ปฏิบัติการทดสอบวัสดุ

Materials Testing Laboratory

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ และฝึกปฏิบัติการเกี่ยวกับพฤติกรรมของวัสดุก่อสร้าง ได้แก่ เหล็ก อิฐ ไม้แปรรูป วัสดุสังเคราะห์ เพื่อหาค่าหน่วยแรงดึง แรงอัด แรงบิด แรงเฉือน และแรงดัด
มีการปรับปรุงเนื้อหาให้เหมาะสมกับค่ามาตรฐานของวัสดุก่อสร้าง และเทคโนโลยีทางด้านวัสดุก่อสร้าง
ทดสอบและศึกษาพฤติกรรมของวัสดุก่อสร้าง ได้แก่ งานคอนกรีต เหล็ก อิฐ ไม้แปรรูป เพื่อหาค่าหน่วยแรงดึง แรงอัด แรงบิด แรงเฉือนและแรงดัด
- อาจารย์ประจำรายวิชาประกาศเวลาให้คำปรึกษาในห้องเรียน - นักศึกษาสอบถามได้ในห้องเรียน นอกเวลาเรียนที่ห้องพักอาจารย์ 2 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
1.1.1  เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต 1.1.2  มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎ ระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม 1.1.3  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้ง ตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 1.1.4  สามารถวิเคราะห์และประเมิน ผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม 1.1.5  มีจรรยาบรรทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบ ในฐานะผู้ประกอบอาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  
1.2.1  แนะนำในห้องเรียน อธิบายระเบียบการเข้าชั้นเรียน 1.2.2  อธิบายความหมาย ข้อดี ข้อเสีย 1.2.3  จัดกิจกรรมกลุ่ม มอบหมายความรับผิดชอบ 1.2.4  แนะนำการให้ความเคารพแก่ผู้อาวุโส และการเคารพสิทธิ์และศักดิ์ศรีของมนุษย์ 1.2.5  อธิบายจรรยาบรรณทางวิชาชีพและความรับผิดชอบ
1.3.1  ผลการเข้าชั้นเรียน ผลงานที่มอบหมาย 1.3.2  การส่งงานที่มอบหมายตามเวลา และสังเกตพฤติกรรมการทำงานร่วมกับผู้อื่น
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ
2.1.1  มีความรูความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี 2.1.2  มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม 2.1.3  สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 2.1.4  สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น 2.1.5  สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
2.2.1  อธิบาย ยกตัวอย่างวัสดุก่อสร้าง และจัดทำรายงานเกี่ยวกับวัสดุก่อสร้าง 2.2.2  อธิบายการหาค่าหน่วยแรงดึง แรงอัด แรงบิด แรงเฉือน และแรงดัด 2.2.3  อธิบายพฤติกรรมการเสียรูปของวัสดุที่ทดสอบ เนื่องจากแรงดึง แรงอัด แรงบิด แรงเฉือน และแรงดัด 2.2.4  บรรยาย และจัดทำรายงานตามที่มอบหมาย
2.3.1  ผลการจัดทำรายงานเกี่ยวกับวัสดุก่อสร้าง และการจัดกลุ่มรายงานในชั้นเรียน 2.3.2  ประเมินจากความถูกต้องในขั้นตอนการทดสอบ และการเขียนรายงานผลการทดสอบ 2.3.3  ตรวจสอบเอกสารอ้างอิงในรายงานผลการทดสอบ และการจัดกลุ่มรายงานในชั้นเรียน
3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
3.1.1  มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี 3.1.2  สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ 3.1.3  สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3.1.4  มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์ 3.1.5  สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตัวเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
3.2.1  ปฏิบัติการหาค่าหน่วยแรงดึง แรงอัด แรงบิด แรงเฉือนและแรงดัด 3.2.2  ปฏิบัติการตรวจสอบพฤติกรรม และหาค่าการเสียรูปของวัสดุที่ทดสอบ เนื่องจากแรงดึง แรงอัด แรงบิด แรงเฉือน และแรงดัด 3.2.3  แนะนำการสืบค้นข้อมูล และเอกสารที่เกี่ยวข้องจัดทำรายงานวัสดุก่อสร้างเป็นกลุ่ม
 
3.3.1  ประเมินจากความถูกต้องในขั้นตอนการทดสอบ และการเขียนรายงานผลการทดสอบ 3.3.2  ตรวจสอบเอกสารอ้างอิงในรายงานผลการทดสอบ และการจัดกลุ่มรายงานในชั้นเรียน
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
4.1.1  สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม 4.1.2  สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่างๆ 4.1.3  สามารถวางแผนและรับผิดชอบ ในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง 4.1.4  รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำ และผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ 4.1.5  มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
4.2.1  แนะนำในห้องเรียน 4.2.2  มอบหมายงานรายกลุ่ม กำหนดความรับผิดชอบของนักศึกษาแต่ละคนอย่างชัดเจน 4.2.3  มอบหมายงานกลุ่มและกำหนดการดำเนินการอย่างมีขั้นตอน นักศึกษาทำงานกับผู้อื่นได้โดยไม่ยึดติดกับเฉพาะเพื่อนใกล้ชิด 4.2.4  แนะนำและยกตัวอย่างสถานการณ์ที่มีการใช้ความรู้ในการช่วยเหลือสังคมอย่างเหมาะสม
4.3.1  สังเกตพฤติกรรมนักศึกษา 4.3.2  ให้นักศึกษาประเมินสมาชิกในกลุ่ม ทั้งด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและด้านความรับผิดชอบ 4.3.3  ผลจากการติดตามการดำเนินงาน และการประเมินความรับผิดชอบจากรายงานกลุ่มของนักศึกษา 4.3.4  ให้นักศึกษายกตัวอย่าง ในเรื่องการนำความรู้ไปช่วยผู้อื่นในสังคม
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
5.1.1  มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี 5.1.2  มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์ 5.1.3  สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ 5.1.4  มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณฺ์ 5.1.5  สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง
5.2.1  ปฏิบัติการหาค่าหน่วยแรงดึง แรงอัด แรงบิด แรงเฉือน และแรงดัด แลัวนำค่าที่ได้จาการทดสอบมาหาค่าหน่วยแรงดึง แรงอัด แรงบิด แรงเฉือน และแรงดัด 5.2.2  ปฏิบัติการตรวจสอบพฤติกรรม และหาค่าการเสียรูปของวัสดุที่ทดสอบ เนื่องจากแรงดึง แรงอัด แรงบิด แรงเฉือนและแรงดัด  5.2.3  อธิบายถึงผลการทดสอบที่ได้ แล้วนำมาเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐาน
ประเมินจากความถูกต้องในการเขียนรายงานผลการทดสอบ
6.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย
6.1.1  มีทักษะในการบริหารจัดการทั้งเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 6.1.2  มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
6.2.1  มีการสาธิตการปฏิบ้ติงานโดยผู้เชี่ยวชาญ 6.2.2 จัดกิจกรรมกลุ่ม โดยมอบหมายงานให้บริหารจัดการเสมือนการออกแบบในการทำงานจริง
6.3.1  ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอ ตรวจสอบความถูกต้อง 6.3.2  ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล