เทคโนโลยีหมักดอง

Fermentation Technology

รู้ความหมายของการหมัก จุลินทรีย์ และเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องในการหมัก
มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการหมักแบบต่าง ๆ และผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการหมัก
มีทักษะการปฏิบัติในการผลิตอาหารหมักประเภทผักและผลไม้ เนื้อสัตว์ นม และธัญพืชในระดับครัวเรือน
นำความรู้ ทักษะการผลิตอาหารหมักไปประยุกต์ใช้ในการทำงานจริง และการผลิตในระดับอุตสาหกรรมได้
เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กระทรวงศึกษาธิการ
เพื่อปรับปรุงรายละเอียดของวิชาให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ปัจจุบัน และบูรณาการการจัดการเรียนการสอนร่วมกับงานวิจัย
ความหมายของการหมัก กระบวนการหมักแบบต่าง ๆ จุลินทรีย์และเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องในการหมัก ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการหมัก การผลิตอาหารหมักประเภทผักและผลไม้ เนื้อสัตว์ นม และธัญพืช ทั้งในระดับครัวเรือน และอุตสาหกรรม
Definition of fermentation; type of fermentation process; microorganism and enzyme associated with fermentation; products from fermentation process; fermented food production from fruit and vegetable, meat, milk and cereal in household and industrial levels.
วันพุธ  เวลา 15.00–17.00 น. ห้องพักอาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร โทร.0-5529-8438 ต่อ 1188
   wannapa_noo@yahoo.co.th  เวลา 19.00–21.00 น. 
มีวินัยและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม
เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
1. ยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่ขาดวินัย และความรับผิดชอบต่อตนเอง และสังคม ในฐานะนักวิทยาศาสตร์การอาหาร ตลอดจนผลกระทบที่ตามมา
2. สอดแทรกและส่งเสริมด้านคุณธรรม จริยธรรมในวิชา มีการตรวจเช็คการเข้าเรียน การแต่งกาย พฤติกรรมต่าง ๆ ในชั้นเรียน
1. การตรวจสอบการเข้าเรียน การตรงต่อเวลา การส่งงาน โดยประเมินทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม
2. ประเมินผลจากพฤติกรรมที่แสดงออกในชั้นเรียน ในการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น การเคารพผู้อาวุโส และอาจารย์
มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา
สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการรวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาและต่อยอดองค์ความรู้และมีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลงและเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ ๆ
1. สอนแบบบรรยาย อธิบายเนื้อหาพร้อมยกตัวอย่าง และตั้งคำถาม (Questioning) เพื่อให้เกิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning) โดยให้นักศึกษาซักถาม และแสดงความคิดเห็น และมีกิจกรรมเสริมนอกชั้นเรียนโดยมีการมอบหมายงานให้เป็นกลุ่ม เพื่อให้นักศึกษาฝึกทำงานร่วมกับผู้อื่น และมีการนำเสนองานที่มอบหมายตามระยะเวลาที่กำหนด
2. ศึกษาจากสถานการณ์จริง มีการอภิปรายกลุ่มย่อย มีการศึกษาด้วยตนเอง และการค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต
1. การสอบวัดความรู้
2. ถาม-ตอบปัญหาในชั้นเรียน
3. ทำรายงานรายบุคคลหรือรายงานกลุ่มเพื่อประเมินความสนใจการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
4. การนำเสนองานที่ได้มอบหมายในชั้นเรียน
 
มีทักษะในภาคปฏิบัติที่ได้รับการฝึกฝน ตามเนื้อหาสาระสำคัญของสาขาวิชา
1. วิเคราะห์และอภิปรายผลจากการทำผลิตภัณฑ์อาหารหมักดอง โดยแบ่งกลุ่มให้นักศึกษาอภิปรายผล
2. การมอบหมายงานด้วยการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
3. การนำเสนองานด้วยวาจา รวมกับการอภิปรายผล  พร้อมแนวทางไปสู่การแก้ปัญหา หรือเสนอแนวทางปฏิบัติที่มีความน่าเชื่อถือและความเป็นไปได้บนพื้นฐานของนักวิทยาศาสตร์การอาหาร
1. การเขียนบันทึก
2. การนำเสนองาน
3. ข้อสอบอัตนัย/ปรนัย
มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายทั้งของตนเองและรับผิดชอบในกลุ่ม
 
1. การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning) กิจกรรมการบูรณการร่วมระหว่างการเรียนการสอนกับงานวิจัย
2. จัดกิจกรรมกลุ่มในการผลจากการทำผลิตภัณฑ์อาหารหมักดอง ในลักษณะของการทำงานเป็นทีม
3. มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น รายงานบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
4. การนำเสนองานด้วยวาจา
1. ประเมินตนเองและเพื่อนด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
2. พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
3. รายงานที่นำเสนอและผลงานที่ทำเป็นกลุ่ม
 
สามารถติดตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี นวัตกรรมและสถานการณ์โลก โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
1. มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จาก website และสื่อต่าง ๆ และทำรายงานโดยเน้นการอ้างอิงจากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ โดยส่วนหนึ่งนักศึกษาจะต้องค้นคว้าจากวารสารหรือฐานข้อมูลที่เป็นภาษาอังกฤษ
2. นำเสนองานกลุ่มต่อชั้นเรียนโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม พร้อมข้อเสนอแนะเพื่อเน้นให้นักศึกษาใช้ภาษาที่ถูกต้อง ชัดเจนและกระชับ รวมถึงการเลือกวิธีการนำเสนอที่เข้าใจง่าย อย่างเป็นระบบ
 
1. ประเมินจากการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน การนำเสนอความรู้ใหม่
2. การใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสม ความต่อเนื่องของเนื้อหาที่นำเสนอ
3. การใช้สื่อที่เหมาะสมนำเสนอ
4. เอกสารรายงานของนักศึกษา และการสอบ
มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการ รวมถึงความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
จัดให้นักศึกษาทำงานเป็นกลุ่ม โดยให้ใช้เครื่อง อุปกรณ์ และวิธีการให้ได้มาซึ่งกระบวนการทำผลิตภัณฑ์อาหารหมักดอง อย่างเหมาะสม
 
