การพัฒนาศักยภาพมนุษย์และจิตวิทยาเชิงบวก

Human Potential Development and Positive Psychology

1. เข้าใจทฤษฎีและเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพมนุษย์และจิตวิทยาเชิงบวก 2. เข้าใจและสามารถวิเคราะห์ความคิดและพฤติกรรมทางบวกของตนเองได้ 3. เข้าใจและสามารถพัฒนาตนเองในด้านความหวัง การมองโลกในแง่ดี รับรู้ตนเองได้ถูกต้อง และมีความยืดหยุ่นทางจิตใจ 4. เข้าใจและสามารถพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ มีแรงจูงใจทางบวกในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาตนเอง 5. สามารถนำหลักความรู้ในเรื่องจิตวิทยาเชิงบวกไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และการทำงาน  
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพมนุษย์และจิตวิทยาเชิงบวก  เพื่อให้นักศึกษามีความพร้อมในการพัฒนาตนเอง ในด้านต่าง ๆ อาทิเช่น การมีความหวัง การมองโลกในแง่ดี รับรู้ตนเองได้ถูกต้อง และมีความสามารถในการฟื้นพลังเมื่อพบกับความผิดหวัง ตลอดจนมีแรงจูงใจทางบวกในการพัฒนาตนเอง มีความคิดสร้างสรรค์ และสามารถวิเคราะห์การสื่อสารสัมพันธ์ซึ่งจะทำให้สามารถสร้างมนุษยสัมพันธ์กับทีมงานได้อย่างถูกต้อง
ศึกษาเกี่ยวกับกลยุทธ์การบริหารงานเพื่อพัฒนาศักยภาพมนุษย์ การพัฒนาคุณลักษณะทางบวกของมนุษย์ เช่น ความคิดสร้างสรรค์ ความหวัง การมองโลกในเเง่ดี ความสามารถในการปรับตัว และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การประยุกต์ทฤษฏีทางจิตวิทยาเพื่อการดำเนินชีวิตอย่างมีความหมายโดยส่งเสริมให้นักศึกษาเกิดการเรียนรุ้จากตัวแบบที่ปรากฎในสื่อต่าง ๆ 
อาจารย์ประจำรายวิชาให้นักศึกษาติดต่อโดยตรงผ่าน Line และ MS Team เพื่อให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษานอกชั้นเรียน และสื่อสาร นัดหมายงานต่าง ๆ โดยเฉลี่ย 3 ชั่วโมง/สัปดาห์
1) มีคุณธรรมจริยธรรมที่เสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน
- ผู้เรียนเข้าใจบทบาทหน้าที่ของนักศึกษาที่เหมาะสม - ผู้เรียนมีความรับผิดชอบมีวินัยการรู้ถึงบทบาทหน้าที่ของตนเอง การปฏิบัติตนเมื่ออยู่ร่วมกับผู้ อื่นในสังคม การเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีมีวินัยทั้งต่อตนเองและต่อสังคม รู้จักเสียสละมีความซื่อสัตย์สุจริต - ผู้เรียนมีความซื่อสัตย์ และสามารถปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีในสังคม

2) มีความกล้าหาญทางจริยธรรม กล้าแสดงออกในสิ่งที่เหมาะสมด้วยความเข้าใจผู้อื่นและเข้าใจ โลก
- ผู้เรียนมีความหวังดีต่อผู้อื่นรู้จักการเผื่อแผ่การแบ่งปันและสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้ อย่างมีความสุข - ผู้เรียนสามารถทำงานเป็นทีมเข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุขที่ถูกต้องและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งมีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม
 
3) มีจิตสาธารณะ เสียสละ และเป็นแบบอย่างที่ดี - ผู้เรียนสามารถสามารถที่จะแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนในชั้นเรียน - เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ของตนเองและผู้อื่น
 
4) ให้ความเคารพและยึดถือในกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆขององค์กรและสังคม - ผู้เรียนสามารถรับฟังความคิดเห็นต่างๆของบุคคลอื่นและสามารถทำตามข้อตกลงของกลุ่ม แม้จะมีข้อคิดเห็นที่แตกต่างกัน  
จัดการเรียนการสอนโดยการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมและความรับผิดชอบประกอบการ บรรยายพร้อมยกกรณีศึกษาเกี่ยวกับบุคคลที่มีคุณธรรมจริยธรรม โดยให้นักศึกษาได้ใช้กระบวนการเรียนรู้จาก การวิเคราะห์จากกรณีศึกษา (Case Study) ที่ยกตัวอย่าง รวมทั้งใช้รูปแบบการศึกษาอื่น ๆ ร่วมด้วย ได้แก่ 1)อภิปรายร่วมกันเป็นกลุ่ม (Group Discussion) 2)การสอนแบบร่วมมือประสานใจ (Co-Operative Learning) 3) การแสดงบทบาทสมมุติ (Role-playing) 3)กรณีตัวอย่าง (Cases) 4)มีการปลูกฝังวัฒนธรรมที่ดีงามให้นักศึกษามีระเบียบวินัยโดยเน้นความรับผิดชอบการต่อเวลา การแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัยผ่านกิจกรรมในการพัฒนานักศึกษา 5) อาจารย์ผู้สอนต้องสอดแทรกเรื่องคุณธรรมและจริยธรรม รวมถึงจรรยาบรรณวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง 6) ปลูกฝังความซื่อสัตย์สุจริตให้เกิดขึ้นทั้งในการเรียนการสอน การสอบ และการปฏิบัติภารกิจตามที่ได้รับมอบหมาย
- เข้าเรียนตรงเวลา และส่งงานตามที่กำหนด - มีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน - ประเมินผลจากการอภิปรายกลุ่ม การแสดงบทบาทสมมติของนักศึกษา - ประเมินผลจากการนำเสนอรายงานหน้าชั้นโดยใช้โปรแกรม Power point  
1. เข้าใจทฤษฎีและเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพมนุษย์และจิตวิทยาเชิงบวก
2. เข้าใจและสามารถวิเคราะห์ความคิดและพฤติกรรมทางบวกของตนเองได้
3. เข้าใจและสามารถพัฒนาตนเองในด้านความหวัง การมองโลกในแง่ดี รับรู้ตนเองได้ถูกต้อง และมีความยืดหยุ่นทางจิตใจ
4. เข้าใจและสามารถพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ มีแรงจูงใจทางบวกในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาตนเอง
5. สามารถนำหลักความรู้ในเรื่องจิตวิทยาเชิงบวกไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และการทำงาน
  บรรยายการเรียนรู้จากการทำงาน การเรียนรู้แบบแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง การทำงานกลุ่ม การนำเสนอหน้าชั้น การอภิปรายกลุ่ม  การวิเคราะห์  การฝึกปฏิบัติ   ตามหัวข้อที่เรียน พร้อมทั้งใช้สื่อจาก  www ,  Clips  และสื่อ IT  อื่น ๆ โดยเน้นการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียน (Student Center) และการเรียนโดยการแก้ปัญหา (Problem base Learning)
-  ทดสอบย่อยเป็นรายหน่วย
 -  การนำเสนอในชั้นเรียน
 -  วิเคราะห์แนวคิดจากกรณีศึกษา
 -  วิเคราะห์ในชั้นเรียน
1) สามารถคิดค้นหาข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจ และประเมินข้อมูล และแนวคิดจากจิตวิทยาเชิงบวกมาใช้ในการปฏิบัติงาน การวินิจฉัย แก้ปัญหา และสามารถประยุกต์องค์ความรู้นี้มาใช้ในการพัฒนาตนเอง
2) ผู้เรียนสามารถมีวิจารณญาณในการรับข่าวสาร และสื่อสารสัมพันธ์กับบุคคลอื่นได้อย่างเหมาะสม
3) ผู้เรียนสามารถ เข้าใจแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของตนเอง มีเเรงจูงใจในการดำเนินชีวิตและการทำงานอย่างเหมาะสมในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทของสังคมไทย               
1) อภิปรายร่วมกันเป็นกลุ่ม (Group Discussion) 2) การสอนแบบร่วมมือประสานใจ (Co-Operative Learning) 3) การแสดงบทบาทสมมุติ (Role-playing) 4) กรณีตัวอย่าง (Cases)  
1) การสอบปลายภาคด้วยข้อสอบที่เน้นความเข้าใจ คิดวิเคราะห์ในสาระความรู้ที่เรียนไปสู่สถานการณ์จริง 2) การสังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียนและการปฏิบัติตนของนักศึกษารวมถึงความสนใจความมีวินัยความรับผิดชอบการส่งงานที่ได้รับมอบหมายโ 3) ประเมินด้วยการตอบคำถามการสอบปากเปล่า การทำใบงาน และประเมินจากการปฏิบัติ เช่น มอบหมายชิ้นงาน หรือ แบบฝึกหัด หรือ รายงาน 4) ประเมินตามสภาพจริงประเมินจากงานหรือกิจกรรมที่ปฏิบัติจริง 5) ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย และการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
1) มีความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของตนเอง และผู้อื่นในการทำงาน และการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นกัลยาณมิตร และในการเรียนรู้พัฒนาตนเองและวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง - นักศึกษามีความสามารถในการสื่อสารกับกลุ่มบุคคลทุกระดับอย่างเหมาะสม - นักศึกษามีความสามารถในการให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาตามสถานการณ์ต่างๆทั้งในบทบาทของครูบทบาทของการเป็นผู้นำหรือผู้ร่วมทีมในการทำงาน

2) มีความเอาใจใส่ช่วยเหลือและเอื้อต่อการแก้ปัญหาในกลุ่มและระหว่างกลุ่มได้อย่างสร้างสรรค์ - นักศึกษามีความสามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์แนวทางวิธีการบริหารการจัดการกับกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายได้อย่างเหมาะสม

3) มีภาวะผู้นำและผู้ตามที่ดี มีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้เรียน และมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม - นักศึกษามีความสามารถในการสื่อสารกับกลุ่มบุคคลทุกระดับโดยใช้การสื่อสารภาษาไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1) อภิปรายร่วมกันเป็นกลุ่ม (Group Discussion) 2) การสอนแบบร่วมมือประสานใจ (Co-Operative Learning) 3) การแสดงบทบาทสมมุติ (Role-playing) 4) กรณีตัวอย่าง (Cases) 5) การเสวนา
1) การใช้แบบสังเกตโดยสังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียนและการปฏิบัติตนของนักศึกษา รวมถึงความสนใจ ความมีวินัย ความรับผิดชอบการส่งงานที่ได้รับมอบหมาย 2) ประเมินด้วยการตอบคำถามการสอบปากเปล่าการทำใบงานและแบบฝึกทักษะ 3) ประเมินจากการปฏิบัติ เช่น มอบหมายชิ้นงาน หรือ แบบฝึกหัด หรือ รายงานผลการดำเนินกิจกรรม 4) ประเมินตามสภาพจริงประเมินจากงานหรือกิจกรรมที่ปฏิบัติจริง 5) ประเมินจากการทดสอบ 6) ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
1)  พัฒนาทักษะการใช้ Internet โดยการสืบค้นข้อมูลจาก website, clips, งานวิจัย, บทความวิชาการ
2)  พัฒนาทักษะการเลือกรับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งสืบค้นต่าง ๆ  โดยเฉพาะการใช้สื่อจาก Internet   
1)  ให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเนื้อหาเพิ่มเติมจากเว็บไซค์ หรือสื่ออื่น ๆ เช่น CD, VCD, วีดีทัศน์, เทปเสียง, โทรทัศน์     2)   การนำเสนอรายงานทุกครั้งให้ใช้ Computer และ Power point  และ/หรือ clips
1)   พิจารณาจากการทำ Power point นำเสนอผลงาน        2)   พิจารณาจากการใช้ Internet สืบค้นข้อมูล 3)   พิจารณาจากการมีส่วนร่วมในการอภิปราย เทคนิคการนำเสนอ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 1 1 2 1
1 GEBSO504 การพัฒนาศักยภาพมนุษย์และจิตวิทยาเชิงบวก
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คุณธรรม จริยธรรม - พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ ได้รับมอบหมายตรงเวลาที่กำหนด - ประเมินผลจากการปฏิบัติตามกฎระเบียบ การทุจริตในห้องสอบ สัปดาห์ที่ 1 - 17 10%
2 ความรู้ - เก็บคะแนนครั้งที่ 1 สอบกลางภาค สัปดาห์ที่ 9 30%
3 ความรู้ - เก็บคะแนนครั้งที่ 2 สอบปลายภาค สัปดาห์ที่ 17 30%
4 ทักษะ ปัญญา - ประเมินผลจากการมีส่วนร่วมอภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน - ประเมินผลจากแบบฝึกหัดท้ายบท - ประเมินจากรายงาน ความคิดสร้างสรรค์ "ธรรมดา โลกไม่จำ" สัปดาห์ที่ 1 - 16 20%
