ฝึกงานทางวิชาชีพพืชศาสตร์

Internship in Plant Science

เมื่อนักศึกษาฝึกประสบการณ์ภาคสนามแล้ว นักศึกษาจะสมรรถนะในด้านต่าง ๆ ได้แก่
1.1 ด้านคุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา (Ethics  and Moral)  มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม   มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ    มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม  เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.2 ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ (Interpersonal Skills and Responsibility   มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ  สามารถทำงานเป็นทีม และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และสามารถปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมองค์กรได้
1.3 ด้านทักษะทางปัญญา (Cognitive Skills)  สามารถนำความรู้ไปใช้ในการแก้ไขปัญหาในสภาพการปฏิบัติงานจริงได้
เนื่องจากเทคโนโลยีด้านการผลิตพืชมีความก้าวหน้าอย่างมากในปัจจุบัน หน่วยงานและสถานประกอบการ ได้นำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้เพื่อการผลิตพืชที่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและนอกประเทศ ซึ่งมีการแข่งขันทางการตลาดสูง โดยผู้ผลิตต้องแข่งขันกันผลิตทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ  การส่งนักศึกษาไปฝึกงานในหน่วยงานหรือสถานประกอบการทางวิชาชีพด้านการผลิตพืช เป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์ที่สามารถนำไปใช้ประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ หรือเสริมทักษะให้กับนักศึกษาที่ไปฝึกงานร่วมกับนักศึกษาจากสถาบันอื่นๆ  หรือ กับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานหรือสถานประกอบการที่มีความเชี่ยวชาญด้านพืชศาสตร์โดยเฉพาะ
ฝึกปฏิบัติงานด้านพืชศาสตร์ภายนอกหรือภายในสถานศึกษา โดยเน้น การฝึกทักษะเพื่อสร้างประสบการณ์เฉพาะทางด้านพืชศาสตร์จำนวนไม่น้อยกว่า 320 ชั่วโมง โดยบูรณาการความรู้ที่ได้จากการศึกษาในหลักสูตรกับการปฏิบัติงาน มีการ จัดทำรายงานการฝึกงาน การน าเสนอและให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนางาน การประเมินผลในรายวิชาเป็นระดับคะแนน พอใจ (S) และไม่พอใจ (U)
ไม่น้อยกว่า ๔๐ ชั่วโมงต่อสัปดาห์
1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1. ปฐมนิเทศนักศึกษาด้านคุณธรรม จริยธรรม ที่พึงปฏิบัติ ก่อนฝึกงาน          
2. กำหนดให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถานที่ฝึกงานเช่นเดียวกับพนักงานประจำ
3.นักศึกษาบริหารตนเองให้เข้ากับกฎระเบียบของสถานที่ฝึกงาน
4. มอบหมายงานที่ต้องใช้ความพยายาม ความอดทน
1. นักศึกษาประเมินการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยใช้แบบสอบถามมาตรฐาน
2. ประเมินโดยพนักงานพี่เลี้ยง จากการสังเกตพฤติกรรมและการแสดง ออกระหว่างการฝึกงาน โดยมีการบันทึกผลการประเมิน และมีหลักฐานการแจ้งให้นักศึกษาทราบด้วยวาจาอย่างน้อย 1 ครั้ง
