โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่องานบัญชี

Software Package for Accounting

เพื่อให้นักศึกษาศึกษาและฝึกปฏิบัติลักษณะโดยทั่วไปและการใช้งานของโปรแกรมสำเร็จรูปประเภทต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์สำหรับงานด้านบัญชี โดยเฉพาะโปรแกรมสำเร็จรูปทางด้านบัญชี กรณีตัวอย่าง การบันทึกรายการค้าของประเภทธุรกิจต่าง ๆ รวมถึง การจัดเก็บการรายงานข้อมูลทางการเงิน รวมถึงเทคโนโลยีสารสนเทศระบบฐานข้อมูลเบื้องต้น หลักการพื้นฐานของระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กร ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำกระบวนการบริหารจัดการทรัพยากรภายในองค์กรมาใช้ การประยุกต์ใช้งานด้านบัญชีกับระบบการบริหารทรัพยากรองค์กร และศึกษาตัวอย่างจากธุรกิจรวมถึงความรับผิดชอบตามมาตรฐานการเรียนรู้ในแต่ละด้านดังนี้ (ตาม Domain of Leaning)
ด้านคุณธรรมจริยธรรม
ข้อ 1 (2) มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม
ข้อ 1 (3) สามารถบริหารเวลาและปรับวิถีชีวิตอย่างสร้างสรรค์ในสังคม
ด้านความรู้
ข้อ 2 (1) มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางการบัญชี
ข้อ 2 (2) มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชีโดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
ข้อ 2 (3) มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่นๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์
ข้อ 2 (4) การเรียนรู้และการสอนจากกรณีศึกษา
ด้านทักษะทางปัญญา
ข้อ 3 (1) สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูล และแนวคิดต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการระบุและวิเคราะห์ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ด้วยตนเอง
ข้อ 3 (2) สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ใช้ทักษะทางวิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหารวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ในสถานการณ์ต่างๆ อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ
ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
ข้อ 4 (1) สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อ 4 (2) มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี
ข้อ 4 (3) มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ และในบทบาทของผู้ร่วมงาน
ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ข้อ 5 (2) การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับปัญหาและกลุ่มผู้ฟังที่แตกต่างกัน
ข้อ 5 (3) สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล แปลความหาย และการสื่อสารสารสนเทศ
เพื่อให้สอดคล้องกับคำอธิบายรายวิชาในหลักสูตรและเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรีของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ศึกษาและฝึกปฏิบัติลักษณะโดยทั่วไปและการใช้งานของโปรแกรมสำเร็จรูปประเภทต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์สำหรับงานด้านบัญชี โดยเฉพาะโปรแกรมสำเร็จรูปทางด้านบัญชี กรณีตัวอย่าง การบันทึกรายการค้าของประเภทธุรกิจต่าง ๆ รวมถึง การจัดเก็บการรายงานข้อมูลทางการเงิน รวมถึงเทคโนโลยีสารสนเทศระบบฐานข้อมูลเบื้องต้น หลักการพื้นฐานของระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กร ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำกระบวนการบริหารจัดการทรัพยากรภายในองค์กรมาใช้ การประยุกต์ใช้งานด้านบัญชีกับระบบการบริหารทรัพยากรองค์กร
จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามความต้องการโดยกำหนดเวลาไว้วันละ 1 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 15.30-16.30 น.
คุณธรรมจริยธรรมที่ต้องพัฒนา
ข้อ 1 (2) มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม
ข้อ 1 (3) สามารถบริหารเวลาและปรับวิถีชีวิตอย่างสร้างสรรค์ในสังคม
1.เน้นความสำคัญของการตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงาน
2.สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ในเนื้อหาวิชาเรียน
3.ให้นักศึกษาปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อตกลงของรายวิชา
สังเกตจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงาน รวมถึงการปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ประเมินจากการตรงต่อเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนด
ความรู้ที่ต้องได้รับ
ข้อ 2 (1) มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางการบัญชี
ข้อ 2 (2) มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชีโดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
ข้อ 2 (3) มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่นๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์
ข้อ 2 (4) การเรียนรู้และการสอนจากกรณีศึกษา
เน้นหลักการทางทฤษฎี การให้กรณีศึกษาเพื่อเกิดองค์ความรู้ ให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลโดยการทำงาน ทั้งงานเดี่ยวและงานกลุ่ม ให้นักศึกษาทำงานกลุ่มโดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลจากการเรียนภาคทฤษฎี และกรณีศึกษา เพื่อจัดทำรายงานนำเสนอ
ประเมินจากการทดสอบกลางภาคและปลายภาค ประเมินจากงานที่มอบหมาย
ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา
ข้อ 3 (1) สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูล และแนวคิดต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการระบุและวิเคราะห์ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ด้วยตนเอง
ข้อ 3 (2) สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ใช้ทักษะทางวิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหารวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ในสถานการณ์ต่างๆ อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ
ให้นักศึกษาฝึกการเรียนรู้ และกระบวนการคิด วิเคราะห์จากระดับง่ายไปสู่ระดับที่ยากขึ้น ผ่านกรณีศึกษาที่ให้นักศึกษา ให้นักศึกษาคิดวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับ ไปใช้ในการวิเคราะห์ด้วยตนเอง รวมทั้งการสนำเสนอในรูปแบบรายงาน
ประเมินจากการส่งงาน และการมีส่วนร่วมในกลุ่ม ประเมินจากการเอาใจใส่ การซักถาม และรูปเล่มรายงานที่นำเสนอ
ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา
ข้อ 4 (1) สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อ 4 (2) มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี
ข้อ 4 (3) มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ และในบทบาทของผู้ร่วมงาน
มอบหมายงานแบบกลุ่มงานย่อย และกลุ่มงานใหญ่ ผลัดกันเป็นผู้รายงาน และนำเสนอ มอบหมายกรณีศึกษาใหม่ ๆ เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ให้ศึกษาการแก้ปัญหาจากโจทย์และกรณีศึกษาที่ได้รับ
ประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมายและระยะเวลาในการส่งงาน ประเมินจากการนำเสนอรายงาน สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องพัฒนา
ข้อ 5 (2) สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับปัญหาและกลุ่มผู้ฟังที่แตกต่างกัน
ข้อ 5 (3) สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล แปลความหาย และการสื่อสารสารสนเทศ
มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะในการวิเคราะห์หรือคำนวณ

