คอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบอุตสาหกรรม

Computer for Industrial Design

เข้าใจหลักการ และทฤษฎีในการออกแบบได้        - ออกแบบและพัฒนางานด้วยคอมพิวเตอร์สำหรับการศึกษาได้อย่างถูกต้อง        - นำความรู้ ความเข้าใจไปประยุกต์ในการออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์ได้
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ทางด้านการออกแบบเครื่องเรือนด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์  สามารถสร้างสรรค์งานออกแบบได้อีกทั้งสามารถนำเสนอผลงาน
ศึกษาและฝึกปฎิบัติเกี่ยวกับการใช้โปรแกรมคอมพพิวเตอร์สำเร็จรูปสำหรับการออกแบบ  เครื่องเรือน  เทคนิคและวิธีการใช้คอมพิวเตอร์ซอฟแวร์และคำสั่งต่างๆ ที่ช่วยในการออกแบบ ประกอบกับการขึ้นรูปวัตถุ 2 มิติ และ  3 มิติ  การสร้างพื้นผิวและการจัดแสดงภาพในรายละเอียดต่างๆ
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือ รายกลุ่มตามความต้องการ ประมาณ 1 ชั่วโมงต่อ สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ
คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล การไม่เปิดเผยข้อมูล การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางซอฟแวร์  และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา  มีความซื่อสัตย์ในการเขียนโปรแกรมอย่างมีคุณภาพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้ ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสงคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
วิธีการสอน  บรรยายหน้าชั้นเรียนพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ   โดยมีวัตถุประสงค์ไม่สุจริต หรือจากมิจฉาชีพ การป้องกันตนเอง อภิปรายกลุ่ม กำหนดให้นักศึกษาสร้างโมเดล
 1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา 1.3.2   มีการปฎิบัติได้อย่างถูกต้อง อย่างถูกต้องและเหมาะสม 1.3.3   ประเมินผลการวิเคราะห์รายบุคคล 1.3.4   ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ สามารถปฎิบัติงานได้จริง รู้จักวิธีการเขียนและสามารถทำได้ด้วยตัวเอง  มีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า รู้จักการนำเสนอผลงานที่ดีและมีความน่าสนใจอีกทั้งสามารถถ่ายทอดแก่ผู้อื่นๆ ได้   
2.2 วิธีการสอน บรรยาย สาธิตตัวอย่าง และมอบหมายให้สร้างชิ้นงานในคาบนั้นๆ
3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ สำหรับการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จากการใช้เทคโนโลยี
3.2.1   การมอบให้นักศึกษาทำโปรเจคพิเศษที่ให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงาน 3.2.2   อภิปรายกลุ่ม 3.2.3   วิเคราะห์กรณีศึกษา  ในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม 3.2.4   การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
3.3.1   สอบกลางภาคและปลายภาค  3.3.2   วัดผลจากการประเมินโครงการ  การนำเสนอผลงาน 3.3.3   สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา 4.1.1   พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน 4.1.2   พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม 4.1.3   พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
5.1.1   ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข 5.1.2   พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน 5.1.3   พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา 5.1.4   พัฒนาทักษะในการสืบค้น  ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต 5.1.5   ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์การออกแบบเครื่องเรือน 5.1.6   ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และคอมพิวเตอร์สำหรับการออกแบบ
5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง 5.2.2   นำเสนอโดยรูปแบบและผลงานด้วยคอมพิวเตอร์การออกแบบเครื่องเรือน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1
1 BAAID116 คอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบอุตสาหกรรม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 แบบฝึกหัด สอบกลางภาค แบบฝึกหัด สอบกลางภาค การเข้าชั้นเรียน 4 8 12 17 40 5 40 5 10
Auto CAD  , Sketch  up
-ปิยะบุตร  สุทธิดารา ,  ศุภชัย  วิศวอนุตรพันธ์
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ใช้กลยุทธ์ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนดังนี้ สังเกตการสอนของผู้ร่วมทีมสอน ประเมินจากผลการประเมินผู้สอนและผลการเรียนของนักศึกษา  การทวนสอบผลประเมินผลการเรียนรู้
หลังจากได้รับผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จะมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และสรรหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน
การทดสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทดสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในรายวิชา ได้จากการสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา จะมีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ ปรับปรุงรายวิชาทุก 5 ปี หรือตามข้อเสนอแนะปรับปรุงการสอนในข้อ 3 และผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4