สังคม เศรษฐกิจ การเมือง และกฎหมาย

Society, Economy, Politics and Law

1.  เข้าใจถึงประวัตศาสตร์ชาติไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
2.  รู้ถึงซึ่งระบบสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมืองไทย
3.  เข้าใจอุดมการณ์ทางการเมือง และรูปแบบการปกครองต่าง ๆ รวมทั้งรูปแบบการปกครองของไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
4.  ตระหนักถึงความสำคัญของสถาบันทางการเมือง ตลอดจนกระบวนการทางการเมืองของไทย
5. เข้าใจถึงกระบวนการทางกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมของไทย
   เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ การเมือง กฎหมาย เป็นการเตรียม       ความพร้อมในการนำความรู้ที่เรียนไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต และการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม  ทั้งนี้ควรมีการเปลี่ยนแปลงด้านเนื้อหาให้มีความทันสมัยอยู่ตลอด เพื่อให้สอดคล้องกับสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
ศึกษาประวัติศาสตร์ไทย ระบบสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจและการเมืองไทย แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ สำรวจปัญหาที่เกี่ยวข้องในยุคของการเปลี่ยนแปลง สังคมกับการเมืองและกฎหมาย บทบาท ความรับผิดชอบ การมีส่วนร่วมต่อสังคม
- อาจารย์ประจำรายวิชาให้นักศึกษาติดต่อโดยตรง ติดต่อผ่านทาง e-mail , Line , Facebook  เพื่อให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษานอกชั้นเรียน และสื่อสาร-นัดหมายงานต่าง ๆ  โดยเฉลี่ย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
 -  อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างสังคมกับการเมืองการปกครอง ความรู้พื้นฐานทางรัฐศาสตร์และการปกครอง และนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของตน การอยู่ร่วมกันในสังคม  และการปฏิบัติตนภายใต้ระบบการเมืองการปกครองได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้คุณธรรมจริยธรรมในการดำรงชีวิตในสังคมด้วย

มีวินัย  ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างรอบคอบและมีสติ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์  มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
บรรยายพร้อมซักถามแนวคิดเกี่ยวกับสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และกฎหมาย แนวคิดพื้นฐานทางรัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ทางนิติศาสตร์ ปัญหาและการแก้ไขปัญหาทางการเมืองการปกครองไทย อภิปรายกลุ่มเรื่องปัญหาพื้นฐานทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และกฎหมาย รวบรวมข้อมูล ข่าว ด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง กฎหมาย และนำมาแลกเปลี่ยนวิเคราะห์วิจารณ์ร่วมกันในชั้นเรียน แบ่งกลุ่มเสนอแนวความคิดเกี่ยวกับสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และกฎหมายในปัจจุบันใช้สื่อการสอน เช่น power-point, clip, วีดีทัศน์ และอื่น ๆ
1.3.1 การเข้าชั้นเรียน และมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน
1.3.2   ส่งงานตามที่กำหนด
1.3.3   ประเมินจากคะแนนสอบกลางภาคและปลายภาค
1.3.4   ประเมินผลจากการวิเคราะห์ข่าว ด้านสังคมและการปกครองของนักศึกษา
1.3.5   ประเมินจากการนำเสนอและอภิปรายหน้าชั้นเรียน โดยโปรแกรม Power point  วีดีทัศน์ และอื่น ๆ
1.3.6   ประเมินจากรูปเล่มรายงานที่ถูกต้องตามระบบการเขียนรายงานและต้องมีเอกสาร อ้างอิงอย่างน้อย 5 เล่ม
2.1.1   สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
2.1.2   สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.1.3   มีความรู้เบื้องต้นในทางสังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ และนิติศาสตร์
2.1.4   เข้าใจอุดมการณ์ทางการเมือง และรูปแบบการปกครองต่าง ๆ เศรษฐกิจทุกระดับ เศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งรูปแบบการปกครองของไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน และกฎหมายในรูปแบบต่างๆ
2.1.5   ตระหนักถึงความสำคัญของสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และกฎหมายของไทย
2.1.6   สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  บรรยาย การทำงานกลุ่ม การนำเสนอหน้าชั้น การอภิปรายกลุ่ม การวิเคราะห์ โดยมอบหมายให้นักศึกษาต้องติดตามข่าว และสถานการณ์เกี่ยวกับสังคม เศรษฐกิจ การปกครอง กฎหมาย ตามหัวข้อที่เรียน โดยมุ่งการสอนแบบเน้นนักศึกษาเป็นศูนย์กลางการเรียน (Student Center) และการเรียนโดยการแก้ปัญหา (Problem base Learning)
2.3.1   กิจกรรมและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
2.3.2   รูปเล่มรายงาน/การนำเสนองานในชั้นเรียน
2.3.3   การทดสอบย่อย สอบกลางภาค และสอบปลายภาค
3.1.1   มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ
3.1.2   มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
การศึกษาวิชาสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และกฎหมาย ช่วยให้นักศึกษาคิดวิเคราะห์แบบบูรณาการความรู้ทั้งเชิงสังคม เชิงรัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ เข้าด้วยกัน เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเข้าใจความสัมพันธ์ของการดำเนินชีวิตในด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และกฎหมาย นอกจากนั้นยังสามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์สถานการณ์และปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมไทยและสังคมโลกได้
3.2.1   การบรรยายประกอบสื่อการสอน และการอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน
3.2.2   ให้นักศึกษาทำงานกลุ่มแบ่งหน้าที่กันทำงานและนำเสนอผลงานโดยส่งรูปเล่มรายงานก่อนรายงาน 1 สัปดาห์ และนำเสนอรายงานในรูป Power point
3.2.3   ให้นักศึกษาดู Clip , โฆษณา ฯลฯ แล้วร่วมวิพากษ์วิเคราะห์ในชั้นเรียน
3.2.4   เกมส์ / กิจกรรมต่างๆ ในชั้นเรียน
3.3.1   การทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วมของนักศึกษา
3.3.2   รูปเล่มรายงาน ถูกต้องตามระบบการเขียนรายงาน เนื้อหาครบถ้วน 
3.3.3   สอบกลางภาคและการสอบปลายภาค
4.1.1   มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อผู้อื่น
4.1.2   มีความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3   สามารถทำงานเป็นทีมร่วมกับผู้อื่นได้ และสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม
4.1.4   สามารนำความรู้ในศาสตร์มาพัฒนาตนเองและช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
- พัฒนาทักษะการมีมนุษย์สัมพันธ์
- พัฒนาทักษะความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อสังคม
- พัฒนาทักษะจิตสาธารณะทำประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม
- พัฒนาทักษะคุณธรรม  จริยธรรม  จรรยาวิชาชีพ  ระเบียบวินัยในชีวิตและสังคม
4.2.1   จัดการสอนแบบกิจกรรมกลุ่ม
4.2.2   กำหนดปฏิทินเวลานำเสนอ
4.2.3   ผู้สอนและนักศึกษาช่วยกันเสริมเนื้อหาให้ครบถ้วน โดยใช้ power point ของผู้สอนสรุป เพื่อเพิ่มเนื้อหาให้ครอบคลุม 
4.2.4   กรณีศึกษา
           - สื่อจาก Clip โฆษณา และวีดีทัศน์
4.3.1  ให้นักศึกษาช่วยกันประเมินตามแบบประเมินการนำเสนอ
4.3.2  ผู้สอนประเมินตามแบบการนำเสนอ
4.3.3  สังเกตจากความสนใจ ความตั้งใจและการมีส่วนร่วมของผู้เรียน
4.3.4  การคิดวิเคราะห์จากกรณีศึกษา Clip โฆษณา และวีดีทัศน์
5.1.1   พัฒนาทักษะการใช้ Internet โดยการสืบค้นข้อมูล 
5.1.2   พัฒนาทักษะการเลือกรับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งสืบค้นต่าง ๆ โดยเฉพาะการใช้สื่อ
           จาก Internet  ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนด้านการเพิ่มพูนความรู้
5.2.1   ให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเนื้อหาเพิ่มเติมจาก Website หรือสื่ออื่น ๆ เช่น CD, VCD,                          วีดีทัศน์  และเทปเสียง
5.2.2   การนำเสนอรายงานทุกครั้งให้ใช้ Computer และ Power point และ/หรือ Clip
 
5.3.1   ดูจากการทำ Power point นำเสนอผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3.ด้านปัญญา 4.ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3
1 GEBSO103 สังคม เศรษฐกิจ การเมือง และกฎหมาย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 การทดสอบย่อย ครั้งที่ 1 การทดสอบย่อยครั้งที่ 2 การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค การทดสอบย่อย ครั้งที่ 1 การทดสอบย่อยครั้งที่ 2 การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค สัปดาห์ที่ 5 สัปดาห์ที่ 14 สัปดาห์ที่ 8 สัปดาห์ที่ 17 10% : 10% : 20% : 30%
2 วิเคราะห์กรณีศึกษา/ค้นคว้า/การนำเสนอ แบ่งกลุ่มอภิปราย โดยใช้ Power point วิเคราะห์กรณีศึกษา/ค้นคว้า/การนำเสนอ แบ่งกลุ่มอภิปราย โดยใช้ Power point ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 การเข้าชั้นเรียน , จิตพิสัย การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน การเข้าชั้นเรียน , จิตพิสัย การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
หนังสือสังคมกับการปกครอง (Society and Government)
           โดย รองศาสตราจารย์ สยาม ดำปรีดา
สยาม ดำปรีดา.  สังคมกับการปกครอง.  กรุงเทพฯ: ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล, 2551.
ปรีชา เรืองจันทร์. การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม. พิษณุโลก : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2560
            - หนังสือและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสังคมกับการปกครอง และรัฐศาสตร์เบื้องต้น เช่น
ชมรมลูกพ่อขุนประยุกต์.  การบริหารราชการ. สรุป การเมืองการปกครองไทย (PS 110).  กรุงเทพฯ:
ชมรมลูกพ่อขุนประยุกต์, 2544.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.  การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินไทย.  เอกสารการสอนชุดวิชา มนุษย์กับสังคม หน่วยที่ 1-7.  กรุงเทพฯ: สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2544.
           -  เว็บไซด์ที่เกี่ยวกับสังคมกับการปกครองและเว็บไซด์อื่น ๆ
การประเมินผลรายวิชานี้จัดทำโดยนักศึกษา

นักศึกษาเป็นผู้ทำแบบประเมินการนำเสนอ นักศึกษาเป็นผู้เสนอแนะกิจกรรมในการเรียนการสอน
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน มีกลยุทธ์ดังนี้
2.1   สังเกตจากการมีส่วนร่วมในการเรียนในการอภิปรายรายกลุ่มใหญ่
2.2   สังเกตจากการทำกิจกรรมในชั้นเรียน
2.3   ประเมินจากผลการนำเสนอ
2.4   ผลการสอบกลางภาคและปลายภาค
การปรับปรุงการสอนวิชานี้ คือ
3.1   แก้ไขเนื้อหาให้มีความทันสมัย ทันเหตุการณ์เสมอ ยกตัวอย่างกรณีศึกษาให้ทันสมัย
3.2   ให้นักศึกษาเพิ่มเติมในสิ่งที่ต้องการเรียนรู้
3.3   ทำวิจัยในชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการเรียนการสอนมีการตรวจแบบฝึกหัดและงานกลุ่ม ผู้สอนตรวจสอบคะแนน
ของนักศึกษาแต่ละคน และแจ้งผลการได้รับคะแนนเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
5.1   วิชาสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และกฎหมาย ต้องปรับปรุงเนื้อหาทุก 3 ปี
5.2   เชิญวิทยากรผู้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาให้ความรู้
5.3   จัดดำเนินโครงการในชั้นเรียนที่มีความหลากหลาย
5.4   ให้นักศึกษาเข้าไปมีส่วนในการพัฒนามหาวิทยาลัย พัฒนาชุมชนและสังคม