หลักฟิสิกส์

Principle of Physics

เข้าใจเรื่องจลศาสตร์  พลศาสตร์  งานและพลังงาน คลื่น  แสง  เสียง  ความร้อน  กลศาสตร์ของไหล  แม่เหล็กไฟฟ้า  และอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น เข้าใจและมีทักษะในการทดลอง มีทักษะในการแก้ปัญหาโจทย์ทางวิทยาศาสตร์ ประยุกต์วิชา หลักฟิสิกส์กับชีวิตประจำวัน วิชาชีพหรือเทคโนโลยีใหม่ๆได้ มีเจตคติต่อวิทยาศาสตร์โดยใช้ความรู้ทางฟิสิกส์
มีการปรับปรุงเนื้อหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายละเอียดเนื้อหาของวิชาที่ให้นักศึกษาจำเป็นต้องเรียนรู้เพื่อใช้เป็นพื้นฐานของการเรียนในวิชาชีพต่อไป
ศึกษาและปฏิบัติการทดลองเกี่ยวกับจลศาสตร์  พลศาสตร์  งานและพลังงาน คลื่น  แสง  เสียง  ความร้อน  กลศาสตร์ของไหล  แม่เหล็กไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น
3 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
(2) มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ (3)มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
อธิบาย ความหมาย ข้อดี ข้อเสีย แบ่งกลุ่มระดมความคิด   แนะนำและยกตัวอย่าง บอก ระเบียบการเข้าชั้นเรียน
- สอบข้อเขียน - นำเสนอในชั้นเรียน - ผลการเข้าชั้นเรียน - การส่งงานที่มอบหมายตามเวลา - การทำงานร่วมกับผู้อื่น
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ
(1) มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฏีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2.2 วิธีการสอน
สอน อธิบาย ยกตัวอย่าง ตามวิชาการ ใช้การสอนแบบสื่อสารสองทางเปิดโอกาสให้นักศึกษามีการตั้งคำถามหรือตอบคำถาม หรือแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับวิชาการ ในชั้นเรียนในโอกาสต่างๆ
2.3 วิธีการประเมินผล
- สอบย่อย - สอบข้อเขียนกลางภาค - สอบข้อเขียนปลายภาค
3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
(2) มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
3.2 วิธีการสอน
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัด และนำเสนอ
3.3 วิธีการประเมินผล
- ประเมินระบบการทำแบบฝึกหัดและการนำเสนอ
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
(3) สามารถทำงานเป็นทีมและสามรถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.2 วิธีการสอน
มอบหมายงานกลุ่มและมีการเปลี่ยนกลุ่มทำงานตามกิจกรรมที่มอบหมาย เพื่อให้นักศึกษาทำงานได้กับผู้อื่น โดยไม่ยึดติดกับเฉพาะเพื่อนที่ใกล้ชิด
4.3 วิธีการประเมินผล
ประเมินความรับผิดชอบจากรายงานกลุ่มของนักศึกษา
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
(2)สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
5.2 วิธีการสอน
-  แนะนำให้นักศึกษาใช้เครื่องคิดเลขพอสังเขป -  เปิด facebookสำหรับสอบถามปัญหาที่นักศึกษายังไม่เข้าใจในเวลาเรียน  และลงเนื้อหาพร้อมเฉลยแบบฝึกหัด
5.3 วิธีการประเมินผล
- จากการส่งงานและการใช้เครื่องคิดเลข - จากสมาชิกของกลุ่ม  facebook ที่เรียนในรายวิชานั้น
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ด้านคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะทางความสัมพันธ์และความรับผิดชอบ ทักษะเชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (1.2) , (1.3),(2.1) ,(3.2) , (4.3),(5.2) - การทำแบบฝึกหัดและงานที่ได้รับมอบหมาย - การกำหนดเวลาการส่งงานแล้วนักศึกษาส่งตรงตามเวลาที่กำหนด - การเข้าห้องเรียน และพฤติกรรมในห้องเรียน - การใช้ทรัพยากรอย่างคุมค่า เช่น ทำแบบฝึกหัดลงในสมุดที่เหลือ หรือการใช้กระดาษครบทั้ง 2 หน้า เป็นต้น - เนื้อหาของรายงานที่ได้รับมอบหมาย - ความถูกต้องของแบบฝึกหัด - ความซื่อสัตย์ในการสอบย่อย ตลอดภาคการศึกษา ร้อยละ 10
2 ทักษะทางปัญญา ทักษะเชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (2.1) ,(3.2) ,(5.2) - คะแนนการสอบย่อย - ปฏิบัติการ - สอบกลางภาค - สอบปลายภาค ตลอดภาคการศึกษา สอบย่อย20% ปฏิบัติ20% สอบกลางภาค20% สอบปลายภาค20%
3 ด้านคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา (1.2) ,(2.1) ,(3.2) ,(5.2) งานกลุ่มและการนำเสนอหน้าห้อง ตลอกภาคการศึกษา 10%
1.1 บดินทร์ชาติ  สุขบท, มทร.ธัญบุรี, ฟิสิกส์ 1สำหรับวิศวกร           1.2 Schaum’sout line series}, Physics 1 1.3 มจธ. , ฟิสิกส์ 1 1.4 สายันย์ , ฟิสิกส์ 1 สำหรับวิศวกร
          2.1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ฟิสิกส์ 1           2.2 รศ.ก่องกัญจน์ ภัทรากาญจน์  , ฟิสิกส์มหาวิทยาลัย           2.3  R.A.Serway, J.W. Jewett , Physics for Scientists and Engineers 6th ed.,
ฟิสิกส์ราชมงคล : http://www.electron.rmutphysics.com/physics/charud/scibook/electronic-physics1/content.html
ให้นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ซึ่งรวมถึง วิธีการสอน การจัดกิจกรรมในและนอกห้องเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับ และเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงรายวิชา ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย
การประเมินการสอน โดยคณะกรรมการประเมินการสอนที่แต่งตั้งโดยภาควิชา จากการสังเกตขณะสอน และการสัมภาษณ์ตัวแทนนักศึกษา
แผนกวิชากำหนดให้อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิผลของรายวิชา  มีการประชุมอาจารย์ในแผนกวิชาเพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
แผนกวิชามีคณะกรรมการประเมินการสอนทำหน้าที่ทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา  โดยการสุ่มประเมินข้อสอบและความเหมาะสมของการให้คะแนน ทั้งคะแนนดิบและระดับคะแนน ของรายวิชา 60% ของรายวิชาทั้งหมดในความรับผิดชอบของแผนกวิชา ภายในรอบเวลาหลักสูตร
แผนกวิชามีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดนพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา ผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินการสอนของแผนกวิชา การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน หลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา เสนอต่อหัวหน้าแผนกวิชา เพื่อนำเข้าที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงสำหรับใช้ในปีการศึกษาถัดไป