การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

Educational Measurement and Assessment

          ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับ หลักการ แนวคิด จุดมุ่งหมาย การวัดและประเมินผล การเรียนรู้ของผู้เรียน จุดประสงค์การเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาคุณภาพแบบวัดผลการเรียนรู้ทฤษฎีและปฎิบัติคุณสมบัติและความน่าเชื่อถือของเครื่องมือวัดผล การวิเคราะห์คุณภาพเครื่องมือวัดผล การประเมินผลการเรียนการสอนในชั้นเรียนและการเทียบโอนประสบการณ์จากการประเมินตามสภาพจริง นำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาผูัเรียน  
          1. เพื่อให้ศึกษาเกี่ยวกับหลักการและเทคนิคการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
          2. เพื่อให้ศึกษาการสร้างและการใช้เครื่องมือวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
          3. เพื่อให้ศึกษาการประเมินตามสภาพจริง การประเมินจากแฟ้มสะสมงานการประเมินภาคปฏิบัติ
          4. เพื่อให้การประเมินผลการเรียนการสอน การประเมินผลแบบย่อยและแบบรวม
          5. เพื่อให้นำผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงการจัดการเรียนรู้และหลักสูตร
          ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับ หลักการ แนวคิด จุดมุ่งหมาย การวัดและประเมินผล การเรียนรู้ของผู้เรียน จุดประสงค์การเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาคุณภาพแบบวัดผลการเรียนรู้ทฤษฎีคุณสมบัติและความน่าเชื่อถือของเครื่องมือวัดผล การวิเคราะห์คุณภาพเครื่องมือวัดผล การประเมินผลการเรียนการสอนในชั้นเรียนและการเทียบโอนประสบการณ์จากการประเมินตามสภาพจริง นำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาผูัเรียน  แก้ไข
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านทางไลน์ - อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
 
     1.1.1 แสดงออกซึ่งความรักและศรัทธาและภูมิใจในวิชาชีพครูและจิตวิญญาณความเป็นครูและ ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.1)
     1.1.2 มีจิตอาสา จิตสาธารณะ อดทนอดกลั้น มีความเสียสละ รับผิดชอบและซื่อสัตย์ต่องานที่ได้รับมอบหมายทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ และสามารถพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ ครอบครัว สังคมและประเทศชาติและเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.2)
     1.1.3 มีค่านิยมและคุณลักษณะเป็นประชาธิปไตย คือ การเคารพสิทธิและให้เกียรติคนอื่น มีความสามัคคีและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และใช้เหตุผลและปัญญาในการดำเนินชีวิตและการตัดสินใจ (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.3)
     1.1.4 มีความกล้าหาญและแสดงออกทางคุณธรรมจริยธรรม สามารถวินิจฉัย จัดการและคิดแก้ปัญหาทางคุณธรรมจริยธรรมด้วยความถูกต้องเหมาะสมกับสังคม การทำงานและสภาพแวดล้อม โดยอาศัยหลักการ เหตุผลและใช้ดุลยพินิจทางค่านิยม บรรทัดฐานทางสังคม ความรู้สึกของผู้อื่นและประโยชน์ของสังคมส่วนรวม มีจิตสำนึกในการธำรงความโปร่งใสของสังคมและประเทศชาติต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่นและความไม่ถูกต้อง ไม่ใช้ข้อมูลบิดเบือน หรือการลอกเลียนผลงาน (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.4)
       1.2.1 สอนสอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรม        
       1.2.2 เน้นเรื่องการแต่งกายและปฏิบัติตนที่เหมาะสม ถูกต้อง ตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
       1.2.3 ให้ความสำคัญในวินัย การตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนด
       1.2.4 ปลูกฝังจรรยาบรรณวิชาการและวิชาชีพ
       1.3.1 ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
       1.3.2 ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
       1.3.3 ประเมินการกระทำทุจริตในการสอบ
       1.3.4 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
       1.3.5 ประเมินจากคุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย ที่สะท้อนถึงความตั้งใจ ความรับผิดชอบของนักศึกษา
       1.3.6 มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
     2.1.1 มีความรอบรู้ในหลักการ แนวคิด ทฤษฎีเนื้อหาสาระด้านวิชาชีพของครู (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.1) ของรายวิชา TEDCC834 การวัดและประเมินผลการการเรียนรู้ ดังนี้
          1. เพื่อให้ศึกษาเกี่ยวกับหลักการและเทคนิคการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
          2. เพื่อให้ศึกษาการสร้างและการใช้เครื่องมือวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
          3. เพื่อให้ศึกษาการประเมินตามสภาพจริง การประเมินจากแฟ้มสะสมงานการประเมินภาคปฏิบัติ
          4. เพื่อให้การประเมินผลการเรียนการสอน การประเมินผลแบบย่อยและแบบรวม
          5. เพื่อให้นำผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงการจัดการเรียนรู้และหลักสูตร          
          6. มีทัศนคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพครู 
     2.1.2 มีความรู้และเนื้อหาในวิชาชีพ ด้านหลักการ แนวคิด ทฤษฎีและทักษะการปฏิบัติอย่างลึกซึ้ง ถ่องแท้รวมทั้งบริบทของอุตสาหกรรม มาตรฐานอุตสาหกรรมและ/หรือมาตรฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในสาขาวิชาเฉพาะต่างๆ มีความสามารถในการใช้เครื่องมือ การซ่อมแซม การบำรุงรักษา การสร้าง การพัฒนากระบวนการ ขั้นตอนในการทำงาน โดยคำนึงถึงผลดีและผลเสีย ความปลอดภัยของอุปกรณ์ผลิตภัณฑ์และชีวิตและทรัพย์สิน ของผู้ปฏิบัติงานและผู้บริโภค สามารถติดตามความก้าวหน้าด้านวิทยาการที่เกี่ยวข้องและนำไปประยุกต์ใช้ ในการพัฒนาผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.2)
    2.1.3 เข้าใจชุมชน เข้าใจชีวิต มีความรู้บริบทอุตสาหกรรม สถานประกอบการ เข้าใจโลก และการอยู่ร่วมกันบนพื้นฐานความแตกต่างทางวัฒธรรม สามารถเผชิญและเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม และสามารถนำแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตและพัฒนาตน พัฒนางาน และพัฒนาผู้เรียน (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.3)
     2.1.4 มีความรู้และความสามารถในการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ตามมาตรฐาน (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.4)
     2.1.5 ตระหนักรู้ เห็นคุณค่าและความสำคัญของศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตน พัฒนาผู้เรียน พัฒนางานและพัฒนาชุมชน (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.5)
          ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และประยุกต์ทางปฎิบัติในสภาพแวดล้อมจริง โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ นอกจากนี้ควรจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ตลอดจนการฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
  ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษาในด้านต่าง ๆ คือ
          2.3.1 การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
          2.3.2 ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
          2.3.3 ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
          2.3.4 ประเมินจากรายวิชาปฎิบัติการสอนในสถานศึกษา
          3.1.1 สามารถคิด ค้นหา วิเคราะห์ข้อเท็จจริง และประเมินข้อมูล สื่อ สารสนเทศ จากแหล่งข้อมูล ที่หลากหลายอย่างรู้เท่าทัน เป็นพลเมืองตื่นรู้มีสำนึกสากล สามารถเผชิญและก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคดิจิทัล เทคโนโลยีข้ามแพลทฟอร์มและโลกอนาคต นำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน และวินิจฉัยแก้ปัญหาและพัฒนางานได้อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงถึงความรู้หลักการทางทฤษฎีประสบการณ์ภาคปฏิบัติค่านิยม แนวคิด นโยบายและยุทธศาสตร์ชาติบรรทัดฐานทางสังคมและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น (ผลการเรียนรู้ข้อ 3.1)      