3.อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาการฝึกงาน ฯประเมินความซื่อสัตย์และการรักษาความลับของสถานที่ฝึกงานจากข้อมูลที่ปรากฏในรายงานการฝึกงาน
2.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
2.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
1.  สถานที่ฝึกงานจัดพนักงานพี่เลี้ยงให้คำแนะนำการปฏิบัติงานตามหน้าที่ มอบหมายเอกสารข้อมูลของสถานที่ฝึกงานให้ศึกษาด้วยตนเอง
2. ศึกษาและฝึกปฏิบัติจริงด้วยตนเองภายใต้การดูแลของพนักงานพี่เลี้ยง
3. นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองจากการสังเกตและการปฏิสัมพันธ์กับพนักงานประจำ และการศึกษาเอกสารของสถานที่ฝึกงาน
1. นักศึกษาประเมินการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยใช้แบบสอบถามมาตรฐาน
2.ประเมินโดยพนักงานพี่เลี้ยงและอาจารย์ที่ปรึกษาการฝึกงาน จากรายงานการฝึกงาน
3.1 มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
3.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
1. การฝึกปฏิบัติจริง
2. การมอบหมายโจทย์ปัญหา
3. การประชุมร่วมระหว่างพนักงานพี่เลี้ยง อาจารย์ที่รับผิดชอบรายวิชา อาจารย์นิเทศก์การฝึกงาน และนักศึกษา ในช่วงกลางของการฝึก เพื่อการนำเสนอแนวความคิดการแก้ปัญหาของนักศึกษา และการให้ข้อมูลย้อนกลับโดยพนักงานพี่เลี้ยง อาจารย์ที่รับผิดชอบรายวิชา และอาจารย์นิเทศก์การฝึกงาน
1. นักศึกษาประเมินการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยใช้แบบสอบถามมาตรฐาน
2. ประเมินโดยพนักงานพี่เลี้ยงและอาจารย์นิเทศก์การฝึกงาน  จากการแสดงออกของนักศึกษาระหว่างการประชุมร่วม และจากรายงานการฝึกงาน
4.1  มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
4.2  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.4  สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
1. การปฏิสัมพันธ์กับบุคคลในระดับต่างๆ ของสถานที่ฝึกงาน
2. การฝึกปฏิบัติงานเช่นเดียว
กับพนักงานประจำ
3. การมอบหมายโจทย์ปัญหาหรือกรณีศึกษา
4. การประชุมร่วมระหว่างพนักงานพี่เลี้ยง อาจารย์ที่รับผิดชอบรายวิชาการฝึกงาน อาจารย์นิเทศก์การฝึกงานและนักศึกษา ในช่วงกลางของการฝึก เพื่อการนำเสนอแนวความคิดของนักศึกษาและการให้ข้อมูลย้อนกลับโดยพนักงานพี่เลี้ยงและอาจารย์นิเทศก์การฝึกงาน
1. นักศึกษาประเมินการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยใช้แบบสอบถามมาตรฐาน
2.ประเมินพฤติกรรม โดยพนักงานพี่เลี้ยง จากการสังเกตและการสอบถามความคิดเห็นจากพนักงานผู้ร่วมงานอื่นๆ
3. ประเมินการแสดงออกของนักศึกษาระหว่างการประชุมร่วม โดยพนักงานพี่เลี้ยงและอาจารย์ที่รับผิดชอบรายวิชาเฉพาะเรื่อง
5.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
5.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
5.3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. การแนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. การมอบหมายให้ฝึกแก้โจทย์ปัญหาการคำนวณ
3. การฝึกการนำเสนอความคิดเห็นต่อพนักงานพี่เลี้ยง ในที่ประชุมกลุ่มงาน  และในการประชุมร่วมระหว่างพนักงานพี่เลี้ยง อาจารย์ที่รับผิดชอบรายวิชาฝึกงานและนักศึกษา
