การจัดการธุรกิจเกษตร

Agribusiness Management

1.1 เข้าใจความสำคัญ บทบาท โครงสร้างของระบบธุรกิจ ห่วงโซ่อุปทาน ห่วงโซ่คุณค่า และโลจิสติกส์
1.2 รู้และเข้าใจหลักการวางแผนและการเขียนแผนธุรกิจเกษตร
1.3 เข้าใจหลักการเบื้องต้นในการจัดการ และการพัฒนาการเป็นผู้ประกอบการทางการเกษตร
1.4 รู้และเข้าใจเข้าใจการบัญชีการเงิน
1.5 รู้และเข้าใจหลักการตลาด
1.6 รู้และเข้าใจปัจจัยที่มีผลกระทบต่อธุรกิจเกษตรและ SWOT
1.7 รู้และเข้าใจการเก็บรู้เกี่ยวกับองค์กรและสถาบันทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการจัดการธุรกิจเกษตร
-
ศึกษาเกี่ยวกับความสำคัญ บทบาท โครงสร้างของระบบธุรกิจ ห่วงโซ่อุปทาน ห่วงโซ่คุณค่า โลจิสติกส์ หลักการวางแผนและการเขียนแผนธุรกิจเกษตร หลักการเบื้องต้นในการจัดการ การบัญชีการเงิน และการตลาด องค์กรและสถาบันทางธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อธุรกิจเกษตร การพัฒนาการเป็นผู้ประกอบการทางการเกษตร
1 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
- ตระหนักในคุณธรรม จริยธรรมและความซื่อสัตย์สุจริต (1.1)
- มีวินัยต่อการเรียน เคารพกฎ ระเบียบ ตรงต่อเวลา (1.2)
- มีจิตสาธารณะ รับฟังการแสดงความคิดเห็นของเพื่อนในชั้นเรียน ทั้งในกลุ่มและนอกกลุ่ม (1.3)
- มีจรรยาบรรณต่อวิชาชีพ (1.5)
- ใช้การสอนแบบสื่อสารสองทาง เปิดโอกาสให้นักศึกษามีการตั้งคำถามหรือตอบคำถาม หรือแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรม จริยธรรม ในชั้นเรียนในโอกาสต่างๆ
- ยกตัวอย่างกรณีศึกษา ตัวอย่างที่ขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่และการประพฤติที่ผิดจรรยาบรรณในวิชาชีพ
- อาจารย์ปฏิบัติตนเป็นตัวอย่าง ให้ความสำคัญต่อจรรยาบรรณวิชาชีพ การมีวินัยเรื่องเวลา การเปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของนักศึกษา การเคารพและให้เกียรติแก่อาจารย์อาวุโส เป็นต้น
- ประเมินผลจากพฤติกรรมที่แสดงออกในชั้นเรียนและในโอกาสที่ภาควิชาฯ/คณะจัดกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทางด้านคุณธรรมและจริยธรรม การมีสัมมาคารวะต่อผู้อาวุโสและอาจารย์
- การตรวจสอบการมีวินัยต่อการเรียน การตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียนและการส่งรายงาน
- ประเมินการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น โดยนักศึกษาอื่นๆในรายวิชา
- นักศึกษาประเมินตนเอง
-ความสำคัญ บทบาท โครงสร้างของระบบธุรกิจ ห่วงโซ่อุปทาน ห่วงโซ่คุณค่าและโลจิสติกส์
-หลักการวางแผนและการเขียนแผนธุรกิจเกษตร หลักการเบื้องต้นในการจัดการ การบัญชีการเงิน และการตลาด
-องค์กรและสถาบันทางธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อธุรกิจเกษตร และการพัฒนาการเป็นผู้ประกอบการทางการเกษตร
- ใช้การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ การสอนบรรยายร่วมกับการสื่อสารสองทาง โดยเน้นให้นักศึกษาหาทางค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม การสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (Co-Operative Learning) แนะนำกระบวนการต่างๆ ในเนื้อหารายวิชาเพื่อปฏิบัติงานที่มอบหมายในแต่ละหน่วย พร้อมกับการสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง เพื่อค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ตเพิ่มเติม มีการซักถาม ภายในชั้นเรียน ให้คำแนะนำเพื่อปรับแก้ไขงาน เป็นต้น
- เพิ่มการศึกษานอกห้องเรียน โดยให้คิดแผนและเขียนแผนธุรกิจเกษตรที่สนใจและนำเสนอ
- สอบกลางภาค และสอบปลายภาค
- ทำรายงานรายบุคคล และรายกลุ่ม
- สามารถสืบค้นและประยุกต์ใช้ข้อมูลอย่างรอบคอบ (3.2)
- สามารถใช้ปัญญาพัฒนาตนเอง เพื่อนำไปใช้พัฒนาเป็นอาชีพ และช่วยพัฒนาสังคม (3.3)
- สามารถใช้ความรู้ทางทฤษฏีเพื่อแก้ไขโจทย์ปัญหาที่ตั้งให้ในชั้นเรียนได้แบบสร้างสรรค์ (3.1)
- มีความพอเพียงต่อการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน (3.5)
- การสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning : PBL)
- ฝึกตอบปัญหาในชั้นเรียนและการแสดงความคิดเห็นต่อปัญหา และระดมสมองในการแก้ไขปัญหา จากกรณีศึกษาตามประเด็นปัญหาที่กำหนดไว้แล้ว โดยการช่วยกันสืบค้นข้อมูลและนำข้อมูลมาสรุปและประยุกต์ใช้เพื่อแก้ไขปัญหาตามโจทย์ที่กำหนดให้
- มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และสามารถทำงานเป็นกลุ่มได้ตามวัตถุประสงค์ (4.2)
- วางตัวและร่วมแสดงความคิดเห็นในกลุ่มได้อย่างเหมาะสม (4.3)
- มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมสม่ำเสมอ (4.4)
- มีกิจกรรมในชั่วโมงเพื่อให้นักศึกษามีปฏิสัมพันธ์กับนักศึกษาอื่นและอาจารย์พิเศษ
- มอบหมายงานกลุ่มเพื่อให้นักศึกษาทำงานได้กับผู้อื่นได้
- มอบหมายให้ดูแลความสะอาดและเป็นระเบียบของสภาพแวดล้อมในและนอกชั้นเรียน
- ประเมินการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
- ประเมินความรับผิดชอบจากรายงานกลุ่มของนักศึกษา
- ประเมินจากสภาพแวดล้อมภายหลังการมอบหมายงาน
- ให้นักศึกษาประเมินนักศึกษาอื่นๆในรายวิชา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
- สามารถนำโจทย์ปัญหาที่ให้มาวิเคราะห์อย่างเป็นลำดับในกลุ่มงาน (5.1)
- สามารถใช้ Power point ในการนำเสนองานที่ได้รับมอบหมาย และสามารถใช้ภาษาไทยในการนำเสนอด้วยการเขียนและการพูดได้อย่างเหมาะสม (5.4)
- สามารถคัดเลือกแหล่งข้อมูลมาประกอบการค้นคว้าได้ (5.3)
- สามารถค้นคว้าหาข้อมูล/งานวิจัยหรือการเปลี่ยนแปลงด้านกายวิภาคสัตว์ทางอินเตอร์เน็ตได้ (5.2)
- นักศึกษาสามารถใช้โปรแกรม PowerPoint เพื่อนำเสนองานมอบหมายได้อย่างชัดเจน ง่ายต่อการเข้าใจของเพื่อนร่วมชั้นเรียน
- ผู้สอนมีการนำเสนอข้อมูลหรือวิทยาการใหม่ ๆ เกี่ยวกับการผลิตไข่ หรือนวัตกรรมจากไข่ (egg design) ที่ค้นคว้าจากอินเตอร์เน็ต มาเป็นตัวอย่างให้นักศึกษาเห็นประโยชน์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อนำเสนอและสืบค้นข้อมูลที่จะประยุกต์ใช้ในชั้นเรียนและเมื่อจบการศึกษาสามารถนำไปใช้ในอาชีพการงานได้
- การแนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูลและแหล่งข้อมูล
- การมอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
- การมอบหมายงานที่ต้องมีการนำเสนอทั้งในรูปเอกสารและด้วยวาจาประกอบสื่อเทคโนโลยี
- ประเมินทักษะการนำเสนอด้วยโปรแกรม Power point พร้อมรายงานที่ค้นคว้าซึ่งเขียนด้วยลายมือของนักศึกษา
- ประเมินทักษะการใช้สื่อและการใช้ภาษาพูดจากการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน
- ประเมินรายงานการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 -SWOT -Canvas model -การวางแผนและการเขียนแผน ธุรกิจเกษตร 1.สอบกลางภาค 2.สอบปลายภาค 3.นำเสนอรายงานและเชื่อมโยง SWOT หรือ Canvas model ไว้ในการวางแผนและการเขียนแผนธุรกิจเกษตร 9,17,18 25% 35% 40%
-กิจจา บานชื่น และ กณิกนันต์ บานชื่น. 2559. หลักการจัดการ. บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น. 424 น.
-ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. 2554. วิธีการเขียนแผนธุรกิจ. บริษัท เอ็กซเปอร์เน๊ท จำกัด. 108 น.
-ณัฐยา สินตระการผล. 2554. การตัดสินใจทางธุรกิจ. บริษัท เอ็กซเปอร์เน๊ท จำกัด. 246 น.
-ฐิติมา ไชยะกุล. 2548. หลักการจัดการการผลิต. บริษัท เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า จำกัด. 274 น.
-ปกรณ์ ปรียากร. 2547. การวางแผนกลยุทธ์ แนวคิดและแผนทางเชิงกลยุทธ์. สำนักพิมพ์เสมาธรรม. 346น.
-วิทยา สุหฤทดำรง. 2546. ลอจิสติกส์และการจัดการโซ่อุปทาน อธิบายได้…ง่ายนิดเดียว. บริษัท ซีเอ็ด
ยูเคชั่น. 365 น.
-ยรรยง ธรรมธัชอารี. 2548. การวางแผนธุรกิจด้วยระบบงบประมาณแนวใหม่. สำนักพิมพ์สายธาร ใน
เครือบริษัท สำนักพิมพ์วิญญูชน จำกัด. 316 น.
-
-
ให้นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ซึ่งรวมถึง วิธีการสอน การจัดกิจกรรมต่างๆ สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับ และเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงรายวิชา ด้วยระบบการประเมินผลของมหาวิทยาลัย
การประเมินการสอน โดย ฝ่ายวิชาการ กองการศึกษา
สาขาวิชากำหนดให้อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิผลของรายวิชา แล้วจัดทำรายงานรายวิชาตามรายละเอียดที่ สกอ.กำหนดทุกภาคการศึกษา
สาขาวิชาจะทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา จากคะแนนดิบและระดับคะแนนของรายวิชา ภายในรอบเวลาหลักสูตร
มหาวิทยาลัยมีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดยพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา และนำผลประเมินเข้าที่ประชุมผู้บริหารฯ พิจารณาให้ความเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงสำหรับใช้ในปีการศึกษาถัดไป