ธุรกิจดิจิทัล

Digital Business

1. เข้าใจเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานทางธุรกิจดิจิทัล  โครงสร้างพื้นฐานธุรกิจดิจิทัล นวัตกรรมสำหรับธุรกิจดิจิทัล ธุรกรรมในธุรกิจดิจิทัล กฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจดิจิทัล สื่อสังคมออนไลน์ ความปลอดภัยในการทำธุรกรรมดิจิทัล
2. มีทักษะในการวิเคราะห์กรณีศึกษาทางธุรกิจดิจิทัล
3. มีเจตคติ และกิจนิสัยที่ดีต่องานทางด้านธูรกิจดิจิทัล มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ ละเอียดรอบคอบ
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับธุรกิจดิจิทัล โครงสร้างพื้นฐานธุรกิจดิจิทัล นวัตกรรมสำหรับธุรกิจดิจิทัล ระบบการทำธุรกรรมในธุรกิจดิจิทัล สื่อสังคมออนไลน์กับธุรกิจดิจิทัล ความมั่นคงปลอดภัยในการทำธุรกรรมดิจิทัล กฎหมายและจริยธรรมและการทำธุรกรรมดิจิทัล กรณีศึกษาเกี่ยวกับธุรกิจดิจิทัล
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)  
1.1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต 1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม 1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ 1.1.4 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 1.1.5 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม 1.1.6 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคล องค์กรและสังคม 1.1.7 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.2.1 บรรยาย ทบทวนหัวข้อเนื้อหาที่กำหนดและสัมพันธ์ 1.2.2 อธิบายเกี่ยวกับเนื้อหาในแต่ละบทเรียนพร้อม ยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่สอดคล้องกับคุณธรรม จริยธรรมในการนำมาใช้ในบทเรียนแต่ละหัวข้อ 1.2.3 นักศึกษาร่วมกันซักถามประเด็นที่เป็นข้อสงสัย
1.3.1 พิจารณาจากพฤติกรรมมาเข้าเรียนและการทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างถูกต้องและตรงเวลา 1.3.2 มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงานอย่างถูกต้องและเหมาะสม 1.3.3 ประเมินผลการนำเสนอกรณีศึกษาที่มอบหมาย 1.3.4 วิเคราะห์รายงานกลุ่ม
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา 2.1.2 สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางคอมพิวเตอร์ รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา 2.1.3 สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ ติดตั้ง ปรับปรุงระบบคอมพิวเตอร์ให้ตรงตามข้อกำหนด 2.1.4 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและวิวัฒนากรคอมพิวเตอร์ 2.1.5 รู้ เข้าใจ และสนใจพัฒนาความรู้ ความชำนาญทางคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง 2.1.6 มีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลงและเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ ๆ  2.1.7 มีประสบการณ์ในการพัฒนาและหรือการประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้จริง 2.1.8 สามารถบูรณาการความรู้ในที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.2.1 อธิบายบทเรียนและเนื้อหา พร้อมยกตัวอย่างประกอบ 2.2.2 นักศึกษาช่วยกันวิเคราะห์และอภิปรายแลกเปลี่ยนความรู้ตามหัวข้อที่กำหนด 2.2.3 นักศึกษาร่วมกันซักถามประเด็นที่สงสัย
2.3.1 พฤติกรรมการเข้าเรียนและส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา 2.3.2 แบบให้คะแนนการนำเสนอผลงานกลุ่มและงานเดี่ยว
3.1.1 คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ 3.1.2 สามารถสืบค้น ตีความ และประเมินสารสนเทศ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 3.1.3 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ 3.1.4 สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม
3.2.1 มอบหมายให้ทำรายงานกลุ่มและนำเสนอผลงาน 3.2.2 วิเคราะห์รายงานกลุ่มเพื่อนนักศึกษาและอภิปรายกลุ่มร่วมกัน
3.3.1 การให้คะแนนรายงานกลุ่ม โดยเน้นกิจกรรมที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ 3.3.2 พฤติกรรมในชั้นเรียน การมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน
4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ 4.1.2 สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยสะดวกแก่การแก้ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ในกลุ่่มทั้งในบทบาทของผู้นำหรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน 4.1.3 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำสังคมในประเด็นที่เหมาะสม 4.1.4 มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม 4.1.5 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอยา่งพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม 4.1.6 มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.2.1 จัดกลุ่มอภิปรายกรณีศึกษา 4.2.2 มอบหมายงานเป็นงานกลุ่มและรายบุคคลเพื่อให้มีการทำงานร่วมกัน 4.2.3 การนำเสนอรายงานกลุ่มพร้อมทั้งอภิปรายงานกลุ่มเพื่อนนักศึกษากลุ่มอื่น
4.3.1 รายงานที่นักศึกษานำเสนอ 4.3.2 พฤติกรรมในชั้นเรียน การมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน  
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
5.1.1 มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 5.1.2 สามารถแนะนำประเด็นการแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์ 5.1.3 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนออย่างเหมาะสม 5.1.4 สามารถใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสารอย่างเหมาะสม
5.2.1 มอบหมายงานและทำรายงานโดยมีการอ้างอิงแหล่งที่มาเชื่อถือได้ 5.2.2 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองจากเว็บไซต์สื่อการสอนและการทำรายงาน 5.2.3 นำเสนอโครงงานที่พัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1 การมีส่วนร่วมในการอภิปรายหลังจากฟังเพื่อนนำเสนอเสร็จแล้ว 5.3.2 ประเมินจากการรายงานที่นักศึกษาทำส่งและการนำเสนอผลงาน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ความรู้ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ สอบเก็บคะแนนกลางภาค สอบเก็บคะแนนปลายภาค 8 17 30% 30%
2 จิตพิสัย การเข้าชั้นเรียนและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
3 ทักษะพิสัย วิเคราะห์กรณึศึกษา ค้นคว้าการทำรายงาน ตลอดภาคการศึกษา 30%
ศิรินันท์  เหลืองอภิรมย์. พื้นฐานธุรกิจดิจิทัล. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น. 2564.
 
- แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา - การสนทนาระหว่างผู้สอนและผู้เรียน - การสังเกตการณ์จากพฤติกรรมของผู้เรียน - ข้อเสนอแนะผ่านทางอินเตอร์เน็ตและช่องทางอื่นที่อาจารย์ผู้สอนจัดไว้
- ผลการสอบของนักศึกษา - การทดสอบเก็บคะแนนเพื่อประเมินการเรียนรู้ - การสังเกตจากการสอน
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมองและหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอนดังนี้ - สัมมนาการจัดการเรียนการสอน - การวิจัยในชั้นเรียน  
ได้จากการสอบถามนักศึกษาและสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมทั้งการทดสอบย่อยและหลังการรายงานผลการศึกษาในรายวิชา การทวนสอบและการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์ท่านอื่นหรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
จากผลการประเมินและทวนสอบผลการเรียนรายวิชาได้มีการวางแผนปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้นดังนี้ 1. ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะ 2. สลับปรับเปลี่ยนอาจารย์ผู้สอนเพื่อให้นักศึกษามีมุมมองที่หลากหลายในเรื่องการประยุกต์ความรู้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์ท่านอื่น