ความน่าจะเป็นและสถิติในงานวิศวกรรม

Probability and Statistics for Engineering

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความน่าจะเป็นและสถิติในงานวิศวกรรม แนวคิดทั่วไปของกระบวนการสุ่ม ประโยชน์การใช้งานด้านความน่าจะเป็นและสถิติในงานวิศวกรรม ระบบการใช้กลไกของสถิติ ผลกระทบ การใช้งานด้านความน่าจะเป็นและสถิติในงานวิศวกรรมต่อสังคม
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญหาในการนาความรู้ ความเข้าใจ ในกลไกของความน่าจะเป็นและสถิติในงานวิศวกรรม เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยีต่างๆที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
ศึกษาเกี่ยวกับ หลักความน่าจะเป็นและสถิติเบื้องต้นและการประยุกต์ใช้ในงานวิศวกรรม ทฤษฎีความน่าจะเป็น การทดลองสุ่ม พื้นที่สาหรับสุ่มตัวอย่าง สัจพจน์ของความน่าจะเป็น กฎการนับ ความน่าจะเป็นแบบมีเงื่อนไข ความเป็นอิสระต่อกัน ตัวแปรสุ่ม การแจกแจงความน่าจะเป็น ค่าความคาดหมาย ค่าความแปรปรวน การแจกแจงความน่าจะเป็นร่วม การแจกแจงความน่าจะเป็นขอบ การชักตัวอย่างทางสถิติ การทดสอบสมมติฐาน ช่วงความเชื่อมั่น
-  อาจารย์ประจำรายวิชา  ให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์ lms.rmutl.ac.th หรือช่องทาง social media  -  อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความจำเป็น 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา
1 ENGCE119 ความน่าจะเป็นและสถิติในงานวิศวกรรม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 สอบกลางภาค 8 25%
2 สอบปลายภาค 16 25%
3 การบ้านและแบบฝึกหัด ตลอดภาคการศึกษา 40%
4 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
Douglas C. Montgomery, George C. Runger. 2011. Engineering Statistics, John Wiley & Sons  มานพ วงศ์สายสุวรรณ และคณะ. 2010. ความน่าจะเป็นและสถิติสำหรับวิศวกรรมไฟฟ้า. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ไม่มี
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