การฝึกงานทางวิชาชีพ

Job Internship

1. จุดมุ่งหมายของรายวิชา
เพื่อให้นักศึกษาได้ใช้ความรู้ทางด้านการบัญชีและด้านอื่นๆที่ได้ศึกษามาในการปฏิบัติงานในสถานประกอบการจริง เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้การทำงานด้านการบัญชีและด้านอื่นๆรวมทั้งการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในการทำงาน เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกการปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมองค์กร และมีวินัยในการปฏิบัติตนตามข้อบังคับการปฏิบัติงานในฐานะพนักงานของสถานประกอบการจริง 
 เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจและมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพบัญชี
2. วัตถุประสงค์ในการพัฒนาปรับปรุงรายวิชา
2.1 เพื่อให้อาจารย์นิเทศ พนักงานที่ปรึกษาและนักศึกษาเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายของการฝึกงานทางวิชาชีพจริงและมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่คาดหวังอย่างชัดเจน  2.2  เพื่อให้อาจารย์นิเทศ พนักงานที่ปรึกษาและนักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผลกระบวนการ การฝึกงานทางวิชาชีพอย่างเหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนารายวิชา
1. คำอธิบายรายวิชา
เน้นการปฏิบัติงานทางด้านวิชาชีพบัญชีในองค์กรต่างๆ เช่น นิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจด้านวิชาชีพบัญชีองค์กรในประเทศหรือหน่วยงานของรัฐ นักศึกษาจะเข้าฝึกปฏิบัติงานเต็มเวลาในหน่วยงานนั้นโดยมีพนักงาน ที่ปรึกษาที่องค์กรมอบหมายให้ทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบการปฏิบัติงานของนักศึกษา มีการกำหนดลักษณะงานแผนการปฏิบัติงานให้นักศึกษาทราบ เพื่อการประเมินผลการศึกษา
นักศึกษาสามารถเข้าถึงอาจารย์ผู้ดูแลได้ตลอดแบบ real time
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ มีวินัยในตนเองและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบขององค์กรที่เข้ารับการฝึกงานได้ สามารถปรับตัวให้เข้ากับงานที่ได้รับมอบหมายและผู้ร่วมงาน สามารถบริหารเวลาและปรับวิถีชีวิตอย่างสร้างสรรค์ในสังคม 
1.1.5 มีจิตสำนึก และปฏิบัติตนเองที่คำนงถึงประโยชน์ส่วนรวมมกกว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมีคุณธรรม
    1) สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ในเนื้อหารายวิชา                 2) ให้ความสำคัญในการมีวินัย การตรงต่อเวลา และการปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับของ                      มหาวิทยาลัย                 3) เปิดโอกาสให้นักศึกษาจัดกิจกรรมที่แสดงถึงการมีเมตตา กรุณา ความเสียสละ และการทำ                      ประโยชน์ให้แก่ชุมชน                 4) การเรียนรู้และการสอนจากกรณีศึกษา 
 
1.3 วิธีการประเมินผล
1) ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมนักศึกษาเกี่ยวกับการทำงานทันตามกำหนด และความพร้อมเพรียงของการเข้าร่วมกิจกรรม  2) ประเมินความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฏี หลักการ และวิธีการทางบัญชี มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชี โดยสามารถบูรณการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่นๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์ สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ การวิจัย และวิชาชีพ ทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
1) สอนแบบบรรยายและอภิปราย การสอนแบบสาธิต การสอนแบบใช้สถานการณ์จำลอง การสอนแบบเน้นกรณีปัญหา อธิบายให้เห็นภาพ  2) การถาม-ตอบปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น  3) มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพื่อจัดทำรายงานสรุปรูปเล่มส่ง  4) การเรียนรู้จากสถานการณ์จริง จากการฝึกงานในองค์การธุรกิจ
1) ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น งานที่มอบหมาย รายงาน และการนำเสนอ  2) การประเมินจากระบบฝึกงาน  3) การประเมินผลการเรียนรู้โดยผู้ประกอบการจากสถานการณ์จริง หรือการฝึกงานในองค์กรธุรกิจ  4) การประเมินความรู้ของบัณฑิตโดยการสำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้บัณฑิต
3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูล และแนวคิดต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการระบุและวิเคราะห์ 
     ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ด้วยตนเอง 
สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กันใช้ทักษะทาง 
    วิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ ในสถานการณ์ต่างๆ      อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ 
สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
1) ส่งเสริมการเรียนรู้ และฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ จากระดับง่ายไปสู่ระดับที่สูงขึ้น  ตามระดับชั้นการศึกษา โดยใช้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง  2) จัดให้มีรายวิชาที่เสริมสร้างการพัฒนาทักษะทางเชาว์ปัญญา ความคิด การวิเคราะห์และสังเคราะห์ด้านต่างๆ ทั้งในสาขาและนอกสาขา  3) สอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เปิดโอกาสให้นักศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน รวมทั้งอภิปรายแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้น
1)  ประเมินจากผลการงานที่ได้รับมอบหมาย  2)  ประเมินจากรายงานผลการศึกษา รายงานทางเอกสาร และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน รวมทั้งผลการอภิปลายแสดงความคิดเห็น
ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และ 
    วัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี 
มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไข 
    ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ และในบทบาทของผู้ร่วมงาน  มีความรับผิดชอบการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพบัญชีของตนเองอย่างต่อเนื่อ
1) มอบหมายการทำงานแบบกลุ่มย่อยโดยมีการสลับหมุนเวียนการเป็นผู้นำ การเป็นสมาชิกกลุ่ม  และผลัดกันเป็นผู้รายงาน  2) มอบหมายงานที่เกี่ยวกับความรู้ด้านวิชาชีพบัญชีโดยให้มีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น  3) ให้ศึกษาการแก้ปัญหาจากกรณีศึกษาต่างๆ
1) ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียน   2) ประเมินการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีจากแบบประเมินตนเองและเพื่อในกลุ่ม ประเมินจากงานที่มอบหมายและระยะเวลาในการส่งงาน   3) สังเกตพฤติกรรม
มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมาย 
     และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือข้อโต้แย้ง 
สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบการ 
     นำเสนอที่เหมาะสมกับปัญหาและกลุ่มผู้ฟังที่แตกต่างกัน 
สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวม 
    ข้อมูล การแปลความหมาย และการสื่อสารสารสนเทศ
1) มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะในการวิเคราะห์หรือคำนวณเชิงตัวเลข  3) ให้อภิปรายและนำเสนอผลงานที่ได้จากการสืบค้นหน้าชั้นเรียน และนำเสนอในรูปแบบรายงาน มอบหมายกรณีศึกษาให้นำมาวิเคราะห์และนำเสนอผลการวิเคราะห์ในห้องเรียนใน รูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์
1) ประเมินจากผลงาน กิจกรรมที่เกี่ยวข้องเขิงสถิติและคณิตศาสตร์   2) ประเมินจากผลงานการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่มอบหมายและนำเสนอผลงานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม   3) ประเมินทักษะการใช้ภาษาพูดในการนำเสนอรายงานและการใช้ภาษาเขียนจากรายงานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
6.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย
 
ปฐมนิเทศน์ การเข้ารับฟังการรายงานผลการปฏิบัติงานของรุ่นพี่
อาจารย์นิเทศน์ประเมินตามแบบประเมิน ณ วันที่เข้านิเทศน์นักศึกษาฝึกงาน
สถานประกอบการประเมินตามแบบฟอร์มของสถานประกอบการ
การนำเสนอผลการฝึกงาน
สมุดบันทึกระหว่างการฝึกงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม ตามเวลาที่กำหนด ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
1 BACAC137 การฝึกงานทางวิชาชีพ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 สัปดาห์ที่ 1 หัวข้อ/รายละเอียด ปฐมนิเทศเตรียมนักศึกษาออกฝึกงาน - การเตรียมการในการแนะแนวและช่วยเหลือนักศึกษา จำนวนชั่วโมง: 0 ชั่วโมง กิจกรรม - ปฐมนิเทศพร้อมให้เอกสารคู่มือการฝึกงานวิชาชีพก่อนการออกปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ - จัดอาจารย์นิเทศนักศึกษา - ประสานงานกับสถานประกอบการเกี่ยวกับการกำกับดูแลการฝึกงานวิชาชีพการติดตามการปฏิบัติและการประเมินผลนักศึกษา ถามตอบเช็คความถูกต้องของความเข้าใจ 1 0
2 2.1 การเลือกงานและสถานประกอบการ นักศึกษาเป็นผู้เลือกสถานที่ฝึกงานด้วยตนเองโดยผ่านความเห็นชอบของอาจารย์ที่รับผิดชอบการฝึกงานทางวิชาชีพบัญชี 2.2 นักศึกษาเข้ารับการปฐมนิเทศการฝึกงานที่ทางสาขาวิชาการบัญชีจัดให้เพื่อเป็นแนวทางการฝึกงาน 2.3 นักศึกษาต้องเรียนรู้และปฏิบัติบาน ทำงานร่วมกับผู้อื่นดังนี้ 1) ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเคร่งครัด 2) หาความรู้เพื่อเติมกับงานใหม่ที่ต้องรับผิดชอบ 3) ปรับตัวให้เข้ากับงาน ผู้ร่วมงาน และวัฒนธรรมองค์กร 4) จัดทำรายงานประจำวันเกี่ยวกับผลการทำงานที่เกิดขึ้นแต่ละวันเพื่อนำเสนออาจารย์นิเทศ สถานประกอบการที่นักศึกษาเลือกเข้าฝึกงานมีความเหมาะสมกับวิชาชีพ รวามถึงลักษณะของงานที่จะได้รับมอบหมายจากสถานประกอบการ 1 0
3 3. รายงานหรืองานที่นักศึกษาได้รับมอบหมาย รายงานหรืองานที่ได้รับมอบหมาย กำหนดส่ง 1. นักศึกษาต้องปฏิบัติงานตามที่พนักงานที่ปรึกษามอบหมาย 1. ตามที่พนักงานที่ปรึกษากำหนด 2. บันทึกการปฏิบัติงานประจำวันโดยระบุข้อมูลอย่างน้อย 2. ตามกำหนดการนิเทศงาน ต่อไปนี้ 1) รายละเอียดงานประจำวัน 2) ปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงาน 3) แนวทางแก้ปัญหาจากการทำงาน 3. รายงานสรุป 3. ภายหลังจากสิ้นสุดการฝึกงานทาง วิชาชีพ 2 สัปดาห์ การนิเทศน์ 3 0
4 5.1 มอบหมายงานที่เหมาะสมและตรงกับจุดมุ่งหมายของการฝึกงานวิชาชีพ 5.2 กำกับดูแลการปฏิบัติงาน การให้คำแนะนำนักศึกษาเกี่ยวกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง กฎระเบียบข้อบังคับ และวัฒนธรรมขององค์กร 5.3 ติดตามความก้าวหน้า การประเมินผลการปฏิบัติงานและรายงานผลต่ออาจารย์นิเทศ 5.4 ประสานงานกับอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์นิเทศเพื่อให้การดำเนินการจัดการฝึกงานวิชาชีพเป็นไปตามแผนงาน นิเทศน์การฝึกงาน 4 50
5 - การวางแผนสำหรับการออกนิเทศนักศึกษา - การให้คำปรึกษา การประสานและร่วมวางแผนกับพนักงานที่ปรึกษาของสถานประกอบการ - ให้คำปรึกษาในการจัดทำรายงานสรุปองค์ความรู้ฯและประสานงานกับพนักงานที่ปรึกษา - การประเมินผลนักศึกษา นิเทศน์ 5 20
6 ฝึกงาน นิเทศน์ 6 0
7 ฝึกงาน นิเทศน์ 7 0
8 ฝึกงาน นิเทศน์
9 ฝึกงาน นิเทศน์ 9 0
10 ฝึกงาน นิเทศน์ 10 0
11 ฝึกงาน นิเทศน์ 11 0
12 ฝีึกงาน นิเทศน์ 12 0
13 ฝึกงาน นิเทศน์ 13 0
14 ฝึกงาน นิเทศน์ 14 0
15 ฝึกงาน นิเทศน์ 15 0
16 ฝึกงาน นิเทศน์ 16 0
17 รายงานการฝึกงาน นิเทศน์ 17 30
-
-
1. แนะนำนักศึกษาเข้าดูเว็บไซต์ https://www.tfac.or.th ของสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อศึกษาเพิ่มพูนความรู้และอัพเดดข้อมูลข่าวสารทางด้านวิชาชีพบัญชี  2. แนะนำนักศึกษาเข้าดูเว็บไซต์ https://www.rd.go.th ของกรมสรรพากร เพื่อศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมและดัพเดตข้อมูลทางด้านภาษีอากร
 อาจารย์นิเทศนักศึกษาประมวลผลการฝึกงานวิชาชีพจากผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากนักศึกษาและจากพนักงานพี่เลี้ยงจัดทำรายงานสรุปผล
ติดตามความความก้าวหน้าในการทำงานของบัณฑิตที่ตรงตามสาขาวิชา โดยการสำรวจสอบถามจากผู้ประกอบการและบัณฑิต
ปรับปรุงในเรื่องสถานการณ์โควิด-19 ต้องนิเทศนักศึกษาแบบออนไลน์และให้นักศึกษาลงบันทึกการฝึกงานในระบบฝึกงานเพื่อง่ายและประหยัดสมุดฝึกงาน
ประเมินการฝึกงานวิชาชีพโดยใช้แบบสอบถามจากบัณฑิตว่าได้ใช้ประสบการณ์จากการฝึกงานวิชาชีพให้เป็นประโยชน์ในการทำงานจริงมากน้อยเพียงใด และวัดผลความรู้หลังจากการออกฝึกงานเสร็จสิ้น
ประเมินการฝึกงานวิชาชีพโดยใช้แบบสอบถามจากบัณฑิตว่าได้ใช้ประสบการณ์จากการฝึกงานวิชาชีพให้เป็นประโยชน์ในการทำงานจริงมากน้อยเพียงใด และวัดผลความรู้หลังจากการออกฝึกงานเสร็จสิ้น