2.มีการเปิดโอกาสให้นักศึกษาศึกษา ค้นคว้า และอภิปรายความคิดเห็น
ประเมินจากกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณ ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 1.ด้านคุณธรรมจริยธรรม
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 1 3 2 3 4 1
1 BACAC144 โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่องานบัญชี
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ข้อ 1 (1) (2) ข้อ 2 (1) (2) (3) (4) ข้อ 3 (1) (2) ข้อ 4 (1) (2) (3) ข้อ 5 (2) (3) - ทำแบบทดสอบกลางภาคบทที่ 1 – 5 และ ทำแบบทดสอบปลายภาคบทที่ 6 – 9 9 และ 17 35 คะแนน และ 35 คะแนน
2 ข้อ 1 (1) (2) ข้อ 2 (1) (2) (3) (4) ข้อ 3 (1) (2) ข้อ 4 (1) (2) (3) ข้อ 5 (2) (3) - ประเมินจากการเช็คชื่อเข้าชั้นเรียน - ประเมินจากการส่งแบบฝึกหัด - ประเมินจากงานกลุ่ม ตลอดภาคการศึกษา 30 คะแนน
เอกสารประกอบการสอน รายวิชาโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่องานบัญชี โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์อัจฉราภรณ์ พูลยิ่ง
บริษัท เอ็กซ์เพรสซอฟท์แวร์กรุ๊ป จำกัด.คู่มือโปรแกรมสำเร็จรูป Express For Windows.กรุงเทพฯ.
Web ไทย 1) สภาวิชาชีพบัญชี www.fap.or.th 2) กรมสรรพากร www.rd.go.th 3) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ www.sec.or.th 4) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย www.set.or.th 5) ธนาคารแห่งประเทศไทย www.bot.or.th 6) กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ www.dbd.go.th Web ต่างประเทศ 1. International Accounting Standards Board www.iasb.org 3. The International Federation Of Accountants www.ifac.org 4. U.S. Securities Exchange Commission www.sec.gov
การประเมินประสิทธิผลในรายวิชานี้ได้ดำเนินการดังนี้

การสอบถามความคิดเห็นจากนักศึกษาเป็นรายคนและรายกลุ่ม

แบบประเมินผู้สอนของมหาวิทยาลัย
การประเมินการสอนในรายวิชานี้ได้ดำเนินการดังนี้

สังเกตการมีส่วนร่วมในการทำงาน การตรวจงานที่มอบหมาย การตรวจความมีระเบียบวินัย การตรงต่อเวลา และปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย ทดสอบวัดผลการเรียน
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จะมีการปรับปรุงการสอนโดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมองและหาข้อมูลเพิ่มเติม ดังนี้

ประชุมผู้สอนในสาขาเพื่อพิจารณาผลในภาพรวมและนำไปสู่การปรับปรุงการเรียนการสอนต่อไป

การวิจัยในชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชามีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาดังนี้

ทดสอบความรู้ของนักศึกษาอย่างสม่ำเสมอ โดยการทวนถามและให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น ทดสอบความรู้ของนักศึกษา โดยการสุ่มด้วยวิธีการสัมภาษณ์หลังจากส่งผลการเรียนแล้ว
จากการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้

ปรับปรุงวิธีการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับยุคสมัย ปรับปรุงวิธีการเรียนการสอนตามข้อเสนอและและผลการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ ปรับปรุงเอกสารประกอบการสอนและสื่อการสอนต่างๆ ให้ทันสมัยอยู่เสมอ