ทักษะวิชาชีพสัตวศาสตร์ 4

Practical Skills in Animal Science 4

- ฝึกงานสร้างความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
- การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาในฟาร์มบนพื้นฐานของการใช้ข้อมูลสารสนเทศอย่างเหมาะสม ใน
- เตรียมความพร้อมเพื่อการจัดการฟาร์ม
- การเตรียมความพร้อมการฝึกงานภายนอกหรือสหกิจศึกษา
เพื่อเป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ให้นักศึกษาได้มีโอกาสบูรณาการความรู้ภาคทฤษฏีไปประยุกต์กับการปฏิบัติจริงในฟาร์มเป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ตรงภาคปฏิบัติอย่างถูกต้องแม่นยำ
ฝึกงานสร้างความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาในฟาร์ม บนพื้นฐานของการใช้ข้อมูลสารสนเทศอย่างเหมาะสม ในการจัดการฟาร์ม การเตรียมความพร้อมการฝึกงานภายนอกหรือสหกิจศึกษา
The practice of special skills in animal science for farm problem analysis and solution seeking based on proper farm information management and preparing students for the job internship and co-operative education
จัดให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแกนักศึกษาสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง
    วันพุธ และวันศุกร์ เวลา 15.00 - 16.30 น. ห้องสาขาวิชาสัตวศาสตร์ โทร 089-7126620
    e-mail: usaneeporn_s@hotmail.com  เวลา 20.00 - 21.00 น. ทุกวัน
1. ด้านคุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา(Ethics and Moral)
¡1.1 มีคุณธรรมและจริยธรรม หมายถึง ศรัทธาในความดี มีหลักคิดและแนวปฏิบัติในทางส่งเสริมความดีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ มีความรับผิดชอบ มีศีลธรรม ซื่อสัตย์สุจริตและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างสันติ
Ÿ1.2 มีจรรยาบรรณ หมายถึง มีระเบียบวินัยและเคารพกฎกติกาของสังคม ประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
1. กำหนดหลักเกณฑ์การเข้าห้องเรียนตรงต่อเวลาและเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอ ความรับผิดชอบต่อหน้าที่และงานที่ได้รับมอบหมาย
2. บรรยายและยกตัวอย่างประกอบในเนื้อหา โดยสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม
3. ให้มีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมาย และมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น
4. การอ้างอิงบทความวิชาการหรือแหล่งข้อมูลความรู้ต่างๆ มาใช้ต้องให้เกียรติแก่เจ้าของงานนั้น
1. ประเมินการเข้าชั้นเรียน และการส่งงานที่ได้รับมอบหมายของนักศึกษา ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของนักศึกษาเข้าเรียนตรงเวลา ส่งงานตามกำหนด และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่อาจารย์ผู้สอนกำหนด
2. ประเมินการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษา ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม ตรงต่อเวลา มีวินัยและความสามัคคีในการทำกิจกรรม
3. ประเมินผลรายงาน หรืองานที่นำเสนอมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทางวิชาการถูกต้อง
4. มีการฝึกทักษะและการปฏิบัติต่างๆให้ถูกตามหลักการเลี้ยงสัตว์เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
¡2.1 มีความรู้ในสาขาวิชาชีพ หมายถึง มีความรู้ ความเข้าใจ ในสาขาวิชาชีพที่เรียนอย่างถ่องแท้และเป็นระบบ ทั้งหลักการ ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ความรู้ที่ทันสมัยในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
2.2 มีความรอบรู้ หมายถึง มีความรู้ในหลายสาขาวิชาและสามารถประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี สังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
1. มอบหมายให้ทำข้อมูลพื้นฐานในฟาร์ม
1. ประเมินผลจากรายงาน และการนำเสนอรายงานที่ได้รับมอบหมาย
2. สอบภาคปฏิบัติเพื่อประเมินทักษะของนักศึกษา
3.1 สามารถคิดวิเคราะห์งานอย่างเป็นระบบ หมายถึง มีทักษะในการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลและคิดแบบองค์รวม
3.2 สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์ หมายถึง ความสามารถในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์จากพื้นฐานของความรู้ที่เรียน นำมาพัฒนานวัตกรรมหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่
¡3.3 ใฝ่รู้และรู้จักวิธีการเรียนรู้ หมายถึง แสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆ อย่างสม่ำเสมอและรู้จักเทคนิควิธีและกระบวนการในการเรียนรู้และสามารถนำไปใช้ในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างเหมาะสม
1. กำหนดหัวข้อและประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการปศุสัตว์ ให้นักศึกษาไปศึกษา ค้นคว้าข้อมูล และนำมาอภิปรายร่วมกัน
1. ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมและการมีส่วนร่วมในการอภิปรายปัญหาในชั้นเรียน
2. ประเมินจากความถูกต้องของข้อมูลที่ได้ค้นคว้ามา
Ÿ4.1 ภาวะผู้นำ หมายถึง กล้าแสดงออก กล้าหาญ อดทน หนักแน่น รู้จักเสียสละ ให้อภัย และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น สุภาพ สามารถประสานความคิดและประโยชน์ด้วยหลักแห่งเหตุผลและความถูกต้อง มีความซื่อสัตย์ สุจริต ยุติธรรม รักองค์กร เป็นผู้นำกลุ่มกิจกรรมได้ทุกระดับและสถานการณ์ที่เหมาะสม มีความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของตนเองทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตาม
¡4.2 มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะ หมายถึง มีจิตสำนึกห่วงใยต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และสาธารณสมบัติ มีจิตอาสา ไม่ดูดาย มุ่งทำประโยชน์ให้สังคม
1. ให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเสริมเพื่อสร้างจิตสำนึกที่ดีต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และสาธารณสมบัติ
1. การประเมินจากการแสดงออกอย่างมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
5.1 มีทักษะการสื่อสาร หมายถึง ความสามารถในการใช้ภาษาไทย ทั้งการฟัง พูด อ่านและเขียน เพื่อการสื่อสารให้เหมาะกับสถานการณ์ และการใช้ภาษาอังกฤษ ในการอ่าน พูด ฟัง และเขียน
¡5.2 มีทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมในการสื่อสารและค้นคว้าข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. แนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตและ ระบบสารสนเทศอื่นๆ
2. มอบหมายงานให้นักศึกษาสืบค้นองค์ความรู้จากเอกสาร หรือข้อมูลผ่านทางเครือข่ายสารสนเทศ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
3. การประมวลผลประสิทธิภาพของงานฟาร์มสัตว์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
1. ประเมินจากรายงาน ภาษาที่ใช้ในการเขียนรายงานและการนำเสนอในชั้นเรียนที่ได้รับมอบหมาย
2. สังเกตพฤติกรรมนักศึกษาด้านความมีเหตุผล ไหวพริบในการแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
3. ประเมินจากความสำเร็จของงานที่มอบหมาย
6.1 มีทักษะทางวิชาชีพ หมายถึง มีทักษะและความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพ สามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบโดยประยุกต์ใช้ความรู้ที่เรียนมา และพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ทางวิชาชีพ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 1 2 1 2 3 1 2 2 1 1
1 BSCAG214 ทักษะวิชาชีพสัตวศาสตร์ 4
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 2.1, 3.3 4.2 5.1,5.2 การค้นคว้า นำเสนอผลการปฏิบัติงาน สรุปและวิเคราะห์ผลงาน การส่งงานตามมอบหมาย การสอบภาคปฏิบัติ ตลอดภาคการศึกษา 90
2 1.1, 4.2 5.1 -การเข้าชั้นเรียน -การฝึกปฏิบัติในฟาร์ม -การมีส่วนร่วมในการเสนอ ความคิดเห็นในชั้นเรียน -การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของ มทร.ล้านนา ตลอดภาคการศึกษา 10
คู่มือการปฏิบัติงานแต่ละหมวดงาน
 ทรัพยากรงานฟาร์ม
- เจ้าหน้าที่ประจำแผนกงานฟาร์ม เพื่อให้คำแนะนำการปฏิบัติงาน และการแก้ปัญหาของนักศึกษา
- วัสดุอุปกรณ์ประกอบการปฏิบัติงาน
- สถานที่นั่งพักและห้องรับประทานอาหาร
- ตู้ยาและวัสดุอุปกรณ์ในการปฐมพยาบาล
จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษา  โดยทำการสัมภาษณ์(สอบถาม,พูดคุยเปิดใจ)กับนักศึกษา ให้นักศึกษาทุกคนประเมิน
     1.1 วิธีการสอนของอาจารย์ประจำแผนก  พี่เลี้ยง คนงานประจำฟาร์ม
    1.2 การจัดแบ่งงานในฟาร์มสัตว์ และกิจกรรมที่ได้ทำในแต่ละฟาร์ม
    1.3 สิ่งสนับสนุนการปฏิบัติงานในฟาร์มที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้
    1.4 ผลการเรียนรู้ที่ได้รับ
    1.5 สิ่งที่นักศึกษาต้องการและ/หรือข้อเสนอแนะต่างๆเพื่อปรับปรุงรายการปฏิบัติงานในแต่ละฟาร์ม
ประเมินจากการสัมภาษณ์นักศึกษา
ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาทั้งรายบุคคลและทั้งกลุ่ม
ประเมินจากผลงานของนักศึกษาที่ให้ปฏิบัติตามสภาพจริง
ประเมินจากบันทึกการปฏิบัติงานในแต่ละครั้งที่ได้รับมอบหมาย
- อาจารย์ประจำรายวิชาประมวลผลการฝึกงานของนักศึกษาทั้งหมด พร้อมทั้งผลการประเมินและข้อเสนอแนะต่างๆ ของนักศึกษาทั้งการการสัมภาษณ์นักศึกษาและทำการวิจัยในชั้นเรียนเชิญประชุมเชิงปฏิบัติการระหว่างอาจารย์  คนงานประจำแผนกงานฟาร์มทุกฟาร์มพร้อมทั้งกรรมการหลักสูตร เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและกำหนดกลไก,วิธีการปรับปรุงแก้ไขปัญหาไว้  หลังจากนั้นจัดทำรายงานผลการดำเนินการของการฝึกงาน รายงานต่อหัวหน้าสาขาวิชาเพื่อทราบและดำเนินงานตามขั้นตอนต่อไป
-ให้นักศึกษาได้ฝึกการวางแผนการทดลอง และการคำนวณโดยอาศัยงานทดลอง
-การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่นหรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ใช่อาจารย์ประจาหลักสูตร
-มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชาตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยการตรวจสอบรายงานวิธีการให้คะแนนและการให้คะแนนพฤติกรรม
- ทดสอบทักษะปฏิบัติในแต่ละฟาร์ม โดยเน้นเทคนิคปฏิบัติเฉพาะตัว รวมทั้งการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในฟาร์ม
จากผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชาได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้นดังนี้
-ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี
-เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอนเพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้ที่กว้างขึ้น