โลหะวิทยาเชิงวิศวกรรม

Engineering Metallurgy

      เพื่อผลิตวิศวกรปฏิบัติการระดับปริญญาตรีที่มีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์โครงสร้างในระดับจุลภาคของโลหะสำหรับงานทางวิศวกรรมได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

เข้าใจเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในทางโลหะวิทยา เข้าใจคุณสมบัติเชิงกลของโลหะและโลหะผสม เข้าใจโครงสร้างจุลภาคและโครงสร้างมหภาค เข้าใจการเกิดผลึกโครงสร้างของโลหะ เข้าใจกระบวนการเปลี่ยนรูปของโลหะ เข้าใจแผ่นภาพสมดุลของเหล็ก-คาร์บอน เข้าใจกรรมวิธีอบชุบและการกัดกร่อน
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และความเข้าใจอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในทางโลหะวิทยา คุณสมบัติเชิงกลของโลหะและโลหะผสม เข้าใจโครงสร้างแบบจุลภาคและโครงสร้างแบบมหภาค เข้าใจกระบวนการเกิดผลึกของโลหะ กระบวนการเปลี่ยนรูปของโลหะ เข้าใจการอ่านแผ่นภาพสมดุลของเหล็ก-คาร์บอน เข้าใจกรรมวิธีการอบชุบและกระบวนการเกิดการกัดกร่อน
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในทางโลหะวิทยา คุณสมบัติเชิงกลของโลหะและโลหะผสม โครงสร้างจุลภาคและโครงสร้างมหภาคของโลหะ การเกิดผลึก การเปลี่ยนรูปของโลหะ แผ่นภาพสมดุลของเหล็ก-คาร์บอน กรรมวิธีการอบชุบและการกัดกร่อน
 -    อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านช่องทางไลน์กลุ่มและบอร์ดประกาศของหลักสูตรวิศวกรรมอุตสาหการ
 -    อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการอย่างน้อย 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการคำปรึกษาในรายวิชา)
1.1.1      ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรมจริยธรรม เสียสละและซื่อสัตย์สุจริต
1.1.2      มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม
1.1.3      มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้ง
1.1.4      เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.1.5      เครารพกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
ปฏิบัติตามกฎระเบียบ และข้อบังคับขององค์กรและสังคม ให้ความสำคัญในวินัยในการตรงต่อเวลาการมาเรียนและการปฏิบัติตามกฎระเบียบ สอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรมและความซื่อสัตย์สุจริตทั้งตนเองและผู้อื่น มอบหมายหน้าที่ผ่านทางหัวหน้าชั้นที่ต้องปฏิบัติเป็นทีมหลังจากเสร็จสิ้นการเรียนในวิชา
1.3.1   สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆอย่างต่อเนื่อง
1.3.2   การขานชื่อก่อนเริ่มเรียน การให้คะแนนการเข้าชั้นเรียน
1.3.3   ประเมินปริมาณการทุจริตในการสอบ
1.3.4   ประเมินจากพฤติกรรมการลงมือฝึกปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายของนักศึกษาด้วยตนเอง และสังเกตพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง
2.1.1    มีความรู้และความเข้าใจทางวิศวกรรมพื้นฐาน เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
2.1.2    มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีในเนื้อหาสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม
2.1.3    สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.1.4    สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสมรวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม
2.1.5    สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
2.2.1   มุ่งเน้นการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบแนวคิดและหลักการนำเอาวิศวกรรมพื้นฐานไปใช้งานและการประยุกต์ใช้กับวิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง
2.2.2   ใช้การสอนหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักทางทฤษฎีและตัวอย่างลักษณะการนำไปใช้งาน มาประกอบในการเรียน เพื่อให้เกิดองค์ความรู้
2.2.3   มอบหมายให้ทำรายงานในเชิงบูรณาการโดยจำลองสถานการณ์และรูปแบบความต้องการที่เกี่ยวเนื่องกับสาขาวิชาที่ศึกษากับศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง
2.2.4   มอบหมายให้ทำรายงานการวิเคราะห์และการแก้ไขโดยการจำลองสถานการณ์ขึ้นมา
2.2.5   เน้นการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการนำเอาความรู้และทักษะมาประยุกต์ใช้
2.3.1   พิจารณาจากการตอบคำถามในชั้นเรียน
2.3.2   ประเมินจากผลจากการสอบกลางภาคและปลายภาค
2.3.3   ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
2.3.4   ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
2.3.5   ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ


 
 
