การเงินธุรกิจสมัยใหม่

Modern Business Finance

1. เพื่อให้ทราบความหมายของการเงินธุรกิจและเป้าหมายของการจัดการทางการเงินธุรกิจ
2. เพื่อให้ทราบเทคนิคในการวิเคราะห์งบการเงิน และการวางแผนทางการเงิน
3. เพื่อให้เข้าใจมูลค่าเงินตามเวลาและงบจ่ายลงทุน
4. เพื่อให้เข้าใจวิธีการจัดหาเงินทุนของธุรกิจต้นทุนของเงินทุนและโครงสร้างทางการเงิน
5. เพื่อให้ทราบความสำคัญของเทคโนโลยีการเงินสำหรับธุรกิจ และสกุลเงินดิจิทัล
6. เพื่อให้เข้าใจธุรกรรมการเงินในยุคดิจิทัล และจรรยาบรรณของนักวางแผนการเงินทางธุรกิจ
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจการจัดการทางการเงินของธุรกิจสมัยใหม่ เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการจัดการทางการเงินของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับยุคสมัย สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจในอนาคตได้
ความหมายของการเงินธุรกิจ หน้าที่ เป้าหมาย และความสำคัญของการเงินธุรกิจ การวางแผนทางการเงิน การวิเคราะห์งบการเงิน มูลค่าเงินตามเวลา งบจ่ายลงทุน ต้นทุนเงินทุน โครงสร้างทางการเงิน ที่มาและความสำคัญของเทคโนโลยีการเงินสำหรับธุรกิจ สกุลเงินดิจิทัล แหล่งเงินทุน ธุรกรรมการเงินในยุคดิจิทัล จรรยาบรรณของนักวางแผนการเงินทางธุรกิจ
1.อาจารย์ประจำรายวิชาประกาศเวลาให้คำปรึกษา
2.อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
(1) มีความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพทางธุรกิจ มีจิตสำนึกสาธารณะ ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรมเสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบ ซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองและผู้อื่น
(2) มีความพอเพียง มีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม มีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม
(3) มีความเคารพต่อกฎระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนดตลอดจนการแต่งกาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
1. การเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา ตลอดจนการแต่งกาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย 2. การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม
(1) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง
(2) มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะและสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน
1.  จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะ ของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ
2.  จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยมอบหมายให้ทำรายงาน โครงงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน
1. การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน 2. ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น การบ้าน งานที่มอบหมาย รายงาน  การทดสอบย่อย การนำเสนอรายงาน การค้นคว้า หน้าชั้นเรียน  แก้ไข
(1) สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศ จากหลายแหล่งเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง
(2) สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบจากทางเลือกอย่างรอบด้านมีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทำให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ
การศึกษาค้นคว้า และรายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน
ประเมินจากการรายงานผลการศึกษาค้นคว้า โครงงาน โดยการนำเสนอหน้าชั้นเรียนและเอกสารรายงาน
(1) มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟัง และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพได้
(2) มีความสามารถในการแสดงความคิดริเริ่ม แสดงความคิดเห็นต่าง และแสดงความคิดเห็นใหม่ ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาของทีมสามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม  และพร้อมพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองอย่างต่อเนื่อง
มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ
พฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา
(1) สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ มาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ และชีวิตประจำวัน
(3) สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศที่จำเป็นต่อการทำธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ให้นักศึกษาได้เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ บนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลข ได้
การทดสอบย่อย กลางภาคและปลายภาค
(1) สามารถปฏิบัติงานโดยนำองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ศึกษาได้อย่างเหมาะสม
จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการสร้างความเข้าใจในกระบวนการบริหารธุรกิจ ด้านการวางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การปฏิบัติการ การควบคุมและการผลการดำเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์
การนำเสนอผลงาน หรือโครงงาน โดยการเลือกใช้ภาษา การสื่อสารในบริบทต่าง ๆเพื่อคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา อย่างเหมาะสม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2.ด้านความรู้ 3.ด้านทักษะทางปัญญา 4.ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ทักษะการปฏิบัติงานในวิชาชีพ ได้อย่างมืออาชีพ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 4
1 BBACC117 การเงินธุรกิจสมัยใหม่
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1.1 2.1.2 5.1.1 5.1.3 สอบกลางภาค 8 30%
2 2.1.1 2.1.2 5.1.1 5.1.3 สอบปลายภาค 17 35%
3 1.1.3 2.1.2 3.1.1 3.1.2 4.1.1 4.1.2 6.1.1 แบบฝึกหัด การวิเคราะห์กรณีศึกษา และการทดสอบย่อยในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 15%
4 1.1.3 2.1.2 3.1.1 3.1.2 4.1.1 4.1.2 6.1.1 รายงานประจำภาคเรีน ตลอดภาคการศึกษา 10%
5 1.1.1 1.1.2 4.1.2 การเข้าเรียน การมีส่วนร่วม ตลอดภาคการศึกษา 10%
เอกสารประกอบการสอน รายวิชาการเงินธุรกิจสมัยใหม่ (Modern Business Finance)  เรียบเรียงโดย อาจารย์เบญญาภา กันทะวงศ์วาร
การจัดการการเงิน. (2556). นนทบุรี: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ฐาปนา ฉิ่นไพศาล. (2521). การเงินธุรกิจ. กรุงเทพฯ: หจก. ยงพลเทรดดิ้ง.
ภาพร สูทกวาทิน. (2543). การเงินธุรกิจ. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด มณฑลการพิมพ์.
วิมล ประคัลภ์พงศ์, สมชาย เบ็ญจววรรณ์, สุรชัย ภัทรบรรเจิด. (2546). การเงินธุรกิจ. กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์สุภา จำกัด.
สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์. (2551). หลักการบัญชีบริหาร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แมคกรอ-ฮิล.
อภิชาติ พงศ์สุพัฒน์. (2551). การเงินธุรกิจ. กรุงเทพฯ: บริษัท วชิรินทร์สาส์น พริ้นท์ติ้ง จำกัด.
อาณัต ลีมัคเดช. (2561). การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงินของโครงการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ เกรท ไอเดีย.
เฉลิมขวัญ ครุธบุญยงค์. (2556). การเงินธุรกิจ. กรุงเทพฯ: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).
เพชรี ขุมทรัพย์. (2548). หลักการบริหารการเงิน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต.
อิงอร นาชัยฤทธ. (2556). ตารางปัจจัยดอกเบี้ยมูลค่าเงิน. สืบค้น 27 พฤษภาคม 2564, จาก https://nachailit.files.wordpress.com/2011/11/17-appendix.pdf
J. Ashok Robin. (2011). International Corporate Finance. Retrieved from The McGraw-Hill Companies, Inc.
Karen Berman & Miles Cook. (2561). คัมภีร์การเงินจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด[HBR Guide to Finance Basics for Managers](คมสัน ขจรชีพพันธุ์งาม, แปล). กรุงเทพฯ: บริษัท เอ็กซเปอร์เน็ท จำกัด. (ต้นฉบับพิมพ์ปี ค.ศ. 2012).
Robert Cinnamon & Brian Helweg-Larsen. (2550). เข้าใจการเงินธุรกิจแบบมืออาชีพ[How to Understand Business Finance](ดนิตา ธนาปุระ, แปล). สมุทรปราการ: บริษัท เกียวโด เนชั่น พริ้นติ้ง เซอร์วิส จำกัด. (ต้นฉบับพิมพ์ปี ค.ศ. 2007).
www.sec.or.th
หนังสือพิมพ์ธุรกิจต่าง ๆ เช่น ประชาชาติธุรกิจ ฐานเศรษฐกิจ ผู้จัดการ ฯลฯ
วารสาร นิตยสาร บทความหรืองานวิจัยต่าง ๆ ทางการเงิน และ เว็บไซด์ทางธุรกิจ เว็บไซด์ทางธุรกิจ
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

