การบัญชีบริหาร

Managerial Accounting

1.1 เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับ แนวคิด หลักการและวิธีการใช้ข้อมูลต้นทุนเพื่อการตัดสินใจวางแผนและควบคุมการดำเนินงานภายใต้สถานการณ์ที่แน่นอนและไม่แน่นอน เช่น การงบประมาณ ความสัมพันธ์และการวิเคราะห์ต้นทุน ปริมาณ และกำไร การควบคุมสินค้าคงคลัง 
1.2 เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับ แนวคิด หลักการ เกี่ยวกับระบบต้นทุนฐานกิจกรรม ระบบต้นทุนผันแปร การกำหนดราคาสินค้า ราคาโอน การประเมินการปฏิบัติงาน
1.3 เพื่อให้นักศึกษาทำการศึกษาค้นคว้า การนำข้อมูลด้านต้นทุนมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาองค์กร
2.1 เพื่อพัฒนาความรู้ของนักศึกษาในการใช้ข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนเพื่อการตัดสินใจ
2.2 เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีผลการเรียนรู้ที่คาดหวังให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการบัญชี
ศึกษาการใช้ข้อมูลต้นทุนเพื่อการตัดสินใจวางแผนและควบคุมการดำเนินงานของฝ่ายบริหารภายใต้สถานการณ์ที่แน่นอนและไม่แน่นอน เช่น การงบประมาณ การวางแผนและควบคุมสินค้าคงคลัง ความสัมพันธ์และการวิเคราะห์ต้นทุน ปริมาณ และกำไร ระบบต้นทุนฐานกิจกรรม ระบบต้นทุนรวม ระบบต้นทุนผันแปรการกำหนดราคาสินค้า ราคาโอน การประเมินผลการปฏิบัติงาน การประยุกต์ใช้การบัญชีต้นทุนและการวิเคราะห์ข้อมูลทางการบัญชีเพื่อการบริหาร
นักศึกษาสามารถเข้าพบได้ตามตารางเวลาให้นักศึกษาเข้าพบ โดยประมาณ 6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
1.1 มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ
1.2 มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบัน และสังคม
1.3 สามารถบริหารเวลาและปรับวิถีชีวิตอย่างสร้างสรรค์ในสังคม
1.4 มีจิตสำนึก และพฤติกรรมที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมีคุณธรรม
1. สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และจรรยายบรรณวิชาชีพในเนื้อวิชาเรียน
2. ให้ความสำคัญในการมีวินัย การตรงต่อเวลา และการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
3. การเรียนรู้และการสอนจากกรณีศึกษา
1. ประเมินโดยสังเกตพฤติกรรมนักศึกษาเกี่ยวกับการเข้าชั้นเรียนตรงเวลา การทำงานทันตามกำหนดและความพร้อมเพียงของการเข้าร่วมกิจกรรม
2. ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
3. สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
2.1 มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางการบัญชี
2.2 มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชี โดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
2.3 มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่นๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์
2.4 สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ การวิจัย และวิชาชีพ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
1. สอนหลากหลายรูปแบบ ตามลักษณะเนื้อหารายวิชาโดยเน้นแนวความคิด หลักการ
ทฤฏฎี และการปฎิบัติ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ เช่น การสอนแบบบรรยายและอภิปราย เป็นต้น
2. การตอบปัญหาทางวิชาการในห้องเรียน
3. มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพื่อจัดทำรายงาน
1. ประเมินการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น งานที่มอบหมย การทดสอบย่อย รายงานและการนำเสนอ
2. ประเมินจากการสอบข้อเขียน หรือ สอบปฎิบัติ
3.1 สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูล และแนวคิดต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการระบุและวิเคราะห์ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ด้วยตนเอง
3.2 สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ใช้ทักษะทางวิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหารวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ในสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ
3.3  สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
1. ส่งเสริมการเรียนรู้ และฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ จากระดับง่ายไปสู่ระดับที่สูงขึ้น ตามระดับการชั้นการศึกษา โดยใช้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษาหรือสถานกาณ์จำลอง
2. สอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เปิดโอกาสให้นักศึกา ค้นคว้า รายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน รวมทั้งอภิปรายแสดงความคิดเห็น
1. ประเมินจากการแก้โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา
2. ประเมินจากรายงานผลการศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสารและการนำเสนอน้าชั้นเรียน รวมทั้งผลการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
4.1 สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
4.2 มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี
4.3 มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมงาน
4.4 มีความรับผิดชอบการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพบัญชีของตนเองอย่างต่อเนื่อง
1. มอบหมายการทำงานเป็นกลุ่ม
2. มอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับความรู้ด้านวิชาชีพบัญชีโดยมีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
3. ให้ศึกษาการแก้ปัญหาจากกรณีศึกษาต่างๆ
1. ประเมินจากการายงานหน้าชั้นเรียน
2. สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
5.1 มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมาย และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือข้อโต้แย้ง
5.2 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบ  การนำเสนอที่เหมาะสมกับปัญหาและกลุ่มผู้ฟังที่แตกต่างกัน
1. มอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศจากฐานข้อมูลทั้งในประเทศและต่างประเทศ
2. ให้อภิปรายและนำเสนอผลงานที่ได้จากการสืบค้นหน้าชั้นเรียนและนำเสนอให้รูปแบบของรายงาน มอบหมายกรณีศึกษาให้นำมาวิเคราะห์และนำเสนอผลการวิเคราะห์ในห้องเรียนในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์
1. ประเมินจากผลงานจาการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่มอบหมายและนำเสนองานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
2. ประเมินจาการสอบข้อเขียน
3. ประเมินจาการการใช้ทักษะการใช้ภาษาพูดในการนำเสนอรายงานและการใช้ภาษาเขียนจากรายงานเป็นรายบุคคลหรือหรือรายกลุ่ม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2..ด้านการเรียนรู้ 3.ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ด้านการวิเคราะห์ ตัวเลขการสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1. 2. 3. 4. 1. 2. 3. 4. 1. 2. 3. 1. 2. 3. 4. 1. 2. 3.
