การสุขาภิบาลโรงงานอุตสาหกรรมอาหารและกฎหมายอาหาร

Food Industrial Plant Sanitation and Food Law

1.1 มีความรู้พื้นฐานด้านสุขาภิบาลโรงงานและกฎหมายอาหาร
1.2 มีความรู้โปรแกรมพื้นฐานในการจัดการสภาวะแวดล้อมสำหรับกระบวนการผลิตอาหาร สุขอนามัยส่วนบุคคล กฎหมายอาหาร
1.3 ทราบกฎข้อบังคับและกฎหมายของประเทศไทย และระหว่างประเทศ
1.4 ทราบระเบียบและขั้นตอนในการขอจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับหลักการออกแบบโรงงาน และการติดตั้งเครื่องมืออุปกรณ์ในโรงงานอุตสาหกรรมอาหารให้ถูกหลักสุขาภิบาล สุขลักษณะในการผลิตอาหาร การเก็บรักษาและการขนส่งอาหารสุขลักษณะส่วนบุคคล กลไกการทำความสะอาดและการฆ่าเชื้อ การควบคุมแมลงและสัตว์นำโรค การจัดการน้ำใช้ในโรงงาน การจัดการของเสียและกฎหมายอาหาร
ทั้งนี้ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการผลิตอาหารที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
ศึกษาเกี่ยวกับหลักการออกแบบโรงงาน และการติดตั้งเครื่องมืออุปกรณ์ในโรงงานอุตสาหกรรมอาหารให้ถูกหลักสุขาภิบาล สุขลักษณะในการผลิตอาหาร การเก็บรักษาและการขนส่งอาหารสุขลักษณะส่วนบุคคล กลไกการทำความสะอาดและการฆ่าเชื้อ การควบคุมแมลงและสัตว์นำโรค การจัดการน้ำใช้ในโรงงาน การจัดการของเสียและกฎหมายอาหาร
2 ชั่วโมง
˜1.1 มีจิตสำนึกและตระหนักในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
š1.2 แสดงออกอย่างสม่ำเสมอถึงความซื่อสัตย์สุจริต
˜1.3 มีวินัยและความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
˜1.4 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
š1.5 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
กำหนดให้นักศึกษาทุกคนต้องมีความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์  การตรงต่อเวลาที่กำหนด และแนะนำถึงผลดีของการตรงต่อเวลา  ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์  อาจารย์ผู้สอนปฏิบัติตนเป็นตัวอย่าง ให้นักศึกษามีระเบียบวินัยในการเข้าชั้นเรียน โดยอาจารย์เข้าชั้นเรียนตรงต่อเวลา และเลิกชั้นเรียนตรงต่อเวลา
พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
˜2.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
š2.2 มีความรู้ในสาขาวิชาอื่น ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การบริหารจัดการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ สามารถบูรณาการความรู้ในที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
š2.3 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาและต่อยอดองค์ความรู้ และมีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็น
การเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ ๆ
˜2.4 รู้กฎระเบียบ ข้อกำหนดทางเทคนิค รวมถึงการปรับเปลี่ยนตามกาลเวลาเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
การสอนแบบบรรยายเชิงอภิปราย ฝึกตอบปัญหาในชั้นเรียนและการแสดงความคิดเห็นต่อปัญหา และระดมสมองในการแก้ไขปัญหา
ข้อสอบ ประเมินจากการตอบปัญหาในชั้นเรียน การสอบย่อย (Quiz) การสอบกลางภาคและปลายภาค และการนำเสนอผลงานทั้งแบบรายบุคคลและกลุ่ม
š3.1 มีความสามารถในการค้นหาข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจและประเมินข้อมูลสารสนเทศ แนวคิดและหลักฐานใหม่ๆ จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และใช้ข้อสรุปที่ได้ในการแก้ไขปัญหา หรืองานอื่น ๆ โดยไม่ต้องอาศัยคำแนะนำ
š3.2 สามารถคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ในการวิเคราะห์ปัญหาที่ซับซ้อน และเสนอแนวทางแก้ไขอย่างสร้างสรรค์
˜3.3 สามารถใช้ทักษะและความเข้าใจ ในบริบททางวิชาชีพและวิชาการ เช่น การตรวจวิเคราะห์อาหาร การควบคุมและประกันคุณภาพ การวิจัย และงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
š3.4 มีทักษะในภาคปฏิบัติที่ได้รับการฝึกฝน ตามเนื้อหาสาระสำคัญของสาขาวิชา
ฝึกตอบปัญหาในชั้นเรียนและการแสดงความคิดเห็นต่อปัญหา และระดมสมองในการแก้ไขปัญหา ศึกษาจากประเด็นปัญหาที่กำหนดไว้แล้ว โดยแบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่ม ภายในกลุ่มจะต้องกำหนดแนวทางไปสู่การแก้ปัญหาหรือเสนอแนวทางปฏิบัติที่มีความน่าเชื่อถือและความเป็นไปได้
ประเมินจากการตอบปัญหาในชั้นเรียน การสอบย่อย (Quiz) การสอบกลางภาคและปลายภาค และการนำเสนอผลงานทั้งแบบรายบุคคลและกลุ่ม
š4.1 มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายทั้งของตนเองเเละรับผิดชอบงานในกลุ่ม
š4.2 สามารถปรับตัวทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำกลุ่มและสมาชิกกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ
š4.3 วางตัวและแสดงความคิดเห็นได้เหมาะสมกับบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ
˜4.4 สามารถวางแผนและรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
สอนโดยมีกิจกรรมเสริมในชั้นเรียน มีกิจกรรมทำงานเป็นกลุ่ม และมีการเปลี่ยนกลุ่มทำงานตามภาระงานที่มอบหมาย เพื่อให้นักศึกษาทำงานได้กับผู้อื่นได้ โดยไม่ยึดติดกับเฉพาะเพื่อนที่ใกล้ชิด
การประเมินจากการแสดงออกอย่างมีส่วนร่วมในชั้นเรียน และประเมินผลงานจากรายงานของนักศึกษาทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม
š5.1 สามารถระบุและนำเทคนิคทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการวิเคราะห์แปลความหมายและเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์
š5.2 สามารถสรุปประเด็นและสื่อสาร ทั้งการพูดและการเขียน รู้จักการเลือกใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสมสำหรับเรื่อง
และผู้ฟังที่ต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
š5.3 สามารถระบุ เข้าถึง และคัดเลือกแหล่งข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสาระสำคัญของวิชานั้น ๆ จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
š5.4 มีวิจารณญาณในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เหมาะสม และใช้อย่างสม่ำเสมอเพื่อการรวบรวมข้อมูล แปลความหมายและสื่อสารข้อมูลข่าวสารและแนวความคิด
š5.5 สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
š5.6 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี นวัตกรรมและสถานการณ์โลก โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
š5.7 สามารถใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน และภาษาอังกฤษในระดับใช้งานได้อย่างเหมาะสม
ใช้ Power point
มีการนำเสนอข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
การแนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูล
การมอบหมายงานด้วยการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
ประเมินจากการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียนและเอกสารรายงานของนักศึกษา การสอบย่อย (Quiz) ในชั้นเรียน
š6.1มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการรวมถึงความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่มมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 มีจิตสำนึกและตระหนักในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ 1.3 มีวินัยและความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม 1.4 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1 BSCFT004 การสุขาภิบาลโรงงานอุตสาหกรรมอาหารและกฎหมายอาหาร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ทุกหน่วยเรียน การเข้าชั้นเรียน การส่งรายงานตรงเวลา การแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน การมีส่วนร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน งานมอบหมาย ทดสอบระหว่างเรียน ทุกสัปดาห์ 5% 5% 90%
สุดสาย ตรีวานิช. การสุขาภิบาลโรงงานอาหาร. ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ศิวาพร ศิวเวช. การสุขาภิบาลโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร. ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการ
อาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พาขวัญ ทองรักษ์. การสุขาภิบาลโรงงานอุตสาหกรรมอาหารและกฎหมายอาหาร. คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.
จุฬาภรณ์ เลิศบวรวงศ์. สุขาภิบาลโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร. ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะ
วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย : ข้อกำหนด
มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ มกอช. 9024-25503.
บทความเกี่ยวกับระบบคุณภาพในอุตสาหกรรมอาหารจากเว็บไซต์ต่างๆ เช่น
www.fda.moph.go.th
www.foodfti.com/
www.tisi.go.th/
www.foodnetworksolution.com/wiki/word/335/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3
1.1 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.2 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ผลการเรียนของนักศึกษา
แผนกวิชากำหนดให้อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิผลของรายวิชา มีการประชุมอาจารย์ในแผนกวิชาเพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
แผนกวิชามีคณะกรรมการประเมินการสอนทำหน้าที่ทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา
แผนกวิชามีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดนพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา ผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินการสอนของแผนกวิชา การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน หลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา เสนอต่อหัวหน้าแผนกวิชา เพื่อนำเข้าที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงสำหรับใช้ในปีการศึกษาถัดไป