ปรัชญาอาชีวศึกษาและการประกันคุณภาพ

Philosophy of Vocational Education and Education Quality Assurance

          เพื่อที่ต้องการให้ผู้ที่ศึกษาในรายวิชานี้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิวัฒนาการ ความเป็นมาของอาชีวศึกษา รูปแบบของวิทยาลัยอาชีวศึกษาประเภทต่างๆ ในประเทศไทย ที่เน้นการจัดการศึกษา การทำงานให้เกิดความชำนาญ และคิดวิเคราะห์เชิงระบบตามปรัชญาอาชีวศึกษา การเปลี่ยนแปลงบริบทของโลกและสังคม ที่มีอิทธพลต่อการจัดการศึกษาด้านอาชีวศึกษา การวางแผนและดำเนินกิจกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาภายในและภายนอก กระบวนการดำเนินกิจกรรมประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาและนำผลการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
1. รู้ความหมายและความสำคัญของวิวัฒนาการ
2. เข้าใจความเป็นมา และรูปแบบของอาชึวศึกษาในประเทศไทย
3. เข้าใจการเปลี่ยนแปลงของสังคม วัฒนธรรม ศาสนา เศรษฐกิจ ที่มีอิทธพลต่อการจัดการศึกษาด้านอาชีวศึกษา
4. เข้าใจความรู้เกี่ยวกับระบบประกันคุณภาพการศึกษา
5. เข้าใจมาตรฐานการอาชีวศึกษาและระบบการประกันคุณภาพด้านอาชีวศึกษา
6. เข้าใจการเขียนรายงานและการดำเนินกิจกรรมประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
7. เข้าใจการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษา และนำผลการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนา
8. ตระหนักและเห็นความสำคัญของปรัชญาอาชีวศึกษาและการประกันคุณภาพการศึกษา
9. มีทัศนคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพครู
          ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับวิวัฒนาการ ความเป็นมาของอาชีวศึกษา รูปแบบของวิทยาลัยอาชีวศึกษาประเภทต่างๆ ในประเทศไทย ที่เน้นการจัดการศึกษา การทำงานให้เกิดความชำนาญ และคิดวิเคราะห์เชิงระบบตามปรัชญาอาชีวศึกษา การเปลี่ยนแปลงบริบทของโลกและสังคม ที่มีอิทธพลต่อการจัดการศึกษาด้านอาชีวศึกษา การวางแผนและดำเนินกิจกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาภายในและภายนอก กระบวนการดำเนิกิจกรรมประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาและนำผลการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านทางไลน์
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
     1.1.1 แสดงออกซึ่งความรักและศรัทธาและภูมิใจในวิชาชีพครูและจิตวิญญาณความเป็นครูและ ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.1)
     1.1.2 มีจิตอาสา จิตสาธารณะ อดทนอดกลั้น มีความเสียสละ รับผิดชอบและซื่อสัตย์ต่องานที่ได้รับมอบหมายทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ และสามารถพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ ครอบครัว สังคมและประเทศชาติและเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.2)
     1.1.3 มีค่านิยมและคุณลักษณะเป็นประชาธิปไตย คือ การเคารพสิทธิและให้เกียรติคนอื่น มีความสามัคคีและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และใช้เหตุผลและปัญญาในการดำเนินชีวิตและการตัดสินใจ (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.3)
     1.1.4 มีความกล้าหาญและแสดงออกทางคุณธรรมจริยธรรม สามารถวินิจฉัย จัดการและคิดแก้ปัญหาทางคุณธรรมจริยธรรมด้วยความถูกต้องเหมาะสมกับสังคม การทำงานและสภาพแวดล้อม โดยอาศัยหลักการ เหตุผลและใช้ดุลยพินิจทางค่านิยม บรรทัดฐานทางสังคม ความรู้สึกของผู้อื่นและประโยชน์ของสังคมส่วนรวม มีจิตสำนึกในการธำรงความโปร่งใสของสังคมและประเทศชาติต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่นและความไม่ถูกต้อง ไม่ใช้ข้อมูลบิดเบือน หรือการลอกเลียนผลงาน (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.4)
       1.2.1 สอนสอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรม        
       1.2.2 เน้นเรื่องการแต่งกายและปฏิบัติตนที่เหมาะสม ถูกต้อง ตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
       1.2.3 ให้ความสำคัญในวินัย การตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนด
       1.2.4 ปลูกฝังจรรยาบรรณวิชาการและวิชาชีพ
 
    1.3.1 ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
       1.3.2 ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
       1.3.3 ประเมินการกระทำทุจริตในการสอบ
       1.3.4 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
       1.3.5 ประเมินจากคุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย ที่สะท้อนถึงความตั้งใจ ความรับผิดชอบของนักศึกษา
       1.3.6 มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
   2.1.1 มีความรอบรู้ในหลักการ แนวคิด ทฤษฎีเนื้อหาสาระด้านวิชาชีพของครู (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.1) ของรายวิชา TEDCC829 ปรัชญาอาชีวศึกษาและการประกันคุณภาพ ดังนี้
             1. รู้ความหมายและความสำคัญของวิวัฒนาการ
             2. เข้าใจความเป็นมา และรูปแบบของอาชึวศึกษาในประเทศไทย
             3. เข้าใจการเปลี่ยนแปลงของสังคม วัฒนธรรม ศาสนา เศรษฐกิจ ที่มีอิทธพลต่อการจัดการศึกษาด้านอาชีวศึกษา
             4. เข้าใจความรู้เกี่ยวกับระบบประกันคุณภาพการศึกษา
             5. เข้าใจมาตรฐานการอาชีวศึกษาและระบบการประกันคุณภาพด้านอาชีวศึกษา
             6. เข้าใจการเขียนรายงานและการดำเนินกิจกรรมประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
             7. เข้าใจการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษา และนำผลการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนา
             8. ตระหนักและเห็นความสำคัญของปรัชญาอาชีวศึกษาและการประกันคุณภาพการศึกษา
             9. มีทัศนคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพครู 
     2.1.2 มีความรู้และเนื้อหาในวิชาชีพ ด้านหลักการ แนวคิด ทฤษฎีและทักษะการปฏิบัติอย่างลึกซึ้ง ถ่องแท้รวมทั้งบริบทของอุตสาหกรรม มาตรฐานอุตสาหกรรมและ/หรือมาตรฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในสาขาวิชาเฉพาะต่างๆ มีความสามารถในการใช้เครื่องมือ การซ่อมแซม การบำรุงรักษา การสร้าง การพัฒนากระบวนการ ขั้นตอนในการทำงาน โดยคำนึงถึงผลดีและผลเสีย ความปลอดภัยของอุปกรณ์ผลิตภัณฑ์และชีวิตและทรัพย์สิน ของผู้ปฏิบัติงานและผู้บริโภค สามารถติดตามความก้าวหน้าด้านวิทยาการที่เกี่ยวข้องและนำไปประยุกต์ใช้ ในการพัฒนาผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.2)
    2.1.3 เข้าใจชุมชน เข้าใจชีวิต มีความรู้บริบทอุตสาหกรรม สถานประกอบการ เข้าใจโลก และการอยู่ร่วมกันบนพื้นฐานความแตกต่างทางวัฒธรรม สามารถเผชิญและเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม และสามารถนำแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตและพัฒนาตน พัฒนางาน และพัฒนาผู้เรียน (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.3)
     2.1.4 มีความรู้และความสามารถในการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ตามมาตรฐาน (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.4)
     2.1.5 ตระหนักรู้ เห็นคุณค่าและความสำคัญของศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตน พัฒนาผู้เรียน พัฒนางานและพัฒนาชุมชน (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.5)
   1. บรรยาย 
   2. อภิปราย
   3. การฝึกปฏิบัติโดยให้ผู้เรียนจัดทำรายงานการประเมินตนเอง และการนำเสนอรายงานที่ตนเองฝึกปฏิบิติ
   4. มอบหมายให้ค้นหาเนื้อหาที่ได้ทำการสอน ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
 ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในด้านต่าง ๆ ด้วยวิธีดังนี้
      2.3.1 การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
      2.3.2 ประเมินจากผลงานที่มอบหมาย
      2.3.3 ประเมินจากการที่นำเสนอหน้าชั้นเรียน 
     3.1.1 สามารถคิด ค้นหา วิเคราะห์ข้อเท็จจริง และประเมินข้อมูล สื่อ สารสนเทศ จากแหล่งข้อมูล ที่หลากหลายอย่างรู้เท่าทัน เป็นพลเมืองตื่นรู้มีสำนึกสากล สามารถเผชิญและก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคดิจิทัล เทคโนโลยีข้ามแพลทฟอร์มและโลกอนาคต นำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน และวินิจฉัยแก้ปัญหาและพัฒนางานได้อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงถึงความรู้หลักการทางทฤษฎีประสบการณ์ภาคปฏิบัติค่านิยม แนวคิด นโยบายและยุทธศาสตร์ชาติบรรทัดฐานทางสังคมและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น (ผลการเรียนรู้ข้อ 3.1)      3.1.2 สามารถคิดริเริ่มและพัฒนางานอย่างสร้างสรรค์ (ผลการเรียนรู้ข้อ 3.2)      3.1.3 สร้างและประยุกต์ใช้ความรู้จากการทำวิจัยและสร้างหรือร่วมสร้าง ผลิตภาพ หรือผลิตภัณฑ์ หรือนวัตกรรม เพื่อพัฒนาตนเอง พัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนและพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้สร้างหรือร่วมสร้าง นวัตกรรม รวมทั้งการถ่ายทอดความรู้แก่ชุมชน สถานประกอบการและสังคม (ผลการเรียนรู้ข้อ 3.3)
3.2.1  การมอบให้นักศึกษา (· ผลการเรียนรู้ข้อ 3.1, 3.2, 3.3)        
       3.2.1.1 การค้นคว้ามาตรฐานการสถานศึกษาของวิทยาลัยเทคนิค หรืออาชีวศึกษา
       3.2.1.2 การค้นคว้ารายงานการประเมินตนเองของวิทยาลัยเทคนิค หรืออาชีวศึกษา
       3.2.1.3 ฝึกการเขียนรายงานการประเมินตนเองตัวบ่งชี้ด้านการเรียนการสอน
3.2.2  อภิปรายกลุ่ม และรายงานทางเอกสาร
3.2.3  การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
3.3.1 ประเมินผลจากการทำงาน/การบ้าน
3.3.2 วัดผลจากการประเมินจากรายงาน  การนำเสนอผลงาน การมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่ม         
3.3.3 วัดผลจากการสอบภาคทฤษฎี
         4.1.1 รับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น เข้าใจผู้อื่น มีความคิดเชิงบวก มีวุฒิภาวะทางอารมณ์และทางสังคม (ผลการเรียนรู้ข้อ 4.1)
         4.1.2 ทำงานร่วมกับผู้อื่น ทำงานเป็นทีม เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี มีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้เรียน ผู้ร่วมงาน ผู้ปกครอง คนในชุมชน และผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการ มีสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวมทั้งด้าน เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สามารถพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความภาคภูมิใจและเห็นคุณค่าในตนเอง ในวิชาชีพ เคารพในเกียรติและศักดิ์ศรีของผู้อื่น และความเป็นมนุษย์ (ผลการเรียนรู้ข้อ 4.2)
         4.1.3 มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ต่อตนเอง ต่อผู้เรียน ต่อผู้ร่วมงาน และต่อส่วนรวม สามารถ ช่วยเหลือและแก้ปัญหาตนเอง กลุ่มและระหว่างกลุ่มได้อย่างสร้างสรรค์ (ผลการเรียนรู้ข้อ 4.3)
         4.1.4 มีภาวะผู้นำทางวิชาการและวิชาชีพ มีความเข้มแข็งและกล้าหาญทางจริยธรรม สามารถชี้นำ และถ่ายทอดความรู้แก่ผู้เรียน สถานศึกษา ชุมชนและสังคมอย่างสร้างสรรค์ (ผลการเรียนรู้ข้อ 4.4)
          4.2.1 มอบหมายงานให้ค้นคว้าทำรายงานเป็นกลุ่มและส่งภายในกำหนดเวลา
          4.2.2 มอบหมายให้รายงานหน้าชั้นและมีการอภิปรายยอมรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนร่วมชั้นเรียน
          4.3.1 พฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียน
          4.3.2 การส่งงานภายในกำหนด
          4.3.3 พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
          4.3.4 มีการแสดงออกของหลักการในการสรุปประเด็นที่เด่นชัด
     5.1.1 วิเคราะห์เชิงตัวเลข สำหรับข้อมูลและสารสนเทศ ทั้งที่เป็นตัวเลขเชิงสถิติ หรือคณิตศาสตร์ เพื่อเข้าใจองค์ความรู้ หรือประเด็นปัญหาได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง (ผลการเรียนรู้ข้อ 5.1)
     5.1.2 สื่อสารกับผู้เรียน บุคคลและกลุ่มต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพด้วยวิธีการหลากหลาย ทั้งการพูด การเขียน และการนำเสนอด้วยรูปแบบต่างๆ โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่เหมาะสม (ผลการเรียนรู้ข้อ 5.2)
     5.1.3 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมสำเร็จรูปหรือแอปพลิเคชันหรือแพลตฟอร์ม รวมทั้งอุปกรณ์สนับสนุนที่ทันสมัย จำเป็นสำหรับการจัดการเรียนรู้ การวิจัย การทำงาน และการประชุม รวมทั้ง สามารถติดตามความก้าวหน้า การจัดการและสืบค้นข้อมูลและสารสนเทศ รับและส่งข้อมูลและสารสนเทศ โดยใช้ดุลยพินิจที่ดีในการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลและสารสนเทศ อีกทั้งตระหนักถึงการละเมิดลิขสิทธิ์ และการลอกเลียนผลงาน (ผลการเรียนรู้ข้อ 5.3)
        
       5.2.1 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์เชิงตัวเลขค้นคว้าหาข้อมูล สำหรับข้อมูลและสารสนเทศ
       5.2.2 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร
       5.2.3 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการนำเสนอผลงาน รวมทั้งอุปกรณ์สนับสนุนที่ทันสมัย 
       5.2.4 การนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียนเพื่อสะท้อนถึงการใช้สารสนเทศและภาษาในการสื่อสาร
         5.3.1 พิจารณาจากเนื้อหาในสื่อที่นำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน
         5.3.2 พิจารณาจากการเนื้อหาในเล่มรายงานที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล
         5.3.3 พิจารณาจากการใช้สื่อในการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน
         5.3.4 พิจารณาจากการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร
         5.3.5 พิจารณาจากการเข้าใช้ระบบเทคโนโลยีการศึกษาที่กำหนด
    6.1.1 มีความเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนรู้และสอนงาน ด้วยรูปแบบ วิธีการที่หลากหลาย โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง สามารถออกแบบและสร้างหลักสูตรรายวิชาในชั้นเรียน หรือหลักสูตรฝึกอบรม วางแผนและออกแบบเนื้อหาสาระและกิจกรรมการจัดการเรียนรู้บริหารจัดการชั้นเรียน และ/หรือ สถานประกอบการ ใช้สื่อและเทคโนโลยีวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนาผู้เรียนอย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์ (ผลการเรียนรู้ข้อ 6.1)
     6.1.2 มีความรู้ความเข้าใจ สามารถวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคลและจัดการเรียนรู้หรือสอนงาน ได้อย่างหลากหลายเพื่อพัฒนาผู้เรียนตามความแตกต่างระหว่างบุคคล ทั้งผู้เรียนปกติหรือที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษหรือต่างวัฒนธรรม (ผลการเรียนรู้ข้อ 6.2)
     6.1.3 จัดกิจกรรมและออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ เรียนรู้ ผ่านการลงมือปฏิบัติและการทำงานในสถานการณ์จริงที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาการคิด การทำงาน การจัดการการเผชิญสถานการณ์ ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น โดยบูรณาการการทำงานกับ การเรียนรู้และคุณธรรม จริยธรรม สามารถประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกัน แก้ไขปัญหา และพัฒนา (ผลการเรียนรู้ข้อ 6.3)
     6.1.4 สร้างบรรยากาศ และจัดสภาพแวดล้อม สื่อการเรียน แหล่งวิทยาการ เทคโนโลยีวัฒนธรรม และภูมิปัญญาทั้งในและนอกสถานศึกษาเพื่อการเรียนรู้มีความสามารถในการประสานงานและสร้างความร่วมมือ กับบิดามารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่ออำนวยความสะดวกและร่วมมือกันพัฒนาผู้เรียน ให้มีความรอบรู้มีปัญญารู้คิดและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่องให้เต็มตามศักยภาพ (ผลการเรียนรู้ข้อ 6.4)
     6.1.5 สามารถจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนมีทักษะศตวรรษที่ ๒๑ และเทคโนโลยีมาใช้ในการ จัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนและพัฒนาตนเอง เช่น ทักษะการเรียนรู้(Learning Skills) ทักษะการรู้เรื่อง (Literacy Skills) และทักษะชีวิต (Life Skills) ทักษะการทำงานแบบร่วมมือ และดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ผลการเรียนรู้ข้อ 6.5)
          จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยใช้ความรู้จากที่เรียนมาการวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย ดังข้อต่อไปนี้
          6.2.1 กำหนดรูปแบบการนำเสนองานหน้าชั้นเรียน เพื่อให้นักศึกษาสะท้อนความรู้ที่  (· ผลการเรียนรู้ข้อ 6.1, 6.2, 6.3, 6.4)  
