ระบบถ่ายโอนกำลังไฟฟ้าไร้สาย

Wireless Power Transfer System

1. อธิบายความสำคัญของเทคโนโลยีระบบส่งกำลังไฟฟ้าไร้สาย 2. ออกแบบขดลวดส่งกำลังไฟฟ้าไร้สายได้ 3. วิเคราะห์กำลังและประสิทธิภาพของระบบส่งกำลังไฟฟ้าไร้สายในโดเมนเวลาและโดเมนความถี่ได้ 4. ออกแบบและวิเคราะห์ระบบอิเล็กทรอนิกส์กำลังสำหรับระบบส่งกำลังไฟฟ้าไร้สายได้ 5. วิเคราะห์กำลังและประสิทธิภาพของระบบอัดประจุแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้าไร้สายได้ 6. ประยุกต์ระบบส่งกำลังไฟฟ้าไร้สายในงานวิศวกรรมไฟฟ้าได้
เพื่อให้นักศึกษาสามารถศึกษาในรายวิชาที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีระบบส่งกำลังไฟฟ้าไร้สายที่จะมีการใช้งานแพร่หลายในอนาคตอันใกล้ได้
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับระบบส่งกำลังไฟฟ้าไร้สาย  ความก้าวหน้าและเทคโนโลยีระบบส่งกำลังไฟฟ้าไร้สาย  การออกแบบขดลวด  สัมประสิทธ์การคล้องสนามแม่เหล็ก  ความเหนี่ยวนำและความเหนี่ยวนำร่วม  ผลของการเยื้องศูนย์  การวิเคราะห์ระบบส่งกำลังไฟฟ้าไร้สายด้วยวงจรสมมูลและโครงข่ายสองทาง การวิเคราะห์ในโดเมนเวลาและโดเมนความถี่  ประสิทธิภาพและกำลังไฟฟ้าถ่ายโอน  อิมพีแดนซ์แมชชิ่ง  อิเล็กทรอนิกส์กำลังสำหรับระบบส่งกำลังไฟฟ้าไร้สาย  ระบบอัดประจุแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้าไร้สาย  แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนส์  มาตรฐานระบบอัดประจุแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้าไร้สาย  และการประยุกต์ระบบส่งกำลังไฟฟ้าไร้สายในงานอื่น
          Study and practice about wireless power transfer system, technology and state of the art of wireless power transfer, coil design, coupling coefficient, inductance and mutual inductance, misalignment effects, wireless power transfer analysis using equivalent circuit and two port network, time domain and frequency domain analysis, efficient and power transfer, impedance matching, power electronics for wireless power transfer system, electric vehicle wireless charger, Lithium – ion battery, wireless electric vehicle charger standards, other wireless power transfer applications
ขึ้นกับความต้องการของนักศึกษา
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่นและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม อาจารย์ที่สอนในแต่ละวิชาต้องพยายามสอดแทรกเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งต่อไปนี้ทั้ง 5 ข้อ เพื่อให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่าง ๆ ที่ศึกษา รวมทั้งอาจารย์ต้องมีคุณสมบัติด้านคุณธรรม จริยธรรมอย่างน้อย 5 ข้อตามที่ระบุไว้
(1)  เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
(2)  มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
(3)  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
(4)  สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม
(5)  มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
นอกจากนั้น ในการสอนรายวิชาของสาขาวิชายังได้สอดแทรกเนื้อหาที่เกี่ยวกับจริยธรรม กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับวิชาชีพ และจรรยาบรรณวิศวกรในการสอนด้วย อาจารย์ผู้สอนจะต้องจัดให้มีการวัดมาตรฐานในด้านคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นข้อสอบ อาจจะวัดพฤติกรรมระหว่างทำกิจกรรมที่กำหนดมีการกำหนดคะแนนในเรื่องคุณธรรม จริยธรรมให้เป็นส่วนหนึ่งของคะแนนความประพฤติของนักศึกษา
กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น เป็นต้น นอกจากนี้อาจารย์ผู้สอนทุกคนต้องสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนทุกรายวิชา รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำดี ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม เสียสละ
3) กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม

ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
1) ผลการเรียนรู้ด้านความรู้
ความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาที่ศึกษา เพื่อนำไปใช้ประกอบอาชีพและช่วยพัฒนาสังคม ดังนั้น มาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้

มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้

การทดสอบมาตรฐานนี้สามารถทำได้โดยการทดสอบจากข้อสอบของแต่ละวิชาในชั้นเรียน ตลอดระยะเวลาที่นักศึกษาอยู่ในหลักสูตร
2) กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านความรู้
ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และประยุกต์ทางปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ นอกจากนี้ควรจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ตลอดจนการฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
3) กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านความรู้
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษาในด้านต่าง ๆ คือ

การทดสอบย่อย การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ ประเมินจากโครงการที่นำเสนอ ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน ประเมินจากรายวิชาสหกิจศึกษาหรือการฝึกงานทางวิศวกรรม
1) ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา
นักศึกษาต้องสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพได้โดยพึ่งตนเองได้เมื่อจบการศึกษาเเล้ว ดังนั้น นักศึกษาจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาไปพร้อมกับคุณธรรม จริยธรรม และความรู้ในสาขาวิชา ในการสอนอาจารย์ต้องเน้นให้นักศึกษาคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา วิธีการแก้ปัญหารวมทั้งแนวคิดด้วยตนเอง ไม่สอนในลักษณะท่องจำ นักศึกษาต้องมีคุณสมบัติต่าง ๆ จากการสอนเพื่อให้เกิดทักษะทางปัญญาดังนี้

มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์ สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
2) กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา

กรณีศึกษาทางการประยุกต์ในสาขาวิชา การอภิปรายกลุ่ม หรือการศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสารและรายงานหน้าชั้นเรียน ให้นักศึกษามีโอกาสปฏิบัติจริง
3) กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสัมภาษณ์ ส่งเสริมการเรียนรู้จากการแก้ปัญหา เป็นต้น
1) ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
นักศึกษาต้องออกไปประกอบอาชีพซึ่งส่วนใหญ่ต้องเกี่ยวข้องกับคนที่ไม่รู้จักมาก่อน คนที่มาจากสถาบันอื่น ๆ และคนที่จะมาเป็นผู้บังคับบัญชา หรือคนที่จะมาอยู่ใต้บังคับบัญชา ความสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนต่าง ๆ เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น อาจารย์ต้องสอดแทรกวิธีการที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติต่าง ๆ ต่อไปนี้ให้นักศึกษาระหว่างสอน หรืออาจให้นักศึกษาไปเรียนวิชาทางด้านสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวกับคุณสมบัติต่าง ๆ นี้

สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
2) กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
ใช้การสอนที่มีการกำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานเป็นกลุ่ม การทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่นข้ามหลักสูตร หรือต้องค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลอื่น หรือผู้มีประสบการณ์ โดยมีความคาดหวังในผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความสามารถในการรับผิดชอบ ดังนี้

สามารถทำงานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ไปปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี มีภาวะผู้นำ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป ส่งเสริมการเคารพสิทธิและการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
3) กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

ประเมินพฤติกรรมภาวการณ์เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี ติดตามการทำงานร่วมกับสมาชิกกลุ่มของนักศึกษาเป็นระยะ พร้อมบันทึกพฤติกรรมเป็นรายบุคคล ประเมินจากผลงานการอภิปรายและเสวนา สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง
1) ผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือการแสดงสถิติ ประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์ สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์ สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
2) กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลอง และสถานการณ์เสมือนจริง และนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสมเรียนรู้เทคนิค การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในหลากหลายสถานการณ์ที่สามารถประยุกต์ใช้ในห้องปฏิบัติการ ส่งเสริมการค้นคว้า เรียบเรียงข้อมูล และนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้อง และให้ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
3) กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอโดยใช้ทฤษฎีการเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือคณิตศาสตร์และสถิติที่เกี่ยวข้องทางวิศวกรรมศาสตร์ ประเมินจากความสามารถในการอธิบายถึงข้อจำกัด เหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือต่าง ๆ การอภิปราย กรณีศึกษาต่าง ๆ ที่มีการนำเสนอต่อชั้นเรียน สังเกตพฤติกรรมนักศึกษาด้านความมีเหตุผลและมีการบันทึกเป็นระยะ
1) ผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย
การทำงานในสถานประกอบการ หรือการประกอบอาชีพอิสระนั้นไม่ได้ใช้เพียงแค่หลักทฤษฎี แต่ส่วนใหญ่จะเน้นในด้านทักษะทางการปฏิบัติ การใช้ทักษะในการวางแผน การออกแบบ การทดสอบ และการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งมีความสำคัญมากในการทำงาน อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่จำเป็นยิ่งในการพัฒนาตนเองและความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ของบัณฑิต ดังนั้น ในการเรียนการสอนจึงต้องให้ความสำคัญเน้นไปที่การสร้างทักษะการปฏิบัติงานทางด้านวิศวกรรม ดังข้อต่อไปนี้

มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
2) กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยใช้ความรู้จากวิชาต่าง ๆ ที่เรียนมา การวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย ดังข้อต่อไปนี้

สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน สาธิตการปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญ สนับสนุนการเข้าร่วมกิจกรรมกับหน่วยงานภายในและภายนอก จัดนิทรรศการแสดงผลงานของนักศึกษา สนับสนุนการทำโครงงาน สหกิจศึกษา/ฝึกงานทางวิศวกรรมในสถานประกอบการ
3) กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย

มีการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน มีการใช้งานวิจัยของอาจารย์ประกอบการเรียนการสอน มีการประเมินผลการทำงานในภาคปฏิบัติ มีการประเมินโครงงานของนักศึกษา มีการประเมินนักศึกษาในวิชาสหกิจศึกษา/ฝึกงานทางวิศวกรรม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์ ุ6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และ ซื่อสัตย์สุจริต 1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม 1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 1.4 สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม 1.5 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 2.1. มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี 2.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม 2.3 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 2.4 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึง การประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม 2.5 สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้ 3.1 มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี 3.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและ ความต้องการ 3.3 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3.4 มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิม ได้อย่างสร้างสรรค์ 3.5 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อ การเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ 4.1. สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนา ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม 4.2 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ 4.3 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง 4.4 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงาน ตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่น ทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้ อย่างเหมาะสม สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ 4.5 มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และ การรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม 5.1 มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี 5.2 มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือการแสดงสถิติ ประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์ 5.3 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ 5.4 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์ 5.5 สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้ 6.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 6.2 มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
1 ENGEE170 ระบบถ่ายโอนกำลังไฟฟ้าไร้สาย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คุณธรรมจริยธรรม สังเกตุพฤติกรรม ทุกสัปดาห์ ร้อยละ 10
2 ความรู้ 1. วัดความรู้ระหว่างเรียนด้วยการสังเกต การบ้าน งาน และแบบทดสอบ 2. สอบวัดความรู้ 3. สอบปฏิบัติ 1. สัปดาห์ที่จัดการเรียนการสอน 2. สัปดาห์สอบระหว่างภาคและปลายภาค ร้อยละ 40
3 ทักษะทางปัญญา สังเกตพฤติกรรมในการทำงานวิเคราะห์ การทำงานภาคปฏิบัติ และการทำงานกลุ่ม ทุกสัปดาห์ ร้อยละ 10
4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ สังเกตพฤติกรรม ทุกสัปดาห์ ร้อยละ 10
5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สังเกตพฤติกรรม ทุกสัปดาห์ ร้อยละ 10
6 ทักษะพิสัย 1. สังเกตพฤติกรรมการเรียนภาคปฏิบัติ 2. สอบภาคปฏิบัติ 1. ทุกสัปดาห์ 2. สัปดาห์สอบปฏิบัติ ร้อยละ 20
ตำรา เรื่อง ระบบส่งกำลังไฟฟ้าไร้สาย  โดย ผศ.ดร.อนนท์ นำอิน
