มีนวิทยา

Ichthyology

1.1 รู้และเข้าใจลักษณะ โครงร่าง และพฤติกรรมของปลาอย่างถูกต้อง
          1.2 เข้าใจระบบต่าง ๆ ของปลาเป็นอย่างดี
          1.3 เข้าใจหลักการจัดอนุกรมวิธานของปลาได้อย่างถูกต้อง
1.4 ฝึกปฏิบัติการศึกษาลักษณะโครงสร้างทั้งภายนอก ภายใน และระบบต่าง ๆ ของปลาได้อย่างเป็นระบบ
          1.5 ตระหนักถึงจรรยาบรรณทางวิชาชีพในการศึกษาทางด้านมีนวิทยา
การปรับปรุงรายวิชานี้เพื่อให้เนื้อหาสมบูรณ์สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการในปัจจุบัน โดยมุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาลักษณะ โครงร่าง พฤติกรรม และระบบต่าง ๆ ของปลา ตลอดจนการจำแนกทางอนุกรมวิธานของปลา สำหรับใช้เป็นพื้นฐานในการเรียนรายวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป
ศึกษาและฝึกปฏิบัติการเกี่ยวกับลักษณะของปลา  ระบบโครงร่างและการเคลื่อนที่ของปลา ระบบทางเดินอาหาร ระบบหายใจ ระบบหมุนเวียนโลหิต   ระบบประสาทและอวัยวะรับความรู้สึก  ระบบสืบพันธุ์ ระบบขับถ่ายและออสโมเรกูเลชั่น อนุกรมวิธาน
จัดให้นักศึกษาเข้าพบอาจารย์เพื่อขอคำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการที่เกี่ยวข้องสัปดาห์ละ     2 ชั่วโมง ใช้วิธีนักศึกษานัดหมายอาจารย์ล่วงหน้า หรือแจ้งผ่าน facebook หรือ e-mail: ruangpun_s@hotmail.com โดยกำหนดเวลาการให้คำปรึกษาระหว่าง 17:00 – 18.00 น. ทุกวัน
.1 มีคุณธรรมและจริยธรรม หมายถึง ศรัทธาในความดี มีหลักคิดและแนวปฏิบัติในทางส่งเสริมความดีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ มีความรับผิดชอบ มีศีลธรรม ซื่อสัตย์สุจริตและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างสันติ
š1.2  มีจรรยาบรรณ หมายถึง มีระเบียบวินัยและเคารพกฎกติกาของสังคม ประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
- บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาการตรงต่อเวลาที่กำหนด และแนะนำถึงผลดีของการตรงต่อเวลา  ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์  
- อาจารย์ผู้สอนปฏิบัติตนเป็นตัวอย่าง ให้นักศึกษามีระเบียบวินัยในการเข้าชั้นเรียน โดยอาจารย์เข้าชั้นเรียนตรงต่อเวลา และเลิกชั้นเรียนตรงต่อเวลา  - การบรรยายเกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์    – การไม่ทุจริตในการสอบหรือการลอกการบ้านหรืองานของผู้อื่น
- สังเกตพฤติกรรมการเข้าเรียน มีการตรวจสอบรายชื่อผู้เข้าชั้นเรียน
- ส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงตามกำหนดเวลา
- ความพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร  
- มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงานอย่างถูกต้องและเหมาะสม 
- พฤติกรรมในการทำงานในชั้นเรียนที่ไม่เลือกปฏิบัติและการไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น
˜2.1 มีความรู้ในสาขาวิชาชีพ หมายถึง มีความรู้ ความเข้าใจ ในสาขาวิชาชีพที่เรียนอย่าง
ถ่องแท้และเป็นระบบ ทั้งหลักการ ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ความรู้ที่ทันสมัยในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
 š2.2 มีความรอบรู้ หมายถึง มีความรู้ในหลายสาขาวิชาและสามารถประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี สังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
- การสอนแบบบรรยายเชิงอภิปราย 
- การตอบปัญหาในชั้นเรียน
- การแสดงความคิดเห็นต่อปัญหา
 - การฝึกระดมสมองในการแก้ไขปัญหา
- ปฏิบัติการศึกษาตามบทปฏิบัติการที่ได้รับ
- ข้อสอบอัตนัย
- ข้อสอบปรนัย
- ประเมินจากการตอบปัญหาในชั้นเรียน 
- การสอบย่อย (Quiz) 
- การสอบกลางภาคและปลายภาค 
- การนำเสนอผลงานทั้งแบบรายบุคคลและกลุ่ม
- การทำรายงานสรุปผลการฝึกปฏิบัติการ
š3.1 สามารถคิดวิเคราะห์งานอย่างเป็นระบบ หมายถึง มีทักษะในการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลและคิดแบบองค์รวม
3.2 สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์ หมายถึง ความสามารถในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์
จากพื้นฐานของความรู้ที่เรียน นำมาพัฒนานวัตกรรมหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่