          6.2.2 กำหนดให้นักศึกษาทำรายงานการประเมินตนเอง (· ผลการเรียนรู้ข้อ 6.5)  
          6.3.1 ประเมินพฤติกรรมการการทำรายงานการประเมินตนเอง  (· ผลการเรียนรู้ข้อ 6.1)
          6.3.2 การประเมินจากการนำเสนองานหน้าชั้นเรียน   (· ผลการเรียนรู้ข้อ 6.1, 6.2, 6.3, 6.4, 6.5)  
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์บุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านวิธีวิทยาการจัดการเรียนรู้
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 4 5 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 5
1 TEDCC829 ปรัชญาอาชีวศึกษาและการประกันคุณภาพ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1, 2.2, 3..1, 5.1, 5.2 - สอบกลางภาค 9 25%
2 2.1, 2.2, 3..1, 5.1, 5.2 - สอบปลายภาค 17 25%
3 1.3, 2.1, 2.2, 3.1, 5.1,5.2 - การทำงานกลุ่ม ค้นคว้าและการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย - รายงานการประเมินตนเองของวิทยาลัยเทคนิค - การเขียนรายงานการประเมินตัวเองตามตัวบ่งชี้ที่กำหนด - การตรวจรายงานการประเมินตนเอง ตลอดภาคการศึกษา 15%
4 1.3, 2.1, 2.2, 3.1, 5.1,5.2 การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 5%
5 1..3, 2.1, 2.2, 3.1, 5.1 ,5.2 การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 10%
6 1.3, 2.1, 2.2, 3.1, 5.1,5.2 - ผลงานการทำรายงานการประเมินตนเอง - การตรวจรายงานการประเมินตนเอง ตลอดภาคการศึกษา 10%
7 1.3, 4.1, 4.4 - การเช็คชื่อการเข้าชั้นเรียน - การแต่งกายและการทำผิดวินัย ตลอดภาคการศึกษา 10%
- เอกสารประกอบการสอน
- สื่อ Power Point
-ไม่มี-
          กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). เกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ พ.ศ.2562. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
          กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). เกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
          กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). เกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ พ.ศ.2562. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
          กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
          กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2546. กรุงเทพฯ:คณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
          คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๘๐). กรุงเทพฯ:คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ.
          สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
          สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2561). แนวทางการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
          สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ และสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2559). คู่มือการประเมินคุณภาพภายในการอาชีวศึกษา ตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: สํานักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ.
          สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2560). แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
          สุภัทรา เอื้อวงศ์. (ม.ป.ป). เอกสารประกอบการสอน หน่วยที่ 10 การประกันคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.
          สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2554). คู่มือผู้ประเมิน เพื่อการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสามด้านการอาชีวศึกษา (พ.ศ.2554-2558). กรุงเทพฯ: ออฟเซ็ท พลัส จำกัด.
          สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2554). คู่มือผู้ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ. 2554-2558) ด้านการอาชีวศึกษา ฉบับสถานศึกษา (แก้ไขเพิ่มเติม พฤศจิกายน พ.ศ. 2554). กรุงเทพฯ: ออฟเซ็ท พลัส จำกัด.
