การศึกษางาน

Work Study

เข้าใจเกี่ยวกับอัตราการผลิตและการศึกษางาน เข้าใจขั้นตอนการศึกษางาน สามารถบันทึกข้อมูลการทำงานด้วยแผนภูมิต่างๆได้ เข้าใจระบบการออกแบบการทำงานเพื่อผลผลิต สามารถวิเคราะห์ระบบการทำงานแล้วปรับปรุงการทำงานใหม่ได้
เพื่อให้เนื้อหาและกระบวนการเรียนการสอนครอบคลุมหลักการศึกษางานและทันต่อสถานการณ์ในภาคอุตสาหกรรมและเป็นสากลในทางวิชาการมากขึ้น
ศึกษาเกี่ยวกับหลักการศึกษาการเคลื่อนไหวและเวลาในการทำงานการเพิ่มผลผลิต โดยการลดกระบวนการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็นต่อการผลิต วิเคราะห์ข้อมูลจากแผนภูมิต่างๆ ได้แก่แผนภูมิกระบวนการผลิต แผนภาพการเคลื่อนที่ แผนภาพเส้นด้าย แผนภูมิความสัมพันธ์คนกับเครื่องจักร แผนภูมิกระบวนการผลิตหลายชนิด แผนภูมิสองมือ แผนภูมิกระบวนการผลิตแบบกลุ่มคน องค์ประกอบของเวลาที่ใช้ทำงานหนึ่งๆ ให้เสร็จ เทคนิคในการบันทึกข้อมูลเทคนิคการตั้งคำถามการปรับปรุงแก้ไข การใช้ประโยชน์สูงสุดจากคนและเครื่องจักร การเคลื่อนไหวของคน ณ จุดปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ การจับเวลาการเคลื่อนไหวอย่างละเอียด เวลามาตรฐาน การสุ่มงาน และสิ่งที่ช่วยสนับสนุนในการศึกษางาน เช่น อุปกรณ์ขนถ่ายวัสดุ ตลอดจนการศึกษาดูงานในสถานประกอบการจริง
 -    อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่าน Facebook ,Line
 -    อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ2 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างราบรื่น และประพฤติตนโดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม

มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม

1.1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
             นอกจากนั้นยังมีการส่งเสริมสนับสนุนให้นักศึกษามีการพัฒนาจริยธรรมและจรรยาวิชาชีพผ่านทางการเรียนการสอนของรายวิชาในหลักสูตร ซึงอาจารย์ผู้สอนสามารถสอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวข้องกับจรรยาวิชาชีพ และสามารถจัดให้มีการวัดผลแบบมาตรฐานในด้านคุณธรรม จริยธรรมทุกภาคการศึกษาด้วยการสังเกตพฤติกรรมระหว่างการทำกิจกรรมและมีการกำหนดคะแนนในเรื่องคุณธรรม จริยธรรมให้เป็นส่วนหนึ่งของคะแนนจิตพิสัยในชั้นเรียน
             กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กรเพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษาที่ระเบียบวินัยโดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ นอกจากนี้ผู้สอนต้องสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในรายวิชา และส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะสนับสนุนให้นักศึกษาเข้าร่วมในการบริการวิชาการและวิชาชีพแก่สังคม ปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ยกย่องและเชิดชูนักศึกษาที่ทำความดีและเสียสละ
ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาและการปฏิบัติตนในด้านต่างๆได้แก่
             1.3.1 ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนด                       ระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
             1.3.2 ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริม                      หลักสูตร
             1.3.3 ประเมินการกระทำทุจริตในการสอบ
             1.3.4 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาสารถของรายวิชาที่ศึกษาประกอบไปกันขึ้นเป็นองค์ความรู้ที่จะพัฒนาความสามารถและทักษะอันเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องรู้และเข้าใจ ดังนั้นมาตรฐานความรู้ยังครอบคลุมดังนี้
2.1.1 มีความรู้ความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีพื้นฐานด้านการศึกษางานและสามารถนำไป                      วางแผนแก้ปัญหาได้
2.1.2 มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถอธิบายเกี่ยวกับขั้นตอนการศึกษางานได้
2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในการบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน (Work Integrated Leaning) โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และประยุกต์ใช้ความรู้ในทางปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริงและทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงาน หรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ
การทดสอบผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานนี้สามารถทำได้โดยการใช้ข้อสอบวัดผลในรายวิชาที่เรียน การทดสอบภาคทฤษฏีตลอดระยะเวลาของหลักสูตร ดังนี้
2.3.1   ทดสอบย่อย
2.3.2   สอบกลางภาคเรียนและสอบปลายภาคเรียน
2.3.3   ประเมินผลจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
2.3.4   ประเมินผลจากโครงงานที่นำเสนอ
2.3.5   ประเมินผลจากการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน
นักศึกษาสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพโดยพึ่งพาตนเองได้เมื่อจบการศึกษา ดังนั้นนักศึกษาต้องได้รับการพัฒนาทักษะปัญญาความรู้กับคุณธรรมและจริยธรรมและความรู้ด้านวิชาชีพ โดยกระบวนการเรียนการสอนต้องเน้นให้นักศึกษารู้จักคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา แนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเองโดยมีการสอนทั้งภาคทฤษฏี นักศึกษาที่ผ่านกระบวนการเรียนการสอนด้วยวิธีดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติดังนี้
3.1.1 มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ด้านวิชาการ และวิชาชีพ
3.1.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดใช้อย่างเป็นระบบ
   ใช้การเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และการบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน (Work Integrated Leaning) ดังนี้
   3.2.1 ให้นักศึกษาทำงานที่มอบหมายเกี่ยวกับงานที่ส่งเสริมความคิด วิเคราะห์และ                       สังเคราะห์
   3.2.2 การศึกษาค้นคว้า และรายงานทางเอกสารและรายงานหน้าชั้นเรียน
การวัดและประเมินใช้แนวข้อสอบที่ให้นักศึกษาได้อธิบายแนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาโดยประยุกต์ความรู้ที่เรียนมา หรือให้นักศึกษาเลือกใช้วิชาชีพที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่กำหนดให้ตามสภาพจริงจากผลงาน โครงงาน ดังนี้
3.3.1 ประเมินผลจากงานที่มอบหมาย
3.3.2 การนำเสนอหน้าชั้นเรียน
3.3.3 ประเมินผลจากรายงานผลการดำเนินงานและแก้ปัญหา
นักศึกษาต้องออกไปประกอบอาชีพซึ่งส่วนใหญ่ต้องทำงานที่มาจากหลายที่มีความแตกต่างทางด้านความคิด วัฒนธรรม สถาบันการศึกษา และเชื้อชาติซึ่งอาจเป็นผู้บังคับบัญชา ความสามารถในการปรับตัวเข้ากับกลุ่มคนต่างๆดังนั้นผู้สอนต้องแนะนำการวางตัว มารยาการเข้าสังคม และทักษะที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ดังนี้
4.1.1 สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและสมาชิกกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.2 มีความรับผิดชอบในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองและวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.1.3 มีความเป็นกัลยาณมิตรกับผู้เรียน เพื่อนร่วมงาน ผู้ปกครอง ผู้บริหารและชุมชน
ดำเนินการสอนโดยการจัดกิจกรรมกลุ่ม การทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่นหรือค้นคว้าข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ที่มีประสบการณ์และประสบความสำเร็จในงาน อาชีพ โดยมีความคาดหวังในผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความสามารถในการรับผิดชอบ ดังนี้
4.2.1 สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
4.2.2 มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
4.2.3 ส่งเสริมให้นักศึกษากล้าแสดงออกและเสนอความคิดเห็นโดยการจัดอภิปรายและ                      เสวนางานที่ได้รับมอบหมายให้ค้นคว้า
การวัดและประเมินผลทำได้โดยการสังเกตจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำกิจกรรมกลุ่ม ทั้งในและนอกชั้นเรียน เช่น
4.3.1 ประเมินจากรายงานหน้าชั้นเรียนโดยอาจารย์และนักศึกษา
4.3.2 ประเมินจากพฤติกรรมภาวการณ์เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
4.3.3 ประเมินผลจากแบบประเมินตนเองและกิจกรรมกลุ่ม
4.3.4 ประเมินผลอภิปรายและเสวนา
ในยุคปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพนักศึกษาต้องมีความรู้และมีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน การติดต่อสื่อสารและการพัฒนาตนเองดังนั้นนักศึกษาจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์ตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีไปพร้อมกับคุณธรรม จริยธรรมและความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาชีพ ด้วยเหตุนี้ผู้สอนต้องใช้เทคโนโลยีในการสอนเพื่อฝึกให้นักศึกษามีคุณสมบัติดังนี้
5.1.1 สามารถใช้เทคนิคทางคณิตศาสตร์หรือสถิติที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการวิเคราะห์และแปลความหมายรวมทั้งเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์
5.1.2 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเหมาะสม
5.1.3 มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นฐานข้อมูลสารสนเทศ
ดำเนินการสอนด้วยกิจกรรมที่นักศึกษาต้องติดต่อสื่อสาร ค้นคว้าข้อมูลและนำเสนอผลจากการค้นคว้าโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเกิดทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้สารสนเทศ ดังนี้
5.2.1 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร
5.2.2 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการหาข้อมูล
5.2.3 การใช้ศักยภาพทางคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนองานที่
การวัดการประเมินผลตามสภาพจริงจากผลงาน และการปฏิบัติของนักศึกษาดังนี้
5.3.1 สังเกตพฤติกรรมนักศึกษาด้านความมีเหตุผลการบันทึกเป็นระยะ
5.3.2 ประเมินจากผลงานและการนำเสนอผลงาน
การทำงานในสถานประกอบการ หรือการประกอบอาชีพอิสระนั้นไม่ได้ใช้แค่หลักทฤษฏี แต่ส่วนใหญ่จะเน้นทักษะทางการปฏิบัติ การใช้ทักษะในการวางแผน การออกแบบ การทดสอบ และการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งมีความสำคัญมากในการทำงาน อีกทั้งยังจำเป็นในการพัฒนาตนเอง ดังนั้นการเรียนการสอนจึงให้ความสำคัญเน้นไปที่การสร้างทักษะการปฏิบัติงานด้านอุตสาหกรรมศาสตร์ ดังนี้
6.1.1 สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องมีคุณภาพ
6.1.2 มีทักษะในการบริหารจัดการด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมี                ประสิทธิภาพ
6.1.3 มีทักษะในการทำงานเป็นกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและความร่วมมือกันเป็น               อย่างดี
6.2.1 สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน
6.2.2 สาธิตการปฏิบัติงานโดยผู้เชี่ยวชาญ
6.2.3 สนับสนุนการเข้าประกวดทักษะทางด้านปฏิบัติ
6.2.4 สนับสนุนการทำโครงงาน
      6.3.1 สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานและจดบันทึก
      6.3.2 พิจารณาผลการปฏิบัติงานและงานที่ได้รับมอบหมาย
      6.3.3 สังเกตพฤติกรรมการแสดงออกด้านเจตคติ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลและ ความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 2 4 2 4 2 3 2 3 3 5
1 ENGIE111 การศึกษางาน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.3.2 สอบกลางภาค 8 30%
2 2.3.2 สอบปลายภาค 17 30%
3 1.3.2,1.3.4, 2.3.4,3.3.1, 3.3.2,4.3.1, 5.3.2 การนำเสนองานกลุ่มและผลงานตามใบมอบหมายงาน 16 20%
4 1.3.1,1.3.2, 2.3.4,2.3.5, 3.3.1,3.3.2 ,3.3.3,4.3.1,4.3.3 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
5 1.3.4,2.3.3, 3.3.1,6.3.2 การส่งงานตามใบปฏิบัติงาน ตลอดภาคการศึกษา 10%
 ชัยวัฒน์  กิตติเดชา.การศึกษางาน.คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา,2560
อิศรา ธีระวัฒน์สกุล.การศึกษาความเคลื่อนไหวและเวลา.ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ                                 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,2548
วัชรินทร์ สิทธิเจริญ.การศึกษางาน.สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.กรุงเทพมหานคร,2547
Motion and Time Study:Design and Mesurement of Work by Ralph M. Barns,7th Edition,Wiely                                  International.1980
ไม่มี
งานวิจัยที่เกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยใช้เทคนิคการศึกษางานและการศึกษาเวลา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.2   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุกๆ 1 ปี หรือทุกๆ 3 ปี ตามมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา
5.2   เชิญวิทยากรจากภายนอก เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของวิทยากรหรืออุตสาหกรรมต่างๆ