การสำรวจ 1

Surveying 1

เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจหลักการและทฤษฎีของการสำรวจ การวัระยะทาง การใช้เข็มทิศ เข้าใจถึงงานระดับ สามารถทำระดับภาพตัวตามยาว และภาพตัดตามขวางได้ สามารถเขียนเส้นชั้นความสูงได้ รู้จักกล้องวัดมุม สามารถทำการวัดมุมราบและมุมดิ่งได้ สามารถต่อแนวเส้นตรงได้
เพื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหารายวิชา และเครื่องมือที่มีอยู่
หลักการและทฤษฎีของการทำสำรวจ การวัดระยะทาง เข็มทิศ งานระดับ การทำระดับภาพตัดตามยาว และภาพตัดตามขวาง เส้นชั้นความสูง กล้องวัดมุม การรังวัดมุมราบและมุมดิ่ง การต่อแนวเส้นตรง
2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 หมวด 4 (2.1-2.5) สอบกลางภาค บทที่ 1-4 สอบปลายภาค บทที่ 4-9 8 17 25% 25%
2 หมวด 4 (3.1-3.5, 4.1,5.1, 6.1,6.2) รายงาน/โครงงานที่นักศึกษาได้รับมอบหมาย การอภิปรายกลุ่ม การตอบข้อซักถาม 1,9,13,16 40%
3 หมวด 4 (1.2) การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน อภิปรายและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ตลอดภาคการศึกษา 10%
 
วิชัย เยี่ยงวีรชน, การสำรวจทางวิศวกรรม1, พิมพ์ครั้งที่ 1, 2555 ปราณี สุนทรศิริ, การรังวัดแผนที่ภูมิประเทศ, 2543
สไลด์ประกอบคำสอน อ.ดร.ภาณุ  อุทัยศรี หนังสือประกอบการปฎิบัติการ อ.ดร.ภาณุ  อุทัยศรี
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ 1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา 1.3 ข้อเสนอแนะผ่านสื่อต่างๆ ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้ 2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้สอนและผู้ร่วมทีมสอน 2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้ 3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน 3.3 นักศึกษามีการหาคำตอบ ที่ได้จากกิจกรรมนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร   4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ 5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