การบัญชีชั้นสูง 1

Advanced Accounting 1

เพื่อศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดทำงบการเงินจากกรายการที่บันทึกไว้ไม่สมบูรณ์ รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า การบัญชีเกี่ยวกับธุรกิจฝากขาย ธุรกิจขายผ่อนชำระ สัญญาเช่า การใช้โปรแกรมสเปรดชีตในการจัดทำตารางชำระเงินต้นและดอกเบี้ย รวมถึงการคำนวณหาอัตราผลตอบแทนคิดลด การบัญชีสำนักงานใหญ่สาขาและตัวแทนทั้งในและต่างประเทศ รายการที่เป็นเงินตราต่างประเทศและการแปลงค่างบการเงิน การบัญชีสำหรับป้องกันความเสี่ยงของสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า การบัญชีเกี่ยวกับสัญญาก่อสร้าง ผลประโยชน์พนักงาน การบัญชีกองทุนและกิจการไม่หวังผลกำไร
เพื่อให้สอดคล้องกับคำอธิบายรายวิชาในหลักสูตรและเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรีของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
 
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดทำงบการเงินจากกรายการที่บันทึกไว้ไม่สมบูรณ์ รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า การบัญชีเกี่ยวกับธุรกิจฝากขาย ธุรกิจขายผ่อนชำระ สัญญาเช่า การใช้โปรแกรมสเปรดชีตในการจัดทำตารางชำระเงินต้นและดอกเบี้ย รวมถึงการคำนวณหาอัตราผลตอบแทนคิดลด การบัญชีสำนักงานใหญ่สาขาและตัวแทนทั้งในและต่างประเทศ รายการที่เป็นเงินตราต่างประเทศและการแปลงค่างบการเงิน การบัญชีสำหรับป้องกันความเสี่ยงของสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า การบัญชีเกี่ยวกับสัญญาก่อสร้าง ผลประโยชน์พนักงาน การบัญชีกองทุนและกิจการไม่หวังผลกำไร
จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามความต้องการโดยกำหนดเวลาไว้วันละ 1 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 15.30-16.30 น.
ข้อ 1 (3) แสดงออกถึงความเป็นคนซื่อสัตย์ สุจริต เที่ยงธรรม ระมัดระวังรอบคอบในการทำงานและมีความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ และสังคม
เน้นความสำคัญของการตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงาน ให้นักศึกษาปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อตกลงของรายวิชา
สังเกตจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงาน รวมถึงการปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ประเมินจากการตรงต่อเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนด
ข้อ 2 (1) มีความรู้และความเข้าใจและมีทักษะการปฏิบัติด้านการบัญชี เพียงพอที่จะประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน
ข้อ 2 (2) มีความรู้และความเข้าใจในศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องเพียงพอที่จะประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน
ข้อ 2 (3) มีความรู้และความเข้าใจในการจัดทำและนำเสนอสารสนเทศทางบัญชีที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้
ข้อ 2 (4) มีความสามารถในการประยุกต์หลักคณิตศาสตร์และสถิติในการประกอบวิชาชีพบัญชี
1) เน้นหลักการทางทฤษฎีและภาคปฏิบัติให้เป็นไปตามเนื้อหาสาระของคำอธิบายรายวิชา
2) ให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล จัดทำรายงาน โดยการทำงานเป็นกลุ่ม
ประเมินจากการทดสอบกลางภาคและปลายภาค ประเมินจากงานที่มอบหมาย
ข้อ 3 (1) มีทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ การประยุกต์ใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสม
ข้อ 3 (2) มีความสามารถในการสืบค้นและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสม
ข้อ 3 (3) มีความสามารถในการเรียนรู้และติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาชีพบัญชีและศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องและรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมและของโลก
ให้นักศึกษาเรียนรู้จากข้อมูลของแต่ละกลุ่มที่นำเสนอหน้าชั้นเรียน ให้นักศึกษาคิดวิเคราะห์ข้อมูลของแต่ละกลุ่มที่นำเสนอและเสนอแนะข้อคิดเห็นในสถานการณ์ต่างๆ อย่างสร้างสรรค์
ประเมินจากการนำเสนอข้อมูลของแต่ละกลุ่มหน้าชั้นเรียน ประเมินจากการซักถาม และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกลุ่ม
ข้อ 4 (1) มีความอดทน ความรับผิดชอบ ทักษะทางสังคม และจิตสาธารณะ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆ วัฒนธรรมองค์กร และการทำงานร่วมกับผู้อื่น
ข้อ 4 (2) มีหลักคิดและวิธีการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ สามารถทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมายภายในระยะเวลาที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ
กำหนดให้นักศึกษาทำงานเป็นกลุ่มโดยให้หมุนเวียนการเป็นผู้นำเสนอ
ประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมายและระยะเวลาในการส่งงาน ประเมินจากการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน
ข้อ 5 (2) มีความสามารถในการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการบัญชีโดยเฉพาะเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีในปัจจุบัน เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานด้านวิชาชีพบัญชีให้มีประสิทธิภาพ
ข้อ 5 (3) มีความสามารถสื่อสาร อย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน โดยเลือกใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับสถานการณ์
-
-
-
-
-
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3.ทักษะ ทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลและ ความรับผิดชอบ 5.ทักษะ การวิเคราะห์ เชิงตัวเลข การสื่อสารและ การใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 2 1 3 1 2 3
1 BACAC130 การบัญชีชั้นสูง 1
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ข้อ 1 (2) ข้อ 2 (1) (2) (3) (4) ข้อ 3 (2) ข้อ 4 (2) - ทำแบบทดสอบกลางภาคบทที่ 1 – 5 - ทำแบบทดสอบ ย่อย บทที่ 6 - ทำแบบทดสอบปลายภาคบทที่ 7 – 9 9,13,17 40, 10 , 30
2 ข้อ 1 (2) ข้อ 2 (1) (2) (3) (4) ข้อ 3 (2) ข้อ 4 (2) - ประเมินจากการเช็คชื่อเข้าชั้นเรียน - ประเมินจากการส่งแบบฝึกหัด - ประเมินจากงานกลุ่ม ตลอดภาคการศึกษา 20 คะแนน
เอกสารประกอบการสอน การบัญชีชั้นสูง 1 โดย ผศ.ธิตินันท์ กุมาร
ขวัญสกุล เต็งอำนวย. 2554. การบัญชีขั้นสูง1. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ทัศนีย์นารถ ลิ้มสุทธิวันภูมิ. 2557. การบัญชีขั้นสูง1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
มาลีมาส สิทธิสมบัติ. การบัญชีขั้นสูง 1. เชียงใหม่: ภาควิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. มาตรฐานทางวิชาชีพบัญชี.แหล่งที่มา http://www.fap. or.th/index.php.
สุรชัย เอมอักษร. 2555. การบัญชีชั้นสูง 1. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.
1) สภาวิชาชีพบัญชี www.tfac.or.th 2) กรมสรรพากร www.rd.go.th 3) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ www.sec.or.th 4) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย www.set.or.th 5) ธนาคารแห่งประเทศไทย www.bot.or.th 6) กรมศุลกากร www.customs.go.th 7) กรมสรรพาสามิต www.excise.go.th 8) กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ www.dbd.go.th 9) กระทรวงแรงงาน www.mol.go.th
การประเมินประสิทธิผลในรายวิชานี้ได้ดำเนินการดังนี้

การสอบถามความคิดเห็นจากนักศึกษาเป็นรายคนและรายกลุ่ม แบบประเมินผู้สอนของมหาวิทยาลัย
การประเมินการสอนในรายวิชานี้ได้ดำเนินการดังนี้

สังเกตการมีส่วนร่วมในการทำงาน การตรวจงานที่มอบหมาย การตรวจความมีระเบียบวินัย การตรงต่อเวลา และปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย ทดสอบวัดผลการเรียน
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จะมีการปรับปรุงการสอนโดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมองและหาข้อมูลเพิ่มเติม ดังนี้

ประชุมผู้สอนในสาขาเพื่อพิจารณาผลในภาพรวมและนำไปสู่การปรับปรุงการเรียนการสอนต่อไป
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชามีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาดังนี้

ทดสอบความรู้ของนักศึกษาอย่างสม่ำเสมอ โดยการทวนถามและให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น ทดสอบความรู้ของนักศึกษา โดยการสุ่มด้วยวิธีการสัมภาษณ์หลังจากส่งผลการเรียนแล้ว
จากการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้

ปรับปรุงวิธีการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับยุคสมัย ปรับปรุงวิธีการเรียนการสอนตามข้อเสนอและและผลการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ ปรับปรุงเอกสารประกอบการสอนและสื่อการสอนต่างๆ ให้ทันสมัยอยู่เสมอ