หลักการเขียนแบบ

Principle of Drafting

        มีความรู้และเข้าใจวิธีการใช้เครื่องมืออุปกรณ์เขียนแบบ  การใช้เส้นสัญลักษณ์ต่าง ๆ  ในการเขียนแบบ  การเขียนภาพฉาย ภาพสามมิติ และภาพตัด
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานในวิชาหลักการเขียนแบบ โดยมีการเตรียมความพร้อมในการนำความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้กับการทำงานในหลักสูตร ซึ่งได้มีการเพิ่มโจทย์ที่เกี่ยวข้องและหัวข้อที่หลากหลายมากยิ่งขึ้นเพื่อให้นักศึกษาได้ทดลองทำและเห็นภาพงานที่สามารถต่อยอดในระดับชั้นปีต่อไปได้ง่ายมากขึ้น สามารถเห็นภาพและใช้ความรู้มาเป็นพื้นฐานในการเรียนในรายวิชาต่างๆ และนำไปประยุกต์ใช้กับวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรต่อไป
      ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับเครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเขียนแบบ การกำหนดขนาดและมาตราส่วน  การใช้เส้นและสัญลักษณ์ต่างๆ ในการเขียนแบบ ภาพฉาย ภาพตัด ภาพสามมิติ 
Study and practice of the drafting equipment, lines and symbols in drafting. Orthographic projection. Perspective, Sections view, Pictorial Drawing.
 -    อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาภายในชั้นเรียน
 -    อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ -
      (เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้

ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม

มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.2.1บรรยายพร้อมยกตัวอย่างเกี่ยวกับประเด็นทางคุณธรรม และ จริยธรรม
1.3.1    พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
               มีความรู้และเข้าใจวิธีการใช้เครื่องมืออุปกรณ์เขียนแบบ  การใช้เส้นสัญลักษณ์ต่าง ๆ  ในการเขียนแบบ  การเขียนภาพฉาย ภาพสามมิติ และภาพตัด
บรรยาย  ยกตัวอย่าง
2.3.1   สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2   ประเมินจากการปฏิบัติงาน
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จากการเขียนแบบ
3.2.1   บรรยาย และการให้นักศึกษาปฏิบัติโครงงานที่ให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา
3.2.2   การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
3.3.1   สอบปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการเขียนแบบ
3.3.2   วัดผลจากการประเมินชิ้นงาน
3.3.3   สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1   พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2   พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.2.1   บรรยาย-ถามตอบ
4.2.2   มอบหมายงานในห้องเรียน
4.3.1  ประเมินจากการถาม-ตอบ
4.3.2  ประเมินจากงานที่มอบหมาย  
5.1.1   ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข
5.1.2   พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง  การเขียน
5.1.4   พัฒนาทักษะในการสืบค้น  ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
5.1.5   ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1  บรรยาย-ถามตอบ ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการสอน แจกเอกสารการสอน
5.2.2  มอบหมายงานภาคปฏิบัติ ทอดลองเขียนให้ดูเป็นตัวอย่าง
5.3.1   ประเมินจากผลการสอบภาคทฤษฏี
5.3.2   ประเมินจากผลงานภาคปฏิบัติงาน
5.3.3   ประเมินผลของพฤติกรรม,บุคลิกภาพและความตั้งใจ,การเข้าร่วมกิจกรรมเสริมต่างๆ
มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนา    มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง    มีทักษะในการปฏิบัติงาน
บรรยาย   มอบหมายงานบุคคล ฝึกปฏิบัติ
ประเมินจากการเข้าเรียนและการมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน     ประเมินจากการส่งงานตามเวลาที่กำหนด 
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3
1 BAACC401 หลักการเขียนแบบ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.3.1, 3.3.1, สอบกลางภาค สอบปลายภาค 8 17 15% 15%
2 2.3.2, 3.3.2, 3.3.3, 4.3.1, 4.3.2, 5.3.1, 5.3.2 การปฏิบัติงานและผลงาน ตลอดภาคการศึกษา ปลายภาคการศึกษา 50% 10%
3 1.3.1 การเข้าชั้นเรียน การแต่งกาย การส่งงานตามเวลาที่กำหนด ตลอดภาคการศึกษา 10%
1. กฤษฎา  อินทรสถิตย์. การเขียนแบบสถาปัตยกรรมภายใน. กรุงเทพฯ : เอ็ม เอ เอช พริ้นติ้ง, 2546.
2. ดอกธูป  พุทธมงคล, ชนิด  สุมังคะโยธิน, สมชาย  เกตพันธุ์ และวรินทร์  รอดโพธิ์ทอง. เขียนแบบเทคนิค 1,2. ม.ป.ท. :
               วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี, 2529.
3. ธวัช  ชัยวิศิษฐ์. เขียนแบบเครื่องกล. พิมพ์ครั้งที่ 2. ม.ป.ท. , 2539.
4. ประเวช  มณีกุต. เขียนแบบเทคนิคเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จิตรวัฒน์, 2541.
5. อำนวย  อุดมศรี. เขียนแบบทั่วไป. กรุงเทพฯ : สยามสปอร์ต ซินดิเคท, 2537.
ไม่มี
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับการเขียนแบบ
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาไว้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน

แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน 
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน