การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม

Life and Social Skills

1.1 เพื่อเสริมสร้างแนวคิด เจตคติที่ถูกต้องในการดำรงชีวิตของตนเอง การอยู่รวมกัน ในสังคม ตลอดจนการทำงานพร้อมกันกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.2 เพื่อนำเอาหลักเกณฑ์ เทคนิควิธีไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต และการประกอบสัมมาชีพ
1.3 เพื่อพัฒนาพฤติกรรม และลักษณะนิสัยในการทำงานของนักศึกษาให้สามารถเป็นผู้นำ ผู้ตามที่ดี
1.4 เพื่อพัฒนานักศึกษาให้เป็นผู้มีคุณสมบัติด้านคุณธรรม จริยธรรม จรรยาวิชาชีพ ตลอดจนมีระเบียบวินัยในชีวิตและสังคม
2.1 เพื่อพัฒนาพฤติกรรม และลักษณะนิสัยในการทำงานของนักศึกษาให้สามารถเป็นผู้นำ ผู้ตามที่ดี
2.2เพื่อปรับปรุงเนื้อหาวิชาให้ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์
 
   ศึกษาเกี่ยวกับปรัชญา ทักษะการใช้ชีวิต คุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ และหลักธรรมในการดำรงชีวิต การพัฒนาความคิด  เจตคติ บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมและวัฒนธรรมไทย การมีจิตสำนึกต่อส่วนร่วม ศึกษาวิธีการจัดการกับภาวะอารมณ์และสร้างสัมพันธภาพ การทำงานเป็นทีม การสร้างผลผลิตในการทำงานและจรรยาบรรณวิชาชีพ
-   อาจารย์ประจำรายวิชา  กำหนดเวลาในการให้คำปรึกษา
 -   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
  พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล มีความซื่อสัตย์มีคุณภาพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้
1.1.1ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
1.1.1 1.1.2 มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
1.1.3 มีความกล้าแสดงออกในทางที่ถูกต้อง และเป็นประโยชน์ต่อสังคม
1.1.4 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
1.1.5 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.1.6 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1.1 บรรยาย นำเหตุการณ์และ/หรือบุคคลในสังคมมาใช้เป็นกรณีศึกษา
1.2 อภิปรายกลุ่ม
1.3 จัดกิจกรรมในรายวิชาเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
1.4กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง หรือกำหนดบทบาทสมมุติ
1.1 การเข้าร่วมกิจกรรมในรายวิชาที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะและตระหนักใน   คุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
1.2 ส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลางานที่ส่งมีคุณภาพและไม่ คัดลอกงานของผู้อื่น 
1.3ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา
1.4ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
   มีความรู้ความเข้าใจขอบเขตเนื้อหา และแนวคิดทฤษฎีทางสังคมวิทยาเบื้องต้น โครงสร้างทางสังคมและการจัดระเบียบทางสังคม การขัดเกลาทางสังคม บทบาทและหน้าที่ของสถาบันสังคมต่างๆ การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม ประชากรและชุมชน และสภาพของสังคม ตลอดจนสามารถนำไปพัฒนาตนเองให้อยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข
บรรยาย  อภิปราย การทำงานกลุ่ม  การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ การศึกษาโดยใช้ปัญหาต่างๆ ในสังคม
2.2.1 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.2.2  ร่วมกิจกรรมแสดงความคิดเห็น กิจกรรมกลุ่ม และอภิปรายในชั้นเรียน
2.2.3 มอบหมายงานตามเนื้อหาในแต่ละสัปดาห์
2.2.4ผลงานจากการค้นคว้าและการนำเสนอ
   พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ สามารถมองปรากฏการณ์ทางสังคมในเชิงวิเคราะห์วิจารณ์ได้อย่างมีเหตุผลและมีจิตสาธารณะต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
3.2.1   การมอบให้นักศึกษาทำโครงงานเพื่อจิตสาธารณะ ที่ให้วิเคราะห์สถานการณ์ของสังคมและแก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงาน
3.2.2อภิปรายกลุ่ม
3.2.3 วิเคราะห์กรณีศึกษา
3.3.1 สอบกลางภาคและปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาสังคม
3.3.2 วัดผลจากการประเมินโครงการ  การนำเสนอผลงาน
3.3.3 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1  ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา
4.1.1 พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2 พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3   พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
 
ตามในการทำงานเป็นทีม
 
4.2.1   จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
4.3   จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและการอภิปรายเพื่อหาข้อสรุป
4.4   มอบหมายให้นักศึกษาได้เข้าร่วมในการบริการวิชาการแก่สังคมร่วมกับอาจารย์และผู้เกี่ยวข้อง
4.3.1   ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
4.3.2  ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3   ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง   
5.  ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร  และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา (Numerical  Analysis, Communication  and Information Technology Skills)
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องพัฒนา
5.1.1   พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน
5.1.2   พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์วิจารณ์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
5.1.3   ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2 วิธีการสอน
5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.2   นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
 
5.3.1   ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2   ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 Unit 1-2 Unit 3-5 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9 17 20% 30%
2 1-5 การเข้าชั้นเรียนและความประพฤติ ผลงานปฏิบัติงานกลุ่ม ผลงานภาคทฤษฎี (กลุ่ม-เดี่ยว) ตลอดภาคการศึกษา 40%
3 1-5 กิจกรรมมหาวิทยาลัย ตลอดภาคการศึกษา 10%
1. หนังสือ ตำรา และเอกสารประกอบการสอนหลัก 
- วันดี สุธารัตนชัยพร, การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม.
ผศ. วิภาพร มาพบสุข,การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม.รหัส1122001 กรุงเทพฯ 2550
  2. เอกสาร และข้อมูลสำคัญ
ทรงสิริ วิชิรานนท์ และคณะ, การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม. กรุงเทพฯ: 2548
 วิภาพร มาพบสุข, การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม. กรุงเทพฯ  
3. เอกสาร และข้อมูลแนะนำ
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อในประมวลรายวิชา
การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา ดำเนินการดังนี้

นักศึกษาเสนอแนะเนื้อหาในรายวิชาและกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อนำไปปรับปรุง การประเมินผลการสอนโดยใช้แบบประเมินของฝ่ายวิชาการ กองการศึกษา ประเมินผลการสอนโดยใช้ระบบออนไลน์
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1 สังเกตจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำกิจกรรมต่างๆ ในชั้นเรียน
2.2 สอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาเมื่อสิ้นสุดการเรียนแต่ละหน่วยเรียน
2.3 ประเมินจากคะแนนแบบฝึกหัดแต่ละบทเรียนและความเข้าใจเนื้อหา
2.4 ประเมินจากผลการสอบกลางภาคและปลายภาคของนักศึกษา
การปรับปรุงการสอนในรายวิชา กระทำโดย
3.1   ปรับปรุงเนื้อหาให้มีความทันสมัยและมีระดับภาษาที่เหมาะสมกับระดับของผู้เรียน
3.2   สำรวจรูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาก่อนเรียนและปรับปรุงแบบกิจกรรมให้เหมาะสม
3.3   สรุปผลการทำกิจกรรมในชั้นเรียนแต่ละครั้งเพื่อนำมาปรับปรุงครั้งต่อๆ ไป
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ
5.3 ทบทวนเนื้อหาในบทเรียน โดยเลือกระดับของภาษาให้เหมาะสมกับระดับของผู้เรียน
5.4 ปรับปรุงรูปแบบกิจกรรม ให้มีความหลากหลาย และสนองต่อรูปแบบการเรียนรู้ของกลุ่มผู้เรียน ตามที่ได้สังเกตเห็น