สังคม เศรษฐกิจ การเมือง และกฎหมาย

Society, Economy, Politics and Law

1. เข้าใจวิวัฒนาการระบบสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองการปกครองไทย แนวโน้ม การเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ การบริหารจัดการและพฤติกรรมการเมืองไทย การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 2. สามารถวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจและสังคมไทย 3. สามารถปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี ตามหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 4. มีเจตคติและกิจนิสัยที่ดีในการมีส่วนร่วมทางการเมือง การแก้ไขปัญหาทางสังคมการเมืองและการพัฒนาประเทศ
เพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาความรู้เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และกฎหมาย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำไปวิเคราะห์ปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และกฎหมาย ทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษาในฐานะพลเมืองได้ตระหนักถึงความซับซ้อนของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ส่งผลกระทบต่อผู้คนและอนาคตของประเทศ
ศึกษาประวัติศาสตร์ไทย ระบบสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจและการเมืองไทย แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ สำรวจปัญหาที่เกี่ยวข้องในยุคของการเปลี่ยนแปลง สังคมกับการเมืองและกฎหมาย บทบาท ความรับผิดชอบ การมีส่วนร่วมต่อสังคม Thai history, social, cultural, economic and political systems; trends of socio-economic changes, as well as administrational and political behavior; relationship between politics and socio-economic factors; survey of social, related problems during transition society and politic and law; role, duty responsibility and involvement in society
ตามความต้องการของนักศึกษาเฉพาะราย 
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล การไม่เปิดเผยข้อมูล โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้ ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางสังคมและแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง การนำเสนอและอภิปรายกลุ่ม กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง หรือกำหนดบทบาทสมมุติ กำหนดให้นักศึกษาได้รับชมสื่อต่างๆ ที่สะท้อนแนวคิดเกี่ยวกับบทเรียน
1. พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา 2. มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม 3. ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา 4. ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องความสัมพันธ์ทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และกฎหมาย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำไปวิเคราะห์ปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และกฎหมาย ทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษาในฐานะพลเมืองตระหนักถึงความซับซ้อนการเปลี่ยนแปลงของสถาบันการเมืองที่ส่งผลกระทบต่อผู้คนและอนาคตของประเทศ
บรรยาย อภิปราย การทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงานการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางสังคม และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ การศึกษาโดยใช้ปัญหา โครงงานและการปฏิบัติ Problem – based Learning, Project – based Learning, and Practice – based Learning และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
1. ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี ตลอดจนแบบทดสอบปฏิบัติที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 2. ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูลกรณีศึกษาหรือโจทย์จาก Problem – based Learning, Project – based Learning, and Practice – based Learning
พัฒนาความสามารถในการคิดโดยมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ และสังเคราะห์ ปรากฏการณ์ทางสังคมต่างๆ ได้
1. ตั้งโจทย์ให้นักศึกษาได้ฝึกคิดวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางสังคมโดยเชื่อมโยงกับแนวคิดทฤษฎีที่ได้เรียนในชั้นเรียน 2. การฝึกปฏิบัติโดยการอ่าน ฟัง และคิดวิเคราะห์ 3. การนำเสนอและอภิปรายกลุ่ม 4. ให้ทดลองเสนอความคิดต่อสิ่งที่เพื่อนได้นำเสนอในชั้นเรียน
1. แบบทดสอบย่อย สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ ประยุกต์ใช้เนื้อหาที่มีในบทเรียนมาตอบปัญหาหรือคำถามได้ 2. ดูความตั้งใจ ใส่ใจ การทำงานเป็นทีม และทักษะในการคิดวิเคราะห์ และสะท้อนความคิดเห็นกับเพื่อนๆ ทั้งในการเรียนและการปฏิบัติงานกลุ่ม
1. พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน 2. พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม 3. พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
1. จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา 2. จัดกลุ่มให้ร่วมกิจกรรมสันทนาการ ให้ร่วมกันใช้ความคิดในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า 3. การฝึกปฏิบัติและการนำเสนอรายงาน
1. ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด 2. ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม 3. ประเมินจากการแสดงออก การนำเสนอ และรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
1. พัฒนาทักษะความรู้ความเข้าใจในแนวคิดทางสังคมต่างๆ 2. พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา 3. พัฒนาทักษะในการสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต 4. พัฒนาทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
1. ตั้งประเด็นให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการเรียนการสอนในห้องเรียน 2. นำเสนอโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
1. ประเมินจากรายงาน และแบบฝึกหัดหรือใบงานที่ส่งตามเวลา หรือกิจกรรมร่วมในห้องเรียน 2. ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย 3. ประเมินจากทักษะในการคิดวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางสังคม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะหืเชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 2 3 1
1 GEBSO103 สังคม เศรษฐกิจ การเมือง และกฎหมาย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.3 1.4 2.1 2.2 2.3 3.1 การสอบกลางภาคและการสอบปลายภาค 8 และ 17 50
2 1.3 1.4 3.1 4.3 5.3 โครงการบูรณาการการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม สืบสานตามรอยศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาภูมิปัญญาไทย 16 10
3 1.4 2.1 2.2 2.3 5.3 1. เรียนออนไลน์วิชาค่านิยมพื้นฐานความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ของสถาบันพระปกเกล้า 2. เรียนออนไลน์วิชาวิชาการต่อต้านการทุจริตในประเทศไทย THAI MOOC CMU 10, 11, 12, 13, 14, 20
4 1.3 1.4 4.3 กิจกรรมจิตสาธารณะ ทุกสัปดาห์ 10
5 1.3 1.4 3.1 4.3 จิตพิสัย ความรับผิดชอบ พฤติกรรมที่พึงประสงค์ ทุกสัปดาห์ 10
1. การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม Politics, Economy and Society โดย รองศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ปรีชา เรืองจันทร์  2563
2. มนุษย์กับสังคม เศรษฐกิจ การเมือง กฎหมาย และสิ่งแวดล้อม  สุมิตร สุวรรณ, อรวรรณ์ ทองเพิ่ม, ณัฐฐิญา จิตรฉ่ำ... มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. พิมพ์ครั้งที่ 4. นครปฐม. 2558.
3. ประวัติศาสตร์ไทย ฉบับสังเขป โดย เดวิด เค วัยอาจ /กาญจนา ละอองศรี บรรณาธิการ 4. ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย โดย คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร
5. เอกสารประกอบการสอนรายวิชา GEBSO103  สังคม เศรษฐกิจ การเมือง และกฎหมาย  Society, Economy, Politics and Law  ศักดิ์สายันต์  ใยสามเสน 
6. มารยาททางการเมืองกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ ดร.ไตรรงค์ สุวรรณศีรี   สำนักพิมพ์ :  Postbook  2564
7. สถาบันพระปกเกล้า : ระบบ E-learning (kpielearning.com)
8. การต่อต้านการทุจริตในประเทศไทย | Anti-Corruption in Thailand | Thai MOOC Directory
การประเมินผลรายวิชานี้จัดทำโดยนักศึกษา -นักศึกษาเป็นผู้ทำแบบประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหา วิธีการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การใช้สื่อสนับสนุนการเรียนการสอน และการให้ข้อเสนอแนะของนักศึกษา โดยนักศึกษาประเมินผ่านทางระบบอินเตอร์เนตของมหาวิทยาลัย -นักศึกษาเป็นผู้เสนอแนะกิจกรรมในการเรียนการสอน - นักศึกษาประเมินความพึงพอใจในกิจกรรมต่างๆที่สอดแทรกในบทเรียน
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน มีกลยุทธ์ดังนี้ -สังเกตจากการมีส่วนร่วมในการเรียน การอภิปราย และการวิเคราะห์กรณีศึกษา -ประเมินจากผลการนำเสนอผลงานโครงการและกิจกรรมการลงพื้นที่ศึกษาประสบการณ์จริง - ผลการสอบกลางภาคและปลายภาค
การปรับปรุงการสอนวิชานี้คือ -ปรับเอกสาร-สื่อประกอบการสอน และกรณีศึกษาให้มีความทันสมัยและทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน -ให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมจาก ตำรา และแหล่งข้อมูลที่หลากหลายจากเทคโนโลยีสารสนเทศ -สนับสนุนการทำวิจัยในชั้นเรียน เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ - จัดประชุมหารือคณาจารย์ผู้สอน เพื่อร่วมกันวางแผนและพัฒนาการเรียนการสอน ให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น - นำผลการประเมินที่ได้จากนักศึกษามาปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น
 ในระหว่างกระบวนการเรียนการสอนมีการตรวจงาน  การทบทวน และการจัดทำโครงการ/นิทรรศการ ผู้สอนตรวจสอบคะแนนของนักศึกษาแต่ละคนว่าพัฒนาก้าวหน้าอย่างไร โดยแจ้งผลคะแนนเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
วิชานี้ต้องปรับปรุงเนื้อหาทุก 2 ปี -เชิญวิทยากรผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบความสำเร็จด้านเศรษฐกิจพอเพียง มาถ่ายทอดประสบการณ์ให้กับนักศึกษา เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพและสัมฤทธิ์ผล