          รุ่ง แก้วแดง. (2544). ประกันคุณภาพการศึกษาทุกคนทำได้ไม่ยาก. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.
          ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2560). ปรัชญาการศึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
          สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ. (2565). หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 (ปรับปรุง พ.ศ. 2565). สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2565, จาก https://bsq.vec.go.th
          
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
     1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
     1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
     1.3 ข้อเสนอแนะผ่านกลุ่มบนเพจของระบบโซเชียลของรายวิชาที่จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
 2.1  การประเมินกลยุทธ์การสอน
           กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ การออกแบบวิธีการวัดและประเมินโดยใช้แนวคิดการประเมิน ตามสภาพจริง วิธีการที่หลากหลาย สอดคล้องกับเนื้อหา กิจกรรม และบริบทรายวิชา มีเป้าหมายของการวัดและประเมินเพื่อใช้ในการปรับปรุงพัฒนาผู้เรียน การเรียนการสอน และการตัดสินผลการเรียน ใช้การวัดและประเมิน เป็นกลไกหรือเครื่องมือที่ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นทำให้ผู้เรียนรู้จักตนเอง และมีข้อมูลสารสนเทศในการปรับปรุงพัฒนาตนเองทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ และทำให้ผู้เกี่ยวข้องในหลักสูตรมีข้อมูลสารสนเทศในการเตรียมความพร้อมและส่งเสริมพัฒนาให้ผู้เรียนในการประกอบอาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา โดยมีกลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิทั้ง 6 ด้าน คือ 1) ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2) ด้านความรู้ 3) ด้านทักษะทางปัญญา 4) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5) ด้านทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี และ 6) ด้านวิธีวิทยาการจัดการเรียนรู้ อาทิ (1) การสังเกต เช่น พฤติกรรมการเรียน การทำงานตามสภาพจริง การปฏิบัติตามสภาพจริงหรือ ในห้องปฏิบัติการ การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา การเข้าร่วมกิจกรรมเสริมความเป็นครูฯลฯ (2) การประเมินโดยเพื่อน พ่อแม่ผู้ปกครอง (3) การประเมินกรณีศึกษา (4) การใช้แบบวัดทางจิตวิทยา เช่น แบบวัดคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยม อุดมการณ์ จิตวิญญาณ ความเป็นครูทักษะการเรียนรู้ ความรอบรู้ด้านต่างๆ ทักษะดิจิทัล ฯลฯ (5) การทดสอบความรู้ เช่น การทดสอบความรู้ในเนื้อหารายวิชาที่เน้นทฤษฎี (6) การวัดผลภาคปฏิบัติ/ทักษะการปฏิบัติ เช่น การนำเสนองาน โครงงาน รายงานการศึกษาค้นคว้า การวิจัยในชั้นเรียน การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ฯลฯ
2.2 การประเมินทักษะของอาจารย์ในการใช้แผนกลยุทธ์การสอนการประเมินทักษะดังกล่าวสามารถทำโดยการ
            2.2.1 ประเมินโดยนักศึกษาในแต่ละวิชา
            2.2.2 การสังเกตการณ์ของผู้รับผิดชอบหลักสูตร/ประธานหลักสูตร และ/หรือทีมผู้สอน
            2.2.3 ภาพรวมของหลักสูตรประเมินโดยบัณฑิตใหม่
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
     3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน เพื่อหาแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมที่เหมาะสมกับสภาพรายวิชาและการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่สอดคล้องกัน
     3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
     3.3 ความเหมาะสมของกิจกรรมการจัดการเรียนเรียนการสอนที่สามารถส่งเริมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
     4.1  มีคณะกรรมการตรวจสอบรายละเอียดของรายวิชา รายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม และกิจกรรมเสริมความเป็นครูตลอดหลักสูตร รวมทั้งการกำกับให้สอดคล้องกับมาตรฐานผลการเรียนรู้ของหลักสูตร
     4.2  มีการทวนสอบผลการเรียนรู้ของรายวิชา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
     5.1  ปรับปรุงเทคนิควิธีการสอน การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสะท้อนผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน
     5.2  ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4