          3.1.2 สามารถคิดริเริ่มและพัฒนางานอย่างสร้างสรรค์ (ผลการเรียนรู้ข้อ 3.2)    
          3.1.3 สร้างและประยุกต์ใช้ความรู้จากการทำวิจัยและสร้างหรือร่วมสร้าง ผลิตภาพ หรือผลิตภัณฑ์ หรือนวัตกรรม เพื่อพัฒนาตนเอง พัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนและพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้สร้างหรือร่วมสร้าง นวัตกรรม รวมทั้งการถ่ายทอดความรู้แก่ชุมชน สถานประกอบการและสังคม (ผลการเรียนรู้ข้อ 3.3)
          ใช้การเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และการบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน (Work-Integrated Learning) มุ่งเน้นให้นักศึกษารู้จักวิเคราะห์องค์ประกอบของสถานการณ์ต่าง ๆ โดยใช้บทบาทสมมติสถานการณ์จำลอง และกรณีศึกษาของแต่ละสาขาวิชาชีพเพื่อเป็นตัวอย่างให้นักศึกษาได้ฝึกวิเคราะห์แนวทางแก้ไขให้ถูกต้องและเน้นให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติจริง
          การวัดและประเมินใช้แนวข้อสอบที่ให้นักศึกษาได้อธิบายแนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมา หรือให้นักศึกษาเลือกใช้วิชาชีพที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่กำหนดให้ตามสภาพจริงจากผลงาน โครงงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น
          3.3.1 บทบาทสมมติหรือสถานการณ์จำลอง          
          3.3.2 การเลือกใช้วิธีการเพื่อแก้ใขปัญหาในบริบทต่าง ๆ          
          3.3.3 การนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
          3.3.4 การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสัมภาษณ์
          นักศึกษาต้องออกไปประกอบอาชีพซึ่งส่วนใหญ่ต้องเกี่ยวข้องกับคนที่ไม่รู้จักมาก่อน คนที่มาจากสถาบันอื่น ๆ และคนที่จะมาเป็นผู้บังคับบัญชา หรือคนที่จะมาอยู่ใต้บังคับบัญชา ความสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนต่างๆ เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นอาจารย์ต้องสอดแทรกวิธีการที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติต่าง ๆ ต่อไปนี้ให้นักศึกษาระหว่างที่สอนวิชา หรืออาจให้นักศึกษาไปเรียนวิชาทางด้านสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวกับคุณสมบัติต่าง ๆ นี้
          4.1.1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
          4.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          4.1.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
          4.1.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
          ใช้การสอนที่มีการกำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานเป็นกลุ่ม การทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่นข้ามหลักสูตร หรือต้องค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลอื่น หรือผู้มีประสบการณ์ โดยมีความคาดหวังในผลการเรียนรู้ดัานทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความสามารถในการรับผิดชอบ ดังนี้  
          4.2.1 สามารถทำงานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
          4.2.2 มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
          4.2.3 สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ไปปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี
         4.2.4 มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป
         4.2.5 มีภาวะผู้นำ
          การวัดและประเมินผลทำได้โดยการสังเกตจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำกิจกรรมกลุ่ม ทั้งในและนอกชั้นเรียน และผลสะท้อนกลับจากการฝึกประสบการณ์ต่าง ๆ เช่น
          4.3.1 พฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียน
          4.3.2 พฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ
          5.1.1 วิเคราะห์เชิงตัวเลข สำหรับข้อมูลและสารสนเทศ ทั้งที่เป็นตัวเลขเชิงสถิติ หรือคณิตศาสตร์ เพื่อเข้าใจองค์ความรู้ หรือประเด็นปัญหาได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง (ผลการเรียนรู้ข้อ 5.1)
          5.1.2 สื่อสารกับผู้เรียน บุคคลและกลุ่มต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพด้วยวิธีการหลากหลาย ทั้งการพูด การเขียน และการนำเสนอด้วยรูปแบบต่างๆ โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่เหมาะสม (ผลการเรียนรู้ข้อ 5.2)
         5.1.3 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมสำเร็จรูปหรือแอปพลิเคชันหรือแพลตฟอร์ม รวมทั้งอุปกรณ์สนับสนุนที่ทันสมัย จำเป็นสำหรับการจัดการเรียนรู้ การวิจัย การทำงาน และการประชุม รวมทั้ง สามารถติดตามความก้าวหน้า การจัดการและสืบค้นข้อมูลและสารสนเทศ รับและส่งข้อมูลและสารสนเทศ โดยใช้ดุลยพินิจที่ดีในการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลและสารสนเทศ อีกทั้งตระหนักถึงการละเมิดลิขสิทธิ์ และการลอกเลียนผลงาน (ผลการเรียนรู้ข้อ 5.3)         
        5.2.1 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์เชิงตัวเลขค้นคว้าหาข้อมูล สำหรับข้อมูลและสารสนเทศ
        5.2.2 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร
        5.2.3 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการนำเสนอผลงาน รวมทั้งอุปกรณ์สนับสนุนที่ทันสมัย 
        5.2.4 การนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียนเพื่อสะท้อนถึงการใช้สารสนเทศและภาษาในการสื่อสาร
         5.3.1 พิจารณาจากเนื้อหาในสื่อที่นำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน
         5.3.2 พิจารณาจากการเนื้อหาในเล่มรายงานที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล
         5.3.3 พิจารณาจากการใช้สื่อในการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน
         5.3.4 พิจารณาจากการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร
         5.3.5 พิจารณาจากการเข้าใช้ระบบเทคโนโลยีการศึกษาที่กำหนด
          6.1.1 มีความเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนรู้และสอนงาน ด้วยรูปแบบ วิธีการที่หลากหลาย โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง สามารถออกแบบและสร้างหลักสูตรรายวิชาในชั้นเรียน หรือหลักสูตรฝึกอบรม วางแผนและออกแบบเนื้อหาสาระและกิจกรรมการจัดการเรียนรู้บริหารจัดการชั้นเรียน และ/หรือ สถานประกอบการ ใช้สื่อและเทคโนโลยีวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนาผู้เรียนอย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์ (ผลการเรียนรู้ข้อ 6.1)
          6.1.2 มีความรู้ความเข้าใจ สามารถวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคลและจัดการเรียนรู้หรือสอนงาน ได้อย่างหลากหลายเพื่อพัฒนาผู้เรียนตามความแตกต่างระหว่างบุคคล ทั้งผู้เรียนปกติหรือที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษหรือต่างวัฒนธรรม (ผลการเรียนรู้ข้อ 6.2)
          6.1.3 จัดกิจกรรมและออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ เรียนรู้ ผ่านการลงมือปฏิบัติและการทำงานในสถานการณ์จริงที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาการคิด การทำงาน การจัดการการเผชิญสถานการณ์ ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น โดยบูรณาการการทำงานกับ การเรียนรู้และคุณธรรม จริยธรรม สามารถประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกัน แก้ไขปัญหา และพัฒนา (ผลการเรียนรู้ข้อ 6.3)
          6.1.4 สร้างบรรยากาศ และจัดสภาพแวดล้อม สื่อการเรียน แหล่งวิทยาการ เทคโนโลยีวัฒนธรรม และภูมิปัญญาทั้งในและนอกสถานศึกษาเพื่อการเรียนรู้มีความสามารถในการประสานงานและสร้างความร่วมมือ กับบิดามารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่ออำนวยความสะดวกและร่วมมือกันพัฒนาผู้เรียน ให้มีความรอบรู้มีปัญญารู้คิดและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่องให้เต็มตามศักยภาพ (ผลการเรียนรู้ข้อ 6.4)
          6.1.5 สามารถจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนมีทักษะศตวรรษที่ ๒๑ และเทคโนโลยีมาใช้ในการ จัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนและพัฒนาตนเอง เช่น ทักษะการเรียนรู้(Learning Skills) ทักษะการรู้เรื่อง (Literacy Skills) และทักษะชีวิต (Life Skills) ทักษะการทำงานแบบร่วมมือ และดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ผลการเรียนรู้ข้อ 6.5)
          จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยใช้ความรู้จากที่เรียนมาการวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย ดังข้อต่อไปนี้
          6.2.1 กำหนดรูปแบบการนำเสนองานหน้าชั้นเรียน เพื่อให้นักศึกษาสะท้อนความรู้ที่  (· ผลการเรียนรู้ข้อ 6.1, 6.2, 6.3, 6.4)  
          6.2.2 กำหนดให้นักศึกษาทำรายงานการประเมินตนเอง (· ผลการเรียนรู้ข้อ 6.5)  
          6.3.1 ประเมินพฤติกรรมการการทำรายงานการประเมินตนเอง  (· ผลการเรียนรู้ข้อ 6.1)
          6.3.2 การประเมินจากการนำเสนองานหน้าชั้นเรียน   (· ผลการเรียนรู้ข้อ 6.1, 6.2, 6.3, 6.4, 6.5)  
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์บุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านวิธีวิทยาการจัดการเรียนรู้
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 3 5 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 5
1 TEDCC834 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1, 2.2, 3..1, 5.1, 5.2 - สอบกลางภาค 9 25%
2 2.1, 2.2, 3..1, 5.1, 5.2 - สอบปลายภาค 17 25%
3 1.3, 2.1, 2.2, 3.1, 5.1,5.2 - การทำงานกลุ่ม ค้นคว้าและการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย - รายงานการสร้างและวิเคราะห์ข้อสอบ - การเขียนแลัวคำนวณในการสร้างและวิเคราะห์ข้อสอบ - การตรวจการสร้างและวิเคราะห์ข้อสอบ ตลอดภาคการศึกษา 20%
4 1.3, 2.1, 2.2, 3.1, 5.1,5.2 การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 5%
5 1..3, 2.1, 2.2, 3.1, 5.1 ,5.2 การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
6 1.3, 4.1, 4.4 - การเช็คชื่อการเข้าชั้นเรียน - การแต่งกายและการทำผิดวินัย ตลอดภาคการศึกษา 5%
- เอกสารประกอบการสอน
- สื่อ Power Point
===ไม่มี===
          เยาวดี  รางชัยกุล วิบูลย์ศรี. (2554). การวัดผลและการสร้างแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
          พิชิต  ฤทธิ์จำรูญ. (2556). หลักการวัดและประเมินการศึกษา. กรุงเทพฯ: เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มิสท์.
          สมนึก  ภัททิยธนี. (2558). การวัดผลการศึกษา. กาฬสินธุ์: โรงพิมพ์ประสานการพิมพ์.
          ราตรี นันทสุคนธ์. (2555). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: จุดทอง จำกัด.
          สุรีพร อนุศาสนนันท์. (2554). การวัดและประเมินในชั้นเรียน. ชลบุรี: โรงพิมพ์ เก็ทกู๊ดครีเอชั่น.
          ล้วน สายยศ, อังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางศึกษา. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.  
          โชติกา ภาษีผล. (2559). การวัดและประเมินผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
          โชติกา ภาษีผล และคณะ. (2558). การวัดและประเมินผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
          Bloom, B.S.J.T. Hastings and G. F. Madus. Handbook on Formative and Summative Evalution of Student Learning. New York : MC. Graw Hill, 1972.
          Thorndike, Robert M. (2010). Measurement and evaluation in psychology and education, Boston: Peason Education.