1 BACAC132 การบัญชีบริหาร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2, 4.1 1. ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมนักศึกษาเกี่ยวกับการเข้าชั้นเรียนตรงเวลา การทำงานทันตามกำหนด การร่วมกิจกรรมในห้องเรียน 2. ประเมินการกระทำทุจริตในการสอบประเมินจากความรับผิดชอบ`ในการส่งการบ้าน บทที่ 1 - 10 ตลอดภาคการศึกษา 5%
2 2.1, 3.1  ประเมินจากงานที่มอบหมาย จากแบบฝึกหัดข้อที่มีความซับซ้อนต้องใช้การวิเคราะห์  การทดสอบย่อย  ประเมินจากการสอบข้อเขียน และ การสอบปฏิบัติ โดยแบบทดสอบ จะมีทั้งส่วนทฤษฏี โจทย์ปัญหาสั้น ๆ และกรณีศึกษา จากระดับง่ายไปสู่ระดับที่สูงขึ้น ซึ่งจะวัดระดับการเรียนรู้ (Cognitive Domain) ด้านความจำ ความเข้าใจ การประยุกต์ใช้ และการวิเคราะห์ ตลอดภาคการศึกษา 5%
3 2.1, 3.1  ประเมินจากงานที่มอบหมาย จากแบบฝึกหัดข้อที่มีความซับซ้อนต้องใช้การวิเคราะห์  การทดสอบย่อย  ประเมินจากการสอบข้อเขียน และ การสอบปฏิบัติ โดยแบบทดสอบ จะมีทั้งส่วนทฤษฏี โจทย์ปัญหาสั้น ๆ และกรณีศึกษา จากระดับง่ายไปสู่ระดับที่สูงขึ้น ซึ่งจะวัดระดับการเรียนรู้ (Cognitive Domain) ด้านความจำ ความเข้าใจ การประยุกต์ใช้ และการวิเคราะห์ ทดสอบในบทเรียน ตลอดภาคการศึกษา 15%
4 2.1, 3.1  ประเมินจากงานที่มอบหมาย จากแบบฝึกหัดข้อที่มีความซับซ้อนต้องใช้การวิเคราะห์  การทดสอบย่อย  ประเมินจากการสอบข้อเขียน และ การสอบปฏิบัติ โดยแบบทดสอบ จะมีทั้งส่วนทฤษฏี โจทย์ปัญหาสั้น ๆ และกรณีศึกษา จากระดับง่ายไปสู่ระดับที่สูงขึ้น ซึ่งจะวัดระดับการเรียนรู้ (Cognitive Domain) ด้านความจำ ความเข้าใจ การประยุกต์ใช้ และการวิเคราะห์ กลางภาคเรียน 9 25%
5 2.1, 3.1  ประเมินจากงานที่มอบหมาย จากแบบฝึกหัดข้อที่มีความซับซ้อนต้องใช้การวิเคราะห์  การทดสอบย่อย  ประเมินจากการสอบข้อเขียน และ การสอบปฏิบัติ โดยแบบทดสอบ จะมีทั้งส่วนทฤษฏี โจทย์ปัญหาสั้น ๆ และกรณีศึกษา จากระดับง่ายไปสู่ระดับที่สูงขึ้น ซึ่งจะวัดระดับการเรียนรู้ (Cognitive Domain) ด้านความจำ ความเข้าใจ การประยุกต์ใช้ และการวิเคราะห์ สอบปลายภาคเรียน 17 25%
6 2.4 ประเมินจาก รายงานและการค้นคว้า และการให้สรุปประเด็นที่สำคัญของเนื้อหาในชั้นเรียน เกี่ยวกับกรณีศึกษา บทที่ 1-10 5,12 20%
7 3.3, 4.1, 5.2  ประเมินจากรายงานการค้นคว้า และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน การอภิปรายแสดงความคิดเห็น ประเมินทักษะการใช้ภาษาพูดในการนำเสนอรายงานและการใช้ภาษาเขียนจากรายงานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม สังเกตการณ์พฤติกรรมการทำงานกลุ่มในชั้นเรียน 5,12 10%
การบัญชีบริหาร โดยสุปราณี ศุกระเศรณีและคณะ
www.thailandaccount.com
ข้อมูลการเคลื่อนไหวทางวิชาชีพที่ควรติดตามและข้อมูลสถานการณ์เกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบัน ซึ่งได้จากเวปไชต์ต่อไปนี้
www.fap.or.th
www.rd.go.th
ใช้การทดสอบย่อย
ใช้แบบประเมินประสิทธิภาพการสอนของมหาวิทยาลัยเมื่อสิ้นภาคการศึกษา ระบบออนไลน์
เน้นให้นักศึกษาเข้าใจการใช้ข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนและหลักการบัญชีเพื่อประกอบการตัดสินใจ
ให้กรรมการด้านวิชาการเป็นผู้ประเมินโดยพิจารณาจากข้อสอบและการตัดเกรด
รองคณะบดีฝ่ายวิชาการเป็นผู้นำเสนอข้อสอบและการตัดเกรด ก่อนที่จะมีการสอบและการ  ประกาศผล นำผลการประเมินในข้อ 1 และข้อ 2 ประกอบการพิจารณาข้อบกพร่องของวิธีการสอน วิธีการประเมิน และเนื้อหารายวิชา