การตลาดอิเล็กทรอนิกส์

E-Marketing

เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจความหมาย ขอบเขต วัตถุประสงค์ และความจำเป็นของการใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์กับงานด้านการตลาด รวมถึงสามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ วางแผนและออกแบบกลยุทธ์การตลาดอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างเหมาะสมกอปรกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้ภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในการแข่งขันของธุรกิจจริง
เพื่อให้นักศึกษาทราบถึงความสำคัญของงานด้านการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ในยุคปัจจุบัน การวางแผนการตลาดอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการนำเสนอสินค้าและบริการอย่างเหมาะสม และสามารถใช้ทักษะและความรู้ด้านสารสนเทศมาใช้กับโครงงานที่ได้รับมอบหมายอย่างสัมฤทธิผล
ศึกษาถึงความสำคัญของหลักการทางการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ที่มีต่อระบบธุรกิจ แนวคิด และเครื่องมือทางการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ การวางแผนและกลยุทธ์ทางการตลาด ทั้งตลาดสำหรับผู้บริโภค และตลาดธุรกิจทั้งภายในตลาดและการตลาดระหว่างประเทศที่ใช้อิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือทางการตลาด ตลอดจนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดกลยุทธ์และอนาคตของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
1 ชั่วโมง
1.1.1.มีความซื่อสัตย์สุจริต ซื่อตรงต่อหน้าที่ ต่อตนเองและต่อผู้อื่น ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น และมีความสำนึกรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 1.1.2 มีความเคารพต่อกฎ ระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม 1.1.3 มีจิตสำนึกและมีนโนธรรมที่จะแยกแยะความถูกต้อง  ความดี และความชั่ว
1.2.1 บรรยายพร้อมสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรม 1.2.2 ให้ความสำคัญในด้านระเบียบวินัย  การตรงต่อเวลา และการส่งงานภายในเวลาที่กำหนด
1.3.1 ประเมินผลจากพฤติกรรมการเข้าเรียน และการส่งงานที่ได้รับมอบหมายตรงเวลา 1.3.2 การอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงานอย่างถูกต้อง และเหมาะสม
 
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเรียนด้านบริหารธุรกิจ ที่ครอบคลุมทั้ง การบัญชี นิติศาสตร์ ศิลปะศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ 2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ด้านบริหารธุรกิจ ทางการตลาด การเงิน การผลิตและการดำเนินงาน รวมทั้งการจัดองค์กรและทรัพยากรมนุษย์
2.2.1 จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 2.2.2 ใช้การสอนหลายรูปแบบ ตามลักษณะของเนื้อหารายวิชา โดยเน้นหลักของทฤษฎี และปฏิบัติเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ 2.2.3 มอบหมายให้ทำแบบฝึกหัด หรือรายงาน และนำเสนอหน้าชั้นเรียน
2.3.1 ประเมินจากสอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี  2.3.2 ประเมินจากงานที่มอบหมาย และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน 
3.1.1 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ต่อยอดกรอบความรู้เดิม สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษาและประสบการณ์เพื่อให้เกิดนวัตกรรม กิจกรรม หรือแนวทางในการบริหารธุรกิจใหม่ๆ 3.1.2 สามารถสืบค้น จำแนก และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้ได้ซึ่งสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา และตัดสินใจอย่างเหมาะสม
3.2.1 การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงงานโดยให้วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงาน 3.2.2     วิเคราะห์กรณีศึกษา เกี่ยวกับการใช้การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์ใช้เครื่องมือการตลาดอิเล็กทรอนิกส์อย่างเหมาะสม
3.3.1 ประเมินจากโครงงาน หรือรายงาน โดยการนำเสนอหน้าชั้นเรียน และเอกสารรายงาน 3.3.2 ประเมินจากกรณีศึกษา
4.1.1มีความสามารถในการประสานงานมีมนุษยสัมพันธ์และสามารถสร้างสัมพันธภาพอันดีกับผู้อื่นด้วยพื้นฐานความเข้าใจถึงความแตกต่างของผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างมีจิตวิทยา 4.1.2 มีความสามารถในการริเริ่มแสดงความคิดเห็นใหม่ๆ ที่อาจมีความแตกต่าง อย่างสร้างสรรค์
4.2.1 จัดกิจกรรมกลุ่ม ในการวิเคราะห์กรณีศึกษา 4.2.2 มอบหมายงานรายกลุ่ม
 
4.3.1 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ 4.3.2 สังเกตพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
5.1.1 สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีสิทธิภาพ 5.1.2 สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐาน และเทคโนโลยีระบบสารสนเทศที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน 5.1.3 สามารถสื่อสารเพื่ออธิบายและสร้างความเข้าใจอย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจา
5.2.1มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าทางอินเทอร์เน็ตและทำรายงานโดยให้ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล 5.2.2 ส่งเสริมให้มีการตัดสินใจจากข้อมูลบนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลข 5.2.3 การใช้ศักยภาพทางคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศในงานที่ได้รับมอบหมาย
5.3.1 ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี 5.3.2 ประเมินจากผลงานการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่มอบหมาย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 การมีส่วนร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน การส่งงานตรงเวลา 1-15 5% 2.1,2.2,3.2,3.3,5.1,5.3 งานที่มอบหมาย/กรณีศึกษา 3,10,15 20% 2.1,2.2,3.2,3.3,4.1,4.2 รายงานและการนำเสนอ 15 20% 1.1,1.7,2.1,2.2,3.2,3.3 การสอบกลางภาค 7 25% 1.1,1.7,2.1,2.2,3.2,3.3 การสอบปลายภาค 17 30% รวม 100% การส่งงานตรงเวลาและความใส่ใจ 10% งานที่มอบหมาย/กรณีศึกษา 20% รายงานและการนำเสนอ 30% สอบกลางภาค 20% สอบปลายภาค 20%
e-commerce 2017 business.technology.society.Thirteenth edition
Kenneth C.Laudon and Carol Guercio Traver
การประเมินประสิทธิผลในรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ 1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน 1.2 แบบประเมิลผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา 1.3 การติดต่อ ปรึกษา ส่งงานทาง social media ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้ 2.1 ผลการเรียนของนักศึกษา 2.2 ผลงานกลุ่มของนักศึกษา 2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้ 3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จากการสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชา ได้ดังนี้ 4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์ท่านอื่น 4.2 การตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ 5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการตลาดให้มีความหลากหลายมากขึ้น