กลศาสตร์วิศวกรรมด้านสถิตยศาสตร์

Engineering Mechanics Statics

เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการเบื้องต้นของกลศาสตร์ แรงและโมเมนต์ของแรง การ
สมดุลแรง แรงเสียดทาน งานเสมือนและเสถียรภาพ พลศาสตร์เบื้องต้น
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญหาในการนำความรู้ ความเข้าใจในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาของทางวิศวกรรมโยธา ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ควรมีการเปลี่ยนแปลง ให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
ศึกษาหลักการเบื้องต้นของกลศาสตร์ แรงและโมเมนต์ของแรง ระบบแรงและผลลัพธ์ของระบบ
แรง การสมดุลและการเขียนแผนภาพวัตถุอิสระ แรงภายใต้ของไหลที่อยู่นิ่ง แรงในชิ้นส่วนของโครงสร้าง
โครงกรอบ  แรงเสียดทาน งานเสมือนและเสถียรภาพ พลศาสตร์เบื้องต้น
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 2 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
ความมีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับ ต่างๆ ขององค์กรและสังคม มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
ให้ความสำคัญในเรื่องการมีวินัย การตรงต่อเวลา การส่งงานภายในระยะเวลาที่กำหนดอาจารย์ปฏิบัติตนเป็นตัวอย่าง ให้ความสำคัญต่อการมีวินัย ตรงต่อเวลา และอธิบายระเบียบการเข้าชั้นเรียน ปลูกฝังเรื่องความชื่อสัตย์สุจริต ตลอดจนจรรยาบรรณทางวิชาชีพ
ประเมินจากพฤติกรรมของนักศึกษาภายในห้องเรียน และการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ การขานชื่อ การให้คะแนนการเข้าชั้นเรียนและการส่งงานตรงเวลา สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆอย่าต่อเนื่อง ประเมินจากเนื้อหาของแบบฝึกหัดท้ายบทเรียน(มีการลอกกันไหม)
หลักการเบื้องต้นของกลศาสตร์ แรงและโมเมนต์ของแรง ระบบแรงและผลลัพธ์ของระบบแรง
การสมดุลและการเขียนแผนภาพวัตถุอิสระ แรงภายใต้ของไหลที่อยู่นิ่ง แรงในชิ้นส่วนของโครงสร้าง โครง
กรอบ คิเนแมติกส์และคิเนติกส์ของอนุภาคและวัตถุเกร็ง กฎข้อที่สองของนิวตัน งานและพลังงาน แรงเสียดทาน งานเสมือนและเสถียรภาพ
สอน อธิบาย ยกตัวอย่าง ตามเนื้อหาวิชา ใช้การสอนแบบสื่อสารสองทาง เปิดโอกาสให้นักศึกษามีการตั้งคำถามหรือตอบคำถาม หรือแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับวิชาการ ในชั้นเรียนในโอกาสต่างๆ อธิบายความเชื่อมโยงของเนื้อหาในวิชาที่ศึกษากับศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง อธิบายและยกตัวอย่างการประยุกต์แก้ปัญหา

 
สอบย่อย สอบข้อเขียน ทั้งกลางภาค และ ปลายภาค ประเมินผลงานที่มอบหมายจากแบบฝึกหัดท้ายบทเรียน
สามารถคิด วิเคราะห์ สรุปประเด็นปัญหาในด้านกลศาสตร์อย่างมีวิจารณญาณที่ดี และสามารถ
แก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการแก้ปัญหาได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ และสามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยต้นเอง
จัดกิจกรรมการวิเคราะห์และแก้ปัญหากรณีศึกษาเกี่ยวกับงานทางด้านด้านกลศาสตร์ที่เป็นชิ้นงานจริง แล้วให้นักศึกษาร่วมกันอภิปราย
ประเมินจากการอภิปราย สรุปประเด็นปัญหา และกระบวนการแก้ไขปัญหา
รู้จักบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบในการทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย สามารถทำงาน
ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและ
สอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
มอบหมายให้ศึกษาเนื้อหาเพิ่มเติมและทำรายงานกลุ่ม
ประเมินจากรายงาน และการนำเสนอรายงานที่ได้รับมอบหมาย
สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณ และเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อช่วยในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาทางด้านด้านกลศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตั้งโจทย์ปัญหาที่ต้องใช้ระเบียบวิธีการคำนวณเชิงตัวเลขในการแก้ปัญหา
ประเมินจากการหาคาตอบโดยวิธีการคำนวณ และวิธีการใช้เครื่องคำนวณหรือโปรแกรม
คอมพิวเตอร์สาเร็จรูป
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1,2.2, 2.3, 2.4, 3.1,3.2, 3.3,5.5 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1, สอบกลางภาค, ทดสอบย่อยครั้งที่ 2, สอบปลายภาค 4, 8, 12, 17 10%, 25%, 10%, 30%
2 3.5,4.3, 4.4,5.3 การทำงานกลุ่ม การส่งงานตามที่มอบหมาย การนำเสนอรายงาน ตลอดภาคการศึกษา 15%
3 1.2 ,1.5 ขานชื่อ - สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาภายในห้องเรียน และการเข้า ร่วมกิจกรรมต่างๆ - สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ อย่างต่อเนื่อง - ประเมินจากเนื้อหาของแบบฝึกหัดท้ายบทเรียน(ให้ ความสา คัญกับการลอกการบ้าน) และการทุจริตในการสอบ ตลอดภาคการศึกษา 10%
1. Engineering Mechanics R.C.HIBBELER
2. Engineering Mechanics (Statics) J.L. MERIAM L.G. KRAIGE
3. Engineering Mechanics (Dynamics) J.L. MERIAM L.G. KRAIGE
สื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์ วิชาสถิตยศาสตร์
- การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
- แบบประเมินรายวิชา
- ผลการสอบ
- แบบประเมินผู้สอน
- หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการการสัมมนาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน หาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน 
- ตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดย
ตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
- ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์
- เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