การควบคุมคุณภาพและการประกันคุณภาพในอุตสาหกรรมอาหาร

Quality Control and Quality Assurance in Food Industry

1.1 อธิบายความหมายของการควบคุมคุณภาพ ความหมายของการประกันคุณภาพ
1.2 อธิบายวิธีการและเทคนิคที่ใช้ในการควบคุมคุณภาพอาหาร
1.3 คัดเลือกระบบการประกันคุณภาพที่เหมาะสมกับโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร
1.4 กำหนดวิธีการปฏิบัติในการผลิตที่ดีในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร
1.5 วิเคราะห์อันตรายจุดวิกฤตที่ควบคุมในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร
1.6 อธิบายวิธีการประกันคุณภาพตามระบบ ISO 22000 และมาตรฐานคุณภาพและข้อบังคับเกี่ยวกับอาหารระหว่างประเทศ
1.7 อธิบายความสำคัญและรูปแบบการจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้าและผู้จัดหา
1.8 อธิบายความแตกต่างระหว่างค่าต้นทุนคุณภาพแต่ละประเภท
1.9 อธิบายความสำคัญและหน้าที่ของเครื่องมือควบคุมคุณภาพที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ตลอดจนกระบวนการตรวจสอบคุณภาพ
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในหลักการของระบบประกันคุณภาพในอุตสาหกรรมอาหารที่ถูกต้อง และสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีระบบที่เข้าใจได้ง่ายมากขึ้น เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการนำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร หลังจากการจบการศึกษาไปแล้ว
ศึกษาเกี่ยวกับเทคนิคและการปฏิบัติที่จำเป็นในการควบคุมระดับของคุณภาพในอุตสาหกรรมอาหาร การตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้า ประสิทธิภาพทางธุรกิจและผลกำไรโดยรวม รวมถึงการประกันคุณภาพในแผนธุรกิจและกลยุทธ์ การดำเนินการตรวจสอบคุณภาพ การติดตามมาตรฐานสากลของคุณภาพ การจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้าและผู้จัดหา และการระบุค่าต้นทุนคุณภาพ
 
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 2 ชั่วโมง/สัปดาห์
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ อย่างราบรื่น และประพฤติตนโดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม อาจารย์ที่สอนในแต่ละรายวิชา ต้องส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่าง ๆ ดังนี้
1.1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับ ต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.1.4 สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางต่างๆ ต่อบุคคล องค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม
1.1.5 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพและมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพ
1.2.1 ใช้การสอนแบบสื่อสารสองทาง เปิดโอกาสให้นักศึกษามีการตั้งคำถามหรือตอบคำถาม หรือแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรม จริยธรรม ในชั้นเรียนในโอกาสต่างๆ โดยอาจยกตัวอย่างกรณีศึกษา ตัวอย่างที่ขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่และการประพฤติที่ผิดจรรยาบรรณในวิชาชีพ
1.2.2 สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม ในคาบเรียนโดยการยกตัวอย่างข่าว ที่เกิดขึ้นในสื่อต่างๆที่กำลังเป็นที่สนใจ โดยเน้นความรับผิดชอบต่อสังคม การมีจิตสำนึก การรับผิดชอบต่อตนเอง
1.2.3 อาจารย์ปฏิบัติตนเป็นตัวอย่าง ให้ความสำคัญต่อจรรยาบรรณวิชาชีพ การมีวินัยเรื่องเวลา การเปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของนักศึกษา
1.3.1 ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
1.3.2 ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
1.3.3 ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบและความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย
1.3.4 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
2.1.1 ความรู้พื้นฐานทางด้านการควบคุมคุณภาพ หลักสถิติเบื้องต้นสาหรับการควบคุมคุณภาพการใช้สถิติในงานควบคุมคุณภาพ หลักและวิธีการตรวจสอบคุณภาพอาหาร วิธีการวัดค่าปัจจัยเกี่ยวข้องกับคุณภาพอาหาร การใช้วิธีทางสถิติและประสาทสัมผัสในการประเมินและควบคุมคุณภาพรวมทั้งระบบการประกันคุณภาพต่างๆ เช่น GMP GHP HACCP และ ISO 9000’s เป็นต้น ซึ่งสัมพันธ์กับความรู้ทางด้านเคมีอาหาร จุลชีววิทยาทางอาหาร การแปรรูปอาหาร การประกันคุณภาพ และสุขาภิบาล รวมถึงการบริหารจัดการด้านอุตสาหกรรมเกษตร
2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษาของสาขาวิชาเฉพาะด้านการผลิตและนวัตกรรมอาหาร
2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.1.4 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
2.1.5 สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
การจัดการเรียนการสอน ควบคู่กับกิจกรรมกลุ่ม และการศึกษานอกห้องเรียน และให้นักศึกษาค้นคว้าเอกสารเพิ่มเติม จากแหล่งสารสนเทศ เช่น website หรือ ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ นอกเหนือจากอาจารย์ผู้สอนบรรยายและสรุปเพิ่มเติมโดยเอกสารประกอบการสอน โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และจัดให้มีการฝึกฝนทักษะความชำนาญในการเรียน
2.3.1 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2 ประเมินจากการนำเสนอรายงาน ผลการค้นคว้าข้อมูล หรือโจทย์จาก Problem – based Learning
3.1.1 คิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดีและอย่างเป็นระบบ
3.1.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3.1.3 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมการผลิตและนวัตกรรมอาหารได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.1.4 มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
3.1.5 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเองเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตและทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
3.2.1 การสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning : PBL)
3.2.2 ฝึกตอบปัญหาในชั้นเรียนและการแสดงความคิดเห็นต่อปัญหา และระดมสมองในการแก้ไขปัญหา จากกรณีศึกษาตามประเด็นปัญหาที่กำหนดไว้แล้ว โดยแบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่ม ภายในกลุ่มจะต้องกำหนดแนวทางไปสู่การแก้ปัญหาหรือเสนอแนวทางปฏิบัติที่มีความน่าเชื่อถือและความเป็นไปได้
3.2.3 มอบหมายงาน เช่น ศึกษาวิธีประเมินคุณภาพจากวารสารต่างประเทศ จัดทำรายงาน และนำเสนอแนวทางในการควบคุมระบบการผลิตในอุตสาหกรรมเกษตรตามที่กำหนดหัวข้อกรณีตัวอย่างไว้
3.3.1 ประเมินจากการตอบปัญหาและการแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน ทั้งรายบุคคลและกลุ่ม
3.3.2 รายงานกลุ่ม
3.3.3 การนำเสนองาน
3.3.4 การสอบย่อย การสอบข้อเขียนกลางภาคและปลายภาค
4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม
4.1.2 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ในกลุ่มทั้งในบทบาทผู้นำและผู้ร่วมทีมทำงาน
4.1.3 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.1.4 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
4.1.5 สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
จัดกิจกรรมเสริมในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนที่นักศึกษามีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับนักศึกษาอื่นและบุคคลภายนอก มอบหมายงานกลุ่มและมีการเปลี่ยนกลุ่มทำงานตามกิจกรรมที่มอบหมาย เพื่อให้นักศึกษาทำงานได้กับผู้อื่น โดยไม่ยึดติดกับเฉพาะเพื่อนที่ใกล้ชิด กำหนดความรับผิดชอบของนักศึกษาแต่ละคนในการทำงานกลุ่ม อย่างชัดเจน

 
4.3.1 ประเมินการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
4.3.2 ประเมินความรับผิดชอบจากรายงานกลุ่มของนักศึกษา
4.3.3 ให้นักศึกษาประเมินสมาชิกในกลุ่ม ทั้งด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและด้านความรับผิดชอบ
4.3.4 ให้นักศึกษาประเมินนักศึกษาอื่นๆในรายวิชา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
5.1.1 สามารถใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ตลอดจนทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี
5.1.2 มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
5.1.3 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพเพื่อประโยชน์ต่อวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
5.1.4 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์
5.1.5 สามารถนำเสนอผลงานโดยใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสารทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการในวิชาชีพได้อย่างเหมาะสม
5.2.1 ยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานสถิติกับงานวิเคราะห์คุณภาพ
5.2.2 ใช้ PowerPoint ที่น่าสนใจ ชัดเจน ง่ายต่อการติดตามทำความเข้าใจ ประกอบการสอนในชั้นเรียน
5.2.3 การสอนโดยมีการนำเสนอข้อมูลจากการค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต เพื่อเป็นตัวอย่างกระตุ้นให้นักศึกษาเห็นประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอและสืบค้นข้อมูล
5.2.4 การแนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูลและแหล่งข้อมูล
5.2.5 การมอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.2.6 การมอบหมายงานที่ต้องมีการนำเสนอทั้งในรูปเอกสารและด้วยวาจาประกอบสื่อเทคโนโลยี
5.2.7 มีการสอนโดยแนะนำวิธีคิดคำนวณอย่างง่าย
5.3.1 ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอโดยใช้ทฤษฏี การเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือคณิตศาสตร์และสถิติ ที่เกี่ยวข้อง
5.3.2 ประเมินจากความสามารถในการอธิบาย ถึงข้อจำกัด เหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือ ต่าง ๆ การอภิปราย กรณีศึกษาต่างๆ มีการนำเสนอต่อชั้นเรียน
นักศึกษามีความสามารถพัฒนาตนเองได้ และปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพของตนเอง โดยนักศึกษาต้องมีคุณสมบัติต่าง ๆ จากทักษะการปฏิบัติ ดังนี้
6.1.1 มีทักษะวิชาชีพในการปฏิบัติงานตามสมรรถนะวิชาชีพที่สถานประกอบการต้องการ
6.1.2 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และสามารถบูรณาการความรู้ที่เรียนมาเพื่อพัฒนาต่อยอดทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนางานได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
6.1.3 มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพของตนเอง
6.2.1 การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียนเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพของนักศึกษา
6.2.2 การฝึกปฏิบัติการทำงานระดับห้องปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะทางด้านร่างกายให้มีความคล่องแคล่วในการทำงาน
6.3.1 ประเมินประสิทธิภาพในทักษะปฏิบัติ ความถูกต้องและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้
6.3.2 ประเมินจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 5.3 5.4 5.5 5.1 5.2 6.1 6.2 6.3
1 ENGFI107 การควบคุมคุณภาพและการประกันคุณภาพในอุตสาหกรรมอาหาร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ด้านคุณธรรม จริยธรรม การเข้าเรียน/การส่งงาน ตลอดภาคการศึกษา ร้อยละ 5
2 ด้านความรู้ ทดสอบภาคทฤษฎีและปฏิบัติจากกรณีศึกษา สัปดาห์ที่ 5 9 13 และ 17 ร้อยละ 60
3 ด้านทักษะทางปัญญา ปฏิบัติ/กิจกรรมกลุ่ม ตลอดภาคการศึกษา ร้อยละ 10
4 ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ การทำงานกลุ่ม การอภิปรายและการนำเสนองานหน้าชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา ร้อยละ 10
5 ด้านทักษะวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การคำนวณในเล่มรายงานการจัดทำระบบควบคุมและประกันคุณภาพ กรณีศึกษา โรงงานอุตวาหกรรมอาหาร และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา ร้อยละ 10
6 ด้านทักษะพิสัย ทักษะการปฏิบัติในการทำหัวข้อพิเศษและกรณ๊ศึกษา ตลอดภาคการศึกษา ร้อยละ 5
คงศักดิ์ ศรีแก้ว. 2560.การบริหารจัดการคุณภาพในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร พิมพ์ครั้งที่ 2 โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ. 269 หน้า.
ปราณี อาจเปรื่อง. 2551. หลักการวิเคราะห์อาหารด้วยประสาทสัมผัส. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ. 341 หน้า.
สุคนธ์ ชื่นศรีงาม และคณะ. 2559. 71414 การควบคุมคุณภาพและการประเมินคุณภาพอาหาร (Food Quality Control and Assurance) สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช, นนทบุรี. 
https://www.fao.org/fao-who-codexalimentarius/en/
https://www.fda.moph.go.th/Pages/HomeP_D2.aspx
 
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะของนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตพฤติกรรมจากการทำกิจกรรมของนักศึกษา
2.2 ผลการทดสอบย่อย
2.3 ผลการสอบกลางภาคและปลายภาค
2.4 รายงานจากการที่ได้รับมอบหมาย กิจกรรมกลุ่ม
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 ปรับปรุงเนื้อหาให้เหมาะสมกับระดับของนักศึกษาโดยดูจากแบบทดสอบก่อนการเรียน เพื่อปูพื้นฐานและทบทวนในบางหัวข้อ
3.2 หาเทคนิคการสอนที่ทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้ และทำความเข้าใจได้ด้วยตนเอง
3.3  การเชิญวิทยากรจากหน่วยงานภายนอกเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มเติมผ่านการจัดโครงการเชิงปฏิบัติการ
คาบเรียนสุดท้ายของการเรียน อาจารย์ผู้สอนให้นักศึกษาทำแบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา เพื่อประเมินผลสิ่งที่ได้รับจากการเรียนรายวิชาตามทักษะต่างๆ ที่ปรากฏในหมวดที่ 4
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ สาขาวิชามีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา ซึ่งพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา ผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินการสอนของสาขาวิชา การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน หลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา เสนอต่อหัวหน้าสาขาวิชา เพื่อนำเข้าที่ประชุมอาจารย์ประจำสาขาวิชาพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงสำหรับใช้ในปีการศึกษาถัดไป