เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมที่น่ารู้

Environmental Technology Simplified

เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมพื้นฐานที่น่ารู้ อาทิ ด้านการผลิตน้ำประปา การบำบัดน้ำเสีย การจัดการขยะมูลฝอย การควบคุมมลพิษอากาศและการควบคุมเสียง รวมถึงสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เพื่อผู้เรียนสามารถบูรณาการและนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ข้ามศาสตร์ในสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งเสริมสร้างความเข้าใจบทบาทการเป็นพลเมืองโลกภายใต้กรอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals–SDGs; 2015-2030)
ด้วยหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มีความสัมพันธ์กับหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ทั้งสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องและสาขาวิชาอื่นที่เปิดสอนในสาขาหรือคณะที่ต่างกันของสถาบัน ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงและการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศรวมทั้งของโลกแบบก้าวกระโดด ย่อมก่อให้เกิดผลกระทบโดยตรงและโดยอ้อมต่อสิ่งแวดล้อมตลอดจนคุณภาพชีวิตของประชากรจำนวนมาก
ดังนั้น สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม จึงได้ปรับปรุงรายวิชาและเนื้อหาให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรอบด้านโดยเน้นการนำไปใช้ในการทำงานหรือบูรณาการข้ามศาสตร์อย่างเหมาะสม นอกจากนี้การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถเชื่อมโยงและเรียนรู้ข้ามศาสตร์ได้ตามการพัฒนาของตน อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของบัณฑิตตามลำดับ
ศึกษาเกี่ยวกับหลักการและเทคโนโลยีพื้นฐานที่น่ารู้ด้านการผลิตน้ำประปา การบำบัดน้ำเสีย การจัดการขยะมูลฝอย การควบคุมมลพิษอากาศและการควบคุมเสียง รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ
2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
1.1.1 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.2 สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กรสังคมและสิ่งแวดล้อม
1.2.1 ให้ความรู้โดยสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมในเนื้อหาของบทเรียนต่างๆ
1.2.2 ให้นักศึกษาทำที่มอบหมายด้วยตัวเอง และส่งภายในเวลาที่กำหนด โดยค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่างๆ และมีการอ้างอิงแหล่งที่มาโดยไม่มีการคัดลอกหรือแอบอ้างผลงานผู้อื่นมาเป็นของตนเอง
1.2.3 ให้นักศึกษานำความรู้ที่ค้นคว้ามา แลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนในกลุ่มและนำเสนอผลงานเขียนที่สร้างสรรค์ โดยไม่ส่งผลกระทบในทางลบต่อสังคมและชุมชน
1.3.1 ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
1.3.3 ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
1.3.4 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
1.3.5 ประเมินจากคุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย ที่สะท้อนถึงความตั้งใจ ความรับผิดชอบของนักศึกษา
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
2.1.2 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.2.1 บรรยายความรู้ในบทเรียนและแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนในชั้นเรียน
2.2.2 อธิบายเป็นขั้นตอนและเปิดโอกาสให้ซักถาม
2.2.3 ได้จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการนำนักศึกษาไปทัศนศึกษาดูงานในสถานที่จริง นอกชั้นเรียน พร้อมให้นักศึกษาทำรายงานประกอบเป็นกลุ่มพร้อมนำเสนอผลงาน
2.3.1 การทดสอบย่อย
2.3.2 ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
2.3.3 ประเมินจากการนำเสนอผลงานในชั้นเรียน
3.1.1 มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
3.1.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3.2.1 กรณีศึกษาการประยุกต์เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
3.2.2 การอภิปรายกลุ่ม
3.2.3 การศึกษาดูงานระบบในสถานที่จริง
3.3.1 การร่วมกลุ่มกิจกรรมในชั้นเรียน
3.3.2 พิจารณาจากงานที่มอบหมาย
4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม
4.1.2 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
4.2.1 จัดกิจกรรมแบบกลุ่มย่อยในชั้นเรียนให้เกิดการทำงานร่วมกับผู้อื่น
4.2.2 ส่งเสริมความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
4.2.3 ส่งเสริมการปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ไปปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี
4.3.1 การร่วมกลุ่มกิจกรรมในชั้นเรียน
4.3.2 พิจารณาจากผลงานที่มอบหมาย
4.3.3  พิจารณาจากพฤติกรรมของนักศึกษาแต่ละบุคคลรวมถึงพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
5.1.1 ทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
5.1.2 ทักษะในการสืบค้น ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
5.1.3 ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองโดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
5.2.2 นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1 ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กรสังคมและสิ่งแวดล้อม มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ ทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา ทักษะในการสืบค้น ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
1 ENGEV512 เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมที่น่ารู้
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1.1,2.1.2,2.1.3,2.1.1,2.1.2,2.1.3 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9/17 25%/25%
2 3.1.2,3.1.3,3.2.1,3.2.2,4.1.2,4.1.5,1.1.3 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอรายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 25%
3 1.1.5,4.2.1,4.2.2,4.2.3 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วมกิจกรรมนอกชั้นเรียน การอภิปราย การเสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 25%
1        สวัสดิ์ โนนสูง. 2543. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. โอเดียนสโตร์, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ. 194 หน้า.
 
2       เกรียงศักดิ์ อุดมสินโรจน์. 2543. การจัดการเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรังสิต.กรุงเทพฯ. 118 หน้า.
 
3        สุธีลา ตุลยะเสถียร. มลพิษสิ่งแวดล้อม : ปัญหาสังคมไทย. บริษัท รวมสาส์น (1977)จำกัด. กรุงเทพฯ. 465 หน้า.
 
4        ประยูร วงศ์จันทรา. 2555. วิทยาการสิ่งแวดล้อม. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 366 หน้า.
 
5        สุกาญจน์ รัตนเลิศนุสรณ์. 2550. หลักการจัดการสิ่งแวดล้อม แบบยั่งยืน. สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น). กรุงเทพฯ. 364 หน้า.
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน   แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา การสังเกตการณ์อภิปรายผลการเรียนรู้ทั้งรายเดี่ยวและรายกลุ่ม
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกสาขา หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับกิจกรรมเสริมการเรียนรู้จากประสบการณ์นอกชั้นเรียน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้หรือบูรณาการข้ามศาสตร์กับสาขาวิชาของตน