  การประเมินตามผลลัพธ์การเรียนรู้โดยนักศึกษา หรือ   การประเมินการสอนโดยนักศึกษา (ประเมินผ่านระบบมหาวิทยาลัย) หรือ   การเขียนสะท้อนความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากนักศึกษา หลังจบบทเรียนในรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1  การประเมินตนเองหลังการสอน และการทำกิจกรรมในชั้นเรียนแต่ละครั้งโดยผู้สอน หรือ
2.2  การประเมินตนเองหลังการสอน จากผลการเรียนของนักศึกษา พิจารณาจากคะแนนสอบ รายงานหรือโครงการที่ได้รับมอบหมาย
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1  การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Management) ร่วมกันระหว่างผู้สอน เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในรายวิชา โดยการแต่งตั้งกรรมการผู้รับผิดชอบ กรรมการบริหารหลักสูตร และกรรมการสาขาวิชาในสาขาวิชา เป็นผู้ดำเนินการ ดังนี้
4.1  การประเมินตามผลลัพธ์การเรียนรู้ โดยนักศึกษา
4.2  การประเมินการสอน โดยนักศึกษา (ประเมินผ่านระบบของมหาวิทยาลัย)
4.3 การวิเคราะห์ความสอดคล้อง/เกณฑ์การประเมิน ตาม มคอ. 3/ มคอ. 5 โดยคณะกรรมการทวนสอบ
4.4  การประเมินข้อสอบ  การปฏิบัติงาน และรายงานโครงการ การให้คะแนน ที่มาของเกรด โดยอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร หรือสาขาวิชา
จากผลการประเมิน และการทวนสอบผลสัมฤทธิ์รายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1  รายงานผลการทวนสอบฯ ต่อคณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตร/สาขาวิชา
5.2  นำผลการทวนสอบฯ ไปรายงานใน มคอ.5 และจัดทำแผนปรับปรุง มคอ.3 ในครั้งต่อไป โดยอาจารย์ผู้สอน
5.3  นำผลการทวนสอบไปปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร โดยหัวหน้าหลักสูตร