การออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์

Software Design and Development

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะเกี่ยวกับแบบจำลองข้อมูล และระบบฐานข้อมูล การเลือกใช้เครื่องมือในการพัฒนาซอฟต์แวร์ มาตรฐานของซอฟต์แวร์ และการจัดการข้อจำกัดเชิงวิศวกรรม กระบวนทัศน์การเขียนโปรแกรมและเทคนิคการเลือกคำสั่งในการแก้ไขปัญหาในเชิงโปรแกรม รูปแบบการเขียนโปรแกรมเชิงโครงสร้าง แบบจำลองการไม่ประสานกันสำหรับการเขียนโปรแกรมที่มีการประมวลผลร่วมกัน การออกแบบและเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ กระบวนการผลิตซอฟต์แวร์ กระบวนการทดสอบและคุณภาพของซอฟต์แวร์ การสร้างหน่วยทดสอบ รวมถึงการประยุกต์ใช้งานสำหรับอินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง
เพื่อให้เนื้อหามีความเป็นลำดับที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน รวมทั้งปรับแต่งความละเอียดเข้มข้นของเนื้อหาในแต่ละเรื่องให้สอดคล้องกับความยากง่ายของเนื้อหานั้นๆ และให้สอดคล้องกับเวลาที่ใช้ในการเรียนการสอน
ศึกษาและฝึกปฎิบัติการเกี่ยวกับ แบบจำลองข้อมูล และระบบฐานข้อมูล การเลือกใช้เครื่องมือในการพัฒนาซอฟต์แวร์ มาตรฐานของซอฟต์แวร์ และการจัดการข้อจำกัดเชิงวิศวกรรม กระบวนทัศน์การเขียนโปรแกรมและเทคนิคการเลือกคำสั่งในการแก้ไขปัญหาในเชิงโปรแกรม รูปแบบการเขียนโปรแกรมเชิงโครงสร้าง แบบจำลองการไม่ประสานกันสำหรับการเขียนโปรแกรมที่มีการประมวลผลร่วมกัน การออกแบบและเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ กระบวนการผลิตซอฟต์แวร์ กระบวนการทดสอบและคุณภาพของซอฟต์แวร์ การสร้างหน่วยทดสอบ รวมถึงการประยุกต์ใช้งานสำหรับอินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
™1.1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์
  1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม 1.1.3 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม 1.1.4 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
กำหนดให้มีวัฒธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอการบ้านของผู้อื่น
1.3.1 ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลา 1.3.2 ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ 1.3.3 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาโครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึม 2.1.2 สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางโครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึมรวมทั้งประยุกต์ความรู้ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา 2.1.3 สามารถวิเคราะห์โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึมให้ตรงตามข้อกำหนดได้ 2.1.4 สามารถติดตามความก้าวหน้าและวิวัฒนาการของโครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึมรวมทั้งการนำไปประยุกต์ 2.1.5 รู้ เข้าใจและสนใจพัฒนาความรู้ ความชำนาญทางโครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึมอย่างต่อเนื่อง 2.1.6 มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือการประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้จริง 2.1.7 การทดสอบมาตรฐานนี้สามารถทำได้โดยการทดสอบจากข้อสอบของแต่ละวิชาในชั้นเรียน ตลอดระยะเวลาที่นักศึกษาอยู่ในหลักสูตร
บรรยาย อภิปราย โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และการปฏิบัติจริง โดยการมอบหมายงานพร้อมทั้งอธิบายงานที่มอบหมายเพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติ หรือการแก้ปัญหาทางคอมพิวเตอร์
2.3.1 การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน 2.3.2 ประเมินจากงานที่นักศึกษาได้รับมอบหมาย 2.3.3 ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
3.1.1 คิดอย่างมีวิจารณญาณ และเป็นระบบ 3.1.2 สามารถสืบค้น ตีความ และประเมิน โดยใช้สารสนเทศในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 3.1.3 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ 3.1.4 สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางโครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึมได้อย่างเหมาะสม
3.2.1 มอบหมายให้นักศึกษาเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหาทางคอมพิวเตอร์ แล้วนำเสนอหน้าชั้นเรียน 3.2.2 มอบหมายให้ทำแบบฝึกหัดที่ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์
3.3.1 การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน 3.3.2 แบบฝึกหัดที่มอบหมาย
™4.1.1 สามารถสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศกับกลุ่มคนหลากหลายอย่างมีประสิทธิภาพ 4.1.2 มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.2.1 มอบหมายงานรายกลุ่ม แล้วนำเสนอหน้าชั้นเรียน
4.3.1 สังเกตพฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่ม 4.3.2 การนำเสนอหน้าชั้นเรียน
˜5.1.1 มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 5.1.2 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนออย่างเหมาะสม ™5.1.3 สามารถเลือกใช้สื่อสารสนเทศอย่างเหมาะสม
5.2.1 ให้นักศึกษาแก้ปัญหา วิเคราะห์ประสิทธิภาพของวิธีแก้ปัญหา แล้วนำเสนอหน้าชั้นเรียน
5.3.1 แบบฝึกหัดที่ได้รับมอบหมาย 5.3.2 การนำเสนอหน้าชั้นเรียน
˜6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 6.1.2 มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
6.2.1 สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน โดยให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติตามแบบฝึกปฏิบัติการ
6.3.1 ประเมินจากผลการทำงานในภาคปฏิบัติ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1.1 – 1.1.3, 2.1.1 – 2.1.3, 3.1.1 – 3.1.2 สอบกลางภาค, สอบปลายภาค 9, 17 20%, 20%
2 1.1.1 – 1.1.3, 2.1.1 – 2.1.3, 3.1.1 – 3.1.2, 4.1.1 – 4.1.3, 5.1.1 การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 60%
Bernard I. Witt, Terry F. Baker, and EverettW Merritt. Software Architecture And Design: Principles, Models, And Methods. New York : Van Nostrand Reinhold, 1994. Len Bass, Paul Clements, and Rick Kazman. Software Architecture in Practice Third Edition. Addison-Wesley, 2012. Eric J. Braude. Systems Architecture : Hardware And Software In Business Information Systems. Danvers : boyd & fraser, 1994. Len Bass, Paul Clement, and Rick Kazman. Software Architecture in Practice.MA : Addison-Wesley, 1998. Stephen D. Burd. Systems Architecture : Hardware And Software In Business Information Systems.Danvers : boyd & fraser, 1994.
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้

สังเกตพฤติกรรมการเรียนของผู้เรียน สังเกตผลการเรียนของนักศึกษา
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้

สัมมนาการจัดการเรียนการสอน การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้

การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ งานที่มอบหมาย วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้

ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 ประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