การควบคุมอัตโนมัติ

Automatic Control

1.1 รู้จักระบบควบคุมอัตโนมัติ 1.2 เข้าใจหลักการวิเคราะห์และการจำลองส่วนประกอบของระบบควบคุมเชิงเส้น 1.3 สามารถวิเคราะห์เสถียรภาพของระบบควบคุมป้อนกลับเชิงเส้น 1.4 สามารถวิเคราะห์และออกแบบระบบควบคุมเชิงเส้นในโดเมนเวลาและโดเมนความถี่ 1.5 สามารถออกแบบและชดเชยระบบควบคุมโดยใช้คอมพิวเตอร์ในการจำลองการทำงาน
ศึกษาเกี่ยวกับหลักการของระบบควบคุมอัตโนมัติ  การวิเคราะห์และการจำลองส่วนประกอบของระบบควบคุมเชิงเส้น เสถียรภาพของระบบควบคุมป้อนกลับเชิงเส้น การวิเคราะห์และออกแบบระบบในโดเมนเวลาและโดเมนความถี่  การออกแบบและการชดเชยระบบควบคุม  การใช้คอมพิวเตอร์ในการจำลองการทำงานของระบบควบคุม
Study principles of automatic control system, analysis and modelling of linear control elements, stability of linear feedback system, time domain and frequency domain analysis and design, compensator design of control systems, computational modelling and simulating of control systems.
การให้คำปรึกษาจะจัดสรรเวลาตามความต้องการของนักศึกษารายบุคคล โดยให้มีการนัดหมายล่วงหน้าเพื่อให้คำปรึกษานักศึกษานอกชั่วโมงบรรยายเฉลี่ย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้ง ตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม
ปลูกฝังให้นักศึกษาเห็นความสำคัญของการมีวินัย และตรงต่อเวลา โดยกำหนดให้มีการส่งงานมอบหมายและเข้าชั้นเรียนให้ตรงตามเวลา ปลูกฝังให้นักศึกษาเคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ โดยการส่งเสริมให้นักศึกษาแต่งกายตามระเบียบของมหาวิทยาลัย ฝึกให้นักศึกษาวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมจากการบรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา ที่จะต้องใช้ความรู้ด้านการควบคุมอัตโนมัติ ปลูกฝังให้นักศึกษามีจรรยาบรรณทางวิชาชีพและมีความรับผิดชอบ โดยการยกตัวอย่างเกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่มีผลกระทบหรือเกี่ยวข้องกับการทำงานทางวิชาชีพวิศวกรรม ฝึกให้นักศึกษาทำงานกลุ่มตามที่ได้รับมอบหมายโดยให้มีการนำเสนอปัญหาและแนวทาง
ประเมินการเข้าเรียน และการส่งงานที่ได้รับมอบหมายได้ตรงเวลาที่กำหนด ประเมินจากการแต่งกายของนักศึกษาและพฤติกรรมกลุ่มขณะอยู่ในชั้นเรียน ประเมินจากผลการวิเคราะห์กรณีศึกษาจากงานที่ได้รับมอบหมาย ประเมินผลจากการนำเสนองานที่มอบหมายและทัศนคติของนักศึกษา ประเมินจากการนำเสนอการแก้ไขปัญหางานที่ได้รับมอบหมาย
2.1.1   มีความรู้และความเข้าใจในคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษฐศษสตร์ เพื่อประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี 2.1.2   มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎี และปฏิบัติ ในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านวิศวกรรม 2.1.3   สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 2.1.4   สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตนในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
2.2.1   บรรยายหลักการทางทฤษฎีของการควบคุมอัตโนมัติ ร่วมกับการสอดแทรกการใช้คณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน และวิศวกรรมพื้นฐานในการแก้ปัญหา รวมถึงให้มีการสอดแทรกแนวคิดด้านเศรษฐศาสตร์ เมื่อมีการนำการควบคุมอัตโนมัติมาประยุกต์ใช้ในการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี 2.2.2   บรรยายทางทฤษฎีรวมถึงแนวความคิดในการประยุกต์ใช้ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจถึงหลักการและความสำคัญของระบบการควบคุมอัตโนมัติทั้งเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ 2.2.3   มอบหมายงานให้นักศึกษาได้ใช้ความรู้จากกระบวนวิชาอื่นที่ได้ศึกษามาแล้วเชิงวิศวกรรม มาประยุกต์ใช้กับการควบคุมอัตโนมัติ 2.2.4   มอบหมายให้นักศึกษาประดิษฐ์อุปกรณ์การควบคุมอัตโนมัติขนาดเล็ก เพื่อให้เข้าใจแนวคิดของระบบควบคุมอัตโนมัติ และให้สามารถแก้ไขปัญหาของระบบนั้นๆ โดยอาศัยหลักการทางทฤษฎีได้อย่างถูกต้อง
 
