ความรู้เบื้องต้นด้านการบำรุงรักษาระบบขนส่งทางรางและระบบ ภูมิสารสนเทศในงานบำรุงรักษา

Introduction to Maintenance of Railway System and GIS for Maintenance Purposes

เพื่อศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการของระบบขนส่งทางรางจากอดีตถึงปัจจุบันของต่างประเทศ และประเทศไทยองค์ประกอบพื้นฐานของระบบขนส่งทางราง โครงสร้างทางรถไฟ ส่วนประกอบของรางรถไฟ ปัญหาของรางรถไฟ สถานีรถไฟและชุมทางรถไฟ การบำรุงรักษาทางรถไฟเบื้องต้น ส่วนประกอบพื้นฐานของระบบล้อเลื่อน และขบวนรถไฟ ทฤษฎีพื้นฐานการควบคุม และบริหารระบบการเดินรถไฟ  ระบบอาณัติสัญญาณสำหรับควบคุมการเดินรถไฟ  ระบบขับเคลื่อนรถไฟด้วยไฟฟ้าในระบบขนส่งทางราง ระบบการจ่ายไฟสำหรับการขับเคลื่อนรถไฟ การสื่อสารของระบบขนส่งทางราง และระบบไฟฟ้าที่ใช้ในระบบขนส่งทางราง ระบบความปลอดภัยในระบบขนส่งทางรางเบื้องต้น การวางแผนและการบริหารจัดการระบบขนส่งทางรางเบื้องต้น การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อการวางแผนและจัดการข้อมูลระบบงานซ่อมบำรุงระบบขนส่งทางรางเบื้องต้น
เพื่อศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการของระบบขนส่งทางรางจากอดีตถึงปัจจุบันของต่างประเทศ และประเทศไทยองค์ประกอบพื้นฐานของระบบขนส่งทางราง โครงสร้างทางรถไฟ ส่วนประกอบของรางรถไฟ ปัญหาของรางรถไฟ สถานีรถไฟและชุมทางรถไฟ การบำรุงรักษาทางรถไฟเบื้องต้น ส่วนประกอบพื้นฐานของระบบล้อเลื่อน และขบวนรถไฟ ทฤษฎีพื้นฐานการควบคุม และบริหารระบบการเดินรถไฟ  ระบบอาณัติสัญญาณสำหรับควบคุมการเดินรถไฟ  ระบบขับเคลื่อนรถไฟด้วยไฟฟ้าในระบบขนส่งทางราง ระบบการจ่ายไฟสำหรับการขับเคลื่อนรถไฟ การสื่อสารของระบบขนส่งทางราง และระบบไฟฟ้าที่ใช้ในระบบขนส่งทางราง ระบบความปลอดภัยในระบบขนส่งทางรางเบื้องต้น การวางแผนและการบริหารจัดการระบบขนส่งทางรางเบื้องต้น การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อการวางแผนและจัดการข้อมูลระบบงานซ่อมบำรุงระบบขนส่งทางรางเบื้องต้น
นักศึกษาสามารถเข้าพบอาจารย์ผู้สอนได้ โดยนัดหมายเป็นครั้งๆ
1.1.1  มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
1.1.2  สามารถวิเคราะห์ และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม
1.1.3  มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ   รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
1.2.1  ปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย ปฏิบัติตามกฎกติกาที่กำหนดหรือได้ตกลงกันไว้ มีการปลูกฝังความรับผิดชอบให้นักศึกษา ตั้งแต่การเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา การส่งงานตามกำหนดเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย การทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม มีความซื่อสัตย์ โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น เป็นต้น
1.2.2  บรรยายพร้อมยกประเด็นตัวอย่างเกี่ยวกับจริยธรรม ความรับผิดชอบในการประกอบ   วิชาชีพ    การนำเอาวิชาชีพไปใช้อย่างซื่อสัตย์สุจริต  ไม่ใช้ วิชาชีพในการแสวงหา  ผลประโยชน์ให้แก่ตนเอง โดยไม่คำนึงถึงสังคมและผู้ประกอบการที่อาจจะ ได้รับความเสียหายได้
1.3.1  ประเมินจาการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน
1.3.2  ประเมินจากการส่งงานตามกําหนดระยะเวลาที่มอบหมาย และการร่วมกิจกรรม การมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ ความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
2.1.1  มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
2.1.2  มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฎิบัติในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม
2.1.3  สามารถวิเคราะห์และแก้ปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม
2.1.4  สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ปัญหาในงานจริงได้
2.2.1  เน้นหลักการทางทฤษฏีของระบบรางเบื้องต้น และยกตัวอย่างประกอบเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้งานจริงในเชิงวิศวกรรม
2.2.2  เน้นการแก้โจทย์ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับงานทางวิศวกรรมโดยใช้พื้นฐานของระบบรางในการแก้ปัญหา
2.3.1  มีการทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค และประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมาย รวมทั้งการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล กรณีศึกษา หรือโจทย์จาก Problem – based Learning
3.1.1  มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
3.1.2  สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3.1.3  สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.1.4  สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
3.2.1  ใช้หลักการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และรายงานทางเอกสารรวมถึงรายงานหน้าชั้นเรียนโดยมอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบโดยใช้พื้นฐานด้านระบบราง มาประยุกต์
3.3.1  ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน การนำเสนอรายงานในชั้นเรียน การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสัมภาษณ์ เป็นต้น
4.1.1  สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.1.2  รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
4.2.1  มอบหมายงานและค้นคว้ารายกลุ่มและรายบุคคล
4.2.2  ให้มีการอภิปรายแสดงความคิดเห็นในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
4.3.1  ประเมินจากรายงานที่นำมาเสนอทั้งรายบุคคลและกลุ่ม
4.3.2  ประเมินจากการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
4.3.3  ประเมินจากความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มเพื่อน   
5.1.3  สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
5.1.4  มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์
5.1.5  สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1.1,2.1.2, 3.1.1,3.1.2 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 4, 7, 12, 17 10, 25, 10, 25
ไฟล์นำเสนอ
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้

การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน ผลการเรียนของนักศึกษา การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้

การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้

ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