จิตวิทยาทั่วไป

General Psychology

        1. เข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการของมนุษย์
         2. เข้าใจพฤติกรรมของตนเองและผู้อื่น
         3. เห็นความสำคัญและนำความรู้ทางจิตวิทยาไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับพื้นฐานทางจิตวิทยาที่มีความทันสมัยและถูกต้องสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น  และนำความความรู้ที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคมต่อไป
ศึกษาความหมายของจิตวิทยา ประวัติความเป็นมา วิธีการศึกษาทางจิตวิทยา อิทธิพลของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม พัฒนาการของมนุษย์ สรีรวิทยาที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมนุษย์ การรับรู้ การเรียนรู้  เชาวน์ปัญญา แรงจูงใจและการจูงใจ อารมณ์ บุคลิกภาพ รวมทั้งเรียนรู้เกี่ยวกับสุขภาพจิตและการปรับตัว
แนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษานอกชั้นเรียนและสื่อสาร-นัดหมายงานต่าง ๆ  โดยเฉลี่ย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ให้นักศึกษาติดต่อโดยตรงหรือสามารถติดต่อผ่านทาง e-mail , สื่อสังคมออนไลน์ เพื่อให้คำปรึกษา
พัฒนาผู้เรียนเกิดการพัฒนาในด้านพฤติกรรมที่ดี ที่เหมาะสม และเกิดการยอมรับในสังคมอีกด้วยเช่น  ความเพียรความพยายามประกอบความดี ละอายต่อการปฏิบัติชั่ว  ความซื่อสัตย์สุจริต ความเมตตากรุณา  ความยุติธรรม  มีสติปัญญา รู้สึกตัวอยู่เสมอ ไม่ประมาท  ใฝ่หาความรู้อยู่เสมอ ความสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการประกอบอาชีพ เพื่อความมั่นคงในอนาคต
-  ทำแบบประเมินตนเองก่อนเรียน
         -  ศึกษาเอกสารหน่วยเรียนที่ 1 เรื่องความรู้พื้นฐานทางจิตวิทยา
         -  ฟังบรรยายจากผู้สอน
         -  ซักถามแนวคิดและถามข้อสงสัย
         -  การปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย
         -  งานกลุ่ม รายงานเรื่องพัฒนาการของมนุษย์
          -  งานเดี่ยว  ศึกษาบทความและงานวิจัยทางสาขาจิตวิทยาที่นักศึกษาสนใจคนละ  1  เรื่องพร้อมนำเสนอ
          -  ทำแบบประเมินตนเองหลังเรียน
     1.3  วิธีการประเมินผล
             -   เข้าเรียนตรงเวลา
             -   ส่งงานตามที่กำหนด
             -   มีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน
             -  ประเมินผลจากการทำแบบทดสอบย่อย
             -  ประเมินจากการนำเสนอโดยใช้โปรแกรม Power point
             -  ประเมินจากรูปเล่มรายงานที่ถูกต้องตามระบบการเขียนรายงานและต้องมีเอกสารอ้างอิง               อย่างน้อย 5 เล่ม
2.1 ความรู้เกี่ยวกับความหมายของจิตวิทยา ประวัติความเป็นมา วิธีการศึกษาทางจิตวิทยา อิทธิพลของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม พัฒนาการของมนุษย์ สรีรวิทยาที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมนุษย์ การรับรู้          การเรียนรู้  เชาวน์ปัญญา แรงจูงใจและการจูงใจ อารมณ์ บุคลิกภาพ รวมทั้งเรียนรู้เกี่ยวกับสุขภาพจิตและการปรับตัว ดังนี้
            2.1.1  มีความรู้และความเข้าใจในเนื้อหาที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและธรรมชาติของพฤติกรรมมนุษย์  ตลอดจนพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์ สังคมและเชาวน์ปัญญา
             2.1.2  สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาจิตวิทยาได้
             2.1.3  สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและนำความรู้ทางจิตวิทยาไปใช้ในการแก้ปัญหาของตนเอง การปรับตัวเข้ากับสังคม และประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพ และการทำงานต่างๆ            
แบบบรรยาย กิจกรรมกลุ่ม การนำเสนอหน้าชั้น การอภิปราย มีการเรียนการสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student Center) และการเรียนโดยการแก้ปัญหา ( Problem based Learning)
           -การซักถาม          
           -การสังเกต
           -การแสดงความคิดเห็น
           -การอภิปรายกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่
           -ผลประเมินกิจกรรม
           -การทำแบบประเมินผล
3.1.1  มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ
          3.1.2  มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
          การสอนวิชาจิตวิทยาทั่วไปช่วยให้นักศึกษาเข้าใจพฤติกรรมของตนเองและผู้อื่น สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มองโลกในเชิงบวก สามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมและสถานการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม  ดังนี้
        1.  ศึกษาค้นคว้า เรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
        2.  วิเคราะห์ สังเคราะห์และสรุปความคิดรวบยอดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ
        3.  ประยุกต์ทักษะความเข้าใจในเนื้อหาสาระทางวิชาการและวิชาชีพได้เหมาะสมตามสถานการณ์
           -การบรรยายประกอบการใช้สื่อการสอน
           -การอภิปรายกลุ่มย่อย โดยใช้กรณีศึกษาจากข่าวหรือเหตุการณ์ปัจจุบัน
           -กิจกรรมการแสดงบทบาทสมมติในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา เช่น ปัญหาของวัยรุ่นของนักศึกษาเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน
           -การซักถาม          
           -การสังเกต
           -การแสดงความคิดเห็น
           -การอภิปรายกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่
           -ผลประเมินกิจกรรม
          
             -  สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มามาประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตในสังคมได้เหมาะสม
             -  พัฒนาทักษะการเข้าใจตนเอง  การควบคุมอารมณ์  มีแนวคิดตามแนวทางที่ดี  เหมาะสม  และการเข้าใจผู้อื่น  มีทักษะการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น
             -  พัฒนาทักษะความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อสังคม
             -  พัฒนาศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี  มีการให้เกียรติซึ่งกันและกัน
               -  จัดการสอนแบบกิจกรรมกลุ่ม
               -  กำหนดปฏิทินเวลานำเสนอ
               -  ผู้สอนและนักศึกษาช่วยกันเสริมเนื้อหาให้ครบถ้วน โดยใช้ power point ของผู้สอนสรุปเพื่อเพิ่มเนื้อหาให้ครอบคลุม 
               -  ให้เพื่อนักศึกษาช่วยกันประเมินตามแบบประเมินการนำเสนอ
               -  ครูประเมินตามแบบการนำเสนอ
               -  สังเกตจากความสนใจ ความตั้งใจและการมีส่วนร่วมของผู้เรียน
               -  แบบฝึกหัด
             -  พัฒนาทักษะการใช้ Internet โดยการสืบค้นข้อมูลจาก Website
            -  พัฒนาทักษะการเลือกรับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งสืบค้นต่าง ๆ โดยเฉพาะการใช้สื่อจาก Internet
              -  ให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเนื้อหาเพิ่มเติมจาก Website หรือสื่ออื่น ๆ เช่น CD, VCD, วีดิทัศน์, เทปเสียง
             -  การนำเสนอรายงานทุกครั้งให้ใช้ Computer และ Power point และ/หรือ Clip
             -  ประเมินจากการสรุปเนื้อหา, การหาแหล่งอ้างอิงเพื่อนำเสนอผลงานด้วยโปรแกรมการนำเสนองาน เช่น power point
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ความรู้ความเข้าใจเนื้อหา สอบกลางภาค 9 20%
2 ความรู้ความเข้าใจเนื้อหา สอบปลายภาค 17 30%
3 ความรู้ ความเข้าใจ การนำเนื้อหาไปใช้ งาน 1.กิจกรรม/โครงการ ประยุกต์จิตวิทยาเพื่อสังคม (ผลงาน+รายงาน) (งานกลุ่ม) 1-8,10-16 15%
4 ความรู้ ความเข้าใจ ทักษะการสื่อการ การใช้เทคโนโลยีในการนำเสนอ งาน 2. นำเสนอตามบทเรียนที่ได้รับมอบหมาย (งานกลุ่ม) 4,5 10%
5 ความเข้าใจ การนำไปใช้ การนำเสนอ งาน 3.กิจกรรมที่มอบหมายในบทเรียน เช่น การทำ Mind mapping , สืบค้นงานวิจัยเพื่อให้ความรู้เป็นปัจจุบัน ฯลฯ (งานรายบุคคล) ตลอดภาคการศึกษา 15%
6 คุณธรรมจริยธรรม ความรับผิดชอบ จิตพิสัย/การเข้าเรียน/การมีส่วนร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
1. หนังสือ ตำรา เอกสารประกอบการสอนและข้อมูลประกอบการสอน กัลยา  สุวรรณแสง. (2544). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ : รวมสาส์น.
คณาจารย์ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2552). จิตวิทยาทั่วไป. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์ช้างเผือก.
จิราภา  เต็งไตรรัตน์ และคณะ. (2550). จิตวิทยาทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เติมศักดิ์  คทวณิช. (2546). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
เรไร ธราวิจิตรกุล. (2544). จิตวิทยาทั่วไป. เอกสารประกอบการสอน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ  เชียงใหม่.