          Gronlund, Norman Edward. (1985). Measurement and eveluation in teaching. New York :Maxwell macmillan international editions.
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
     1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
     1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
     1.3 ข้อเสนอแนะผ่านกลุ่มบนเพจของระบบโซเชียลของรายวิชาที่จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
 2.1  การประเมินกลยุทธ์การสอน
           กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ การออกแบบวิธีการวัดและประเมินโดยใช้แนวคิดการประเมิน ตามสภาพจริง วิธีการที่หลากหลาย สอดคล้องกับเนื้อหา กิจกรรม และบริบทรายวิชา มีเป้าหมายของการวัดและประเมินเพื่อใช้ในการปรับปรุงพัฒนาผู้เรียน การเรียนการสอน และการตัดสินผลการเรียน ใช้การวัดและประเมิน เป็นกลไกหรือเครื่องมือที่ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นทำให้ผู้เรียนรู้จักตนเอง และมีข้อมูลสารสนเทศในการปรับปรุงพัฒนาตนเองทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ และทำให้ผู้เกี่ยวข้องในหลักสูตรมีข้อมูลสารสนเทศในการเตรียมความพร้อมและส่งเสริมพัฒนาให้ผู้เรียนในการประกอบอาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา โดยมีกลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิทั้ง 6 ด้าน คือ 1) ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2) ด้านความรู้ 3) ด้านทักษะทางปัญญา 4) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5) ด้านทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี และ 6) ด้านวิธีวิทยาการจัดการเรียนรู้ อาทิ (1) การสังเกต เช่น พฤติกรรมการเรียน การทำงานตามสภาพจริง การปฏิบัติตามสภาพจริงหรือ ในห้องปฏิบัติการ การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา การเข้าร่วมกิจกรรมเสริมความเป็นครูฯลฯ (2) การประเมินโดยเพื่อน พ่อแม่ผู้ปกครอง (3) การประเมินกรณีศึกษา (4) การใช้แบบวัดทางจิตวิทยา เช่น แบบวัดคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยม อุดมการณ์ จิตวิญญาณ ความเป็นครูทักษะการเรียนรู้ ความรอบรู้ด้านต่างๆ ทักษะดิจิทัล ฯลฯ (5) การทดสอบความรู้ เช่น การทดสอบความรู้ในเนื้อหารายวิชาที่เน้นทฤษฎี (6) การวัดผลภาคปฏิบัติ/ทักษะการปฏิบัติ เช่น การนำเสนองาน โครงงาน รายงานการศึกษาค้นคว้า การวิจัยในชั้นเรียน การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ฯลฯ
2.2 การประเมินทักษะของอาจารย์ในการใช้แผนกลยุทธ์การสอนการประเมินทักษะดังกล่าวสามารถทำโดยการ
            2.2.1 ประเมินโดยนักศึกษาในแต่ละวิชา
            2.2.2 การสังเกตการณ์ของผู้รับผิดชอบหลักสูตร/ประธานหลักสูตร และ/หรือทีมผู้สอน
            2.2.3 ภาพรวมของหลักสูตรประเมินโดยบัณฑิตใหม่
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
     3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน เพื่อหาแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมที่เหมาะสมกับสภาพรายวิชาและการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่สอดคล้องกัน
     3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
     3.3 ความเหมาะสมของกิจกรรมการจัดการเรียนเรียนการสอนที่สามารถส่งเริมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
     4.1  มีคณะกรรมการตรวจสอบรายละเอียดของรายวิชา รายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม และกิจกรรมเสริมความเป็นครูตลอดหลักสูตร รวมทั้งการกำกับให้สอดคล้องกับมาตรฐานผลการเรียนรู้ของหลักสูตร
     4.2  มีการทวนสอบผลการเรียนรู้ของรายวิชา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
     5.1  ปรับปรุงเทคนิควิธีการสอน การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสะท้อนผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน
     5.2  ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4