วงจรดิจิทัล

Digital Circuits

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบตัวเลข และรหัส การแปลงฐานเลข หน่วยคำนวณด้านคณิตศาสตร์ในระบบดิจิตอล การลดทอนฟังก์ชั่นลอจิก การออกแบบวงจรลอจิกคอมไบเนชั่น การออกแบบวงจรซีเควนเชียล การประยุกต์ใช้วงจรดิจิตอลในงานอุตสาหกรรม
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญญาในการนำความรู้ ความเข้าใจ  วงจรดิจิตอล และการออกแบบวงจรลอจิก เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และการนำไปพัฒนา และประยุกต์ใช้งานในการประกอบอาชีพในอนาคต ทั้งนี้ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยี และนวัตรกรรมที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับระบบตัวเลขและรหัส  พีชคณิตบูลีน การลดทอน ฟังก์ชันลอจิก การออกแบบวงจรลอจิกคอมไบเนชัน การออกแบบวงจรซีเควนเชียล หน่วยคำนวณและลอจิกด้านคณิตศาสตร์ในระบบดิจิตอล  การแปลง สัญญาณดิจิตอลเป็นแอนะลอกและแอนะลอกเป็นดิจิตอล การประยุกต์ใช้วงจร ดิจิตอลในงานอุตสาหกรรม
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ความเข้าใจ ความรับผิดชอบ ต่อจรรยาบรรณทางวิชาการ และวิชาชีพ ตลอดจนมีวินัย ความขยันอดทน การตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม ดังนี้ 1.1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ    1.1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม 
ปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่ม มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น เป็นต้น มีการสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอน  รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริม คุณธรรม จริยธรรม เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำดี ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม เสียสละ
1.3.1  ประเมินพฤติกรรมการเข้าเรียน พฤติกรรมในห้องเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้ และตรงเวลา 1.3.2  ประเมินการมีวินัย และพร้อมเพรียงของนักศึกษาในกิจกรรมที่มีการมอบหมายต่างๆ 1.3.3 ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
2.1.1  มีความรู้ และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎี และหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
บรรยาย อภิปราย การทำงานเดี่ยว การนำเสนอรายงาน และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีของวงจรดิจิทัล โดยนำมาสรุป และนำเสนอ การศึกษาโดยใช้ปัญหา และโครงงาน Problem–based Learning โดยเน้นการนำปัญหาจริงมาแก้ไขโดยใช้ความรู้จากรายวิชา
2.3.1  ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักทฤษฎีและปฏิบัติ 2.3.2  ประเมินจากโครงงานและการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล กรณีศึกษา หรือโจทย์
พัฒนาทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการ และวิชาชีพ  รวมถึงการพัฒนาทักษะในการนำความรู้มาคิด และใช้อย่างเป็นระบบ 3.1.1  พัฒนาทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการ และวิชาชีพ 3.1.2  พัฒนาทักษะในการนำความรู้มาคิด และใช้อย่างเป็นระบบ
บรรยาย  อภิปราย การทำงานเดี่ยวและงานกลุ่ม โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ นำปัญหาในปัจจุบันมาเป็นโจทย์สำหรับใช้องค์ความรู้ในรายวิชาสำหรับแก้ปัญหา เช่น การออกแบบระบบต่างๆ โดยใช้วงจรดิจิทอล โดยต้องสืบค้นข้อมูลเพื่อใช้เป็นองค์ความรู้ในการแก้ปัฐหาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ จากนั้นการนำเสนอรายงาน และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุป และนำเสนอ การศึกษาโดยใช้ปัญหา 
3.3.1  การตั้งโจทย์สมมติสถานการณ์ เพื่อให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น แนวทางการแก้ไขปัญหา 3.3.2  วัดผลจากการประเมินโครงการ  การนำเสนอผลงาน 3.3.3  สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
กำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานเป็นกลุ่ม การทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่น
4.3.1  พฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียน 4.3.2  พฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ
5.1.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
ดำเนินการสอนโดยมอบหมายงานหรือหัวข้อที่ต้องใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่หรืองานวิจัยที่น่าสนใจ ให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง โดยให้นำเสนอผ่านการทำเล่มรายงานพร้อมการนำเสนอความคิดสนับสนุน จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.3.1   ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการติดต่อสื่อสาร 5.3.2   ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน
การเรียนการสอนเน้นความสำคัญไปที่การสร้างทักษะการปฏิบัติงานทางด้านครุศาสตร์อุตสาหกรรม 6.6.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
จัดกิจกรรมเรียนรู้ให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยใช้ความรู้จากวิชา เพื่อนำมาใช้วิเคราะห์แก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย 6.2.1 สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน 6.2.2 สาธิตการปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญ
6.3.1  ประเมินพฤติกรรมจากการปฏิบัติงาน 6.3.2  ประเมินผลจากการทำงานในภาคปฏิบัติ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านความรู้ 2. ด้านทักษะทางปัญญา 3. ด้านความสัมพันธ์บุคคลและความรับผิดชอบ 4. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ 5. ด้านทักษะพิสัย 6. ด้านคุณธรรม จริยธรรม
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 5 2 1 2 3 4
1 TEDEE402 วงจรดิจิทัล
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.3.1, 5.3.2 สอบย่อยครั้งที่ 1 - สอบกลางภาค - สอบย่อยครั้งที่ 2 - สอบปลายภาค 5 8 12 17 5% 20% 5% 25%
2 2.3.2, 3.3.2, 5.3.1, 6.3.2, 6.3.3 - โครงงานพิเศษ รายงาน - ใบงานการทดลอง - การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 15% 15%
3 1.3.1, 3.3.1 - การเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามที่มอบหมาย - การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10% 5%
1. นภัทร วัจนเทพินทร์, วงจรดิจิตอลและการออกแบบลอจิก. กรุงเทพฯ : สกายบุ๊กส์, 2545 2. สุวัฒน์ รอดผล, ดิจิตอลและการออกแบบลอจิก. กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย - ญี่ปุ่น), 2544.
3. วงจรดิจิตอล(ภาคปฏิบัติ) โดยนภัทร วัจนเทพินทร์ ISBN : 974-8515-17-6
4. Digital Learning-By-Doing โดยทีมงานสมร์ทเลิร์นนิ่ง ISBN : 978-616-7241-36-4
5. Digital Computer Electronics โดย Albert Paul Malvino & Jerald A. Brown ISBN : 0-02-800594-5
ไม่มี
ไม่มี
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ 1.1  การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 1.2  แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา 1.3  ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้ 2.1  การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน 2.2  ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3  การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้ 3.1  สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2  การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2  มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้ 5.1  ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2  เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