2.3.1   มีการสอบกลางภาค และสอบปลายภาค สำหรับวัดความรู้ และความเข้าใจภาคทฤษฎี 2.3.2    ประเมินจากความสำเร็จของงานมอบหมายสำหรับแนวความคิดและการประยุกต์ใช้การควบคุมอัตโนมัติ รวมถึงแนวความคิดการแก้ไขปัญหาของระบบควบคุมอัตโนมัติในลักษณะ Problem-based Learning
3.1.1   มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี 3.1.2   สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3.1.3    สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
3.2.1  บรรยายโดยเน้นความสำคัญของการคิด วิเคราะห์ และการแก้ไขปัญหาของระบบควบคุมอัตโนมัติ โดยฝึกให้นักศึกษาได้ใช้การตัดสินใจ 3.2.2   มอบหมยให้นักศึกษาทำโครงงานพิเศษที่ส่งเสริมให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา รวมถึงให้มีการนำเสนอผลงาน 3.2.3   สอดแทรกเทคนิคและแนะนำแหล่งข้อมูลที่นักศึกษาสามารถทำการค้นคว้าด้วยตนเองได้ 3.2.4   สอดแทรกเทคนิคจากการวิเคราะห์กรณีศึกษา
3.3.1   สอบกลางภาคและปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ 3.3.2   วัดผลจากการประเมินโครงการพิเศษ และ การนำเสนอผลงาน 3.3.3    สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1  สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม 4.1.2   สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่างๆ 4.1.3   สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง 4.1.4   รู้จักบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
4.2.1   มอบหมายให้นักศึกษาทำโครงการพิเศษในรูปแบบกลุ่ม 4.2.2   ให้นักศึกษานำเสนอโครงการพิเศษในรูปแบบกลุ่ม โดยให้มีการสอดแทรกการใช้ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในการนำเสนอ เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาได้มีโอกาสใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารอย่างถูกต้อง 4.2.3   ให้นักศึกษานำเสนอโครงการพิเศษ โดยเน้นแนวคิดของการแก้ปัญหา และการประยุกต์ใช้การควบคุมอัตโนมัติในงานที่ได้นำเสนอ และกำหนดให้นักศึกษานำเสนอรูปแบบการประยุกต์ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกต่อการแก้ปัญหาเชิงวิศวกรรม 4.2.4    ให้นักศึกษานำเสนอแผนงานการจัดทำโครงการพิเศษและผู้รับผิดชอบในแต่ละส่วนงาน
4.3.1   ประเมินผลจากการจัดทำโครงการพิเศษและการมีส่วนร่วมของสมาชิกในกลุ่ม 4.3.2   ประเมินผลจากการนำเสนอโครงการพิเศษของนักศึกษา 4.3.3    ประเมินผลจากแนวความคิดในการประยุกต์ใช้การควบคุมอัตโนมัติต่องานที่นำเสนอ และประโยชน์เชิงวิศวกรรม
5.1.1   มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี 5.1.2   มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์ 5.1.3   สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ 5.1.4   มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์ 5.1.5    สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิชาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
5.2.1   สอดแทรกการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสอน เช่น การค้นหาข้อมูลที่นอกเหนือจากการสอนในชั้นเรียน 5.2.2   สอดแทรกการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการคำนวณ และออกแบบระบบควบคุมอัตโนมัติ และการแก้ไขปัญหาทางคณิตศาสตร์ 5.2.3    มอบหมายให้นักศึกษาจัดทำรายงานประกอบโครงการพิเศษ โดยให้จัดทำและประชาสัมพันธ์งานผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.3.1   ประเมินจากรายงานประกอบโครงการพิเศษ ที่แสดงถึงความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการค้นหาข้อมูล 5.3.2   ประเมินจากรายงานประกอบโครงการพิเศษ ถึงความสามารถในการใช้โปรแกรมประยุกต์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1.1 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม การเข้าชั้นเรียน ทุกสัปดาห์ 10
2 1.1.1 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม 1.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้ง ตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 1.1.3 สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม 2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจในคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษฐศษสตร์ เพื่อประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี 2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎี และปฏิบัติ ในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านวิศวกรรม 2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 2.1.4 สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตนในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้ 3.1.2 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3.1.3 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ 4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม 4.1.2 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่างๆ 4.1.3 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง 4.1.4 รู้จักบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ 5.1.1 มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี 5.1.2 มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์ 5.1.3 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ 5.1.4 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์ 5.1.5 สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิชาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้ การส่งงานมอบหมายตามกำหนดเวลา ความสำเร็จของงานมอบหมาย และการนำเสนองานมอบหมาย สัปดาห์ที่ 4 สัปดาห์ที่ 12 สัปดาห์ที่ 16 30
3 2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจในคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษฐศษสตร์ เพื่อประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี 2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎี และปฏิบัติ ในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านวิศวกรรม 2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 3.1.1 มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี 3.1.2 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5.1.1 มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี 5.1.2 มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์ 5.1.5 สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิชาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้ สอบกลางภาค และ สอบปลายภาค สัปดาห์ที่ 9 สัปดาห์ที่ 18 60
เอกสารประกอบการสอนวิชาการควบคุมอัตโนมัติ เรียบเรียงโดย ดร.ณัฐรัตน์  ปาณานนท์ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา   Nise, N.S., 2008, Control Systems Engineering, John Wiley & Sons (Asia) Pte Ltd.   Golten, J. and Verwer, A., 1991, Control system design and simulation, McGraw-Hill Publishing Company, England.   Morris Driels, 1996, Linear Control Systems Engineering, McGraw-Hill, Inc, USA.   Katsuhiko Ogata, 1990, Modern Control Engineering, Prentice-Hall International, UK.   Jack Golten and Andy Verwer, 1991, Control Systems Design and Simulation, McGraw-Hill.   Richard C. Dorf and Robert H. Bishop, 2005, Modern Control Systems, Pearson Education, Inc.
การใช้โปรแกรม MatLab Simulink คู่มือการเขียนโปรแกรมสำหรับ Arduino
ระบบควบคุมระดับน้ำ ระบบควบคุมอุณหภูมิ
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษ
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้ 2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน 2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง โดย  สัมมนาการจัดการเรียนการสอน และ  การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้ 5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