ทักษะทางวิชาชีพและเทคโนโลยี

Professional skill and Technology

1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจ และการฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้โปรแกรมสเปรดชีตในการสร้างสูตรการคำนวณ และเพื่อสร้างสมุดบันทึกรายการขั้นต้น การผ่านรายการไปบัญชีแยกประเภท การปรับแก้ข้อมูล การจัดทํารายงานทางการเงิน การใช้คำสั่งในการสรุปผลข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบต่างๆ
2. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจ และการฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการพิมพ์สัมผัสทั้ภาษาไทยและภาษอังกฤษด้วยคอมพิวเตอร์ การพิมพ์รายงาน การพิมพ์จดหมายธุรกิจแบบต่างๆ และหนังสือราชการโดยใช้โปรแกรมเวิร์ดโพสเซสเซอร์
3. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโปรแกรมการจัดการฐานข้อมูลขั้นพื้นฐาน
4. เพื่อให้นักศึกษาสามารถใช้เครื่องคำนวณ และรวมถึงทักษะอื่นๆ ตามมาตรฐานวิชาชีพได้  
เพื่อฝึกปฏิบัติให้นักศึกษามีความเชี่ยวชาญในทักษะและเทคโนโลยีพื้นฐานที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพ
ศึกษาและปฎิบัติการใช้โปรแกรมสเปรดซีตในการสร้างสูตร เศษส่วน ฟังก์ชันทางตรรกศาสตร์ การค้นหาและอ้างอิง ฟังก์ชันทางการเงิน และการใช้ฟังก์ชันในการคำนวณเพื่อสร้างสมุดบันทึกรายการขั้นต้น การผ่านรายการไปบัญชีแยกประเภท การปรับแก้ข้อมูล การจัดทำรายงานทางการเงิน การใช้คำสั่งในการสรุปผลข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบต่างๆ การพิมพ์สัมผัสทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษด้วยคอมพิวเตอร์ การพิมพ์รายงาน การพิมพ์จดหมายธุรกิจแบบต่างๆ และหนังสือราชการโดยใช้โปรแกรมเวิร์ดโพสเซสเซอร์ โปรแกรมทางด้านการจัดการฐานข้อมูลขั้นพื้นฐาน การใช้เครื่องคำนวณ และฝึกทักษะทางวิชาชีพอื่นตามมาตรฐานวิชาชีพ เพื่อเป็นทางแนวทางในการประกอบวิชาชีพบัญชี การทำงานเป็นทีม การบริหารเวลา การทำงานภายใต้แรงกดดัน และแนวทางการประกอบวิชาชีพ
5 ชั่วโมง/สัปดาห์
1) มีความรู้ และความเข้าใจในหลักจริยธรรมพื้นฐานทางวิชาชีพบัญชี 2) สามารถประยุกต์หลักจริยธรรมพื้นฐานทางวิชาชีพในการแก้ไขปัญหาในทางปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม 3) แสดงออกถึงความเป็นคนซื่อสัตย์ สุจริต เที่ยงธรรม ระมัดระวังรอบคอบในการทำงานและมีความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ และสังคม
1) สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี ในเนื้อหาวิชาเรียน 2) ให้ความสำคัญในการมีวินัย การตรงต่อเวลา และการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย 3) เปิดโอกาสให้นักศึกษาจัดกิจกรรมที่แสดงถึงการมีเมตตา กรุณา ความเสียสละ และการทำประโยชน์ให้แก่ชุมชน 4) การเรียนรู้และการสอนจากกรณีศึกษา
1) ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมนักศึกษาเกี่ยวกับการเข้าชั้นเรียนตรงเวลา การทำงานทันตามกำหนด และความพร้อมเพรียงของการเข้าร่วมกิจกรรม 2) ประเมินการกระทำทุจริตในการสอบ 3) ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย 4) สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน 
1) มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะการปฏิบัติด้านการบัญชี เพียงพอที่จะประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน 2) มีความรู้ ความเข้าใจ ในศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องเพียงพอที่จะประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน 3) มีความรู้และความเข้าใจในการจัดทำและนำเสนอสารสนเทศทางบัญชีที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ 4) มีความสามารถในการประยุกต์หลักคณิตศาสตร์และสถิติในการประกอบวิชาชีพบัญชี
1) ใช้วิธีการสอนหลายรูปแบบ ตามลักษณะของเนื้อหารายวิชาโดยเน้นแนวคิด หลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ เช่น การสอนแบบบรรยายและอภิปราย การยกตัวอย่าง การถาม-ตอบปัญหาทางวิชาการในห้องเรียน การสอนแบบสาธิต การสอนแบบใช้สถานการณ์จำลอง การสอนแบบเน้นกรณีปัญหา 2) มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพื่อจัดทำรายงานหรือโครงการ 3) การเรียนรู้จากสถานการณ์จริง จากการฝึกงานในองค์การธุรกิจหรืออุตสาหกรรมและการศึกษาดูงานในองค์การธุรกิจหรืออุตสาหกรรม 4) การบูรณาการการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และงานวิจัย โดยกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังกับนักศึกษา
1) ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น งานที่มอบหมาย การทดสอบย่อย รายงาน การค้นคว้า และการนำเสนอ 2) การประเมินจากการสอบข้อเขียน หรือ การสอบปฏิบัติ 3) การประเมินผลการเรียนรู้โดยผู้ประกอบการจากสถานการณ์จริง หรือการฝึกงานในองค์กรธุรกิจ 4) การประเมินความรู้ของบัณฑิตโดยการสำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้บัณฑิต 5) การถ่ายทอดบทเรียนผลการเรียนรู้ที่ได้จาการบูรณาการการบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และงานวิจัยโดยถ่ายทอดความรู้ผ่านนิทรรศการ ผ่านการสะท้อนความคิดของนักศึกษา หรือการเขียนรายงานจากประสบการณ์ หรือวิธีการอื่นๆ
1) มีทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ การประยุกต์ใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหาด้วย วิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสม 2) มีความสามารถในการสืบค้นและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสม 3) มีความสามารถในการเรียนรู้และติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาชีพบัญชีและศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมและของโลก 4) มีความสามารถในการใช้ดุลยพินิจในการปฏิบัติงานทางบัญชีในเรื่องที่มีความสำคัญต่อองค์กร และสามารถแสดงความคิดเห็นหรือเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา
1) ส่งเสริมการเรียนรู้ และฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ จากระดับง่ายไปสู่ระดับที่สูงขึ้น ตามระดับชั้นการศึกษา โดยใช้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง 2) จัดให้มีรายวิชาที่เสริมสร้างการพัฒนาทักษะทางเชาวน์ปัญญา ความคิด การวิเคราะห์และสังเคราะห์ด้านต่างๆ ทั้งในสาขาและนอกสาขา 3) สอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เปิดโอกาสให้นักศึกษาศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน รวมทั้งอภิปรายแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้น 4) การบูรณาการการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และงานวิจัย โดยกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังกับนักศึกษา
1) ประเมินจากผลการแก้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลองที่ได้รับมอบหมาย 2) ประเมินจากการสอบที่ต้องใช้ทักษะทางปัญญาของแต่ละรายวิชา 3) ประเมินจากรายงานผลการศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสาร และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน รวมทั้งผลการอภิปรายแสดงความคิดเห็น 4) การถ่ายทอดบทเรียนผลการเรียนรู้ที่ได้จาการบูรณาการการบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และงานวิจัยโดยถ่ายทอดความรู้ผ่านนิทรรศการ ผ่านการสะท้อนความคิดของนักศึกษา หรือการเขียนรายงานจากประสบการณ์ หรือวิธีการอื่นๆ
1) มีความอดทน ความรับผิดชอบ ทักษะทางสังคม และจิตสาธารณะ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ ต่าง ๆ วัฒนธรรมองค์กร และการทำงานร่วมกับผู้อื่น 2) มีหลักคิดและวิธีการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ สามารถทำงานให้สำเร็จ ตามเป้าหมายภายในระยะเวลาที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ 3) มีความคิดสร้างสรรค์ เพื่อการพัฒนาวิชาชีพการบัญชี
1) มอบหมายงานให้ทำงานร่วมกันเป็นทีม เช่น การทำโครงงาน การแก้ไขปัญหาจากกรณีศึกษา การค้นคว้าอิสระ การทำวิจัย การจัดนิทรรศการ เป็นต้น โดยมีการสลับหมุนเวียนการเป็นผู้นำ การเป็นสมาชิกทีม และผลัดกันเป็นผู้นำเสนอ 2) มอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับความรู้ด้านวิชาชีพบัญชีโดยให้มีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น 3) ให้ศึกษาการแก้ปัญหาจากกรณีศึกษาต่างๆ 4) การบูรณาการการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และงานวิจัย โดยกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังกับนักศึกษา
1) ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียน 2) ประเมินการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีจากแบบประเมินตนเองและเพื่อนในกลุ่ม ประเมินจากงานที่มอบหมายและระยะเวลาในการส่งงาน 3) สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน 4) การถ่ายทอดบทเรียนผลการเรียนรู้ที่ได้จากการบูรณาการการบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และงานวิจัยโดยถ่ายทอดความรู้ผ่านนิทรรศการ ผ่านการสะท้อนความคิดของนักศึกษา หรือการขียนรายงานจากประสบการณ์ หรือวิธีการอื่นๆ
1) มีความสามารถในการวิเคราะห์เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ รวมทั้งการใช้ความรู้ความสามารถเชิงเทคนิคในการวางแผนงาน การควบคุม การประเมินผล และการรายงานผล ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ 2) มีความสามารถในการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการบัญชีโดยเฉพาะเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีในปัจจุบัน เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานด้านวิชาชีพบัญชีให้มีประสิทธิภาพ 3) มีความสามารถในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน โดยเลือกใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับสถานการณ์
1) มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะในการวิเคราะห์หรือคำนวณเชิงตัวเลข 2) มอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศจากฐานข้อมูลทั้งในประเทศและต่างประเทศ 3) ให้อภิปรายและนำเสนอผลงานที่ได้จากการสืบค้นหน้าชั้นเรียน และนำเสนอ ในรูปแบบรายงาน มอบหมายกรณีศึกษาให้นำมาวิเคราะห์และนำเสนอผลการวิเคราะห์ในห้องเรียนในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 4) การบูรณาการการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และงานวิจัย โดยกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังกับนักศึกษา
1) ประเมินจากผลงาน กิจกรรมที่เกี่ยวข้องเชิงสถิติและคณิตศาสตร์ 2) ประเมินจากผลงานการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่มอบหมาย และนำเสนอผลงานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม 3) ประเมินจากการสอบข้อเขียน 4) ประเมินทักษะการใช้ภาษาพูดในการนำเสนอรายงานและการใช้ภาษาเขียนจากรายงานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม 5) การถ่ายทอดบทเรียนผลการเรียนรู้ที่ได้จาการบูรณาการการบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และงานวิจัยโดยถ่ายทอดความรู้ผ่านนิทรรศการ ผ่านการสะท้อนความคิดของนักศึกษา หรือการเรียนรายงานถอดประสบการณ์ หรือวิธีการอื่นๆ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1 ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะปัญญา 4. ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.2 1.3 2.1 2.2 2.3 2.4 3.1 3.2 3.3 3.4 4.1 4.2 4.3 5.1 5.2 5.3
1 BACAC125 ทักษะทางวิชาชีพและเทคโนโลยี
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.3,3.3,3.4 การทดสอบย่อย และการสอบกลางภาค 1) การทดสอบย่อย (Quiz) 40 คะแนน (2 ครั้ง) 2) การสอบกลางภาค 25 คะแนน 5, 9, 12 65%
2 1.1,1.2,2.3,3.3,3.4,4.3 แบบฝึกหัด รายงานและการนำเสนอหน้าชั้นเรียน 1) แบบฝึกหัด 10 คะแนน 2) รายงานและการนำเสนอหน้าชั้นเรียน 20 คะแนน ทุกสัปดาห์ 30%
3 1.1, 1.2 พฤติกรรมการเข้าชั้นเรียน ความตรงต่อเวลา การสังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียนตามข้อตกลง 1) การเข้าห้องเรียน และการสังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียน 5 คะแนน ทุกสัปดาห์ 5%
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรัตน์ ลีรัตนชัย. (2565). Excel for Accounting Excel สำหรับงานบัญชี (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัท ธรรมนิติ เพรช จำกัด.
- นันรณา จำลอง. (2562). การประยุกต์โปรแกรมตารางงานเพื่องานบัญชี. กรุงเทพฯ: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).
- เอกสารประกอบการฝึกอบรม RCDL โดยสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราขมงคลล้านนา
- เว็บไซต์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น www.tfac.or.th
วิธีการประเมินประสิทธิผลในรายวิชาโดยนักศึกษา มีดังนี้ แบบประเมินผลการสอนอาจารย์ผู้สอน ซึ่งเป็นแบบประเมินผลการสอนของมหาวิทยาลัยที่กำหนดให้มีการประเมินการสอนอาจารย์ผู้สอนโดยนักศึกษาทุกภาคการศึกษา
วิธีการประเมินการสอนเพื่อให้ได้ข้อมูลการสอน มีดังนี้ ผลการสอบของนักศึกษาและการวิเคราะห์ข้อสอบเพื่อตรวจสอบมาตรฐานของข้อสอบ การทบทวนมาตรฐานการเรียนรู้
หลักสูตรกำหนดให้การปรับปรุงการสอนในรายวิชา มีดังนี้ การจัดทำการรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา และวิเคราะห์ผลจากรายงานเพื่อนำมาปรับปรุงการสอน
การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา การประเมินผลการเรียนรู้โดยนักศึกษา การพิจารณาการมอบงาน การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค โดยคณะกรรมการทวนสอบฯ (กรรมการหลักสูตร)
การนำผลการประเมินจาก ข้อ 1 2 และ 4 มาทบทวนและวางแผนเพื่อปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชาและให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้อง