โครงงานนักศึกษา 1

Student Project 1

เพื่อให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้โดยผ่านการปฏิบัติโดยใช้โครงงานเป็นฐาน
เพื่อให้เกิดการสร้างกระบวนการเรียนรู้จากครูเกื้อหนุน โดยผู้เรียนต้องจัดทำข้อเสนอโครงการและสอบโดยคณะกรรมการ
เพื่อให้นักศึกษาสามารถผ่านการวัดผลและประเมินผลในการพัฒนาหัวข้อโครงการจาก อาจารย์ที่ปรึกษา ครูเกื้อหนุน และคณะกรรมการ ตามสัดส่วนที่เหมาะสม
สร้างกลไกการพัฒนาด้านการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน
ปฏิบัติโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานภายใต้การให้คำปรึกษาโดยอาจารย์ที่ปรึกษา การสร้างกระบวนการเรียนรู้จากครูเกื้อหนุน โดยผู้เรียนต้องจัดทำข้อเสนอโครงการและสอบโดยคณะกรรมการ การวัดผลและประเมินผลต้องประเมินจาก อาจารย์ที่ปรึกษา ครูเกื้อหนุน และคณะกรรมการ ตามสัดส่วนที่เหมาะสม
1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ต่อกลุ่มเรียน
เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันสามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม
จากการทำงานจริงร่วมกับสถานประกอบการ
ประเมินผลผ่านการสังเกต 
สำรวจผลจากครูพี่เลี้ยง และพี่เลี้ยงในโรงงาน
3.2.1 มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
3.2.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม
3.2.3 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
3.2.4 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม
3.2.5 สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตนในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
สัมภาษณ์ และร่วมคุยแลกเปลี่ยนระหว่างกลุ่ม 
ผู้เรียนถ่ายทอดสิ่งที่ได้ทำ ปัญหาที่พบ และการออกแบบแนวทางในการพัฒนาโครงงาน จากปัญหาที่พบจริงในที่ทำงาน
นำเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษา กรรมการสอบ ครูพี่เลี้ยง ครูในโรงงาน 
 
สอบประเมินผล ที่ได้จากการเรียนรู้
3.3.1 มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
3.3.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3.3.3 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.3.4 มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
3.3.5 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
สืบค้น งานวิจัย และสิ่งที่เกี่ยวข้อง
ส่งผลการสืบค้นงานวิจัย หรือทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง
นำเสนอถึงแหล่งที่มา และความสอดคล้องกับสิ่งที่ต้องการนำไปใช้พัฒนาโครงงาน
 
3.4.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม
3.4.2 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่างๆ
3.4.3 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
3.4.4 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
3.4.5 มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
นักศึกษาทำงานจริงในสถานประกอบการ
ให้คะแนนตามเกณฑ์ของการประเมินพนักงานของบริษัท 
มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์ สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์ สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
สร้างโจทย์การออกแบบ หรือการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้อง
นักศึกษานำเสนอผลการออกแบบในโครงงาน การวางแผน กำหนด หรือการสร้างตัวแปร 
สอบ นำเสนอ หรือสรุปผลด้านความถูกต้องของการออกแบบ
มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
นักศึกษาทำงานจริงในสถานประกอบการ
ประเมินผลโดยครูพี่เลี้ยง หรือพี่เลี้ยงใหนโรงงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2
1 ENGAG125 โครงงานนักศึกษา 1
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2, 1.3 , 3.5, 4.4, 5.2 วัดจากการทำงานจริง โดยครูพี่เลี้ยง และพี่เลี้ยงในโรงงาน ตลอดภาคการเรียน 30%
2 2.4, 3.5, 5.5 สอบวัดผล และสอบปากเปล่า 8 และ 16 70%
คู่มือปริญญานิพนธ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา
งานวิจัยเบื้องต้น
Thailis
Scopus 
Sciendirect
RMUTL Libary