วิไลวรรณ  ศรีสงคราม และคณะ. (2549). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ : ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.
สุวรี  ศิวะแพทย์. (2549). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
Karen  Haftman, Mark  Vernon and Judith  Vernoy. (2000). Psychology in Action. 5 th ed. New York : John Wiley and Sons.
Lafton, Lester A. (2000). Psychology. 7 th ed. Boston : Allye and Bacon.
 Lahey, Benjamin B. (2001). Psychology : An Introduction. 7 th ed. New York :   McGraw Hill.
    - เว็บไซด์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลทางจิตวิทยาต่างๆ เช่น  กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข, สมาคมจิตวิทยาแห่งประเทศไทย
    - www.psychologytoday.com., www.socialpsychology.org
-นักศึกษาประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหา วิธีการสอน การจัดกิจกรรมการเรียน การสอน การใช้สื่อสนับสนุนการเรียนการสอน และการให้ข้อเสนอแนะของนักศึกษา โดยนักศึกษาประเมินผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ตของมหาวิทยาลัย
      -นักศึกษาเสนอแนะกิจกรรมการเรียนการสอนในสัปดาห์แรกของการเรียน
    -นักศึกษาประเมินการเรียนการสอนของผู้สอนในสัปดาห์สุดท้าย
      -นักศึกษาประเมินความพึงพอใจในกิจกรรมต่างๆ ที่สอดแทรกในบทเรียน
      -นักศึกษาประเมินการนำเสนอของเพื่อนที่นำเสนอหน้าชั้นเรียน
-สังเกตจากความสนใจ ความตั้งใจเรียน การมีส่วนร่วมในการเรียน และการอภิปรายกลุ่มในชั้นเรียน
-สังเกตจากการทำกิจกรรมในชั้นเรียน
-ประเมินผลจากการนำเสนอและผลงานที่ได้รับมอบหมาย
-ผลการสอบกลางภาคและปลายภาค  
       -ปรับปรุงเอกสาร เนื้อหา ตำรา สื่อการสอน ให้มีความทันสมัย ทันต่อปัญหาและเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันที่เกี่ยวกับจิตวิทยา
       -ให้นักศึกษาศึกษาความรู้ทางจิตวิทยาเพิ่มเติมในสิ่งที่ต้องการเรียนรู้จากกรณีศึกษา ข่าว หรือเหตุการณ์ปัจจุบัน
       -นำผลการประเมินในครั้งก่อนที่ได้จากนักศึกษามาปรับปรุง พัฒนาการเรียนการสอนให้ดีขึ้น
       -จัดให้มีการสัมนาการจัดการเรียนการสอนหรือให้คณาจารย์ได้เข้ารับการอบรมแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอน เพื่อร่วมกันหาแนวทางหรือวางแผนการพัฒนารายวิชาให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น
     -สนับสนุนการทำวิจัยในชั้นเรียน เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ
- สังเกตการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการเรียน การใช้ชีวิต การมีวินัย ความรับผิดชอบในการเรียนและการส่งงานที่ได้รับมอบหมายตรงตามเวลาที่กำหนด 
      - ระหว่างมีการเรียนการสอน ผู้สอนตรวจสอบความก้าวหน้าของนักศึกษาแต่ละคนจากแบบฝึกหัดและงานที่มอบหมาย โดยผู้สอนแจ้งผลการวัดและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง และหาแนวทางการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ร่วมกัน
       - มีการจัดตั้งคณะกรรมการในแผนก/สาขา เพื่อตรวจสอบ ประสิทธิภาพการสอนของอาจารย์ผู้สอน และผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบจากวิธีการออกข้อสอบ วิธีการวัดและประเมินผลที่อิงการให้น้ำหนักคะแนนและเกณฑ์ที่ผ่านในรายย่อย
       - แผนกวิชามีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดยพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยผู้เรียน และคณะกรรมการที่มหาวิทยาลัยแต่งตั้ง หลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์ในการสอนที่ใช้ และนำเสนอต่อสาขาวิชา และคณะกรรมการบริหารหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยแต่งตั้ง โดยให้ข้อคิดเห็นและสรุปวางแผน พัฒนาปรับปรุงพร้อมนำเสนอต่อแผนกวิชา/สาขา/คณะ เพื่อใช้ในการสอนครั้งต่อไป
      - วิชาจิตวิทยาทั่วไป ควรปรับปรุง เอกสาร ตำรา เนื้อหา กิจกรรมการสอน และสื่อการสอน ทุก 2 ปี เพราะปัญหาทางสังคมมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
      - เชิญวิทยากรผู้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาให้ความรู้แก่นักศึกษาเพิ่มเติม เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจเนื้อหาอย่างละเอียด ลึกซึ้ง และสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้