เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง

Packaging Technology for Transportation

 
     1. วัตถุประสงค์ ปัจจัยพื้นฐานการผลิตสินค้าเพื่อการขนส่ง
     2. ระบบการขนส่ง ขนถ่าย การคำนวณพื้นที่ ปริมาตร น้ำหนัก
     3. สมบัติของวัสดุและกรรมวิธีการผลิต การทดสอบ
     4. หลักการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง และการใช้สัญลักษณ์ขนส่ง
           เพื่อเปลี่ยนแปลงเนื้อหาให้ทันสมัยสอดคล้องกับมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา และฝึกปฏิบัติการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง
โดยมุ่งสนองนโยบายการพัฒนาบัณฑิตที่พึงประสงค์ในศษตวรรษที่ 21
         ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับ ปัจจัยพื้นฐานการผลิตสินค้าเพื่อการขนส่ง ระบบการขนส่ง ขนถ่าย การคำนวณพื้นที่ สมบัติของวัสดุและกรรมวิธีการผลิต
การทดสอบ หลักการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง และการใช้สัญลักษณ์ขนส่ง
5 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์
   (1) ชื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
   (2) มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น
   (3) มีจิตอาสา จิตสำนึกสาธารณะ
     กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอน รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม สอนความรู้ จรรยาบรรณทางด้านวิชาการและวิชาชีพในรายวิชาสอน ให้มีระเบียบวินัย ฝึกให้รู้หน้าที่ในการทำงาน มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
      การประเมินผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม       ประเมินจากการตรวจสอบแผนการสอนในเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม ในทุกวิชา ประเมินจากผลการดำเนินงานตามแผนการสอน และประเมินจากการสังเกตพฤติกรรม
    (1) รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรม และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง
   (2) มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ อย่างเป็นระบบ
   (3) มีความรู้ในทางศิลปะที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคม ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม
   (4) มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพด้านศิลปกรรมศาสตร์ในสาขาวิชาที่ศึกษา
      กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านความรู้ใช้การเรียนการสอนหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ นอกจากนี้อาจจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ตลอดจนการฝึกประสบการณ์หรือฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
   (1) การทดสอบย่อย
   (2) การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
   (3) ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
   (4) ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
   (5) ประเมินจากผลงานที่ปฏิบัติ
   (6) ประเมินจากแผนการดำเนินงานศิลปนิพนธ์ที่นำเสนอ
   (7) ประเมินจากการฝึกประสบการณ์หรือฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
   (1) สามารถค้นคว้า รวบรวมและประเมินข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายอย่างมีวิจารณญาณ
   (2) สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์
   (3) สามารถบูรณาการความรู้กับศาสตร์อื่นเพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการและวิชาชีพได้
   (4) มีความคิดสร้างสรรค์และมีปฏิภาณไหวพริบในการสร้างผลงาน
      กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญาใช้กรณีศึกษา การจัดทำโครงงาน หรือการจัดทำศิลปนิพนธ์ การมอบหมายงานให้นักศึกษาสืบค้นข้อมูลวิเคราะห์ สังเคราะห์และสรุปข้อมูล การนำเสนองาน โดยอภิปรายเดี่ยวหรือกลุ่ม ร่วมแสดงความคิดเห็น
 
        กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญาประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน การปฏิบัติงานของนักศึกษา และการนำเสนองาน
    (1) มีภาวะผู้นำเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
    (2) มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
    (3) สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล ตรงไปตรงมา และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง
       กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ สอดแทรกเรื่องความสำคัญของการมีมนุษยสัมพันธ์ การมีมารยาททางสังคม มอบหมายงานหรือจัดกิจกรรมโดยหมุนเวียนกันทำหน้าที่ผู้นำและผู้ตาม การเคารพสิทธิและการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น การประสานงานกับบุคคลภายนอก การแสดงความคิดเห็น และการวิพากษ์วิจารณ์งานของผู้อื่น
       กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกในการนำเสนองาน และผลงานกลุ่มในชั้นเรียนและประเมินจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ
     (1) สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียนในการสื่อสารโดยทั่วไป ตลอดจนใช้วิธีการสื่อสารทางศิลปกรรม และนำเสนองานได้อย่างมีประสิทธิภาพ      (2) สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสร้างสรค์ผลงานหรือการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ      (3) มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้เชิงตัวเลข หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับงานศิลปกรรม
       กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชา ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลอง และสถานการณ์เสมือนจริง แล้วนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ ให้นักศึกษาค้นคว้างานที่ต้องอาศัยการประมวลผล โดยการใช้ตัวเลขเพื่อการจัดการข้อมูล การนำเสนอที่เหมาะสมกับสภาพของผู้สื่อสารเทคโนโลยีสารสนเทศ
       ประเมินจากความถูกต้องในการใช้ข้อมูลและตัวเลข การเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม ประเมินจากการอธิบาย การนำเสนอ
     สามารถใช้ทักษะปฏิบัติทางศิลปกรรมศาสตร์ในการสร้างสรรค์ผลงานตน
       กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัยใช้วิธีการสอน ด้วยวิธีคัดลอกแบบ ทำตามแบบและใบงาน การใช้กรณีศึกษาโครงงานและศิลปนิพนธ์ สร้างสรรค์ผลงานตามแนวทางของการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
       กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัยประเมินตามสภาพจริงโดยประเมินจากการปฏิบัติงานและผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1. มีจิตสำนึกสาธารณะ และตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม 1.2. มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ 1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม 2.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฏีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา 2.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาที่ศึกษา 2.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 3.1 มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ 3.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ 4.1 มีมนุษย์สัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี 4.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 4.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม 5.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม 5.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม 5.3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือ ภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ 6.1 มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ 6.2 มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง 6.3 มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน
1 BTEPP139 เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1.3 - การเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษา การแต่งกาย การตรงต่อเวลา 1-16 10 %
2 2.1.1,2.1.2 3.1.1,3.1.2 - สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9 และ 18 30%
3 3.1.2,4.1.3, 5.1.1 - ผลงานภาคปฏิบัติ 1-16 60%
1. คำนาย อภิปรัชญาสกุล. ระบบบรรจุภัณฑ์ในงานโลจิสติกส์. พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2553. สำนักพิมพ์โฟกัสมีเดีย แอนด์ พับลิชชิ่ง, กรุงเทพมหานคร.
2. ชัยรัตน์ อัศวางกูร. ออกแบบให้โดนใจ.  คู่มือการออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับผู้ประกอบการและนักออกแบบ พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2548. สำนักพัฒนา อุตสาหกรรมสนับสนุน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม, กรุงเทพมหานคร.
3. ดวงฤทัย ธำรงโชติ. เทคโนโลยีภาชนะบรรจุ. พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2550. สำนักพิมพ์โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์, กรุงเทพมหานคร.
4. ดำรงศักดิ์ ชัยสนิท และก่อเกียรติ วิริยะกิจพัฒนา. การบรรจุภัณฑ์. พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2537.สำนักพิมพ์วังอักษร, กรุงเทพมหานคร.
5. ดำรงศักดิ์ ชัยสนิท. การจัดจำหน่าย. พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2537. สำนักพิมพ์วังอักษร, กรุงเทพมหานคร.
6. ดำรงศักดิ์ ชัยสนิท. การเก็บรักษาสินค้า. พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2538. สำนักพิมพ์วังอักษร, กรุงเทพมหานคร.
7. ประชิด ทิณบุตร. การออกแบบบรรจุภัณฑ์. พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2531. สำนักพิมพ์โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์, กรุงเทพมหานคร.
8. ปุ่น คงเกียรติเจริญ, บรรจุภัณฑ์อาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2541. บริษัท โรงพิมพ์หยี่เฮง, กรุงเทพมหานคร.
9. ปุ่น คงเกียรติเจริญ, รวมบทความ บรรจุภัณฑ์ (พ.ศ.2544-2547). พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2547. บริษัทแพคเมทส์, กรุงเทพมหานคร.
10. พรชัย ราชตนะพันธุ์, พลศาสตร์การบรรจุ. พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2550. หน่วยพิมพ์เอกสาร งานการศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.  
11. มยุรี ภาคลำเจียก, บรรจุภัณฑ์สินค้าอุปโภคบริโภค. พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2556. บริษัท โรงพิมพ์หยี่เฮง, กรุงเทพมหานคร.
12. มยุรี ภาคลำเจียก, รอบรู้บรรจุภัณฑ์. พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ.2558. บริษัทจินดาสาสน์การพิมพ์, กรุงเทพมหานคร.
13. วรรณชนก จอมราชคน และปณิตา สนอ่อม, การบรรจุภัณฑ์. พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2552. เจริญรุ่งเรืองการพิมพ์, กรุงเทพมหานคร.
14. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. คู่มือการใช้ไม้เพื่อการหีบห่อ. พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2532. สำนักพิมพ์ศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย, กรุงเทพมหานคร.
15. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. หลักการออกแบบบรรจุภัณฑ์. พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2546. ห้างหุ้นส่วนจำกัด บางกอกบล็อก, กรุงเทพมหานคร.
16. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. การใช้กระดาษเพื่อการหีบห่อ. พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2545. ห้างหุ้นส่วนจำกัด อรุณการพิมพ์, กรุงเทพมหานคร.
17. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. การใช้แก้วเพื่อการหีบห่อ. พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2546. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไอเดียสแควร์, กรุงเทพมหานคร.
18. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. การใช้พลาสติกเพื่อการหีบห่อ. พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2546. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไอเดียสแควร์, กรุงเทพมหานคร.
19. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. การใช้โลหะเพื่อการหีบห่อ. พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2546. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไอเดียสแควร์, กรุงเทพมหานคร.
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน การสะท้อนความคิดจากพฤติกรรมของผู้เรียน
2.1   ผลการสอบ และผลงานภาคปฏิบัติ
2.2   จากการประเมินของนักศึกษา
อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิผลของรายวิชา
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา แบบฝึกหัดหรือการตรวจผลงานของนักศึกษา การร่วมวิเคราะห์งานกลุ่ม  รวมถึงพิจารณาผลจากการ สังเกต  การฝึกปฏิบัติ การทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  มีการประเมินผลการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
มาวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดของวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น