การจัดการธุรกิจเกษตร

Agribusiness Management

1. เพื่อให้เข้าใจประเภท รูปแบบหลักและกระบวนการจัดการธุรกิจเกษตร
2. เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ วางแผนและดำเนินงานธุรกิจเกษตรอย่างมีระบบตามหลักการและกระบวนการ โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและสภาพแวดล้อม
3. เพื่อให้มีเจตคติที่ดีต่องานอาชีพธุรกิจเกษตร และมีกิจนิสัยในการทำงานด้วยความรับผิดชอบ รอบครอบมีคุณธรรมจริยธรรม และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
การพัฒนาและปรับปรุงรายวิชานี้เพื่อให้นักศึกษาหรือผู้เรียนมีความรู้และทักษะในสาขาวิชาชีพที่ทันสมัยให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีสารสนเทศที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัยและสามารถตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้สอดคล้องกับตัวเองและสังคม เหมาะสมกับเหตุการณ์ปัจจุบัน รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคมของโลกปัจจุบัน
ศึกษาเกี่ยวกับความสำคัญ บทบาท โครงสร้างของระบบธุรกิจ ห่วงโซ่อุปทาน ห่วงโซ่คุณค่า โลจิสติกส์ หลักการวางแผนและการเขียนแผนธุรกิจเกษตร หลักการเบื้องต้นในการจัดการ การบัญชีการเงิน และการตลาด องค์กรและสถาบันทางธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ปัจจัยที่ผลกระทบต่อธุรกิจเกษตร การพัฒนาการเป็นผู้ประกอบการทางการเกษตร
To study of importance, role and structure of business system supply chain, value chain, logistic, principle of business planning and agribusiness plan writing principle of management, financial accounting and marketing, organization and related business institutes, factors that affect agribusiness and agricultural entrepreneur development
 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ สอนเสริมเป็นรายบุคคล (เฉพาะรายที่ต้องการเพิ่มเติม)
1.1.1 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
1.2.1 บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาเกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
1.2.2 กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง หรือกำหนดบทบาทสมมุติ
1.3.1 การตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม
1.3.2 ความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงานที่ได้รับมอบหมายและการสอบ
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
 
บรรยาย อภิปราย การทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ การศึกษาโดยใช้ปัญหา และโครงงาน Problem – based Learning และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
 
2.3.1 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2 ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล กรณีศึกษา หรือโจทย์จาก Problem – based Learning
มีทักษะในการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทั้งด้านวิชาการหรือวิชาชีพ      
ให้นักศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบของสถานการณ์ต่างๆ โดยใช้บทบาทสถานการณ์จำลอง และกรณีศึกษาเพื่อเป็นตัวอย่างให้นักศึกษาได้ฝึกวิเคราะห์แนวทางแก้ไขให้ถูกต้อง
 
3.3.1 การนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
3.3.2  การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสัมภาษณ์
4.1.1 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม
4.2.1 มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ
4.2.1 มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะด้านการสื่อสาร การติดต่อประสานงานกับบุคคลอื่นๆ ทั้งภายในและภายนอกสถาบันการศึกษา
 
4.3.1 ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียน
4.3.2 พฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ
5.1.1 สืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
5.2.1 จัดกิจกรรมให้นักศึกษาใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ จากกรณีศึกษา
5.2.2 ให้นักศึกษาได้เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ บนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลขได้
5.2.3 มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
 
5.3.1 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล
5.3.2 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1.1 5.1.1 การทดสอบ - การสอบกลางภาค - การสอบปลายภาค 9 และ 17 20% 20%
2 2.1.2 , 3.1.1 3.1.2 , 4.1.1 4.1.2 , 5.1.3 งานที่มอบหมาย การนำเสนอแผนธุรกิจ 15 และ 16 20% 30%
3 1.1.1 , 1.1.2 - การเข้าชั้นเรียน / การมีส่วนร่วม / การเข้าร่วมกิจกรรม ตลอดภาคการศึกษา 10%
สมโพธ วงศ์พันธุ์. ชุดการสอนวิชาการจัดการธุรกิจเกษตร. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีระนอง. คณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, 2546.
นงนุช โสรัตน์. การจัดการธุรกิจการเกษตร. กรุงเทพฯ : ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2529.
ทับฉลอง รุ่งวิทู. คู่มือการเขียนแผนธุรกิจอย่างง่าย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : หจก.สามลดา, 2550.
หนังสือและเอกสารประกอบการสอนท่านอื่น ๆ รวมการค้นคว้าจาก internet
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3ข้อเสนอแนะผ่านเฟรซบุ๊คที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.2 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