4. กำหนดให้นำเสนอ ผลการแก้ปัญหาระหว่างการฝึกงาน ณ สถานที่ฝึกงานและประสบการณ์ การฝึกงาน ที่ภาควิชา แบบปากเปล่า
5. กำหนดให้ส่งเอกสารรายงาน
1. งานมอบหมายที่ให้ปฏิบัติตามสภาพจริง 2. การสังเกต 3.นักศึกษาประเมินการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยใช้แบบสอบถามมาตรฐาน 4. ประเมินรายงานการฝึกงาน ในส่วนที่ต้องใช้การวิเคราะห์เชิงตัวเลข โดยพนักงานพี่เลี้ยงและอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาฝึกงาน 5. ประเมินการนำเสนอความคิดเห็นในสถานการณ์ต่างๆ โดยพนักงานพี่เลี้ยง 6. ประเมินการนำเสนอของนักศึกษาระหว่างการประชุมร่วม โดยพนักงานพี่เลี้ยงและอาจารย์ที่รับผิดชอบการฝึกงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ .6. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 ปฐมนิเทศนักศึกษา สิ่งที่ควรปฏิบัติก่อน ระหว่าง และหลังการฝึกงาน การยกตัวอย่างกรณีศึกษา 1.2 การมอบหมายให้นักศึกษาบันทึกการปฏิบัติงานประจำวัน กำหนดให้นักศึกษาปฏิบัติตาม กฎระเบียบเช่นเดียวกับพนักงานประจำ และหรือมอบหมายงานที่ต้องใช้ความพยายามอดทน 2.1 นักศึกษาปฏิบัติงานประจำวันด้วยตนเอง ภายใต้การดูแลของพี่เลี้ยง 2.2 นักศึกษาเรียนรู้การปฏิบัติงานด้วยตนเอง จากการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในสถานที่ฝึกงานและหรือจากเอกสารประกอบการปฏิบัติงาน 3.1 การฝึกปฏิบัติจริง 3.2 นักศึกษาจัดทำรายงานการปฏิบัติงาน 3.3 อาจารย์นิเทศประเมินระหว่างการฝึกงาน 4.1 การปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในระดับต่างๆ ของสถานที่ฝึกงาน 4.2 การปฏิบัติงานเช่นเดียวกับพนักงานประจำ 5.1 กำหนดให้มีการบันทึก และหรือจัดทำรายงานการปฏิบัติงานในสถานที่ฝึกงาน 5.2 การนำเสนอผลการฝึกงานของนักศึกษา ฝึกปฎิบัติงานจริง ในสถานประกอบการ
1 BSCAG116 ฝึกงานทางวิชาชีพพืชศาสตร์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล
-
-
-
จัดให้นักศึกษาตอบแบบประเมินประสิทธิผลของการฝึกงาน
2.1 อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา ประมวลผลการฝึกงานของนักศึกษาทั้งหมด พร้อมทั้งผลการประเมินและข้อเสนอแนะต่างๆ ของนักศึกษา ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของพี่เลี้ยง/ผู้รับผิดชอบการฝึกงานของสถานที่ฝึกงานและอาจารย์ที่ปรึกษาการฝึกงาน  จัดทำรายงานผลการดำเนินการของฝึกงาน ( มคอ. 6 ) รายงานต่ออาจารย์รับผิดชอบหลักสูตรเพื่อนำเสนอต่อคณบดีเพื่อทราบและพิจารณา             2.2 สาขาวิชาฯ ร่วมพิจารณาประสิทธิผลของการฝึกงาน วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดแผนพัฒนาปรับปรุงสำหรับใช้ในรอบปีการศึกษาถัดไป โดยแสดงไว้ในรายงานผลการดำเนินงานหลักสูตร
1. คัดเลือกสถานประกอบการมี่มีมาตรฐาน และมีความพร้อม  2. คัดเลือกสถานประกอบการที่มีการผลิตพืช การจัดกาาร ที่ครอบคุมและทันสมัย  3. คัดเลือกสถานประกอบการมารสามารถพัฒนาความร่วมมือ และสร้างเครือข่าย สู่การเป็นกสหกิจศึกษา
4. การทบทวนองค์ความรู้ เทคนิค และทักษะ ในรายวิชาต่างๆ  ก่่อนการไปฝึกงานไม่น้อยกว่า 65 ช้่วโมง
1.การประเมินผลการนำเสนอผลการฝึกงานในสถานประกอบการ
2.การประเมิน ความคิดเห็นและขอเสนอแนะจากสถานประกอบการ