การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย

Data Communication and Networks

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐาน องค์ประกอบ ประโยชน์การใช้งาน 
การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย ผลกระทบ การใช้งานระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ต่อสังคม
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และความพร้อมในการแก้ปัญหา การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย และนำความรู้ความเข้าใจในระบบการสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย เป็นส่วนหนึ่ง ในการประกอบวิชาชีพ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หรือสาขาวิชาชีพอื่น ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยีเครือข่าย ที่มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล สถาปัตยกรรมเครือข่ายคอมพิวเตอร์  เน้น Physical  Data link layer ทฤษฎีเครือข่ายท้องถิ่น เครือข่ายแบบวงกว้าง เครือข่ายแบบเสมือน โปรโตคอล TCP/IP การอ้างแอดเดรสแบบ IP การทำซับเนต การค้นหาเส้นทางแบบต่างๆ  การตั้งค่าอุปกรณ์โดยใช้ เราท์เตอร์และสวิทช์ชิงในการให้บริการสื่อสารข้อมูลแบบมีสายและไร้สาย โดยอาศัยโปรแกรมจำลองสถานการณ
อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์คณะ
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล การไม่เปิดเผยข้อมูล การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางซอฟต์แวร์  และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา  มีความซื่อสัตย์ในการดูแล จัดการเครือข่าย อย่างมีคุณภาพ  โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้
ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต
มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีม และสามารถแก้ไขข้อขัดแย้ง และลำดับความสำคัญ
เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่า และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม
มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา
เกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการเครือข่ายคอมพิวเตอร์  เช่น การลักลอบข้อมูลจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และการเข้าใช้เครือข่าย โดยมีวัตถุประสงค์ไม่สุจริต หรือจากมิจฉาชีพ การป้องกันตนเอง
อภิปรายกลุ่ม
กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง หรือกำหนดบทบาทสมมุติ
1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2   มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3   ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา
1.3.4   ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
มีความรู้ในหลักการ พื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลและสถาปัตยกรรมเครือข่ายคอมพิวเตอร์  เข้าใจการทำงานที่จัดเป็นลำดับชั้นของมาตรฐานระบบเปิด OSI (Open System Interconnection) และ TCP/IP Model โดยเน้นลำดับชั้น Physical และ Data Link Layer เป็นสำคัญ  เข้าใจหลักการของระบบเครือข่ายเครือข่ายท้องถิ่น และเครือข่ายแบบวงกว้าง และโปรโตคอล TCP/IP  ออกแบบการอ้างแอดเดรสแบบไอพี การทำซับเนต และการค้นหาเส้นทางแบบต่างๆ จากโทโปโลยีของเครือข่าย ที่กำหนดให้ ตั้งค่าอุปกรณ์เครือข่าย เช่น คอมพิวเตอร์แม่ข่าย-ลูกข่าย ฮับ (Hub) สวิทช์ชิ่ง  เร้าเตอร์ (Router) และอุปกรณ์เครือข่ายไร้สาย เป็นต้น ให้สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องตามที่กำหนด โดยใช้อุปกรณ์จริง หรืออาศัยโปรแกรมจำลองสถานการณ์
บรรยาย  อภิปราย สาธิตการ และฝึกปฏิบัติการ ทำงานของเครือข่ายแต่ละลักษณะบนซอฟต์แวร์แบบจำลองสถานการณ์ เช่น Packet Tracer,  Graphic Network Simulator (GNS3)  เป็นต้น กำหนดทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ การศึกษาโดยใช้ปัญหา  และการจำลองสถานการณ์ด้วยซอฟต์แวร์แบบจำลอง และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3.1   ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2   ประเมินจากการออกแบบ และจำลองการทำงานเครือข่ายด้วยซอฟต์แวร์ แบบจำลองตามเงื่อนไขที่กำหนด
2.3.3  ผลการปฏิบัติงานในใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในทดลอง
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จากการใช้งานการสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย
3.2.1   การมอบให้นักศึกษา วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ตามใบงาน  
3.2.2   สาธิตจากแบบจำลองในปัญหารูปแบบต่าง ๆ 
3.2.3   วิเคราะห์กรณีศึกษา ในการใช้เครือข่ายที่เหมาะสม
3.2.4   การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤต
3.3.1   สอบแต่ละใบงาน ด้วยการลงมือสร้างแบบจำลอง เป็นรายบุคคล  โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการประยุกต์ใช้เครือข่าย
3.3.2   วัดผลจากการการทำงานตามแบบจำลองเครือข่าย 
3.3.3   สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1   พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2   พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3   พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.2.1   จัดกิจกรรมกลุ่มการทำใบงาน ในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
4.2.2   มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การค้นคว้าความก้าวล้ำของเทคโนโลยี การนำตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย หรือ อ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
4.2.3   การนำเสนอรายงาน
4.3.1   ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
4.3.2  ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3   ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง    
5.1.1   ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข
5.1.2   พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน
5.1.3   พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
5.1.4   พัฒนาทักษะในการสืบค้น  ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
5.1.5   ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การส่งทางอีเมล์ การสร้างห้องแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ เช่น Wed Board Blog การสื่อสารการทำงานในกลุ่มผ่านห้องสนทนา Chat Room 
5.1.6   ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.2   นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1   ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2   ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6.2.1   อธิบายและสาธิตการใช้อุปกรณ์ เครื่องมือในการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์และวิธีการให้เข้าใจและปฏิบัติถูกต้องตามหลักวาการ 
          6.2.2  มอบหมายให้ลงมือปฏิบัติทดลองตามกำหนดเวลา 
          6.2.3  ให้มีการแบ่งกลุ่มในการปฏิบัติงาน มีการแบ่งความรับผิดขอบกัน 
          6.2.4 นำเสนอโดยใช้รูปแบบโจทย์ปัญหาและโทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดความสร้างสรรค์และลงมือปฏิบัติงานด้วยใจรัก
 
6.3.1   สังเกตพฤติกรรมในการปฏิบัติการใช้เครื่องมือ ในเรื่องเวลา วิธีการและผลงานที่ได้รับ การทำงานร่วมกัน 
          6.3.2  พิจารณาผลการปฏิบัติการทดลอง รวมทั้งงานที่มอบหมาย 
          6.3.3  สังเกตพฤติกรรมการเขียนโปรแรมและจดบันทึก 
          6.3.4  พิจารณาผลการปฏบัติงานการเขียนโปรแกรม 
          6.3.5  ให้คะแนนผลการปฏิบัติงานโปรแกรมต่างๆ โดยเปิดเผย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 7 8 3 4 1 2 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 1 2
1 ENGCE106 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ ๒ สอบปลายภาค 4,8,12,17 10% 25% 10% 25%
2 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ การส่งงานตามที่มอบหมาย 20%
3 1.1 – 1.7, 3.1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน 10%
1.เทเนบาม แอนดูว์. Computer Networks คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ก กรุงเทพ เพียรสัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า 2542
2.เอกสิทธิ์ วิริยจารี เรียนรู้ระบบเน็ตเวิร์กจากอุปกรณ์ของCiscoภาคปฏิบัติ กรุงเทพ ซีเอ็ดยูเคชั่น 2548
3.พิสิษฐ์ ชาญเกียรติก้อง.การสื่อสารข้อมูลและโครงข่ายคอมพิวเตอร์.ปทุมธานี สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยรังสิต. 2551.
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipediaคำอธิบายศัพท์
www.netacad.com
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้ 
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ2จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก3ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