˜3.3 ใฝ่รู้และรู้จักวิธีการเรียนรู้ หมายถึง แสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆ อย่างสม่ำเสมอและรู้จักเทคนิควิธีและกระบวนการในการเรียนรู้และสามารถนำไปใช้ในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างเหมาะสม
- ฝึกตอบปัญหาในชั้นเรียนและการแสดงความคิดเห็นต่อปัญหา และระดมสมองในการแก้ไขปัญหา
- การศึกษาจากประเด็นปัญหาที่กำหนดไว้แล้ว โดยแบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่ม ภายในกลุ่มจะต้องกำหนดแนวทางไปสู่การแก้ปัญหาหรือเสนอแนวทางปฏิบัติที่มีความน่าเชื่อถือและความเป็นไปได้
- ประเมินจากการตอบข้อซักถามในชั้นเรียน
- การสอบย่อย (Quiz) 
- การสอบกลางภาคและปลายภาค 
- การอภิปรายในชั้นเรียน
- การนำเสนอผลงานทั้งแบบรายบุคคลและกลุ่ม
š4.1  ภาวะผู้นำ หมายถึง กล้าแสดงออก กล้าหาญ อดทน หนักแน่น รู้จักเสียสละ ให้อภัย และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น สุภาพ สามารถประสานความคิดและประโยชน์ด้วยหลักแห่งเหตุผลและความถูกต้อง มีความซื่อสัตย์ สุจริต ยุติธรรม รักองค์กร เป็นผู้นำกลุ่มกิจกรรมได้ทุกระดับและสถานการณ์ที่เหมาะสม มีความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของตนเองทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตาม
4.2  มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะ หมายถึง มีจิตสำนึกห่วงใยต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และสาธารณสมบัติ มีจิตอาสา ไม่ดูดาย มุ่งทำประโยชน์ให้สังคม
- สอนโดยมีกิจกรรมเสริมในชั้นเรียน มีกิจกรรมทำงานเป็นกลุ่มและมีหัวหน้ากลุ่มเป็นผู้ประสานงานตามที่ได้รับมอบหมาย
- การเปลี่ยนกลุ่มทำงานตามภาระงานที่มอบหมาย เพื่อให้นักศึกษาทำงานกับผู้อื่นได้ โดยไม่ยึดติดกับเฉพาะเพื่อนที่ใกล้ชิด
- พฤติกรรมการแสดงออกอย่างมีส่วนร่วมในชั้นเรียน                    
- การนำเสนอรายงานของนักศึกษาทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม
- แบบประเมินตนเองในชั้นเรียน
š5.1  มีทักษะการสื่อสาร หมายถึง ความสามารถในการใช้ภาษาไทย ทั้งการฟัง 
พูด อ่านและเขียน เพื่อการสื่อสารให้เหมาะกับสถานการณ์ และการใช้ภาษาอังกฤษ ในการอ่าน พูด ฟัง และเขียน
š5.2  มีทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมในการสื่อสารและค้นคว้าข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- การใช้เครื่องมือสารสนเทศในการสืบค้น และนำเสนองานที่ได้รับมอบหมายทั้งในชั้นเรียน และทางอินเตอร์เน็ต
- การแนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูล
- การมอบหมายงานด้วยการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
- เทคนิคการนำเสนอผ่านการรายงานหน้าชั้นเรียน และสื่อทางอินเตอร์เน็ต
- การสอบย่อย (Quiz) ในชั้นเรียน
- การซักถามขั้นตอนการค้นคว้ารวบรวมข้อมูล การประมวลผลและแปลความหมายข้อมูลของงานที่มอบหมาย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความ สัมพันธ์ระหว่าง บุคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 2 1 2 3 1 1 1 2
1 BSCAG301 มีนวิทยา
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.2, 2.1, 2.2 - ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 - ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 - ทดสอบย่อยครั้งที่ 3 - สอบกลางภาค - ทดสอบย่อยครั้งที่ 4 - ทดสอบย่อยครั้งที่ 5 สอบปลายภาค 3 5 8 9 12 15 40%
2 1.1, 1.2, 2.1, 2.2, 3.1, 3.3, 4.1, 5.1, 5.2 - การค้นคว้า นำเสนอผลงาน - การส่งรายงานตามมอบหมาย - การส่งรายงานบทปฏิบัติการ - การสอบภาคปฏิบัติ - การนำเสนอผลงาน (Project-based learning) ตลอดภาคการศึกษา 17 50%
3 1.1, 1.2, 4.1, 5.1, 5.2 - การเข้าชั้นเรียน - การมีส่วนร่วมในการทำงานและนำเสนอผลงาน - การแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
วิมล เหมะจันทร.  2540.  ชีววิทยาปลา.  สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
สุภาพ มงคลประสิทธิ์ และ ประจิตร วงศ์รัตน์.  2541.  มีนวิทยา (ปฏิบัติการ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ , กรุงเทพฯ.