ประเมินจากความประสบความสำเร็จของงาน/ผลิตภัณฑ์ ตามระยะเวลาที่กำหนด และการใช้อุปกรณ์เครื่องมือได้อย่างเหมาะสม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 มีจิตสำนึกและตระหนักในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ 1.2 แสดงออกอย่างสม่ำเสมอถึงความซื่อสัตย์สุจริต 1.3 มีวินัยและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม 1.4 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม 1.5 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 2.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา 2.2 มีความรู้ในสาขาอื่น ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การบริหารจัดการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ สามารถบูรณาการความรู้ในที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 2.3 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการรวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาและต่อยอดองค์ความรู้และมีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลงและเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ ๆ 2.4 รู้กฎระเบียบ ข้อกำหนดทางเทคนิค รวมทั้งการปรับเปลี่ยนตามกาลเวลาเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป 3.1 มีความสามารถในการ ค้นหาข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจและประเมินข้อมูลสารสนเทศ แนวคิดและหลักฐานใหม่ ๆ จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายและใช้ข้อสรุปที่ได้ในการแก้ไขปัญหาหรืองานอื่น ๆ โดยไม่ต้องอาศัยคำแนะนำ 3.2 สามารถคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบในการวิเคราะห์ปัญหาที่ซับซ้อน และเสนอแนวทางแก้ไขอย่างสร้างสรรค์ 3.3 สามารถใช้ทักษะและความเข้าใจ ในบริบททางวิชาชีพและวิชาการ เช่น การตรวจวิเคราะห์อาหาร การควบคุมและประกันคุณภาพ การวิจัย และงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 3.4 มีทักษะในภาคปฏิบัติที่ได้3.4 มีทักษะในภาคปฏิบัติที่ได้รับการฝึกฝน ตามเนื้อหาสาระสำคัญของสาขาวิชารับการฝึกฝน ตามเนื้อหาสาระสำคัญของสาขาวิชา 4.1 มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายทั้งของตนเองและรับผิดชอบในกลุ่ม 4.2 สามารถปรับตัวทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำกลุ่มและสมาชิกกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4.3 วางตัวและแสดงความคิดเห็นได้เหมาะสมกับบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ 4.4 สามารถวางแผนและรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง 5.7 สามารถใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้องทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน และภาษาอังกฤษในระดับใช้งานได้อย่างเหมาะสม 5.1 สามารถระบุและนำเทคนิคทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการวิเคราะห์ แปลความหมาย และเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการวิเคราะห์ แปลความหมาย และเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ 5.2 สามารถสรุปประเด็นและสื่อสารทั้งการพูดและการเขียน รู้จักการเลือกใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสมสำหรับเรื่องและผู้ฟังที่ต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5.3 สามารถระบุ เข้าถึง และคัดเลือกแหล่งข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสาระสำคัญของวิชานั้น ๆ จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศทั้งในระดับชาติและนานาชาติ 5.4 มีวิจารณญาณในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เหมาะสม และใช้อย่างสม่ำเสมอเพื่อการรวบรวมข้อมูล แปลความหมายและสื่อสารข้อมูลข่าวสารและแนวความคิด 5.5 สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม 5.6 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี นวัตกรรมและสถานการณ์โลก โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศามารถติดตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี นวัตกรรมและสถานการณ์โลก โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการ รวมถึงความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
1 BSCFT123 เทคโนโลยีหมักดอง
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.3 มีวินัยและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม 1.5 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 4.1 มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายทั้งของตนเองและรับผิดชอบในกลุ่ม - จำนวนครั้งการเข้าเรียนต้องเกิน 80% - การมีส่วนร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน - การส่งงานตรงเวลา - คะแนนกิจกรรมส่วนมหาวิทยาลัย - ความมีน้ำใจต่อเพื่อนและคณาจารย์ ทุกสัปดาห์ 10%
2 3.4 มีทักษะในภาคปฏิบัติที่ได้รับการฝึกฝน ตามเนื้อหาสาระสำคัญของสาขาวิชา 6.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการ รวมถึงความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ - การสังเกต - การสอบย่อย (Quit) - รายงานผลปฏิบัติการ การนำเสนอบทปฏิบัติการ และอภิปรายผลภาควาจา - ไม่ทุจริตในการสอบ 1–17 (เว้น 9) 30%
3 2.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา - การสอบกลางภาค (หน่วยที่ 1-4) - ไม่ทุจริตในการสอบ 9 25%
4 2.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา - การสอบปลายภาค (หน่วยที่ 5-7) - ไม่ทุจริตในการสอบ 18 25%
5 2.3 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการรวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาและต่อยอดองค์ความรู้และมีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลงและเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ ๆ 4.1 มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายทั้งของตนเองและรับผิดชอบในกลุ่ม 5.6 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี นวัตกรรมและสถานการณ์โลก โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ - การนำเสนองาน/งานมอบหมาย 16,17 10
จารุวรรณ มณีศรี.  2550.  เทคโนโลยีอาหารหมัก.  พิมพ์ครั้งที่ 2.  โฟร์เพซ, กรุงเทพฯ.  247 น.
ดวงพร คันธโชติ.  2530.  จุลชีววิทยาอุตสาหกรรม: ผลิตภัณฑ์จากจุลินทรีย์.  พิมพ์ครั้งที่ 1.  โอ.เอส. พริ้นติ้งเฮา, กรุงเทพฯ.  191 น.
ไพโรจน์ วิริยะจารี และ อรัญ หันพงศ์กิตติกูล.  2535.  ปฏิบัติการอุตสาหกรรมการหมัก.  พิมพ์ครั้งที่ 4.  ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.  79 น.
วราวุฒิ ครูส่ง และ รุ่งนภา พงศ์สวัสดิ์มานิต.  2532.  เทคโนโลยีการหมักในอุตสาหกรรม.  พิมพ์ครั้งที่ 1.  โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ.  209 น.
Bamforth, C.W.  2005.  Food, Fermentation and Micro-organism.  1st ed., Blackwell Publishing Ltd., Oxford, UK.
กำเนิด สุภัณวงษ์.  2534.  จุลชีววิทยาอุตสาหกรรม.  พิมพ์ครั้งที่ 1.  โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ.  309 น.
นงลักษณ์ สุทธิวนิช.  2527.  ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์.  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.  200 น.
พรพรรณ เลิศทวีสินธุ์.  2544.  การใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ในอุตสาหกรรม.  พิมพ์ครั้งที่ 1.  องค์การค้าของคุรุสภา, กรุงเทพฯ.  309 น.
เพ็ญแข วันไชยธนวงศ์.  2541.  เทคโนโลยีชีวภาพ.  ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.  207 น.
ลูกจันทร์ ภัครัชพันธุ์.  2524.  อุตสาหกรรมอาหารหมักดอง.  ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.  161 น.
วราวุฒิ ครูส่ง และ กรวิกา สุขศรีวงษ์.  2539.  เทคโนโลยีชีวภาพ (ฉบับปรับปรุงใหม่).  ภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, กรุงเทพฯ.  213 น.
สมใจ ศิริโภค.  2545.  จุลชีววิทยาอุตสาหกรรม.  พิมพ์ครั้งที่ 1.  พิมพ์ดีจำกัด, กรุงเทพฯ.  339 น.
อรพิน ภูมิภมร.  2526.  จุลินทรีย์ในเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์และอาหารหมักพื้นเมือง. ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ  คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.  156 น.
อรพิน ภูมิภมร.  2527.  การควบคุมระบบจุลินทรีย์อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิต.  ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ  คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.  345 น.
- Journal of Food Safety        http://onlinelibrary.wiley.com/journal/10.1111/(ISSN)1745-4565
- Food Microbiology             http://www.journals.elsevier.com/food-microbiology/
- Food Control                    http://www.journals.elsevier.com/food-control/
- www.scopus.com/
- www.sciencedirect.com
1.1  แบบประเมินประสิทธิผลของรายวิชาจากมหาวิทยาลัย ฯ โดยนักศึกษาเมื่อหมดภาคการศึกษา
1.2  แบบประเมินผู้สอนในแต่ละรายวิชาจากมหาวิทยาลัย ฯ โดยนักศึกษาเมื่อหมดภาคการศึกษา
1.3  แบบเสนอแนะ/ข้อคิดเห็น ในการจัดการเรียนการสอนแต่ละรายวิชา ที่ประเมินโดยนักศึกษา
2.1  สาขาวิชาแต่งตั้งกรรมการประเมินการสอนของสาขาวิชา โดยมีหัวหน้าสาขาวิชา ในฐานะประธานหลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร และอาจารย์ประจำหลักสูตรอย่างน้อย 1 ท่าน เป็นผู้ทำหน้าที่ในการประเมินการสอน โดยการสุ่มรายวิชาอย่างน้อย 3 รายวิชา ที่เปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษา
 
3.1  นำผลการประเมินรายวิชาและผลการประเมินผู้สอนในปีการศึกษาที่ผ่านมา  มาใช้ในการปรับปรุงและกำหนดกิจกรรม และแผนการสอน
3.2  ปรับปรุงการสอนโดยเพิ่มเติมข้อมูลทางวิชาจากที่เป็นปัจจุบัน ทันสมัย และบูรณาการข้อมูลหรือความรู้ที่ได้จากงานวิจัย ข้อมูลจากการฝึกอบรมต่าง ร่วมกับข้อมูลที่นักศึกษาประเมิน ข้อมูลจาก มคอ.5 จากปีการศึกษาที่ผ่านมา และคำแนะนำจากอาจารย์ผู้ที่มีประสบการณ์การสอนรายวิชาเทคโนโลยีหมักดอง รวมถึงวิธีการสอน เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่ดีขึ้นแก่นักศึกษา
4.1  มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยคณะกรรมการบริหารหลักสูตร โดยกำหนดให้อาจารย์ผู้สอน มีการรายงานวิธีการที่ใช้ในการประเมิน เกณฑ์การประเมิน และผลการประเมินของนักศึกษา
4.2  คณะกรรมการบริหารหลักสูตร นำผลการเปรียบเทียบหารือและทำความเข้าใจกับอาจารย์ผู้สอน พร้อมทั้งหาแนวทางพัฒนา
5.1  ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะ และผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4.1
5.2  เพิ่มจำนวนผู้สอนร่วมในบางหน่วยเรียน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเนื้อหาวิชา และการนำไปประยุกต์ใช้ที่หลากหลายยิ่งขึ้น
โดยหากมีการเปลี่ยนแปลงการดำเนินการจะนำเสนอในที่ประชุมสาขาวิชา เพื่อพิจารณาต่อไป