[1]     U. Kamnarn et al., "Design and Simulation of DC Distributed Power Supply with Power Balance Control Technique", International Journal of Power Electronics and Drive Systems (IJPEDS), vol. 13, no. 1, pp. 460-469, Mar 2022.
[2]     J. Yodwong et al., "A Wide Bandgap Three-level Buck Converter with Power Balance Control Technique for High Power Density Applications – Design and Simulation," 2022 25th International Conference on Electrical Machines and Systems (ICEMS), Chiang Mai, Thailand, 2022, pp. 1-5, doi: 10.1109/ICEMS56177.2022.9983186.
[3]     T. Sriprom et al., "Variable Frequency Control for Constant Current Constant Voltage Inductive Wireless EV Charging System," 2022 International Power Electronics Conference (IPEC-Himeji 2022- ECCE Asia), Himeji, Japan, 2022, pp. 1481-1488, doi: 10.23919/IPEC-Himeji2022-ECCE53331.2022.9806831.
[4]     P. Wutthiwai, U. Kamnarn, J. Yodwong, A. Namin, P. Thounthong and N. Takorabet, "Dynamic and Steady-State Behavior of Distributed Power Supply in DC Architecture with Minimized DC Bus Capacitor," 2022 International Power Electronics Conference (IPEC-Himeji 2022- ECCE Asia), Himeji, Japan, 2022, pp. 1909-1916, doi: 10.23919/IPEC-Himeji2022-ECCE53331.2022.9806979.
[5]     S. Yachiangkam et al., "Implementation of Half-Bridge Class D Voltage-Source Inverter for Domestic Medical Applications," 2022 19th International Conference on Electrical Engineering/Electronics, Computer, Telecommunications and Information Technology (ECTI-CON), Prachuap Khiri Khan, Thailand, 2022, pp. 1-4, doi: 10.1109/ECTI-CON54298.2022.9795512.
[6]     S. Tonsue, A. Namin and J. Thongporn, "Effect of Rear Irradiance on Series and Shunt Resistance of n-Type PERT Bifacial Silicon Module," 2022 International Electrical Engineering Congress (iEECON), Khon Kaen, Thailand, 2022, pp. 1-3, doi: 10.1109/iEECON53204.2022.9741703.
[7]     S. Yachiangkam, W. Tammawan, T. Sriprom, A. Namin, et al., “Wireless Golf Cart Charging Development in Thailand”, 2022 International Electrical Engineering Congress (IEECON), Khon Kaen, pp. 1-4, (2022).
[8]     Thongpron, J., Tammawan, W., Somsak, T., Tippachon, W., Oranpiroj, K., Chaidee, E., & Namin, A. (2022). A 10 kW Inductive Wireless Power Transfer Prototype for EV Charging in Thailand. ECTI Transactions on Electrical Engineering, Electronics, and Communications, 20(1), 83–95. https://doi.org/10.37936/ecti-eec.2022201.246108
[9]     T. Somsak, A. Namin, T. Sriprom, J. Thongpron, U. Kamnarn and N. Patcharaprakiti, "Constant Current – voltage with Maximum Efficiency Inductive Wireless EV Charging Control using Dual – sides DC Converters," 2021 18th International Conference on Electrical Engineering/Electronics, Computer, Telecommunications and Information Technology (ECTI-CON), 2021, May 19 – 22, pp. 936 – 941.
[10]   T. Somsak, A. Namin, W, Tammawam , J. Thongpron, W, Tippachon, and K, Oranpiroj, "A Prototype of Block UU Shape Ferrite Cores Inductive Wireless Power Transfer for EV Charger," 2021 18th International Conference on Electrical Engineering/Electronics, Computer, Telecommunications and Information Technology (ECTI-CON), 2021, May 19 – 22, pp. 930 -935.
[11] W. Tippachon, A. Namin, and N. Patcharaprakiti, “Optimization of Home Photovoltaic Battery System for Direct Load Control Demand Response Program”, The 14th GMSARN International Conference 2019 on “Smart Energy, Environment and Development in GMS”. November 27-29, 2019, Paper ID: E36.
[12] Anon Namin, Kosol Oranpiroj and Nopporn Patcharaprakiti, “An Energy Flow Control from Electric Vehicle Battery to grid (V2G) and Home Battery of residential customer for Demand Response Management,” The 14th GMSARN International Conference 2019 on “Smart Energy, Environment and Development in GMS”. November 27-29, 2019, Paper ID: E38.
[13] Anon Namin, Ekkachai Chaidee, Thawatchai Prachuabroek, Teerapong Jumpoo, and Nikom Thamapanya, “Solar Tricycle with Lateral Misalignment Maximum Power Point Tracking Wireless Power Transfer,” The 15th International Conference on Electrical Engineering/ Electronics, Computer, Telecommunications and Information Technology (ECTI-CON 2018), 18 – 21 July 2018, Wiang Inn Hotel, Chiang Rai.
[14] Anon Namin, Ekkachai Chaidee, Suriya Tanang, Khanakorn Chaikam, and Phlearn Jansuya , “Mutual Impedance Adaptation for Maximum Power Point Tracking on LED TV Wireless Power Transfer Vary with Distance,” Anon Namin, Ekkachai Chaidee, Thawatchai Prachuabroek, Teerapong Jumpoo, and Nikom Thamapanya, “Solar Tricycle with Lateral Misalignment Maximum Power Point Tracking Wireless Power Transfer,” The 15th International Conference on Electrical Engineering/ Electronics, Computer, Telecommunications and Information Technology (ECTI-CON 2018), 18 – 21 July 2018, Wiang Inn Hotel, Chiang Rai.
[15]     Anon Namin, Ekkachai Chaidee, Thanet Sriprom, and Putthipong Bencha, “Performance of Inductive Wireless Power Transfer between Using Pure Sine Wave and Square Wave Inverters,” IEEE International Transportation Electricfication Conference & Expo Asia-Pacific (ITEC AP 2018), 6 – 9 June 2018, Bitec Bangkok.
[16]     Namin A., Thongpron J, Chenvidhya D, Jivacate C., Wattanavichean K., and Kirtikara K., 2016, Study of Capacitance –frequency Characteristics of Multi – crystalline Photovoltaic Cell using Intensity Modulation Current Transfer Function Spectroscopy, The International Scientific Committee of the 26th edition of the International Photovoltaic Science and Engineering Conference (PVSEC-26), 23 -28, October 2016, Sands Expo and Convention, Singapore.
[17]     Namin A., Thongpron J, Chenvidhya D, Jivacate C., Kirtikara K., and Wattanavichean K., 2013, Intensity Modulation Transfer Function Spectroscopy of Solar Cell, The 6th World Conference on Photovoltaic Energy Conversion, November 23 -27, 2014, Kyoto Conference Center, Japan.
[18]     Namin A., Thongpron J, Chenvidhya D, Jivacate C., Kirtikara K., and Wattanavichean K., 2013, Dynamic characterization of solar cell using intensity modulation transfer impedance spectroscopy, The 23rd Photovoltaic Science and Engineering Conference (PVSEC-23), Taipei, Taiwan, Paper ID PVSEC-23-6-11 (1460), 4p.
[19]     Namin A., Jivacate C., Chenvidhya D., Kirtikara K., and Thongpron J., 2013, Determination of solar cell electrical parameters and resistances using color and white LED-based solar simulators with high amplitude pulse input voltages, Renewable Energy 54 (2013) 131-137, DOI: 10.1016/j.renene.2012.08.046, (JIF. 2.681).
[20]     Namin A., Jivacate C., Chenvidhya D., Kirtikara K., and Thongpron J., 2012, Construction of tungsten halogen, pulsed LED and combined tungsten halogen-LED solar simulator for solar cell I-V characterization and electrical parameters determination. International Journal of Photoenergy. vol. 2012, Article ID 527820, 9 p. doi: 10.11.55/2012/527820. (JIF. 1.769).
[21]     A.Namin, C. Jivacate, D. Chenvidhya, K. Kirtikara, and J. Thongpron, 2011, Inductance effects on intensity modulation transfer impedance spectroscopy in dynamic parameters determination of mono-crystalline silicon solar cell, First Asia-Pacific Forum on Renewable Energy, 16-19 November 2011, Busan, Korea.
[22]     A.Namin, C. Jivacate, D. Chenvidhya, J. Thongpron and, K. Kirtikara, 2010, Light Dependent Series and Shunt Resistances of Photovoltaic Cells under Light Emitting Diode Illumination, International Conference for a Sustainable Greater Mekong Subregion. GMSTEC 2010, August 26-27, 2010, pp. P734-P737.
[23]     A.Namin, C. Jivacate, D. Chenvidhya, J. Thongpron and, K. Kirtikara, 2010, I-V Characteristics of Photovoltaic under 10ms Pulsed Irradiance of Light Emitting Diode Arrays, The 25th International Technical Conference on Circuit/System, Computer, and Communications, ITC-CSCC 2010, Jully 4-7, 2010, pp. 939-942.
 
[N – 14] อนนท์ นำอิน, จอห์นนี่ อินทะวงศ์, จุฑาทิพย์ ดอกจำปา และ สันติสุข วารินอมร. 2561, เครื่องทอดกรอบกล้วยหอมทอง, การประชุมวิชาการวิจัยและนวัตกรรมสร้างสรรค์ ครั้งที่ 5, 6 – 8 ธันวาคม 2561 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก, 10 หน้า.
[N – 13] ธเนศ ศรีพรม, พุฒิพงษ์ เบ็ญชา, เอกชัย ชัยดี, และอนนท์ นำอิน, 2017, การออกแบบและสร้างอินเวอร์เตอร์รูปคลื่นไซน์ความถี่สูงโดยใช้เทคนิคยูนิโพลาเอสพีดับบลิวเอ็มสำหรับวงจรส่งกำลังไฟฟ้าไร้สาย, การประชุมวิชาการเครือข่ายพลังงานแห่งประเทศไทยครั้งที่ 13, 31 พฤษภาคม – 2 มิถุนายน 2560, ณ โรงแรม ดิเอ็มเพรส เชียงใหม่, 9 หน้า. (บทความ “ดีเด่น”) 
[N – 12] อนนท์ นำอิน, ณรงค์ฤทธิ์  มะลิวัลย์ และ วรากร  แก้วมี, 2560, เครื่องกำเนิดไฟฟ้าหนึ่งเฟส แม่เหล็กถาวรตามแนวรัศมีพิกัด 1.5 กิโลวัตต์, การประชุมทางวิชาการเครือข่ายวิศวกรรมไฟฟ้า ครั้งที่ 9 (EENET 2017), 2 – 4 พฤษภาคม 2560, โรงแรมเคพีแกรนด์ อำเภอเมือง จังหวัดจันทร์บุรี, 4 หน้า.
[N – 11]  ฉัตรชัย ถิ่นทิพย์,  ประสงค์ แก้วดำ,  เอกชัย ชัยดี,  และอนนท์ นำอิน, 2560, การพัฒนาวงจร ส่งไฟฟ้ากำลังไร้สายพิกัดไม่น้อยกว่า 500 วัตต์, การประชุมทางวิชาการเครือข่ายวิศวกรรมไฟฟ้า ครั้งที่ ๙ (EENET 2017), 2 – 4 พฤษภาคม 2560, โรงแรมเคพีแกรนด์ อำเภอเมือง จังหวัดจันทร์บุรี, 4 หน้า.
[N – 10] เอกชัย ชัยดี, สุกัลย์ ยะอู๋, เอกพจน์  ยศแก้ว และ อนนท์ นำอิน, ผลกระทบทางความถี่ที่มีต่อสมรรถนะการส่งกำลังไฟฟ้าไร้สาย, วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, ปีที่ 26 ฉบับที่ 2, หน้า 173 – 182, พ.ค. – ส.ค. 2559.
[N – 9]    เอกชัย ชัยดี, ดุสิต มหิทธิ และ อนนท์ นำอิน, การศึกษาและพัฒนาวงจรส่งกำลังไฟฟ้าไร้สาย, วารสารวิชาการปทุมวัน, ปีที่ 6, ฉบับที่ 16 พฤษภาคม – สิงหาคม 2559, หน้า 15 – 28.
1. นักศึกษามีบทบาทในการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติสามารถสะท้อนประสิทธิผลของรายวิชาได้ทุกสัปดาห์
2. ประเมินจากผลสอบกลางภาคและปลายภาค
3. ประเมินจากผลสอบปฏิบัติการ
4. ประเมินผลจากพฤติกรรมของนักศึกษาหลังเรียน
1. ประเมินพฤติกรรมโดยรวมของนักศึกษาหลังเรียนรายวิชานี้
2. วิเคราะห์รายพฤติกรรมของนักศึกษาหลังเรียนรายวิชานี้
3. ประเมินความพร้อมด้านเอกสารประกอบการสอนหรือตำรา คู่มือปฏิบัติการ และความพร้อมของเครื่องมือปฏิบัติการ
ปรับปรุงการสอนทุกภาคการศึกษา
ทบทวนมาตรฐานได้เมื่อสิ้นสุดภาคการศึกษา
ปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชาได้ระหว่างเรียนและเมื่อสิ้นสุดทุกภาคการศึกษา