สืบสินธุ์  สนธิรัตน์.  2527.  ชีววิทยาของปลา.  ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง
           มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.  กรุงเทพฯ.  185 น.
 Lagler, K.F. ; J.E.  Bardach ;  and R.R.  Miller. 1962. Ichthyology. John Wiley and Sons,
                      Inc. 545 pp.
Carpenter, K. E.  1998.  The Living Marine Resourse of The Western Central Pacific, Volume2.
FAO, Rome. P. 688- 1396.
_____.  1999.  The Living Marine Resourse of The Western Central Pacific, Volume3.  FAO, Rome.
          P. 1397-2068.
_____.  1999.  The Living Marine Resourse of The Western Central Pacific, Volume4.  FAO, Rome.
          P. 2069- 2790.
_____.  2001.  The Living Marine Resourse of The Western Central Pacific, Volume5.  FAO, Rome.
          P.  2791- 3379.
_____.  2001.  The Living Marine Resourse of The Western Central Pacific, Volume6.  FAO, Rome.
          P.  3380- 3970.
Doi, A. and M. Kottelat.  1998.  Hemimyzon nanensis, a new balitorid fish from the Chao Phraya
          basin, Thailand.  Ichthyol. Res.  45 (1): 7-11.
Kottelat, M.  1990. Indochinese Nemacheilines. A Revision of Nemacheiline Loaches (Pisces:
          Cypriniformes) of Thailand, Burma, Laos, Cambodia and southern Viet Nam.
          Verlag Dr. Friedrich Pfeil, Munchen, Germany.
_____.  2001.  Fishes of Laos.  Gunaratne Offset Ltd., Sri lanka. 
Moyle, P.B. and J.J. Cech.  2000.  Fishes, An Introduction to Ichthyology.  Prentice-Hall, Inc.
          Upper Saddle River, NJ.  USA.
Nelson, J. S.  2001.  Fishes of the World 4th.  John Wiley & Don, Inc, New York.  USA.
4.  ข้อมูลอิเลคทรอนิกส์/เวปไซต์
          www.fishesbase.org
www.fisheries.go.th
5.  เอกสารและข้อมูลการเรียนอื่น ๆ
          บทความทางวิชาการที่เกี่ยวกับมีนวิทยา  ตามความเหมาะสมของเหตุการณ์และความเป็นปัจจุบัน
          คู่มือการวิเคราะห์พรรณปลา
website ที่เกี่ยวกับกลไกการทำงานของระบบและอวัยวะที่สำคัญของปลา
website สื่อออนไลน์ทางการศึกษาทางมีนวิทยา
         1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
          1.2 ทำแบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชาโดยผู้เรียน
          1.3 ทำแบบประเมินตนเอง
2.1 การสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน
    2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
    2.3 การประเมินการสอน
3.1 ประชุมอาจารย์ในสาขาวิชาเพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษา และร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
          3.2 ปรับปรุงการสอนตามผลการประเมินผู้สอน การประเมินรายวิชา และการประเมินการสอน
4.1 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา เพื่อตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา
4.2 ดำเนินการทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจข้อสอบ ผลงานของนักศึกษา วิธีการให้คะแนนสอบในรายหัวข้อว่ามีความสอดคล้องกับการพัฒนาผลเรียนรู้ของรายวิชาตามแผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา
4.3 สรุปผลการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ เสนอต่อหัวหน้าสาขาวิชา
4.4 ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตร แจ้งผลการทวนสอบแก่ผู้รับผิดชอบรายวิชาเพื่อดำเนินการต่อไป
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 5 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
          5.2 อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา (มคอ. 5) เสนอต่อหัวหน้าสาขาวิชาเอก