-3.1.1 มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
     3.1.2   สามารถรวบรวมศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
     3.1.3   สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ
 3.1.4   มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม
 3.1.5    สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง
  3.2.1  ภาคทฤษฎีสอนในรูปแบบออนไลน์และมอบหมายงานที่ให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองโดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการค้นคว้ามอบหมายให้ทำรายงานที่เกี่ยวกับกระบวนการคิดอย่างมีระบบและรายงานหน้าชั้นเรียน
3.2.2 ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มลงฝึกการปฏิบัติงานพร้อมสรุปผลการปฏิบัติงาน การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดหลังเสร็จสิ้นการฝึกปฏิบัติงานและจัดทำเป็นรายงานโดยกำหนดความต้องการให้กับนักศึกษา
3.2.3   แบ่งกลุ่มและมอบหมายงานที่ส่งเสริมการคิด วิเคราะห์และสรุปผลการศึกษา
  3.3.1   ประเมินผลจากรายงานทางเอกสารและนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน
3.3.2   ประเมินจากผลงานที่มอบหมาย
3.3.3   ประเมินผลจากรายงานทางเอกสาร
4.1.1  สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนมนาทั้งภาษาไทยและต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นเหมาะสม
4.1.2  สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม
4.1.3  สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.1.4   รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย
4.1.5   มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน
4.2.1  ส่งเสริมการเคารพสิทธิและการรับฟังผู้อื่นด้วยเหตุผล
4.2.2  ปลูกฝังให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตนเองและที่ได้รับมอบหมาย
4.2.3  สอนออนไลน์และมอบหมายให้ทำรายงานเป็นกลุ่มและนำเสนอในเรื่องที่เกี่ยวกับการนำเอาความรู้ที่ได้จากการศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ร่วมกันกับงานวิศวกรรมด้านที่เกี่ยวอื่นๆ
4.2.4  เน้นให้เห็นความสำคัญแนวทางการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กร
4.2.5  ปลูกฝังจิตสำนึกในการช่วยกันสอดส่องดูแลพื้นที่ปฏิบัติงานหรือการดำเนินกิจกรรมที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายในการทำงาน
4.3.1   ประเมินผลจากแบบประเมินตนเอง
4.3.2   ประเมินจากผลงาน
4.3.3   ประเมินจากรายงานและการนำเสนอ
4.3.4   ประเมินจากพฤติกรรมในการร่วมกันทำงานที่ได้รับมอบหมายหรือกิจกรรมร่วมกัน
4.3.5   ประเมินปริมาณจุดเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดอันตรายในการปฏิบัติงานหรือพื้นที่ทำงาน
5.1.1   มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี
5.1.2   มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อ    การแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
5.1.3   สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสม
5.1.4   มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์
5.1.5    สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพ
ในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
5.2.1   มอบหมายงานค้นคว้าองค์ความรู้จากแหล่งข้อมูลต่างๆและให้นักศึกษานำเสนอหน้าชั้นเรียน
5.2.2   การใช้ศักยภาพทางคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนองานที่ได้รับมอบหมาย
5.2.3  สอนออนไลน์และมอบหมายงานโดยการวิเคราะห์สถานการณ์จำลองและใช้ศักยภาพทางคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอผลงาน
5.2.4   มอบหมายให้ทำรายงานนำเสนอการใช้เครื่องมือทางวิศวกรรมในการทำงานโดยจำลองสถานการณ์ขึ้นมา
5.2.5   มอบหมายให้ศึกษาค้นคว้าสัญลักษณ์ที่ใช้งานในรายวิชาที่ศึกษาจากเทคโนโลยีสารสนเทศและนำเสนอ
5.3.1   ประเมินจากรายงานและการใช้ภาษาไทยที่กระชับและเข้าใจได้ง่ายโดยการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
5.3.2   ประเมินจากผลงานและการนำเสนอผลงาน
5.3.3   ประเมินจากรายงานนำเสนอทักษะในการวิเคราะห์สถานการณ์จำลองและการนำเสนอผลงาน
5.3.4   ประเมินจากการนำเสนอผลงาน
5.3.5   ประเมินจากผลการศึกษาค้นคว้าและการนำเสนอ
 
6.1.1    มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างเหมาะสม
 6.2.1    ปลูกฝังและเน้นย้ำให้นักศึกษามีการวางแผนการทำงานก่อนลงปฏิบัติงาน
 6.3.1    ประเมินจากการสังเกต การลงฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษา
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล
ชนะ กสิการ์ “ความแข็งแรงของวัสดุ” พิมพ์ครั้งที่ 9, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2548
สุรสิทธิ์ แก้วพระอินทร์ “โลหะวิทยาเบื้องต้น” พิมพ์ครั้งที่ 1, บ.ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) 2553
สาคร คันธโชติ “กรรมวิธีการผลิต” พิมพ์ครั้งที่ 2, บ.โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮาส์ (จำกัด), 2541
มาตรฐาน ASTM Designation: E 407 – 99 Standard Practice for Microetching Metals and Alloys
ไม่มี
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