวกรรมโยธา, คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, พิมพ์ครั้งที่ 1, 2561.
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย สาขาภาคเหนือ 1 เชียงใหม่ 2552 “การบริหารโครงการก่อสร้างและอบรมจัดซื้อจัดจ้าง” เอกสารอบรม 20 – 21 ตุลาคม 2552
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษาได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็น จากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