คณิตศาสตร์วิศวกรรม 1

Engineering Mathematics 1

หลังจากเรียนรายวิชานี้แล้วผู้เรียนสามารถ 1. เข้าใจฟังก์ชัน ลิมิต ความต่อเนื่องของฟังก์ชัน 2. เข้าใจความหมายของอนุพันธ์ 3. คำนวนหาอนุพันธ์ของฟังก์ชันต่างๆ ได้ 4. เข้าใจความหมายของปริพันธ์ 5. คำนวนหาปริพันธ์ของฟังก์ชันต่างๆ ได้ 6. นำการประยุกต์ของอนุพันธ์และปริพันธ์ไปใช้  
พื่อจัดทำรายวิชาให้เป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ  พัฒนาการเรียนรู้ ส่งเสริมประสบการณ์ในด้านการฝึกสมองอันเป็นแนวทางทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และแก้ปัญหาต่างๆ ได้ด้วยตนเอง เพื่อเป็นพื้นฐานการศึกษาวิชาชีพทางด้านวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์
ศึกษาเกี่ยวกับ ตัวแปรและฟังก์ชัน กราฟของฟังก์ชัน ระบบพิกัดสี่เหลี่ยมและพิกัดเชิงขั้ว ลิมิตและความต่อเนื่อง ลิมิตของลำดับและอนุกรม อัตราการเปลี่ยนแปลง อนุพันธ์ กฎลูกโซ่ ฟังก์ชันปริยายและฟังก์ชันผกผัน อนุพันธ์อันดับสูงและจุดหยุดนิ่ง กฎของโลปิตาล ทฤษฎีบทค่ากลางและทฤษฎีบทโรลล์ เส้นกำกับและการเขียนกราฟ อัตราสัมพันธ์ การประยุกต์ของอนุพันธ์ การประยุกต์อนุพันธ์ของรูปแบบไม่กําหนด อินทิกรัล การอินทิเกรตเชิงตัวเลข เทคนิคการอินทิเกรต การหาพื้นที่และปริมาตร แนะนำสู่การอินทิเกรตตามเส้น อินทิกรัลไม่ตรงแบบ การประยุกต์ใช้งานทางด้านวิศวกรรมในหัวข้อต่าง ๆ
-   อาจารย์ประจำรายวิชาประกาศเวลาให้คำปรึกษา
-   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
-มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
-สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม
-บอกข้อปฏิบัติในการเรียน การเข้าห้องเรียนและเช็คชื่อเข้าเรียน การส่งงานที่มอบหมาย
-ยกตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับทางวิศวกรรม
-ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
-ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
-มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน เศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
-มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ ในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม
-สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
-บรรยาย
-มอบหมายงานตามเนื้อหา
-การสอบ
-งานตรวจงานที่มอบหมาย
-ซักถามและรายงานผลงานที่ได้รับมอบหมาย
-สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
-สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง  เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต  และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ
-อธิบาย นิยาม ความหมาย กฎและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
-การยกตัวอย่างในเนื้อหารายวิชาให้แสดงการคิด แก้ปัญหาอย่างมีระบบ
-มอบหมายงานให้นักศึกษาตามหัวข้อ
-สอบกลางภาคและปลายภาคโดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์
-วัดผลจากการประเมินการแก้ไขโจทย์  การนำเสนอผลงาน
-สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
-รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
มอบหมายงานตามหัวข้อ โดยสามารถช่วยกันทำและแลกเปลี่ยนความรู้ได้
นำเสนองานที่มอบหมายให้และตอบคำถาม
-มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
-สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
-บรรยาย และยกตัวอย่างการคำนวณ
-สาธิตการใช้อุปกรณ์ในการคำนวณ และการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางคณิตศาสตร์
นำเสนองานที่มอบหมายให้และตอบคำถาม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2
1 ENGCC510 คณิตศาสตร์วิศวกรรม 1
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆขององค์กรและสังคม เช็คชื่อนักศึกษา การมีส่วนร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน ความสนใจ ความรับผิดชอบ ทุกสัปดาห์ 10
2 -สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาทางด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ -สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง -สามารถนำเสนอผลงานโดยใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสารทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการในวิชาชีพได้อย่างเหมาะสม สามารถใช้เครื่องมือการคำนวนและเครื่องมือทางวิศวกรรมได้ - การศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมและงานที่มอบหมาย - การทำงานกลุ่ม - การส่งงานครบถ้วน ทุกสัปดาห์ 30
3 -มีความรู้ความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐานและเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางการผลิตและนวัตกรรมอาหาร และทางเทคโนโลยี -สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาทางด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอบกลางภาค 8 30
4 -มีความรู้ความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐานและเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางการผลิตและนวัตกรรมอาหาร และทางเทคโนโลยี -สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาทางด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอบปลายภาค 17 30
นิตยา แจ่มยวง. แคลคูลัส 1 . พิมพ์ครั้งที่ 1 สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น, 2552 โครงการตำรา. แคลคุลัส 1. พิมพ์ครั้งที่ 2 ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , 2553 Thomas’ CALCULUS 11th edition
-
-
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ 1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนได้มีกลยุทธ์  ดังนี้ 2.1   การสังเกตความสนใจของผู้เรียน 2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้ 3.1   สัมมนาแลกเปลี่ยนการจัดการเรียนการสอนระหว่างผู้เรียนและผู้สอน 3.2   การปรับปรุงวิธีการสอน และเอกสารการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจาก      การเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากงานที่ได้มอบหมาย และผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยมีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชาตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชาได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น   โดยปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 รวมถึงนำผลการเรียนของนักศึกษามาปรับปรุงประสิทธิภาพของรายวิชา