การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม

Cross Cultural Communication

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับความแตกต่างในการใช้ภาษาอังกฤษ ในสังคม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของประเทศต่าง ๆ โดยเน้นการนำไปใช้ในการ สื่อสารอย่างเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์
เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้เกี่ยวกับความแตกต่างในการใช้ภาษาอังกฤษ ในลักษณะสังคม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของประเทศต่าง ๆ เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษารายวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
การเรียนรู้ความแตกต่างในการใช้ภาษาอังกฤษในสังคม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของประเทศต่าง ๆ โดยเน้นการนำไปใช้ในการ สื่อสารอย่างเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์
ส่งเสริมให้นักศึกษาพัฒนาความมีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณลักษณะอันเป็นที่พึงประสงค์ของผู้ประกอบการ
1.2 วิธีการสอน
1.2.1 ให้ความรู้โดยสอดแทรกในเนื้อหาของบทเรียนต่าง ๆ 1.2.2 กำหนดให้นักศึกษาทำงานมอบหมายด้วยตนเอง โดยค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
1.3 วิธีการประเมินผล
1.3.1 การเข้าเรียนตรงเวลา 1.3.2 การส่งงานตามเวลาที่กำหนด 1.3.3 การมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน และนอกชั้นเรียน
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และความเข้าใจทั้งในด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาของรายวิชา โดยทางทฤษฎีเน้นความรู้ความเข้าใจในเรื่องวัฒนธรรม ภาษา การสื่อสาร และความแตกต่างทางวัฒนธรรมของกลุ่มสังคมต่าง ๆ ความรู้เกี่ยวกับการใช้ภาษาอังกฤษในสังคม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของประเทศต่าง ๆ ส่วนในหลักการปฏิบัติเน้นการนำภาษาอังกฤษไปใช้ในการสื่อสารอย่างเหมาะสม ในแต่ละสถานการณ์
2.2 วิธีการสอน
2.2.1 สอนโดยการบรรยายให้ความรู้ ผนวกกับการฝึกปฏิบัติจริง โดยเน้นการสอนแบบเน้นนักศึกษาเป็นศูนย์กลางการเรียน (Student-Centered) ให้ผู้เรียนศึกษาความรู้จากเนื้อหาในบทเรียนต่าง ๆ แล้วทำกิจกรรมประกอบเนื้อหาตามที่กำหนดในบทเรียน 2.2.2 สอนโดยการใช้กิจกรรมเป็นฐาน (activity-based) เช่น การทำกิจกรรมเดี่ยว / คู่ /กลุ่ม การแสดงบทบาทสมมติ (role-play) เป็นต้น 2.2.3 ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการใช้ภาษา และทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติมนอกชั้นเรียน
2.3 วิธีการประเมินผล
2.3.1 การทดสอบย่อย / สอบกลางภาค / สอบปลายภาค 2.3.2 ผลการฝึกปฏิบัติ / การทำกิจกรรมของนักศึกษา
ทักษะทางปัญญา 3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
พัฒนาผู้เรียนให้เกิด 3.1.1 ทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ด้านวิชาการ โดยนำความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาเนื้อหาในบทเรียน และจากการค้นคว้าเพิ่มเติมนอกชั้นเรียน มาใช้ในสถานการณ์ที่กำหนดให้ตามกรณีศึกษา 3.1.2 ทักษะในการนำความรู้มาประยุกต์และปรับเปลี่ยน ได้เหมาะสมตามสถานการณ์และวัฒนธรรมสากล เพื่อให้นักศึกษาสามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสมกับสภาพการณ์และบริบททางวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป
3.2 วิธีการสอน
3.2.1 บรรยายให้ความรู้ และฝึกปฏิบัติตามเนื้อหาการบรรยาย 3.2.2 ให้นักศึกษาระดมสมองเป็นกลุ่มย่อย เพื่อเสนอแนะวิธีการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ ตามบริบทของวัฒนธรรมเฉพาะที่กำหนดในกรณีศึกษา จากนั้นอภิปรายเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเสนอแนะให้แก่กัน 3.2.3 ให้นักศึกษาฝึกแก้ไขปัญหาการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษในสถานการณ์การสื่อสาร ตามเงื่อนไขทางวัฒนธรรมที่กำหนด ทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่มย่อย 3.2.4 นักศึกษาทำงานที่ได้รับมอบหมาย และศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
