การขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า

Electric Drives

เข้าใจและวิเคราะห์คุณลักษณะเฉพาะของมอเตอร์ชนิดต่าง ๆ เลือกอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำที่เหมาะสมสำหรับวงจรกำลังของระบบขับเคลื่อนไฟฟ้า ประยุกต์ความรู้ด้านอิเล็กทรอนิกส์กำลังไปออกแบบวงจรควบคุมมอเตอร์ชนิดต่าง ๆ ตามต้องการได้
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญหาในการนำความรู้ ความเข้าใจในการขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า เพื่อเป็นพื้นฐานการประกอบวิชาชีพ ทั้งนี้ ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องทันตามยุคสมัย
ศึกษาเกี่ยวกับส่วนประกอบของระบบการขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า คุณลักษณะโหลดของ เครื่องจักรกลไฟฟ้า ย่านการทำงานของระบบการขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า วิธีการเบรก ของมอเตอร์ไฟฟ้า การส่งและขนาดกำลังไฟฟ้า คุณลักษณะความเร็วและแรงบิดของ มอเตอร์ไฟฟ้า ระบบขับเคลื่อนมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง ระบบขับเคลื่อนมอเตอร์ ไฟฟ้ากระแสสลับ ระบบขับเคลื่อนเซอร์โว การประยุกต์ใช้งานระบบขับเคลื่อนด้วย ไฟฟ้ากับระบบควบคุมอัตโนมัติในงานอุตสาหกรรม
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1. ในชั่วโมงแรกของการเรียน จะมีการทดสอบความรู้พื้นฐานที่ต้องใช้ในการศึกษา เพื่อนำผลการทดสอบไปวิเคราะห์ศักยภาพของนักศึกษา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการจัดการการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม (หรือการให้นักศึกษาแต่ละคนบรรยายความรู้พื้นฐานที่มีให้อาจารย์ได้ทราบหรือด้วยวิธีการอื่น ๆ )  2. วิธีการสอนจะเป็นการบรรยายทฤษฏีโดย Power point และมีการอธิบายเนื้อหาเพิ่มเติมโดยเขียนบนกระดาน ทุกเนื้อหาจะเปิดโอกาสให้นักศึกษาสอบถามหากมีข้อสงสัยต่าง ๆ หลังจากที่เรียนทฤษฏีแล้วก็จะมีการทำโจทย์ตัวอย่างบนกระดาน ฝึกให้นักศึกษาวิเคราะห์โจทย์ปัญหา อธิบายวิธีการแก้ปัญหาเป็นขั้นเป็นตอนโดยให้นักศึกษาสอบถามได้ในระหว่างที่ทำโจทย์ตัวอย่าง และจะมีการถามนักศึกษากลับด้วย เพื่อฝึกการวิเคราะห์วิธีการแก้ปัญหาและตรวจสอบว่านักศึกษาเข้าใจเนื้อหาที่สอนมากน้อยเพียงใด
1.   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา 2.   มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม 3.   ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา 4.   ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
มีความรู้เกี่ยวกับวิวัฒนาการของการขับเคลื่อนมอเตอร์ไฟฟ้า คุณลักษณะเฉพาะของมอเตอร์ชนิดต่าง ๆ อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำกำลังที่ทำหน้าที่เป็นสวิตช์ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์กำลัง เช่น ไดโอดกำลัง ทรานซิสเตอร์กำลัง มอสเฟตกำลัง ไทริสเตอร์ และไอจีบีที เป็นต้น การแปลงผันกำลังไฟฟ้าจากกระแสสลับเป็นกระแสตรง กระแสตรงเป็นกระแสสลับ กระแสสลับเป็นกระแสสลับและกระแสตรงเป็นกระแสสลับ เพื่อประยุกต์ใช้ในการขับเคลื่อนมอเตอร์กระแสตรง มอเตอร์กระแสสลับและสเต็ปมอเตอร์ ที่มีการควบคุมทั้งแบบ 1, 2 หรือ 4 จตุรภาค รวมถึงการประยุกต์ในงานอุตสาหกรรม
บรรยาย  อภิปราย การทำงานกลุ่ม  การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ การศึกษาโดยใช้ปัญหา  และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
1.   ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี 2.   ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล หรือกรณีศึกษา
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
1.   การมอบให้นักศึกษาทำการค้นคว้าเนื้อหาที่ได้รับมอบหมาย และการนำเสนอผลงาน 2.  อภิปรายกลุ่ม 3.  วิเคราะห์กรณีศึกษา  ในงานขับเคลื่อนไฟฟ้า
1.   สอบกลางภาคและปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการประยุกต์ใช้งานการขับเคลื่อนไฟฟ้า 2.   วัดผลจากการนำเสนอผลงาน 3.  สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
1.   พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน 2.   พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม 3.   พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
1.   จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา 2.   มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การค้นคว้าเทคโนโลยีการขับเคลื่อนและควบคุมมอเตอร์ไฟฟ้า หรือ อ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
1.   ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด 2.   ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม 3.   ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง    
1.   ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข 2.   พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน 3.   พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา 4.   พัฒนาทักษะในการสืบค้น  ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต 5.   ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การส่งงานทางอีเมล์ การสื่อสารการทำงานในกลุ่มผ่านห้องสนทนา Chat Room 6.   ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
1.   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ 2.   นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
1.   ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี 2.   ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 บทที่ 1-5 บทที่ 1-5 บทที่ 6-8 บทที่ 9-10 บทที่ 6-10 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 ทดสอบย่อยครั้งที่ 3 สอบปลายภาค 6 9 13 15 17 10% 20% 10% 10% 20%
2 บทที่ 1-10 การทำงานกลุ่มและผลงาน การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 บทที่ 1-10 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
1. พรจิตร  ประทุมสุวรรณ . พื้นฐานการขับเคลื่อนมอเตอร์ไฟฟ้าด้วยอิเล็กทรอนิกส์กำลัง. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์. 2547. 2. R. Krishnan . Electric motor drives Modeling, Analysis, and Control. Prentice Hall Ptr
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับการควบคุมมอเตอร์ไฟฟ้า เช่น ของสภาวิศวกร และ NECTEC’s www.9engineer.com › Article › Motor Control & Drives
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้ 2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน 2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้ 3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้ 5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