5 การวิเคราะห์เชิงปริมาณ การ ใช้ เทคโนโลยี สาระสนเทศ การ ประเมินผล การนำเสนอ - ประเมินผลจากกรณีศึกษาที่ผู้เรียนต้อง ใช้วิธีอภิปราย เสนอความคิดเห็น - ประเมินผลจากการนำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบ ผ่านการทำรายงานรายบุคคล - ประเมินผลจากกรณีศึกษาที่ผู้เรียนต้อง ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น การนำเสนอรายงานโดยใช้ Power point สัปดาห์ที่ 1 - 16 10%
หนังสือการพัฒนาศักยภาพมนุษยืและจิตวิทยาเชิงบวก โดย อาจารยื ดร.ตะวัน วาทกิจ
กรมสุขภาพจิต. (2563). เปลี่ยนร้ายกลายเป็นดี พลังสุขภาพจิต RQ : Resilience Quotient. สำนักวิชาการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.
กุญชรี ค้าขาย. (2559). การสร้างความสุขในชีวิต. แหล่งที่มา : http://www.ge.ssru.ac.th,
เกสร มุ้ยจีน. (2559). การสร้างความสุขด้วยจิตวิทยาเชิงบวก. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 24 (4), 673 – 681.
สงวน สุทธิเลิศอรุณ. (2543). พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน. กรุงเทพฯ: อักษราพิพัฒน์.
สมใจ ลักษณะ. (2548). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน.กรุงเทพฯ : สถาบันราชภัฎสวนสุนันทา, คณะวิทยาการจัดการ.
สมพร อินทร์แก้ว, เยาวนาฎ ผลิตนนทเกียรติ, ศรีวิภา เอี่ยมสะอาด และ สายศิริ ด่านวัฒนะ. (2552). คู่มือเปลี่ยนร้ายกลายเป็นดี: พลังสุขภาพจิต. สานักสุขภาพจิตสังคม กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.
1) การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน 2) การสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้โดยผู้เรียน 3) แบบประเมินผู้สอนและแบบประเมินผลการจัดการเรียนรู้รายวิชา
1) การสังเกตการสอน การจัดตั้งคณะกรรมการการประเมินผลการสอนในสาขาวิชา 2) การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน 3) การประเมินผลการเรียนรู้ด้วยเครื่องมือวัดประเมินที่มีความหลากหลาย เช่น การถาม-ตอบ การทดสอบย่อยการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ การประเมินชิ้นงานเดี่ยวและงานกลุ่ม
การปรับปรุงการสอนวิชานี้ คือ        3.1  แก้ไขเนื้อหาให้มีความทันสมัย ทันเหตุการณ์เสมอ ยกตัวอย่างกรณีศึกษาให้ทันสมัยโดยเฉพาะข่าวสารที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน        3.2  ให้นักศึกษาเพิ่มเติมในสิ่งที่ต้องการเรียนรู้        3.3  ทำวิจัยนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการเรียนการสอนมีการตรวจแบบฝึกหัดและงานกลุ่ม ผู้สอนตรวจสอบคะแนนของนักศึกษาแต่ละคน และแจ้งผลการได้รับคะแนนเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
1) ปรับปรุงรายระเอียดวิชาทุกปีการศึกษาหรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 2) การวิเคราะห์สภาพปัญหาที่ได้จากการบันทึกผลการจัดการเรียนรู้โดยอาจารย์ผู้สอนประจำรายวิชา และการวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติมจากรายงานการวิจัย