ภาษาอังกฤษเพื่อทักษะการทำงาน

English for Working Skills

1. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาอังกฤษที่ใช้ในการทำงาน 2. ตระหนักในความสำคัญของการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อเป็นเครื่องมือในการทำงาน 3. มีเจตคติที่ดีต่อการใช้ภาษาอังกฤษในงานอาชีพต่างๆ
เพื่อปรับปรุงเนื้อหาวิชาให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงโดยเน้นให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมในการประยุกต์ใช้ภาษาอังกฤษสำหรับการศึกษาด้วยตนเองเพื่อใช้ในการทำงาน และเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับระเบียบและแนวปฏิบัติ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ของกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (2552) และการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ศึกษาคำศัพท์ สำนวน โครงสร้างภาษาอังกฤษที่ใช้ในงานอาชีพ และพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษด้านการฟัง พูด อ่าน เขียนเพื่อการสื่อสารและการทำงานในสาขาวิชาชีพ Study English vocabulary, expression, structures used in careers and develop English skills: listening, speaking, reading, and writing in order to communicate and work in professional context.
- จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามเวลาที่นักศึกษาต้องการ 1 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ - ติดต่อทาง e-mail address และ Microsoft Teams
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
1.2 วิธีการสอน
           1.2.1 ให้ความรู้โดยสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมในเนื้อหาของบทเรียนต่าง ๆ            1.2.2 ให้นักศึกษาทำงานมอบหมายด้วยตนเองในทุกบทเรียน และส่งภายในเวลาที่กำหนด โดยค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่างๆ และมีการอ้างอิงแหล่งที่มาโดยไม่มีการคัดลอกหรือแอบอ้างผลงานผู้อื่นมาเป็นของตน            1.2.3 ให้นักศึกษานำความรู้ที่ค้นคว้ามาแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนในกลุ่มและนำเสนอผลงานเขียนที่สร้างสรรค์และไม่ส่งผลกระทบในทางลบต่อสังคมหรือชุมชน
1.3 วิธีการประเมินผล
           1.3.1 การเข้าชั้นเรียนอย่างสม่ำเสมอและตรงต่อเวลา            1.3.2 การสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน            1.3.3 การส่งงานที่มอบหมายตามเวลาที่กำหนดทุกครั้ง            1.3.4 การพิจารณาจากผลงานของนักศึกษาที่ไม่ส่งผลในแง่ลบต่อสังคมหรือชุมชน
2.2 วิธีการสอน
ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดย             2.2.1 บรรยายแบบ Active learning และใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Co-operative learning) ประกอบการสอนโดยให้นักศึกษาศึกษาความรู้จากเนื้อหาในบทเรียนต่าง ๆ แล้วทำกิจกรรมประกอบเนื้อหาตามที่กำหนดในบทเรียน             2.2.2 อภิปรายกลุ่มและระดมสมองเพื่อสรุปเนื้อหาที่เรียนเมื่อจบแต่ละบทเรียน             2.2.3 ให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองจากสื่อประกอบการสอน เช่น แบบฝึกหัดออนไลน์จากเว็บไซต์ ต่าง ๆ
 
3.3 วิธีการประเมินผล
            3.3.1 การร่วมกิจกรรมกลุ่มในชั้นเรียน             3.3.2 การพิจารณาจากงานที่มอบหมาย             3.3.3 การสรุปความคิดรวบยอดของแต่ละหน่วยเรียน             3.3.4 การทดสอบกลางภาคและปลายภาค
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ
 มีความรู้และความเข้าใจทั้งในด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษาเกี่ยวกับการใช้ภาษาอังกฤษในงานอาชีพต่างๆ และสามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.2 วิธีการสอน
ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดย             2.2.1 บรรยายแบบ Active learning และใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Co-operative learning) ประกอบการสอนโดยให้นักศึกษาศึกษาความรู้จากเนื้อหาในบทเรียนต่าง ๆ แล้วทำกิจกรรมประกอบเนื้อหาตามที่กำหนดในบทเรียน             2.2.2 อภิปรายกลุ่มและระดมสมองเพื่อสรุปเนื้อหาที่เรียนเมื่อจบแต่ละบทเรียน             2.2.3 ให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองจากสื่อประกอบการสอน เช่น แบบฝึกหัดออนไลน์จากเว็บไซต์ ต่าง ๆ
2.3 วิธีการประเมินผล
              2.3.1 การร่วมกิจกรรมกลุ่มในชั้นเรียน               2.3.2 การพิจารณาจากงานที่มอบหมาย               2.3.3 การทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติมด้วยตนเอง               2.3.4 การฝึกปฏิบัติในบทเรียนออนไลน์               2.3.5 การทดสอบกลางภาคและปลายภาค
3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
            3.1.1 ทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ด้านวิชาการ โดยนำความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาเนื้อหาในบทเรียน และจากการค้นคว้าเพิ่มเติมนอกชั้นเรียนมาใช้ในงานอาชีพต่างๆ             3.1.2 ทักษะการคิดอย่างเป็นระบบเพื่อพัฒนาการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อทักษะการทำงาน
3.2 วิธีการสอน
            3.2.1 ให้นักศึกษาระดมสมองและแสดงความคิดเห็นทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่มย่อย             3.2.2 ให้นักศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมด้วยตนเองจากสื่อประกอบการสอน เช่น แบบฝึกหัดออนไลน์จากเว็บไซต์ต่างๆ
3.3 วิธีการประเมินผล
            3.3.1 การร่วมกิจกรรมกลุ่มในชั้นเรียน             3.3.2 การพิจารณาจากงานที่มอบหมาย             3.3.3 การสรุปความคิดรวบยอดของแต่ละหน่วยเรียน             3.3.4 การทดสอบกลางภาคและปลายภาค
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
           พัฒนาผู้เรียนให้มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี ทั้งต่ออาจารย์ผู้สอน เพื่อนร่วมชั้นเรียน สังคมภายนอกชั้นเรียน และกลุ่มสังคมอื่นๆ รวมถึงส่งเสริมการเขียนเพื่อสร้างสรรค์สังคมได้อย่างเหมาะสม
4.2 วิธีการสอน
       4.2.1 ให้ความรู้เกี่ยวกับแนวปฏิบัติในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อทักษะการทำงานต่างๆตามมารยาทสังคมของกลุ่ม สังคมเฉพาะต่าง ๆ        4.2.2 จัดกิจกรรมแบบกลุ่มย่อยในชั้นเรียนและกระตุ้นให้นักศึกษาร่วมกิจกรรม             4.2.3 ทำแบบฝึกหัดนอกชั้นเรียน โดยกำหนดให้นักศึกษาแสวงหาความรู้จากการค้นคว้าหรือสังเกตพฤติกรรมของกลุ่มสังคมต่างๆและนำเสนอผลงานกลุ่ม
4.3 วิธีการประเมินผล
4.3.1 การร่วมกิจกรรมกลุ่มในชั้นเรียน 4.3.2 การพิจารณาจากพฤติกรรมการทำงานภายในกลุ่มของนักศึกษา 4.3.3 การพิจารณาจากผลงานที่มอบหมาย
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
           พัฒนาผู้เรียนให้สามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในงานอาชีพต่างๆได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
5.2 วิธีการสอน
5.2.1 ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติใช้ภาษาอังกฤษในชั้นเรียนตามสถานการณ์ที่กำหนด 5.2.2 ให้นักศึกษาเพิ่มเติมด้วยตนเองนอกชั้นเรียนผ่านทางบทเรียนออนไลน์และเว็บไซต์ที่กำหนด
5.3 วิธีการประเมินผล
5.3.1 การส่งงานที่ได้รับมอบหมาย 5.3.2 การนำเสนองานที่ได้รับมอบหมาย
-
-
-
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.2 1.3 1.4 2.1 2.2 2.3 3.1 3.2 4.1 4.2 4.3 4.4 5.1 5.2 5.3
1 GEBLC105 ภาษาอังกฤษเพื่อทักษะการทำงาน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คะแนนมาเรียน การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน และการเข้าเรียน 1-17 10%
2 คะแนนการเรียนโปรแกรมภาษาอังกฤษออนไลน์ (EPD) ศูนย์ภาษา เรียนรู้ด้วยตนเอง และทำแบบฝึกหัดออนไลน์ 4-17 10%
3 คะแนนงานที่มอบหมาย 1. Unit 1 Video clip: talking on the phone (Pair work) 5% 2. Unit 2-3 Giving presentation: presenting company profile (Group work) 10% 3. Unit 4 Describing graphs: culture/environment (Group work) 10% 4. Unit 6 Writing a CV and video presentation (Individual work) 10% นักศึกษาทำงานที่มอบหมาย 5 งาน 3-15 15%
4 Quiz 1-2 ทดสอบ 7 และ 16 15%
5 ทดสอบกลางภาค ทดสอบ 8 25%
6 ทดสอบปลายภาค แบบทดสอบ 17 25%
Business Essentials B1 by Oxford University Press
การประเมินผลของรายวิชาโดยนักศึกษากระทำโดย      - การประเมินผลการสอนโดยใช้แบบประเมินของฝ่ายวิชาการ กองการศึกษา      - ให้นักศึกษาเสนอแนะเนื้อหาในรายวิชาและกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อนำไปปรับปรุง      - ประเมินการสอนโดยใช้ระบบออนไลน์
  การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน มีกลยุทธ์ดังนี้      - สอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาเมื่อสิ้นสุดการเรียนแต่ละหน่วยเรียน      - สังเกตจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชั้นเรียน      - ประเมินจากคะแนนแบบฝึกหัดแต่ละบทเรียนและความเข้าใจในเนื้อหา      - ประเมินจากผลการสอบกลางภาคและปลายภาคของนักศึกษา
   การปรับปรุงการสอนในรายวิชา กระทำโดย      - ปรับปรุงเนื้อหาให้มีความทันสมัยและมีระดับภาษาที่เหมาะสมกับกับระดับของผู้เรียน      - สำรวจรูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาก่อนเรียน และปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมให้เหมาะสม      - สรุปผลการทำกิจกรรมในชั้นเรียนแต่ละครั้ง เพื่อนำมาปรับปรุงครั้งต่อ ๆ ไป
 ในระหว่างการเรียนการสอนมีการตรวจแบบฝึกหัดและงานกลุ่มโดยตรวจสอบคะแนนของนักศึกษาแต่ละคนว่ามีการพัฒนาก้าวหน้าหรือไม่มี จากนั้นแก้ไขโดยการอธิบายทำความเข้าใจกับนักศึกษาทั้งชั้นหรือเป็นรายบุคคล พร้อมทั้งแจ้งผลคะแนนจากแบบฝึกหัดและคะแนนสอบเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
     - ทบทวนเนื้อหาในบทเรียน โดยเลือกระดับของภาษาให้เหมาะสมกับระดับของผู้เรียน      -  มีการปรับปรุงเนื้อหาทุกปี ตามสภาวการณ์ใหม่ ๆ และตามความน่าสนใจ      -  ปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมให้มีความหลากหลาย และสนองตอบต่อรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย         ของกลุ่มผู้เรียนหรือตามที่ได้ศึกษาวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน       - ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะของนักศึกษาและของผู้ทรงคุณวุฒิที่ตรวจสอบรายวิชาในการประเมิน คุณภาพการศึกษาประจำปี