3.3 วิธีการประเมินผล
3.3.1 การทดสอบภาคทฤษฎี และปฏิบัติ 3.3.2 การอภิปราย ซักถาม และแสดงความคิดเห็น 3.3.3 การทำแบบฝึกหัด งานที่ได้รับมอบหมาย และการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา พัฒนาผู้เรียนให้มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี ทั้งต่ออาจารย์ผู้สอน เพื่อนร่วมชั้นเรียน และสังคมภายนอกชั้นเรียน เพื่อให้นักศึกษาเกิดความตระหนักรู้และมีความเคารพในวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของกลุ่มสังคมต่าง ๆ รู้แนวทางการปฏิบัติตนตามมารยาทสังคมที่เหมาะสมกับบริบทของกลุ่มสังคมเฉพาะต่าง ๆ รวมถึงส่งเสริมการนำความรู้นั้นมาช่วยเหลือสังคมในสถานการณ์การสื่อสารได้อย่างเหมาะสม
4.2 วิธีการสอน
4.3 วิธีการประเมินผล
4.2.1 ให้ความรู้เกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดีตามมารยาทสังคมของกลุ่มสังคมเฉพาะต่าง ๆ 4.2.2 จัดกิจกรรมแบบกลุ่มย่อยในชั้นเรียนและกระตุ้นให้นักศึกษาเข้าร่วมกลุ่มอย่างสร้างสรรค์
4.2.3 ให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัดนอกชั้นเรียน โดยกำหนดให้นักศึกษาแสวงหาความรู้จากการค้นคว้าหรือสังเกตพฤติกรรมของกลุ่มสังคมต่าง ๆ ที่มีวัฒนธรรมแตกต่างกัน 4.3 วิธีการประเมินผล 4.3.1 ผลการทดสอบกลางภาคและปลายภาค 4.3.2 การปฏิบัติงานกลุ่ม 4.3.3 สังเกตจากความสนใจ ความตั้งใจและการมีส่วนรวมของนักศึกษา
พัฒนาผู้เรียนให้สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างถูกต้อง ตามกาลเทศะ และสอดคล้องกับวัฒนธรรมสากล เพื่อให้นักศึกษาสามารถปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์การสื่อสารเฉพาะ ตามบริบทของวัฒนธรรมสากล 5.2 วิธีการสอน 5.2.1 ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติในชั้นเรียนตามสถานการณ์การสื่อสารที่กำหนด 5.2.2 ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติเพิ่มเติมด้วยตนเองนอกชั้นเรียนผ่านทางบทเรียนออนไลน์และเว็บไซต์ที่กำหนด 5.2.3 ให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้ง off-line และ on-line
5.2 วิธีการสอน
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องพัฒนา พัฒนาผู้เรียนให้สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างถูกต้อง ตามกาลเทศะ และสอดคล้องกับวัฒนธรรมสากล เพื่อให้นักศึกษาสามารถปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์การสื่อสารเฉพาะ ตามบริบทของวัฒนธรรมสากล 5.2 วิธีการสอน 5.2.1 ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติในชั้นเรียนตามสถานการณ์การสื่อสารที่กำหนด 5.2.2 ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติเพิ่มเติมด้วยตนเองนอกชั้นเรียนผ่านทางบทเรียนออนไลน์และเว็บไซต์ที่กำหนด 5.2.3 ให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้ง off-line และ on-line
5.3 วิธีการประเมินผล
5.3.1 ผลการทดสอบกลางภาคและปลายภาค 5.3.2 ผลจากงานที่มอบหมาย ความรู้ที่ได้รับ ผลการเรียนหลังการศึกษาค้นคว้า และการฝึกฝนด้วยตนเอง  
. ด้านทักษะพิสัย 6.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย
6.2 วิธีการสอน
6.3 วิธีการประเมินผล
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
ความรับผิดชอบหลัก ความรับผิดชอบรอง

กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ทักษะปฎิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา สอดแทรกในชั้นเรียน รุ้วิธีการใช้ภาษาในสถานการณ์ต่างๆ ในวัฒนธรรมที่แตกต่าง ความรู้แนว 21 century skills สามารถใช้เทคโนโลยีในการสืบค้นข้อมูลได้ มีความรู้พื็นฐานในการดำเนินชีวิตเช่น วัฒนธรรมการกิน สามารถใช้ภาษาสื่อสารกับชาวต่างชาติได้อย่างเข้าใจในแต่ละวัฒนธรรม มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย และสามารถทำงานเป็นกลุ่ม 1 BOACC102 การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม              
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล 1 กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์สัปดาห์สอบ หลังการสอบ กลางภาคและปลายภาค ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล 1 หน่วยที่ 1-5 สอบกลางภาค 9 25% 2 หน่วยที่ 6-7 สอบปลายภาค 17 25% 3 หน่วยที่ 1-7 ฝึกปฏิบัติ / แบบฝึกหัด / กิจกรรม / งานมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 40% 4 จิตพิสัย ตลอดภาคการศึกษา 10% จัดทำแบบทดสอบ midterm&final ประเมินจากกิจกรรมในชั้นเรียน การสังเกตุ การตอบแบบสอบถาม สัปดาห์สอบ หลังการสอบ กลางภาคและปลายภาค ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล 1 หน่วยที่ 1-5 สอบกลางภาค 9 25% 2 หน่วยที่ 6-7 สอบปลายภาค 17 25% 3 หน่วยที่ 1-7 ฝึกปฏิบัติ / แบบฝึกหัด / กิจกรรม / งานมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 40% 4 จิตพิสัย ตลอดภา
ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน
1. หนังสือ ตำรา และเอกสารประกอบการสอนหลัก
รวบรวมเอกสาร commercial book
2. เอกสาร และข้อมูลสำคัญ
เอกสารประกอบการสอนวิชาภาษาอังกฤษกับวัฒนธรรมเพื่อการสื่อสารสากล
3. เอกสาร และข้อมูลแนะนำ
1. Bushell, B. and Dyer, D. 2003. Global Outlook 1. NY. McGraw-Hill / Contemporary. 2. Dale, P. and Wolf, J. C. 2006. Speech Communication made Simple. NY. Addison Wesley Longman. 3. Green, C. 2005. Creative Reading Book 3. Oxford. Macmillan Education. 4. Gajaseni, Chansongklod. 2011. Learning English with Thai Culture. Bankgok: Chulalongkorn University. 5. Johannsen, K. L. 2006. English for the Humanities. Massachusetts. Thomson ELT. 6. Levine, D. R. and Adelman, M. B. 1982. Beyond Language: Intercultural Communication for English as a Second Language. Englewood Cliffs. Prentice-Hall Regents. 7. Lee, L. and Gundersen, E. 2001. Select Readings – Intermediate. Oxford. Oxford University Press. 8. Novinger, T. 2001. Intercultural Communication: A Practical Guide. Austin. University of Texas. 9. Pavli C. 2006. Hot Topic 1,2,3. Canada. Thomson Heinle. 10. Viney, P. and Viney, K. 1996. Handshake. Oxford. Oxford University Press. 11. Wang, D. and Li, H. 2007. “Nonverbal Language in Cross-cultural Communication”. Sino-US English Teaching. Vol. 4, No. 10 (October 2007). Pp. 66-70. 12. เว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาษาอังกฤษ วัฒนธรรมของประเทศต่าง ๆ และการสื่อสาร  
1. กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาที่จัดทำโดยนักศึกษาได้จากกิจกรรมดังต่อไปนี้ 1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา 1.3 ข้อเสนอแนะที่อาจารย์ผู้สอนได้จากนักศึกษาผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ
2. กลยุทธ์การประเมินการสอน
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนมีกลยุทธ์ดังต่อไปนี้ 2.1 การสังเกตการณ์การสอนของหัวหน้าสาขาวิชา/หัวหน้าสาขา/ผู้ที่คณะมอบหมาย 2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
3. การปรับปรุงการสอน
นำผลประเมินการสอนตามข้อ 2 มาปรับปรุงการสอนโดยการจัดกิจกรรมระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอนดังนี้ 3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2 ดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
4. การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชาจากกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมได้ดังนี้ 4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยหัวหน้าสาขาวิชา หรือหัวหน้าสาขา หรือผู้ที่คณะมอบหมาย 4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ คะแนนภาคปฏิบัติ และการให้คะแนนพฤติกรรม
5. การดำเนินการทบทวนและวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา
ผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา มาวางแผนปรับปรุงการสอนและรายละเอียดของรายวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้นดังนี้ 5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้จากรายวิชานี้ เข้ากับปัญหาที่มาจากงานวิจัยหรือประสบการณ์ของอาจารย์